น้อยคนนักที่จะรู้จัก Mr. Dananjaya Hettiarachchi กับตำแหน่งชนะเลิศ World Champion of Pubilc Speaking จากผู้แข่งขัน 33,000 คนทั่วโลก และนี่คือคำแนะนำ 4 ข้อจากแชมป์ ที่เราอยากให้ทุกคนนำไปใช้
หลังจากเราที่เราได้ฟังการ present ของ Mr. Hettiarachchi ในหัวข้อ “I see something” จากรายการ Toastmasters International ซึ่งเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นเพื่อหานักพูดในที่สาธารณะที่เก่งที่สุดในโลก ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการนำเสนอที่น่าสนใจมาก คลิปวีดีโอความยาว 8 นาทีผ่านไปอย่างรวดเร็ว มีการผสมผสานหลายเทคนิคเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้คนฟังสนใจและติดตามได้ดี เราจึงเล็งเห็นว่า ถ้าสามารถนำ 4 เทคนิคของ Mr. Hettiarachchi มาใช้กับการทำงานที่ต้อง present งานต่อหน้าลูกค้าและหัวหน้าในชีวิตประจำวัน น่าจะทำให้ชาว UNLOCKMEN ได้เปรียบกว่าคนอื่น และทำให้ผู้ฟังประทับใจได้แน่นอนครับ ดังนั้น มาเริ่มเป็นนัก present งานที่ยอดเยี่ยมกันเถอะ
1. ต้องทำให้คนฟังสงสัยตลอดเวลา
Mr. Hettiarachchi บอกว่าการพูดในยุคนี้ ต้องทำให้น่าสนใจ เพื่อให้คนฟังซึ่งมีสมาธิสั้นลงจากยุคที่ smartphone กลายเป็นอวัยวะของร่างกาย โดยเปลี่ยนจากการพูดแบบทฤษฎีจริงจัง ให้กลายเป็นการพูดแบบสนทนากับคนฟังจะดีกว่า
การหาจุดเด่นในเรื่องที่จะพูด แล้วนำออกมาเป็นจุดเด่นตั้งแต่เริ่ม มีส่วนช่วยให้คนฟังรู้สึกอยากติดตาม อย่างเช่นในคลิป Mr. Hettiarachchi ถือดอกกุหลาบออกมา สร้างความสงสัยให้กับคนฟัง ทำให้คนฟังใจจดจ่อกับเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นต่อไป และการเล่าเรื่องราวโดยผสมผสานข้อความสำคัญที่ต้องสื่อสาร ผ่านความหลาหลายของอารมณ์ มีทั้งเศร้า สนุก และเรียกเสียงหัวเราะ ทั้งหมดรวมกันทำให้การพูดครั้งนี้เหมือนนั่งรถไฟเหาะตีลังกา คือคนฟังจะไม่สามารถคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้เลย
2. สร้าง keyword ที่สามารถสนับสนุนหัวข้อที่พูด
คนส่วนใหญ่มักจะเริ่มการ present ด้วยหัวข้อที่จะพูด แทนที่จะเริ่มด้วยการสร้าง keyword ที่จะสนับสนุนหัวข้อนั้นให้แข็งแรง ตัวอย่างของ Mr. Hettiarachchi ที่สร้างคำว่า “I see something” ขึ้นมา และพูดเน้นคำนี้เป็นช่วงๆเพื่อสร้าง highlight โดยคำว่า “I see something” หมายถึงการมองเห็นศักยภาพในตัวคน แน่นอนว่ามันน่าสนใจกว่าที่จะพูดว่า “เราทุกคนมีศักยภาพ” จริงไหมครับ
การปรับใช้ keyword ให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับการ present งานในบริษัท ต้องปรับให้เข้ากับเรื่องราว key message และ conclusion ทั้งหมดด้วย เพื่อจะได้เรียบเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจมากขึ้นครับ ยกตัวอย่างเรื่องที่ Mr. Hettiarachchi พูดเรื่องศักยภาพของคน เรื่องราวจะเริ่มจากการเป็นเด็กไม่เอาไหน ไม่สนใจกฏกติกาใดๆ กระทั่งโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่เริ่มคิดได้ และพัฒนาตัวเองมาสู่จุดนี้ เป็นต้น
3. การใช้โทนเสียง สูง ต่ำ ท่าทางร่างกาย และจังหวะเงียบ ทำให้เรื่องราวน่าสนใจ
การเล่าเรื่องที่น่าสนใจ ต้องรู้จักใช้โทนเสียงให้เป็นประโยชน์ การประชุมที่ต้องใช้สมองตลอดเวลา ถ้ามาเจอกับโทนเสียงเรียบๆแบบ monotone เมื่อไหร่ เป็นหลับเมื่อนั้น ดังนั้นการใช้โทนเสียงบอกเล่าเรื่องราวให้เหมือนกันการเล่านิทาน หรือการคุยกับเพื่อน พร้อมกับมือไม้ท่าทางคอยช่วยบอกเล่าเรื่องราว แทนที่จะหนีบไว้ข้างตัวซึ่งทำให้ดูเกร็ง จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเสมอ
ลองสังเกตุจาก Mr. Hettiarachchi จะมีช่วงหยุดเงียบ มองตาคนฟัง ก่อนจะพูดข้อความที่เน้นเป็นพิเศษ เพื่อทำให้คนฟังรู้ว่านี่เป็นข้อความที่สำคัญ และจะได้สื่อสารข้อมูลที่ต้องการได้ครบถ้วนอย่างน่าสนใจ
4. ความต่อเนื่องของสิ่งทีพูด ต้องลำดับให้ดี และมีความเกี่ยวข้องกันตามความสำคัญ
การ present งานใดๆก็ตาม สิ่งที่จะช่วยให้เรื่องราวน่าสนใจคือความต่อเนื่อง หรือ presentation flow นั่นเอง การนำเรื่องราวทั้งหมดมาจัดเรียงลำดับที่ควรจะเป็น พร้อมกับใส่ keyword ที่ต้องการเน้นเข้าไปในทุกช่วงลำดับ จะทำให้คนฟังรู้สึกถึงความต่อเนื่องของเรื่องราว ฟังแล้วน่าติดตาม
ในกรณีของ Mr. Hettiarachchi เราจะสังเกตุได้ว่ามีการใช้คำว่า “I see something but I don’t know what it is”อยู่ในทุกช่วงของการ present ตั้งแต่ตอนเริ่ม ตรงกลาง และตอนท้ายเรื่อง ซึ่งเป็นการตอกย้ำ key message ได้ดีมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น