วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

‘เอเชีย’ แหล่งรวมเศรษฐีพันล้านแห่งใหม่ของโลก จับตา เจนวายไทย รวยด้วยหุ้น–สตาร์ทอัพ

‘เอเชีย’ แหล่งรวมเศรษฐีพันล้านแห่งใหม่ของโลก จับตา เจนวายไทย รวยด้วยหุ้น–สตาร์ทอัพ

PwC คาดอีก 5-10 ปีมหาเศรษฐีพันล้านในเอเชียจะแซงหน้าอเมริกาและยุโรป ชี้อุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคจะเป็นแหล่งสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งของคนในภูมิภาคนี้ จับตามหาเศรษฐีเกิดใหม่ของไทยเพิ่มขึ้น หลังเจ็นวายและ Startup หน้าใหม่หันมาลงทุนสร้างความมั่งคั่งผ่านตลาดหุ้นมากขึ้น แนะปลูกฝังความรู้ทางการเงินควบคู่ไปกับการสร้างความมั่งคั่ง เพื่อให้ตลาดทุนไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในอีก 5-10 ปีจำนวนมหาเศรษฐีในเอเชียจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
ที่มา เอเชียศรษฐีพันล้าน
-การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลกมาเป็น ‘บูรพาภิวัฒน์’ ถือเป็นหนึ่งในกระแส ‘เมกะเทรนด์’ ที่จะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆโดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย
- ศูนย์กลางอำนาจทางการเงินที่เริ่มย้ายฐานมาทวีปนี้
-จำนวนชนชั้นกลางที่มากขึ้น อำนาจในการใช้จ่ายของผู้คนในภูมิภาคก็มากขึ้นตามไปด้วย
-นักธุรกิจฝั่งเอเชียเริ่มหันมาตั้งต้นธุรกิจและสร้างฐานะความมั่งคั่งด้วยตนเอง จากการทำธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค-บริโภค และรองลงมาคือ เทคโนโลยี และไอที
แจ้งเกิดเศรษฐีใหม่
มุมมองของ PCW สอดคล้องกับผลสำรวจ Billionaires: Master architects of great wealth and lasting legacies ประจำปี 2558 ซึ่งจัดทำโดย UBS AG และ PwC ที่ผ่านมาซึ่งพบว่า สัดส่วนของมหาเศรษฐีที่สร้างฐานะด้วยตนเอง (Self-made billionaires) ในเอเชียได้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
-เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนของมหาเศรษฐีที่สร้างความมั่งคั่งด้วยตัวเองสูงถึง 36% ของเศรษฐีพันล้านทั่วโลก
-มหาเศรษฐีในภูมิภาคนี้ถึง 25% ยังเติบโตมาจากครอบครัวที่ยากจน ถือเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐที่ 8% และยุโรปเพียง 6%
-อายุเฉลี่ยของเศรษฐีระดับพันล้านชาวเอเชียก็น้อยกว่ามหาเศรษฐีจากสองทวีปถึง 10 ปี โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 57 ปี
“เราเห็นเทรนด์ของคนหนุ่ม-สาวที่กลายมาเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่กันตั้งแต่อายุยังน้อยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย โดยเด็กสมัยนี้หันมาเริ่มต้นทำธุรกิจหรือลงทุนกันตั้งแต่จบทำงานใหม่ๆ และส่วนใหญ่ไม่ได้เติบโตมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย จึงไม่น่าแปลกใจที่อายุเฉลี่ยของมหาเศรษฐีในเอเชียจะน้อยกว่าฝั่งอเมริกาหรือยุโรปถึง 10 ปี”
เศรษฐีใหม่จีนเกิดทุกสัปดาห์
แต่ก็มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ จำนวนเศรษฐีใหม่ในจีนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากผลสำรวจดังกล่าวพบว่า ในช่วงปีไตรมาสแรกของปี 2558 นี้ มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นในจีนแทบทุกสัปดาห์ ศิระมองว่า ส่วนหนึ่งเพราะประชากรจีนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลจีนปฏิรูปตลาดทุนในประเทศ ส่งผลให้ชาวจีนหันมาเล่นหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเพียง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีบัญชีหุ้นเปิดใหม่ทะลุ 30 ล้านบัญชี แต่นักลงทุนซึ่งเป็นรายย่อยส่วนใหญ่กลับกลายเป็นนักเรียนมัธยมที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการลงทุนอย่างแท้จริง และกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นจีนประสบกับภาวะฟองสบู่
จับตาไทยเศรษฐีใหม่ เจนวาย รวยด้วยหุ้น
ประเทศไทย นายศิระกล่าวว่า เศรษฐีหน้าใหม่มีแนวโน้มเกิดขึ้นมากเช่นกัน หลังจากที่เด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเจ็นวาย (Gen Y) หันมาลงทุนสร้างความมั่งคั่ง (Wealth generation) ผ่านตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น กระแสที่ต้องการ ‘รวยด้วยตัวเอง’ หรือ ‘รวยทางลัด’ โดยไม่ต้องอาศัยทำงานในออฟฟิศ
ประกอบกับความนิยมในตัวนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ มั่งคั่งตั้งแต่อายุยังน้อย ตลาดหุ้นไทยจึงกลายเป็นแหล่งที่คนรุ่นใหม่เข้ามาแสวงหาความมั่งคั่ง อย่างไรก็ตาม มองว่า สิ่งที่ต้องปลูกฝังควบคู่ไปกับการสร้างความมั่งคั่งคือ ความรู้ทางการเงิน (Financial literacy) เพื่อสร้างความมั่งคั่ง การบริหารจัดการความเสี่ยงจากการลงทุน และการเติบโตของตลาดทุนไทยที่ยั่งยืน
“นอกจากความมั่งคั่งที่สร้างจากการลงทุนในหุ้นแล้ว เทรนด์ของการตั้งธุรกิจใหม่หรือสตาร์ทอัพในบ้านเรามีให้เห็นกันมากขึ้น เด็กยุคใหม่โดยเฉพาะเจ็นวาย อยากจะมีกิจการเป็นของตนเอง อยากจะสร้างความสำเร็จด้วยมันสมองและฝีมือของตน บางรายเรียนจบแล้วก็หุ้นกับเพื่อนฝูงตั้งบริษัท บางรายก็อาจจะเริ่มทำงานเป็นพนักงานบริษัทก่อนสักสองถึงสามปี แล้วนำประสบการณ์มาดัดแปลงสร้างธุรกิจของตน ทำให้คนไทยรุ่นใหม่ๆ มั่งคั่งตั้งแต่อายุยังน้อย” ศิระ กล่าว
“สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ควบคู่ไปกับการสร้าง Wealth คือการวางแผนการลงทุน และรู้จักบริหารความเสี่ยง ต้องเข้าใจประโยชน์ที่แท้จริงของการออม และมองที่ผลตอบแทนในระยะยาว”

“นอกเหนือจากการสร้างฐานะเพื่อความมั่งคั่งของตัวเองแล้ว มหาเศรษฐี ยุคใหม่ยังให้ความสำคัญกับการตอบแทนสู่สังคมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตอนนี้คนรวยไม่ได้มองแค่การตักตวงผลประโยชน์ หรือหา เงินเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น แต่ยังมีจิตสาธารณะ ต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคมที่เขาทำธุรกิจอยู่ด้วย”  นาย ศิระ กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น