วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความงามและสุขภาพ (5): แอลอีดีปวดหาย ! | เดลินิวส์



„แล้วใครจะคิดว่าแสงสีนำ้เงินช่วงความยาวคลื่นที่ล่อตาล่อใจเหล่าแมลงให้มาบินเล่นแสงไฟยามอัสดง วันนี้มันกลายมาเป็นกอเอี๊ยะแอลอีดีแก้ปวดกล้ามเนื้อด้วยแล้วนั่น วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 0:00 น. “หนาวลมก็ไปห่มผ้า หนาวฟ้าก็ไปผิงไฟ” … “เจ็บป่วยจงไปหาหมอ ปวดเมื่อยอย่ารีรอ รีบไปจับเส้นนวดเฟ้นกันไง” ใครจะคิดว่าธรรมดาที่อาการปวดตามผิวร่างข้างกายซึ่งแก้ไขด้วยการกินหรือทายาแล้วนวดก็บรรเทา ไม่เพียงแค่นั้นแล้วคราวนี้มาผิงแสงแอลอีดีแก้ปวดกันได้บ้างแล้ว ! แสงสีน้ำเงินกลับมาโด่งดังอีกครั้งต้นเดือนตุลาคมพ.ศ.2557 เมื่อรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์มาลงที่การคิดค้นแอลอีดีพันธุ์สีครามน้ำเงินนี้ เมื่อรวมแสงแม่สีอื่นคือแดงและเขียวที่เกิดมาก่อนหลายทศวรรษแล้ว โลกนี้จึงได้แสงสีขาวเป็นบรรทัดฐานของหลอดไฟแอลอีดีส่องไสวที่ขนาดเล็กและราคาถูกลง … สว่างจ้ามากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งได้อุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ ตามมา เช่น จอของทีวี คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์แอลอีดี แล้วใครจะคิดว่าแสงสีนำ้เงินช่วงความยาวคลื่นที่ล่อตาล่อใจเหล่าแมลงให้มาบินเล่นแสงไฟยามอัสดง วันนี้มันกลายมาเป็นกอเอี๊ยะแอลอีดีแก้ปวดกล้ามเนื้อด้วยแล้วนั่น ก่อนหน้าที่ฟิลลิปส์จะทำต้นแบบแผงแปะแก้ปวดที่ว่า ได้มีสารพันรูปแบบสินค้าแอลอีดีแสงน้ำเงินและสีใกล้เคียงทั้งแบบเข็มขัดรัดเอว แท่งประกบแขนขา โคมฝักบัวนวดถูออกมาขายมากมายเหลือเกิน เพราะในวงการสุขภาพได้มีผลงานวิจัยที่ทยอยแจ้งว่า แสงช่วงสีที่ตามองเห็นได้โดยเฉพาะความยาวคลื่นแถบน้ำเงิน สามารถส่องลงไปใต้ผิวเพื่อผ่อนการปวดดังกล่าวได้ ฟิลลิปส์เองแจ้งผลง่ายๆ ตรงไปตรงมาว่า กอเอี๊ยะแสงนี้จะกระตุ้นสร้างไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide: NO) ใต้ผิวหนังและจะไปมีผลต่อการไหลเวียนโลหิตและลดอาการเจ็บปวดในที่สุด ซึ่งต้นแบบที่เสนอนี้จัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์การแพทย์ความเสี่ยงต่ำ (low-risk class 2a medical device) ปกติที่ต้องมีสัมผัสไม่ว่าแผลเจ็บลึกหรือปวดแค่ไหน เพราะหากได้นวดถูดึงตึงต่อย(เบาๆ) ให้รู้สึกเคลิ้มไปด้วยจะรู้สึกว่าเลือดเดินดี แต่นี่แสงส่องเฉยๆ จะมามีผลกับความรู้สึกคนเจ็บคนปวดได้อย่างไรเล่า ? … จึงสังเกตุการออกแบบให้ถูกใจผู้ใช้ได้ว่า อุปกรณ์ของขายทำนองนี้มักจะมากับการสนองสัมผัสมีส่วนที่ขยับเขยื้อนด้วย (ให้ความรู้สึกถูเค้นไปพร้อมกับการส่องแสง) … หากลองได้สำรวจการออกแบบของผลิตภัณฑ์สารพันบรรเจิดเหล่านั้นดู จะเห็นความคิดที่ต้องอมยิ้มกับนวัตกรรมแสงปวดหายนี้ … แต่ … เพราะบางกรณีของการเจ็บปวดไม่สามารถหรือจำเป็นต้องเลี่ยงการรักษาด้วยยาหรือการสัมผัสถูนวดตรงๆ เช่น ผู้ที่มีปัญหาผิวอักเสบ แตะแล้วหนังหลุดลอกหรือเจ็บแสบแบบนั้น จึงเป็นที่มาของทางเลือกให้แสงส่องเฉยๆ นั่นไง … โดยไม่สัมผัส ใครจะคิดว่าแอลอีดีสีน้ำเงินจากการคิดค้นของคนเชื้อสายญี่ปุ่นสามคนจะมีประโยชน์มากมายปานนี้ สร้างคุณประโยชน์ให้โลกทั้งความสว่างและแก้ปวด ยัง ยังไม่พอ... รอบหน้าไปดูแสงนำ้เงินกับปัญหาทารกตัวเหลืองเกิดใหม่ที่ต้องพึ่งตู้อบส่องแสงเพื่อสลายเจ้าสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเดิมใช้แบบหลอดไฟมานานแล้ว จนแอลอีดีได้มาร่วมทำหน้าที่ต้อนรับชีวิตใหม่ๆ ให้สู่โลกด้วยความสดใสนั้นด้วย … แถมท้ายด้วยการเยียวยาโรคสะเก็ดเงินจากแสงน้ำเงินเข้าอีก … ประโยชน์กว้างหลายจริงเจ้าแสงสีนี้ อนึ่ง แสงสีน้ำเงินปกติที่มองเห็นได้ก็ลองใช้ดูได้ แต่ควรระวังหากช่วงสีนั้นไปรวมเอาแสงแถบใกล้ๆ หรือยูวี (Ultra-Violet: UV) ที่ไม่พึงปรารถนาเข้ามาด้วย ผลเสียก็จะมี … สำรวจดูดีๆ กันก่อน เพราะยังไม่มีหน่วยงานไหนกลั่นกรองหรือจะมีใครรับรองผลของอุปกรณ์แอลอีดีแบบที่หาซื้อได้ในตลาดนัดแบบนี้ (เยอะ) และการใช้แสงสีน้ำเงินถึงม่วงปกติกับการเปิดยามมืดค่ำหากอยู่นอกอาคารใกล้ท้องไร่ท้องนาก็ดูทิศดูทางกันดีๆ แมงและแมลงยามปลายฝนต้นหนาวชอบสีนี้นักแล … ก็ใครจะไปคิดล่ะว่าการเปิดแสงส่องนวดแล้วปวดอาจหาย รวมทั้งได้ล่อแมงดานามาตำน้ำพริกกินอีกหนึ่งประโยชน์แถมท้ายด้วย … ไปนั่น ! จันทิรา ปัญญา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ "แสง-ควอนตัม-สื่อสาร-แอลอีดี" facebook.com/VisibleLightThailand (ECTI Info. & IEEE ComSoc Thailand)“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/277627

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น