วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

8 เทคนิค บริหาร "เงิน"ในกระเป๋า


(เพื่อสุขภาพ Cash Flowที่ดีของตัวเราเองและกิจการ)
.
พอดีมีคำถามที่น่าสนใจเข้ามาครับ เรื่องการบริหารเงินในกิจการ เพราะทำมาแทบตายเหมือนจะมีกำไร แต่ทำไมเงินไม่เหลือเลย ... ผมขอนำมาสรุปให้ฟังในเรื่องหลักๆดังนี้นะครับ
.
.
1 แยกกระเป๋า ระหว่าง เงินส่วนตัว และเงินกิจการ .. เพราะการมั่วใช้จ่าย กระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวา มันจะยากมากๆ ที่จะตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ ได้ว่า รายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้า และเงินสด ความเป็นจริงมันคือเท่าไหร่
.
.
2 รู้หน้าตักตัวเอง .. เป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่หลายคนไม่เคยทำ คือการคำนวณจำนวนเงินสดในกิจการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่เจ้าของดำเนินการเอง เช่นร้านค้าออนไลน์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ในกระเป๋าและบัญชีส่วนตัว // เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เราจะอยู่รอดได้อีกกี่วัน หรือกี่เดือน ถ้าเราไม่รู้ว่าปัจจุบันเรามี เงินสด ในมือเท่าไหร่
.
.
3 บันทึกค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ให้เป็นวินัย เพราะหลายกิจการตกม้าตาย จากการไม่บันทึกในรายละเอียด เพราะการที่เราไม่รู้ตัวว่า เงินแต่ละก้อนที่เข้ามา มันออกไปกับอะไร และมีตกหล่นหายไปหรือไม่ // และความสำคัญอีกอย่างคือ ถ้าเราต้องพิจารณา ลดcost และ บริหารต้นทุนต่างๆ เราจะไม่สามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงของกิจการเราได้ และเราจะแก้ปัญหา หรือปรับปรุงมันได้ไม่ตรงจุด
.
.
4 รู้จักนิสัยค่าใช้จ่ายแต่ละก้อน … ค่าใช้จ่าย สำคัญมากๆไม่ต่างจากรายได้ นอกจากเราต้องบันทึกแล้ว // เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจนิสัยของเขา เช่น กำหนดการวางบิล กำหนดการชำระเงิน การบริหารcredit term เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรามีสุขภาพcashflowที่ดีได้ (ไม่เกิดภาวะ ชักหน้าไม่ถึงหลัง)
.
.
5 การLeverage หรือในมุมนี้ผมจะพูดถึงคือการกู้ซึ่งส่งผลให้เราเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ด้วยเงินทุนที่เพิ่มขึ้น ในจังหวะที่เราจำเป็น เช่นการกู้เงินต่อยอดกิจการ ซื้อสินค้าเพิ่มเติม หรือขยายร้าน .. // เรื่องนี้สามารถลองเริ่มปรึกษากับธนาคารที่เราสนิท ใกล้บ้าน และสะดวกในการเดินทางก็ได้ครับ การหาคู่แท้ทางการเงินได้ก็ส่งผลต่อการเติบโตของกิจการเราได้เช่นกัน แต่คุณต้องย้ำกับตัวเองเสมอว่า การกู้เงิน มันมีต้นทุน หรือ ดอกเบี้ยนั่นเอง และมีผลสำคัญต่อการบริหารเงินสด และการจ่ายคืนหนี้แต่ละครั้ง และต้องทำความเข้าใจกับกำหนดการการชำระเงินคืนให้ดี .. และอย่ากู้เกินตัว และอย่ากู้มาใช้จ่ายส่วนตัว เพราะมันจะเป็นหนี้เสีย ที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้เรา .. อันนี้สำคัญมากครับ
.
.
6 ขอเงินลูกค้ามาก่อน หรือ Prepayment (เฮ้ยทำได้ด้วยเหรอ?? ) หลายๆกิจการจะใช้วิธีแบบนี้ เพื่อกำเงินสดในมือไว้ก่อน เช่นการขาย voucherในราคาถูก (โรงแรม รถเช่า ร้านอาหาร ) เพื่อคุณจะมาใช้บริการเขาวันหลัง ที่เราเห็นได้เยอะมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งวิธีการนี้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกิจการของเราเองได้ หากเราเป็นร้าน online ถ้าลูกค้าเริ่มติดตลาด และร้านเรามีความน่าเชื่อถือ เราสามารถนำเสนอ Gift Voucher เช่น 20,000บาท ซื้อภายในวันนี้ในราคา16,000 เพื่อใช้ได้ภายใน1ปี ก็เป็นการfundingอีกวิธีหนึ่ง (แต่วิธีเหล่านี้ ต้องบันทึกบันชีให้ดีด้วยเช่นกัน เพราะเงินก้อนที่ได้มา ก็มีต้นทุนส่วนลดที่เราให้เขาไปแล้วในตอนแรกครับ)
.
.
7. ลงทุน ลุงทุน ลงทุน หลายกิจการมีexcess cashแต่ไม่รู้จะทำอะไรเลยเก็บไว้ในตุ่ม .. เราควรนำเงินส่วนเกินของเราไปลงทุนต่อให้มันงอกเงยมากยิ่งขึ้น การฝากในsaving account ควรเป็นส่วนที่ไว้รักษาสภาพคล่องเท่านั้น (คือให้ใช้ได้พอในช่วงเวลาหนึ่งที่ทำให้เราปลอดภัย ) แต่ส่วนที่เหลือควรหาวิธี allocateให้เหมาะสม (ไว้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง Asset Allocation อีกครั้งนะครับ หรือหาอ่านได้ตามหนังสือการลงทุนหลายๆวิธีดีๆมากมาย เช่น อสังหา หุ้น กองทุน เป็นต้น)
.
.
8 สุดท้าย ที่ผมมองว่าเป็นข้อสำคัญของการ บริหารเงินคือ
.
.
อย่าใช้จ่ายเกินตัว … แยกให้ออกระหว่าง “ความอยาก” กับ “ความจำเป็น” // ยิ่งในช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หลายๆครั้งผมใช้ของมือสอง เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โต๊ะ เก้าอี้สำนักงาน เครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ
!! หรือบางครั้งเราใช้เป็นการเช่าด้วยซ้ำ !! เพราะเรายังไม่รู้ว่ากิจการเรามันจะไปได้ดีแค่ไหน / แต่ถ้าบางกิจการ ภาพลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญ ก็ไม่แปลกถ้าต้องมีบางitemที่เลือกใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะ .. และควรยึดหลักไว้ในใจเสมอว่า “อะไรคือสิ่งที่เราต้องการใช้จริง” และ “ อะไรคือความอยาก”
.
.
แต่เมื่อความสำเร็จเรามาถึง เราจะตอบแทนตัวเองต้องการใช้จ่ายในสิ่งที่เรา”อยาก”ได้บ้าง มันก็สมควรแก่เวลาครับ // ไม่อย่างนั้นหัวใจที่เคยพองโต..มันก็เหี่ยวไปตามกาลเวลา..ไม่อยากทำต่อ..เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม จริงมั้ยครับ
====
อาเสี่ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น