วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

“ธุรกิจสวนผักแนวตั้ง” แห่งแรกของโลก

kasetmodern logo เกิดอะไรขึ้นกับสิงคโปร์ เมืองท่าการค้าสำคัญของภูมิภาคเอเชีย และเป็นที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคขององค์กรชั้นนำระดับโลก ที่หันมาให้ความสำคัญกับการปลูกผัก จนทุกคนฮือฮากับโครงการ “สวนผักแนวตั้งเชิงพาณิชย์” แห่งแรกของโลก ออกแบบโดย “สกาย กรีน ฟาร์ม”โครงการนี้อยู่ห่างออกไปย่านตึกระฟ้าในสิงคโปร์ไม่ถึง 20 ไมล์ โดยใช้โครงสร้างเหล็กเรียงสูงเป็นแนวตั้ง เพื่อเป็นฟาร์มปลูกผัก เช่น ผักบ็อกชอย (กวางตุ้งจีน) ผักกาดขาว เพื่อป้อนซูเปอร์มาร์เก็ตในสิงคโปร์ ช่วยลดการนำเข้าพืชผัก สามารถผลิตผักสดได้สัปดาห์ละ 1 ตัน
สวนผักแนวตั้งถือเป็นความหวังใหม่ของชาวสิงคโปร์ที่จะผลิตวัตถุดิบอาหารเอง โดยเป็นโครงการที่ต่างจากสวนผักในเมืองทั่วโลกตรงที่รัฐบาลสิงคโปร์ร่วมลงทุนและให้การสนับสนุน
121205042031-singapore-vertical-farm-3-horizontal-gallery
121205042557-singapore-vertical-farm-6-horizontal-gallery
ปัจจุบันสิงคโปร์ผลิตผักได้เองเพียง 7% จากปริมาณการบริโภคทั้งหมด ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศจำนวนมาก การผลิตได้เองในพื้นที่จะทำให้คนสิงคโปร์มีผักรับประทานมากขึ้น และยังมีประเด็นรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยคือ ลดระยะทางในการขนส่ง ก็เท่ากับลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลก ส่วนการใช้น้ำสำหรับสวนผัก ก็เน้นความประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยออกแบบชุดจ่ายน้ำเป็นรูปตัว  A น้ำจะไหลช้าๆ เพื่อรดผักทุก 8 ชั่วโมง น้ำที่ล้นเกินจากการรดผัก จะมีการกรองและไหลเวียนกลับมาใช้ได้อีก ของเสียทั้งหมดจากฟาร์มจะมีระบบหมุนเวียนนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยชุดจ่ายน้ำแต่ละชุด ใช้พลังงานน้อยมากพอๆ กับการใช้พลังงานของหลอดไฟ 60 วัตต์เท่านั้น
121205041844-singapore-vertical-farm-2-horizontal-gallery
121205043412-singapore-vertical-farm-8-horizontal-gallery
ฟาร์มผักแห่งนี้ได้สร้างโครงอลูมิเนียมสูงประมาณ 30 ฟุต กว่า 120 หลัง ดูแล้วเหมือนโรงเรือนยักษ์ ปัจจุบันปลูกผักเพียง 3 ชนิด แต่ในอนาคตจะขยายขนาดฟาร์มและความหลากหลายของผัก ขณะนี้กำลังมองหานักลงทุนที่จะสนับสนุนการสร้างโครงอีก 300 หลัง
Jack Ng ผู้ก่อตั้ง “สกาย กรีน ฟาร์ม” มีความคิดเรื่อง “สวนผักแนวตั้ง” มาตั้งแต่ปี 1950 และได้พัฒนาโครงสร้างการปลูกผักต้นแบบสำเร็จเมื่อปี 2009 ก่อนที่จะทำการจดสิทธิบัตร เขามองว่า หอคอยปลูกผักสามารถเป็นต้นแบบให้กับหลายๆ ประเทศทั่วโลก โดยกำลังศึกษาระบบแสงจากหลอด LED กรณีที่นำไปปลูกบริเวณที่มีแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เพียงพอ
แม้ว่าสวนผักแนวตั้ง จะมีต้นทุนสูงกว่าผลผลิตทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตราว 10 – 20% แต่ดูเหมือนไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับชาวสิงคโปร์ เพราะผู้บริโภคต้องการผักสด ทำให้สวนผักแนวตั้งอาจช่วยพลิกโฉมการกินของโลก และช่วยให้เมืองที่แออัด ได้ปลูกผักเอง โดยเฉพาะสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีผืนดินจำกัด หากจะผลิตอาหารเอง จะต้องทำให้ได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น