วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เจาะลึกต้นทุนร้านขายยา...ทำไมถึงรวย!


July 29, 2015


วันก่อนผมเข้าไปหาข้อมูลธุรกิจที่จะขายกิจการครับ พอดีมีเงินอยู่ก้อนนึงเลยอยากลงทุนทำอะไรเล็กๆ แต่จะเข้าไปลงทุนก็ไม่อยากขาดทุนครับ พอลงไปหาข้อมูลก็เจอว่าธุรกิจร้านขายยาดูมีเซ้งเยอะ ค่าเซ้งก็ไม่แพง เลยสนใจจะลองศึกษาธุรกิจนี้ดูครับ...ความคิดเร็วๆ ครับ เป็นธุรกิจซื้อมาขายไปกำไรเยอะ...ประกอบกับเคยอยู่ในวงการโรงพยาบาลมาบ้างเลยต้องเจาะลึกซะหน่อย
เริ่มต้นเลยก็โทรไปถามร้านยาที่จะเซ้งในราคาที่พอรับได้ครับ ร้านที่โทรไปร้านแรกก็เปิดราคาเซ้งที่ 450,000 บาท ไม่รวมยาครับทำเลดีครับติดถนนแถวรามคำแหง...รายได้ที่เขาบอกไว้คือ 3,000-6,000 บาทต่อวันครับ ฟังเร็วๆ น่าสนมากครับลงแค่ 450,000 บาท +/- นิดหน่อยค่ายา ถ้าได้วันละ 6,000 บาทต่อวันก็ 180,000 บาทต่อเดือนและนิไม่กี่เดือนก็คืนทุนแล้ว แต่ปัญหาคือถ้ารายได้ดีแบบนี้และเขาเซ้งทำไม ตอนที่โทรถามครั้งแรกเขาก็บอกว่า เพราะจะไปเรียนต่อต่างประเทศไม่มีเวลาดู

สิ่งที่ผมคิดตอนนั้นคือ “น่าสนใจจริงๆ โอกาสมาและแต่ความเสี่ยงคืออะไร"
จากประสบการณ์ทำให้ผมมีแนวคิดการตัดสินใจอยู่ 3 ข้อครับคือ 1.  ประมาณการทางการเงินและได้กำไรไม้ 2. ความสามารถทางเทคนิคผมทำได้ไม้หรือต้องพึ่งคนอื่น 3. ความสามารถทางการตลาดของร้านและธุรกิจเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน และ (4) ข้อจำกัดด้านกฎหมายต่างๆ
ประมาณการทางการเงิน

ผมลองประมาณการจนนากสมมุติฐานที่ว่า
(1) ธุรกิจนี้น่าจะอยู่ได้อีกประมาณ 10 ปีเท่านั้นก่อนที่บริษัทใหญ่อย่าง ซีพี ที่พยายามปั้นร้าน 7-XTRA จะทำสำเร็จจนทำให้ร้านยาเล็กๆ อยู่ไม่ได้ (อย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในรูปแบบของ 7-11 ที่ร้านค้าปลีกย่อยตายไปเยอะครับ) (2) ผมต้องการผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 10% ครับ (ดู IRR และ NPV เป็นหลักครับ เพราะผมมองเป็นโครงการลงทุน) (3) ราคาขายปรับได้ประมาณ 6% ต่อปี (4) ต้นทุนปรับประมาณ 3%- 6% ต่อปี เช่น ต้นทุนค่าแรง ค่ายาและค่าเช่าครับ (5) ต้องไม่ขาดทุนจนไม่สามารถรับไหว (หมายถึงตลอด 5 ปีที่ดำเนินงานถ้าจะขากทุนผมต้องรับไหว ไม่ใช้ล้มละลายและเป็นหนี้มุกคนเดือดร้อนครับ)

จากสมมุติฐานนี้ก็เลยเป็นที่มาของการทำโมวเดลการเงินในระยะ  5 ปีเพื่อตรวจสอบว่าจากสถานะรายได้และต้นทุนปัจจุบันของร้านครับ โดยข้อมูลหลักมาจากการขอดูบัญชีการขายของเขา (ซึ่งก็ได้ดูบางส่วนครับ จริงเท็จไม่รู้ครับเพราะร้านแบบนี้ไม่ค่อยจดบัญชี ถังแม้ได้จากระบบคอมที่เขาส่งให้ก็ยังแก้นั่นนี้ได้ อันนี้ผมระวังอยู่มากครับ) แต่พอสรุปโมเดลการเงินผมได้ดังนี้



เพื่อความเข้าใจผมอธิบายไปตามแถวเลยนะครับ
(1) รายได้ (REVENUE) ผมลองใส่ตัวเลขกลางคือประมาณ 4,500 บาทต่อวันเพราะคนให้เซ้งบอกว่าบางวันก็ได้น้อย 3000 บางวันก็ได้มากและได้มากตอนต้นเดือน ฝนตกไม่มีผลครับ (ผมเลยลองเอาตัวเลขกลางก่อน) ถ้ารายได้เท่านี้ปีนึงผมจะมีรายได้จากร้านนี้ถึง 1.62 ล้านบาทครับ (แลรวยมาก)

(2) ต้นทุนหลัก (COST OF GOOD SOLD) สำหรับโมเด็ลนี้ผมเอายาเป็น COGS อย่างเดียวเลยครับ ซึ่งเมื่อถามจากเพื่อนในวงการแล้วเขาบอกว่ากำไรไม่เท่ากัน (ขึ้นอยู่กับว่ายารับมาจากไหน ซื้อเยอะไม้ เป็นยาเฉพาะหรือเปล่า เป็นอาหารเสริมหรืออะไร) แต่เฉลี่ยแล้วกำไรอยู่ที่ประมาณ 50% ครับ (เพื่อความเข้าใจนะครับ สำหรับผม 50% คือรายได้รวมหลังจากหักค่ายาแล้วได้อยู่ที่ 50% นะครับไม่ใช้ต้นทุนบวกกำไร 50% ครับ)

(3) รายจ่าย (EXPENSES) ครับซึ่งผมมีรายจ่ายที่เป็นรายจ่ายคงที่ค่อนข้างมากครับ ซึ่งข้อมูลพวกนี้ก็ถามคนที่เซ้งมาครับและอันนี้หลอกกันไม่ได้ครับ รายจ่ายผมแยกออกมาเป็น 8 ประเภทครับ

3.1. ค่าเช่าตึก ร้านนี้เขาคิดชั้นล่างตึกอย่างเดียวครับเดือนละ 20,000 บาทหรือ 240,000 บาทต่อปีครับ

3.2. ค่าแรง ต้องมีสองคนครับเป็นอย่างน้อย อย่างผมไม่ใช่เภสัชกรก็ต้องจ้างคนมาดูร้าน (ในวงการเขาเรียกว่าผู้ช่วยเภสัชครับ ซึ่งจะมีค่าแรง ค่าโอที และค่าอื่นที่จะให้กันรวมมแล้วผมให้ที่ 14,000 ต่อเดือนครับและเงินเดือนผมเอง 20,000 บาทครับ (ลงทุนเท่านี้จะคาดหวังรายได้เยอะแยะก็กะไรอยู่ครับเอาเท่านี้ก่อนเพราะกำไร (ถ้ามี) ก็เป็นของเรา ดังนั้นผมมีค่าจ่ายนี้อยู่ที่ 34,000 บาทต่อเดือนหรือ 40,8000 บาทต่อปีครับ

3.3. ค่าใบประกอบวิชาชีพเภสัช (LICENSE) อันนี้เป็นค่าป้ายแขวนที่เขาเรียกกันครับโดยราคาปัจจุบันอยู่ที่ 3000-7000 บาทครับ ซึ่งผมก็ถามมาหลายคนย เขาเอาที่ 7000 บาทเป็นส่วนมาก (มีถูกกว่านี้ครับ) เลยตีเท่านี้ไว้ก่อนครับ ซึ่งเป็นเงิน 60,000 บาทต่อปี

3.4. ค่าน้ำค่าไฟ (UTILITY) เขาบอกว่านิดเดียวประมาณ 3,000 บาทต่อเดือนหรือ 36,000 บาทต่อปีครับ

3.5. ค่าภาษีป้าย (PLATE TAX – อันนี้ผมเรียกเองครับมันมีศัพท์เฉพาะอยู่แต่ขี้เกียจหา) ซึ่งมันอยู่ประมาณ 5000 บาทต่อปีโดยที่คนที่ให้เซ้งบอกว่าเขาไม่เคยต้องจ่ายเลย แต่เขาไม่เหมือนผม (ที่เป็นลูกตาสีตาสา ไม่มีเส้นสายอะไร เดี๋ยวมาเก็บแย่เลยต้องเผื่อไว้ก่อน)

3.6. ค่าการตลาด (MARKETING) ผมตีไว้ 1,000 บาทต่อเดือนเผื่อทำเอกสารแจกบ่งครับ ซึ่งก็ไม่มากประมาณ 12,000 บาทต่อปีเท่านั้น

3.7. ค่าผู้ทำบัญชีและสอบบัญชีครับ (ACCOUNTING FEES) ผมมีเตรียมไว้ครับเผื่อต้องจ่าย เพราะผมไม่ชอบทำธุรกิจแบบมีบัญชีหลายเล่ม (และไม่ตรงไปตรงมาครับ-มันเหนือยหนีหรือเลี่ยงครับ – มีก็จ่ายไม่มีก็ไม่จ่ายครับแต่ใครสักคนต้องช่วยผมทำบัญชีตรงนี้) คนเซ้งบอกว่าเขาเขาไม่เคยจ่าย ทำเองส่งเองไม่ค่อยมีใครดูจริงจัง (ผมก็เห็นด้วยครับ แต่มันไม่ใช่ต้นทุนหลักเลยก็เลยใส่ไว้ครับ)

3.8. ค่าอื่นๆ ครับ (จริงๆ ผมเผื่อไว้เยอะและครับ) แต่เผื่ออีกเดือนละ 3000 บาทคงไม่เป็นไรครับหรือแค่ปีละ 36,000 บาทครับ

ต้นทุนหลักๆ รวมแล้ว 827,000 บาทต่อปีครับ แต่จริงๆ มันมีต้นทุนอื้นที่แฝงอยู่คือค่าเสื่อมครับ ค่าเสื่อมอยากให้คิดง่ายๆ คือค่าอุปกรณืที่เราซื้อมาและมันเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ พอถึงวันนึงต้องซื้อใหม่ครับ หรือคิดอีกแบบครับคือมันเหมือนบัตรเติมเงินครับ ซื่ออุปกรณืมาเหมือนเติมเงินเต็ม พอใช้ไปเรื่อยๆ เงินมันก็โดนตัดไปเรื่อยๆ พอหมดก็ต้องเติมให่หรือซื้อใหม่ครับ ต้นทุนอันนี้ผมเอามาจากทรัพย์สินที่เขาจะให้ผมมาหารเวลาที่จะใช้ได้ (จำนวนปี) และหักออกครับก็จะประมาณ 17,000 บาทต่อปีเพราะมูลค่าสินค้าที่รับมามันก็เหลือมูลค่าจริงแค่ 85,000 บาทครับ
หลังจากเอารายได้มาหักกับรายจ่ายที่อธิบายตอนต้นแล้วก็เจอว่าในปีแรกจะติดลบ 6,143 บาทครับซึ่งก็ไม่เป็นไรถ้าปีอื่นๆ มีพัฒนาวการที่ดีครับ (แหมผมตีไว้ตั้ง 10 ปีนะครับ)
ผมเลยต้องเอารายได้และต้นทุนต่างๆ มาปรับค่าในปีต่อๆ ไป เช่น ค่าแรงก็ต้องมีการเพิ่มขึ้นถ้าเราจะรักษาพนักงานเราไว้ครับผมเลยให้เพิ่มขึ้น 6% ต่อปี ค่าอื่นๆ ก็เช่นกันครับก็ปรับให้สอดคล้องกับตลาดหรือความเป็นจริงมากที่สุด รวมถึงรายได้ด้วย ทำให้พอ 10 ปีแล้วผมพบว่า จากรายได้ 4500 ต่อวันลงทันค่าเว้งร้าย + ยา + ค่าอุปกรณืที่ต้องซื้อเพิ่มระหว่างช่วงเวลา (10 ปีนั้น) มูลค่าการลงทุนผมอยู่ที่ 647,560 และจะได้คืนมาเป็น 1.30 ล้านใน 10 ปีครับ (สุทธิจากต้นทุน) หรือ IRR ที่ 17% ซึ่งผมว่าดีมากครับ แต่ก็มีความเสี่ยงว่าถ้าขายได้น้อยกว่า 4,500 หรือก็จะรวยได้มากถ้าขายได้มากกว่านั้นครับ

คราวนี้ผมเลยมาดูว่าผมจะได้เงินจริงต่อเดือนเท่าไหร่ คุ้มไม้กับความเสี่ยงที่จะต้องลงไปทำ (เมื่อเปรียบเทียบกับที่ยังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่)  ผลเป็นตามนี้ครับ



หมายเหตุ เทียบเฉพาะปีแรกที่ดำเนินการ

จากที่วิเคราะห์แล้วผมว่าได้มากสุด 43,952 บาทครับซึ่งอันนี้แหละที่ทำให้หลายคนเซ้งเพราะทำอย่างอื่นได้เงินเยอะกว่าครับ และบางคนอาจจะบริหารต้นทุนหรือลืมคิดต้นทุนหลายตัวทำให้ผลลัพทธ์อาจจะขาดทุนได้ครับ (แบบไม่รู้ตัว) เพราะคิดว่ามีเงินใช้ทุกวันแต่ต้องเอาเงินเก่ามาใช้ตลอดครับ ส่วนใครที่มีไอเดียอื่นประกอบผมว่าผลตอบแทนถือว่าใช้ได้ครับ ยิ่งถ้าเป็นเภสัชเองน่าจะมีรายได้สูงกว่านี้ครับ

ประเมินความสามารถด้านเทคนิค
เนื่องจากเป็นธุรกิจยาครับ ต้องเป็นคนมีความรู้เกี่ยวกับการจ่ายยา ซึ่งผมไม่มีครับ ซึ่งจะทำให้ผมต้องไปพึ่งกับผู้ช่วยเภสัชมากครับ ดังนั้นถ้าผมจะทำจริงคงต้องเค้นหาคนที่มีประสบการณืไม่น้อยกว่า 5 ปีครับ ซึ่งเท่าที่ผมลองหาแล้วก็หาไม่ยากครับหากแต่ต้องระวังจริงๆ เพราะการจ่ายยา จ่ายยาผิดคือฆ่าเขานะครับ (กรณีเขาแพ้ยามาก) อันนี้ผมเลยต้องเตือยตัวเองนิดนึง

3. ประเมินความสามารถทางการตลาด
ผมประเมินเบื้องต้นเจอว่าด้สนสภาพแวดล้อมที่มีคู่แข่งใหญ่เข้ามา ร้านยาเข้าง่ายออกง่าย รวมถึงคนชั้นกลางถึงสูงเขามีสวัสดิการบริษัทหรือมีประกันที่เข้าโรงพยาบาลรัฐและเอกชนได้อยู่แล้ว จึงพึ่งร้านขายยาน้อย หากแต่กลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่ (ระดับกลางลงมา ที่ไม่มีประกันหรือสวัสดิการบรัทมากมาย) ก็ยังมีอยู่มาก และก็มียาประเภทใหม่หรืออาหารเสริมต่างๆ รูปแบบใหม่เข้ามาให้ขายเรื่อยๆ ซึ่งเรียกน้องความสนใจกับผู้บริโภคได้ดี รวมถึงสมัยนี้ขายยาออนไลนด์ได้อีก ผมจึงว่าน่าสนใจครับ

สรุป
คุ้มที่จะทำครับ ถ้ามีความรู้เรื่องของการจ่ายยาบ้าง สำหรับผมผมเลือกที่จะไม่ทำครับเนื่องจากไม่คุ้มการลงทุนในเวลาผมยกเว้นจะขยายสาขาไปเยอะๆ ครับ

แหล่งที่มา http://www.oknation.net/blog/Edunet/2014/07/17/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น