วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เหลือเชื่อ!! แค่ 1% ของพลังงานความร้อนใต้พิภพในออสเตรเลีย มีศักยภาพยาวนานถึง 26,000 ปี


นักวิทยาศาสตร์ของทางการออสเตรเลียได้ให้ข้อมูลต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ร้อยละ1 ของพลังงานใต้พิภพที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานได้เพียงพอและยาวนานไปถึง 26,000 ปี 

รายงานจากสมาคมพลังงานความร้อนใต้พิภพของออสเตรเลียระบุว่า ภายใต้นโยบายพัฒนาพลังงานความร้อนใต้ภิพย 2,200 เมกะวัตต์ภายในปี 2020 ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนกว่า10.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นการเติมเต็มเป้าหมายพลังงานทดแทนของรัฐบาลให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 จากในปัจจุบันที่มี 45,000 กิกะวัตต์ชั่วโมงหรือร้อยละ 20 ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด 

ทางสมาคมพลังงานความร้อนใต้พิภพของออสเตรเลียยังประมาณค่าใช้จ่ายไฟฟ้า สำหรับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในขั้นตอนต่างๆ พบว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นหนึ่งในพลังงานที่มีราคาต่ำสุดของพลังงานทดแทน ดังตัวอย่างที่ว่า ขนาดโรงไฟฟ้า 10-50 เมกะวัตต์ ค่าใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะอยู่ 90-135 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มากกว่า 300 เมกะวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 80-110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง 

อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าเพื่อพัฒนาไปสู่พลังงานทดแทนนี้ อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศออสเตรเลียในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตพลังงานร้อยละ 77 นั้นมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน ซึ่งกลายเป็นที่มาของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวมากที่สุดในโลก คิดเป็น 5 เท่าของประเทศจีนเลยก็ว่าได้ 

ที่มาและภาพประกอบ www.treehugger.com
แปลและเรียบเรียงบทความโดย Copyright :  www.energysavingmedia.com

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

นักจุลชีววิทยาชู "ชีวะคอนกรีต" ซ่อมแซมรอยร้าวเองได้ เพื่ออนาคตวงการก่อสร้าง


สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ประเภท "คอนกรีต" ที่มีการใช้ในงานก่อสร้างมายาวนานกว่า 2,000 ปี ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ต่างพยายามค้นคว้าหาวิธีที่จะทำให้วัสดุประเภทนี้ มีความคงทนแข็งแรงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ด้วยการนำความอัศจรรย์ทางธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง

ศาสตราจารย์ Henk Jonkers นักจุลชีววิทยา จากมหาวิทยาลัย Delft University of Technology ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า "ไม่ว่าการผสมคอนกรีตจะทำด้วยความระมัดระมัดหรือละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอนเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วคอนกรีตก็มักจะแตกร้าว ด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งสภาพอากาศ หรือปัจจัยอื่นๆ อยู่ดี ซึ่งการแตกร้าวนี้ อาจนำไปสู่ปัญหาสิ่งก่อสร้างหรืออาคารถล่มได้"

"เนื่องจากเมื่อคอนกรีตมีรอยแตกร้าว น้ำมักจะแทรกไปยังโครงสร้างรากฐาน จากนั้นน้ำก็จะซึมไปยังโครงสร้างเหล็ก เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตล้วนมีเหล็กเส้นยึดอยู่ด้านใน ซึ่งเมื่อน้ำทำให้เหล็กสึกกร่อนแล้ว แน่นอนว่าโครงสร้างต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และพังในที่สุด"

จากกรณีดังกล่าว ศาสตราจารย์ Henk Jonkers เปิดเผยว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาและพัฒนา "Bioconcrete" หรือ "ชีวะคอนกรีต" ขึ้นมา ความพิเศษคือ สามารถซ่อมแซมตัวเองได้โดยการใช้แบคทีเรีย

Bioconcrete ผสมใช้คล้ายกับคอนกรีตทั่วไป ต่างกันแค่การเพิ่ม "บางอย่าง" ที่พิเศษลงไป ซึ่งก็คือ "Healing Agent" หรือตัวช่วยในการรักษาซ่อมแซมตัวเอง 

ทั้งนี้ Jonkers เริ่มศึกษาเกี่ยวกับ Bioconcrete ตั้งแต่ปี 2006 หลังจากนักเทคโนโลยีคอนกรีตท่านหนึ่ง ได้ทิ้งคำถามไว้ว่า "มีความเป็นไปได้หรือไม่ ในการใช้แบคทีเรียช่วยให้คอนกรีตสามารถซ่อมแซมตัวเองได้?" ซึ่งจากคำถามดังกล่าว Jonkers จึงใช้เวลา 3 ปี ในการไขปม และสามารถหาคำตอบให้กับคำถามอันท้าทายนี้ได้ในที่สุด 

Jonkers เล่าเพิ่มเติมว่า แบคทีเรียที่ใช้ ต้องสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ในสภาวะกระด้างของคอนกรีต เนื่องจากมีความแห้งค่อนข้างมาก นอกจากนี้ คอนกรีตยังมีความเป็นด่างสูง แบคทีเรียจึงต้องอยู่ในภาวะดังกล่าวนานหลายปี กระทั่งน้ำที่ซึมเข้ามา เป็นตัวเหนี่ยวนำให้แบคทีเรียทำหน้าที่ในการซ่อมแซม


Jonkers ได้เลือกแบคทีเรีย Bacillus (บาซิลลัส) ในการทำหน้าที่นี้ เนื่องจากเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ได้ดีในสภาวะด่าง ทั้งยังมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องการอาหารหรือน้ำนานกว่าสิบปี "ความท้าทายลำดับต่อไป ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกแบคทีเรียที่สามารถอยู่ได้ในคอนกรีต แต่คือการทำให้แบคทีเรียเหล่านั้น สร้างวัสดุสำหรับซ่อมแซมคอนกรีต ซึ่งก็คือหินปูน" Jonkers อธิบายเสริม
เพื่อให้การซ่อมแซมเกิดขึ้น แบคทีเรีย Bacillus (บาซิลลัส) ต้องการอาหารเพื่อผลิตหินปูน โดยน้ำตาลถือเป็นอาหารหลัก แต่หากเติมน้ำตาลเข้าไปในขั้นตอนการผสม จะทำให้คอนกรีตอ่อนนุ่ม และมีความเปราะ จึงเปลี่ยนอาหารสำหรับแบคทีเรียเป็น Calcium Lactate (แคลเซียม แลคเตท) ด้วยการจับแบคทีเรียและ Calcium Lactate (แคลเซียม แลคเตท) เข้าไปอยู่ในแคปซูลด้วยกัน โดยแคปซูลนี้ทำจากพลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ การใช้งานคือการผสมแคปซูลเข้ากับคอนกรีตผสมเปียก เมื่อคอนกรีตเริ่มแตกร้าว น้ำที่ซึมเข้าไปจะทำให้แคปซูลแตกตัว จากนั้นแบคทีเรียจะเริ่มขยายพันธุ์ และทำหน้าที่ในการซ่อมแซม

"เรากำลังผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับวัสดุก่อสร้าง ธรรมชาติเป็นสิ่งที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากลาย และไม่มีค่าใช้จ่าย และเราจะได้ประโยชน์จากมันหากเราสามารถนำใช้กับวัสดุก่อสร้างได้ อย่างไรก็ดี การประยุกต์ใช้แบคทีเรียเพื่อสร้างชีวะคอนกรีต ถือเป็นตัวอย่างและก้าวย่างที่ดี ในการนำธรรมชาติมาหลอมรวมกับแนวความคิดใหม่ๆ" Jonkers กล่าวทิ้งท้าย



Source: http://edition.cnn.com
แปลและเรียบเรียงโดย www.BuilderNews.in.th
อนุญาตให้เผยแพร่ด้วยการแชร์จาก www.BuilderNews.in.th เท่านั้น 
ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลงแก้ไขใดๆ
- See more at: http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=352&cno=10248#sthash.9IJErbJa.fXQHIc7A.dpuf

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กสิณ กรรมฐามอันทรงพลัง


                หลายคนเคยได้ยินเรื่องราว "กสิณ" มามากมาย แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไรยังไง อย่างแท้จริง ทำไมมันถึงถูกล่าวขานกันในสังคมไทยมาช้านาน

                กสิณเป็น 1 ใน 40 กรรมฐานในตำราวิสุทธิมรรคของพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า วิชากสิณ มีมาเนินนานก่อนจะจะมีพระพุทธศาสนา ซึ่งวิชาเหล่านี้ส่วนใหญ่เหล่าฤาษีชีไพร ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นวิชาสมาธิที่ง่ายๆ เพราะพึงการดูรูปให้เกิดสมาธิ จึงสำเร็จกันได้ง่ายๆ (ง่ายๆ นี้หมายถึงมีความเพียรพยายามและทำถูกวิธีการ)

                กสิณนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งหมด 10 อย่าง ผู้ฝึกควรเริ่มฝึกกสิณใดกสิณหนึ่งให้ชำนาญเป็นวสีสมาธิจนได้ฌานและนิมิตต่างๆก่อน เพราะถ้าได้ฌานเสียแล้ว กสิณที่เหลือก็จะฝึกได้ อย่างง่ายดาย ไม่ควรเริ่มทีละหลายกสิณสำหรับผู้เริ่มต้น จะทำให้ได้หน้าลืมหลัง

                การเจริญกสิณสมาธิ คือ การเจริญสติควบคู่ไปกับกสิณนั้นๆ ใจสงบ แล้วก็จะหยุด ความฟุ้งซ่าน เพราะมีสติในสมาธิ จิตก็จะสำเร็จกสิณเอง ดังนี้

กสิณ 10
                1. ปฐวีกสิณ เพ่งธาตุดิน ภาวนาว่า ปฐวีๆ หรือ ดินๆ
                2. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ ภาวนาว่า อาโปๆ หรือ น้ำๆ
                3. เตโชกสิณ เพ่งไฟ ภาวนาว่า เตโชๆ หรือ ไฟๆ
                4. วาโยกสิณ เพ่งลม ภาวนาว่า วาโยๆ หรือ ลมๆ
                5. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว ภาวนาว่า นีลังๆ หรือ เขียวๆ
                6. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง ภาวนาว่า ปีตังๆ หรือ เหลืองๆ
                7. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ภาวนาว่า โลหิตังๆ หรือ แดงๆ
                8. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว ภาวนาว่า โอทาตังๆ หรือ ขาวๆ
                9. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง ภาวนาว่า อาโลโกๆ หรือ แสงสว่างๆ
                10. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ ภาวนาว่า อากาโสๆ หรือ อากาศๆ


ข้อควรทราบ เรื่องคำบริกรรมภาวนา

                คำบริกรรมภาวนานั้น จะภาวนาอย่างไรก็ได้ แล้วแต่จริตของคน ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี หรือภาษาไทย (แต่มักนิยมภาวนาเป็นภาษาบาลีมากกว่าภาษาไทย)
                สมัยโบราณจะใช้คำบริกรรมภาวนากสิณแบบสั้นๆ เช่น ฝึกกสิณธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ภาวนาว่า ปฐวีๆ อาโปๆ เตโชๆ วาโยๆ เป็นต้น
                สมัยปัจจุบันจะใช้คำบริกรรมภาวนากสิณแบบใหม่ เช่น ฝึกกสิณธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ภาวนาว่า ปฐวี กสิณัง , อาโป กสิณัง , เตโช กสิณังวาโย กสิณัง , เป็นต้น แม้แต่ฝึกกสิณอื่น ก็ต่อท้ายกสิณนั้นๆ ด้วยคำว่า กสิณัง เช่นกัน
                การใช้คำบริกรรมภาวนาภาษาบาลีแบบสั้นหรือแบบยาว หรือจะภาวนาภาษาไทยก็ได้อย่างไหนก็ได้สุดแล้วแต่จริตของเราเป็นหลัก , ทำให้จิตเราสงบ มีสมาธิ เป็นสำคัญ
                การปฏิบัติสมาธิ เริ่มต้นจำเป็นต้องใช้คำบริกรรมภาวนา เพื่อป้องกันไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน สงบเป็นสมาธิ เมื่อสำเร็จสมาธิตั้งแต่ฌาน 2 ขึ้นไป คำบริกรรมภาวนานั้นจะหายไป ไม่ตกใจ ทำทุกอย่างให้เป็นปกติ ใจเราจะสงบนิ่งอยู่ในสมาธิ จนจิตเป็นหนึ่งเดียว ปล่อยวางเป็นอุเบกขา

หมายเหตุ : จิตยังไม่ได้ฌานอาจฟุ้งซ่าน จำเป็นต้องมีสติอยู่ในคำบริกรรมภาวนา แต่ถ้าจิตได้ฌานแล้ว คำบริกรรมภาวนาจะหายไป หรือไม่ใช้คำบริกรรมภาวนาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียกกลับมา เหมือนผู้ที่ยังไม่ได้ฌาน (ผู้ที่ไม่ได้ฌาน กับผู้ที่สำเร็จฌานแล้วจึงแตกต่างกัน

เพียงมีสติ ใจก็สงบเป็นสมาธิ
การฝึกกสิณต้องใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอน
                การฝึกสมาธิทุกอย่าง รวมทั้งการฝึกกสิณนั้น จำเป็นต้องฝึกบริกรรมคาถาภาวนาเป็นองค์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผู้เจริญกสิณน้ำ ก็ภาวนาสมาธิว่า อาโปๆ หรือน้ำๆ ผู้เจริญกสิณไฟ ก็ภาวนาสมาธิว่า เตโชๆ หรือไฟๆ เป็นต้น เพื่อทำให้จิตสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ แต่สำหรับผู้ผ่านฌานที่ 1 จะได้นิมิตติดตา จิตจะไม่ส่าย เป็นองค์ฌานสมาธิ คำบริกรรมคาถาภาวนา จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะใจได้สงบนิ่งแล้ว
                สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกกสิณนั้น จึงไม่ต้องรีบร้อนใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป การจะก้าว ขึ้นไปบันไดนั้น ตั้งเริ่มก้าวทีละขั้น อย่างช้าๆและมั่นคง (เริ่มจากขั้นแรกให้ชำนาญก่อน ถึงจะไปขั้นอื่นได้) ไม่ควรกระโดดข้ามขั้นตอนไปขั้นสี่เลย เพราะขั้นแรกจิตท่านยังไม่สงบ จะให้จิตปล่อยวางเป็นหนึ่งเดียว อุเบกขาสมาธิเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้
                การฝึกกสิณควรเริ่มต้นที่ การเจริญสติในสมาธิของกสิณนั้นๆ ทำใจให้สงบ เพื่อหยุดความฟุ้งซ่าน ผ่านนิมิตไปทีละขั้น (ปล่อยวางในนิมิตอารมณ์ของสุขในสมาธิทั้งปวง) จิตเมื่อผ่านปีติและสุขในสมาธิมาแล้ว จิตก็จะปล่อยวางเป็นอุเบกขาสมาธิได้เอง จิตก็ สงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียว ดังนี้

ดวงกสิณ คืออะไร
                ดวงกสิณ คือ การฝึกเพ่งกสิณเป็นวงกลมๆ เพื่อสามารถย่อหรือขยายดวงกสิณนั้นได้ การย่อหรือขยายดวงกสิณ ต้องได้นิมิตติดตาขึ้นไป พอหลับตาก็เห็นภาพกสิณนั้น จนขึ้นตาและขึ้นใจ สามารถกำหนดจิตเห็นภาพในนิมิตนั้นอย่างรวดเร็ว การฝึกเพ่งกสิณ จึงมีลักษณะเป็นวงกลมๆ จะไม่เป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม

กสิณจะมีรูปลักษณ์ตายตัวที่แน่นอน
                มีทั้งหมด 10 ประการ ดังกล่าวไว้แล้ว การฝึกกสิณ จึงแตกต่างกับการฝึกมโนภาพสมาธิ คือ
                การฝึกกสิณ มีรูปลักษณ์ตายตัวที่แน่นอน เป็นการฝึกเพ่งวัตถุเป็นอารมณ์ 10 อย่าง จะฝึกอย่างไหนก็ได้ สุดแล้วแต่จริตและบารมีธรรมของเราเป็นหลัก
                มโนภาพสมาธิ เป็นภาพนึกทางใจ ไม่จำกัดสีสันวัตถุที่ฝึกเพ่งเหมือนกสิณ สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกกสิณ ควรฝึกเพ่งเป็นวงกลมๆ เพื่อให้สามารถย่อหรือขยาย และจำเป็นนิมิตติดตาได้ง่าย
                สำหรับผู้ที่เคยสร้างสมอบรม กสิณนั้นมาในอดีตชาติ และเป็นผู้มีบุญบารมีธรรม แค่มองดูกสิณนั้นไม่นาน ไม่จำเป็นต้องทำเป็นวงกลม ก็สามารถสำเร็จกสิณนั้นอย่างรวดเร็ว


ผู้มีบุญ กับผู้มีฌานสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร
                ผู้มีบุญ คือ ผู้ที่เคยสร้างบารมีธรรมมาในอดีตชาติ และในชาติปัจจุบัน จะสำเร็จฌานหรือยังไม่สำเร็จฌานก็ได้ ผู้มีบุญจะฝึกสมาธิได้ง่ายกว่าคนธรรมดา เพราะเคยสร้างสมมา เรียกว่า เอาบุญมาต่อเป็นฌานสมาธิ เพื่อถือศีลปฏิบัติธรรม
                ผู้มีฌาน คือ ผู้ที่ใช้ความเพียรในปัจจุบัน อบรมจิตภาวนา จนสำเร็จฌานสมาธิ
                ผู้มีบุญ เรียกว่า บุญฤทธิ์ ผู้มีฌาน เรียกว่า ฌานฤทธิ์ จึงแตกต่างกัน

หมายเหตุ : ผู้ที่มีบุญเคยสั่งสมบารมีด้านของกสิณมาในอดีตชาติ สามารถฝึกกสิณจนได้ฌานอย่างรวดเร็ว เรียกว่า บุญเป็นเหตุให้เกิดฌานสมาธิ หรือมีบุญจึงสำเร็จฌานได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่าง บุญฤทธิ์กับฌานฤทธิ์ แตกต่างกันอย่างไร
                บุญฤทธิ์ สามารถเห็นสัมภเวสี เทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าฌานสมาธิ
                ฌานฤทธิ์ ต้องสำเร็จตาทิพย์ก่อน จึงสามารถเห็นสัมภเวสี เทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้
                บุญฤทธิ์นั้น สัมภเวสี หรือเทวดา จะมาปรากฏให้เห็นก็ได้ หรือจะเพ่งมองดูก็สามารถเห็นได้เช่นกัน แต่จะเห็นบางครั้งบางเวลาที่จิตสงบ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องการให้เห็น แต่ยิ่งใช้บุญฤทธิ์มากเท่าใด บุญตัวเองยิ่งลดลง เป็นข้อเสียของบุญฤทธิ์ ต้องหมั่นสร้างบุญกุศลอยู่เสมอ
                ฌานฤทธิ์นั้น จะต้องเข้าฌานเพื่อเพ่งมองดูสิ่งลี้ลับที่คนธรรมดามองไม่เห็น เช่น สัมภเวสี หรือเทวดา เป็นต้น การสำเร็จฌานอย่างเดียวไม่พอ ต้องสำเร็จตาทิพย์ด้วยถึงจะทำได้ และสามารถกำหนดได้ทุกครั้งที่ต้องการเห็น บุญตัวเองจะไม่ลดลงเหมือนบุญฤทธิ์ เพราะเป็นการใช้ฌาน จึงไม่เกี่ยวข้องกับบุญ แต่อย่างใด

ไม่ยึดติดอย่างไร ถึงไปถูกทาง
                การที่ได้ฌานสมาธิ ต้องผ่านนิมิตต่างๆ ถึงสามารถละวางได้ และปล่อยวางได้ในที่สุด เริ่มต้นจากขั้นพื้นฐาน จนผ่านปีติและสุขในนิมิต และถึงขั้นสูงปล่อยวางได้ อภิญญาก็สักว่าอภิญญา ไม่ยึดติด ใจเราก็สงบ ด้วยสติ

                ดังนั้น มีแล้วไม่ยึดติด เรียกว่า ปล่อยวางได้ ที่ยังยึดติดอยู่แสดงว่า ปฏิบัติไม่ถึงขั้นปล่อยวาง จำเป็นต้องพัฒนาจิตตัวเอง ในลำดับต่อไป จนละวาง และปล่อยวางได้ในที่สุด

ไม่ยึดติดอย่างไร ถึงไปผิดทาง
                การไม่ยึดติด แต่เอานิมิตมาโจมตีผู้อื่น หรือเอาอภิญญามาโจมตีผู้อื่น เพราะตัวเองปฏิบัติวิปัสสนา ก็ยังใช้ไม่ได้ เรียกว่า มีทิฐิอยู่
                การไม่ยึดติด ต้องไม่โจมตี และไม่ว่าร้ายใคร จึงเป็นผู้ที่เจริญ แล้วเป็นผู้ที่ประเสริฐ
                นิมิตไม่ใช่สิ่งที่เอามาโจมตีกัน เพราะคนฝึกสมาธิ ย่อมต้องผ่านนิมิตด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนา นิมิตจึงเป็นเครื่องนำจิตให้เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่ควรยึดติด เพราะ การยึดติดจะทำให้ใจเราไม่สงบ ไม่สามารถปล่อยวางได้ นิมิตจึงสักว่านิมิต มีแล้วไม่ควรยึดติด
                ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติสมถะเท่านั้นที่ได้นิมิต แม้วิปัสสนาก็มีนิมิตเช่นกัน ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาถึงแล้ว ก็จะรู้เอง ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาไม่ถึงก็จะไม่รู้
                นิมิตในวิปัสสนา เช่น รูปและนาม ในเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีเห็นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น
                ถ้ายึดติดอยู่ในคำว่า ว่าง ในรูปและนาม นิมิตความแปรเปลี่ยนแปลงแห่งสังขาร
                ยึดติดในรูป เรียกว่า รูปนิมิต หรือรูปธรรม
                ยึดติดในนาม เรียกว่า อรูปนิมิต หรือนามธรรม
                คำว่า ว่าง แห่งเบญจขันธ์ทั้งหลาย จะเป็นอากาศธาตุ เรียกว่า อรูปนิมิต
                ถ้าปฏิบัติวิปัสสนาขั้นนี้แล้วยึดติด ก็ไม่สามารถละวางได้ จะเป็นวิปัสสนูปกิเลสแทน
                เพราะฉะนั้น การปฏิบัติวิปัสสนา ถ้ายึดติด จะเป็นวิปัสสนูปกิเลส ไม่สามารถผ่านด่านในแต่ละขั้นของวิปัสสนา แยกรูปและนามออกจากกันได้ ไม่สามารถละวางได้ เพราะยึดติดในอรูปเสียแล้ว ซึ่งเป็นกิเลสขั้นละเอียด ยิ่งปฏิบัติละกิเลสเท่าใด ยิ่งเจอกิเลสขั้นละเอียดเท่านั้น

                การยึดติดในรูปนิมิต และรูปธรรม เป็นกิเลสขั้นหยาบ
                การยึดติดในอรูปนิมิต และนามธรรม เป็นกิเลสขั้นละเอียด
                การปฏิบัติวิปัสสนาต้องไม่ยึดติด ละวางได้ แม้แต่คำว่า ว่าง ก็ต้องปล่อยวางทั้งหมดไม่ยึดติด ถึงจะเป็นวิปัสสนา จะไม่ถูกกิเลสเข้ารบกวนและเข้าแทรกจิต
                ไม่ว่าจะปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา ถ้ายึดติดในนิมิต จำเป็นต้องแก้อารมณ์ของกรรมฐาน ไม่ให้ยึดติด สามารถปล่อยวางได้ ใจเราจึงสงบ เพราะมีสติเป็นที่ตั้ง

ยึดถือเพื่อยึดติด กับยึดถือเพื่อปล่อยวาง แตกต่างกันอย่างไร
                การปฏิบัติธรรมเริ่มต้น ยึดถือศีลมากเกินไป จนปล่อยวางไม่ได้แม้กระทั่งศีลของตนเอง เกิดเป็นอัตตาขึ้นมาว่า ศีลของตนเองดีกว่า เด่นกว่า เลิศกว่า ผู้อื่น
                การปฏิบัติขั้นของสมาธิ ก็ยึดติดทั้งอารมณ์ปีติและสุขทั้งหลาย จนไม่ได้ปล่อยวาง ในความจริงนั้น อารมณ์ของปีติและสุข เป็นองค์ฌาน 2 – 3 ทุกคนที่ปฏิบัติสมาธิ ต้องผ่านทั้งหมด ไม่ใช่สิ่งที่ยึดติดอะไร ควรจะปล่อยวาง
                การปฏิบัติปัญญาของผู้นั้น เป็นวิปัสสนา ก็ยึดติดในความรู้ของตน ที่เกิดการจากอบรมปัญญาในวิปัสสนากรรมฐาน จนไม่สามารถละวางได้ เกิดเป็นอัตตา และ ทิฐิ ขึ้นมา จึงเป็นอุปสรรคด่านแรก สำหรับการได้ดวงตาเห็นธรรม เรียกว่า ยึดถือเพื่อยึดติด
                การปฏิบัติธรรมต้องยึดถือแบบอย่างที่ดีงาม มาจาก ศีล สมาธิ ปัญญา ก่อนแล้วปฏิบัติตามขั้นต่างๆ เริ่มต้น ก็ต้องถือเอาบริกรรมภาวนา และนิมิต เพื่อนำจิตให้เป็นสมาธิ ใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งปล่อยวางได้ในที่สุด เรียกว่า ยึดถือเพื่อปล่อยวาง
                การปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราปฏิบัติธรรม เพื่อหลุดพ้น ละวาง ไม่ยึดติด จึงจะพ้นไปจากทุกข์ได้ การปฏิบัติสมาธิจะปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนาก็ได้ สุดแล้วจริตของคนเรา
                ทุกวันนี้ สายอภิญญา หรือปฏิบัติแบบเจโตวิมุตติ จะโดนโจมตีมากกว่า สายวิปัสสนา จึงต้องทำใจปลง และปล่อยวาง ควรซ่อนความสามารถเอาไว้ ไม่ควรให้ใครรู้ว่า เรามีอะไร
                การมีอภิญญาสมาธิ จะให้ใครรู้ไม่ได้ ควรซ่อนความสามารถที่แท้จริงของตนเองเอาไว้

                การปฏิบัติเจโตวิมุตติ เจริญรอยตามพระอรหันต์สายอภิญญา จะโดนคนโจมตีง่ายกว่า สายวิปัสสนา คนที่โจมตีว่า มีอภิญญาแล้วยึดติด เขาไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า คนอื่นปฏิบัติถึงขั้นโลกุตตระหรือขั้นโลกีย์
                ขั้นโลกุตตระไม่ยึดติดอยู่แล้ว แต่ขั้นโลกีย์ปฏิบัติได้ถึงไหน ยังติดอยู่ในปีติหรือสุข หรือสามารถปล่อยวางได้ เรื่องแบบนี้ไม่มีใครคิดและวิเคราะห์ให้ละเอียด จึงยกมาโจมตีกัน
                ถ้าจะพูดหรือสนทนาธรรม ควรพูดกับผู้ที่อยู่ชั้นเดียวกัน หรือคนที่มีเหมือนกัน หรือปฏิบัติเหมือนกัน และเป็นกัลยาณมิตรเท่านั้น จะได้ไม่มีปัญหา แต่ไม่พูดเลยเป็นดีที่สุด

จิตนิ่งกับจิตดับ แตกต่างกันอย่างไร
จิตนิ่ง คือ การทำจิตให้สงบ ด้วยสติ จิตจะนิ่งไม่ไหลตามนิมิต
จิตดับ คือ การเข้าฌานถึงขั้นอัปปนาสมาธิ เรียกว่า ฌานสมาบัติ
การที่จิตจะนิ่ง จะเข้าฌานแค่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรืออัปปสมาธิก็ได้
การที่จิตจะดับ จะเข้าฌานสมาบัติเท่านั้น ถ้าเข้าอัปปนาสมาธิแบบอื่นๆ จิตจะไม่ดับ

                จิตนิ่งนั้น ไม่ใช่ว่าจิตจะดับเสมอไป จิตนิ่งยังสามารถเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ควรแยกแยะให้ละเอียดว่า เข้าฌานหรือญาณอยู่ บางคนคิดว่า จิตนิ่งเป็นอัปปนาสมาธิ ถึงขั้น จิตดับก็มี ซึ่งรู้เพียงอย่างเดียว ยังรู้ไม่ละเอียดในองค์ฌานและญาณทั้งหมด
                การฝึกจิตให้นิ่ง มีข้อดี คือ จิตเราจะไม่ไหลตามนิมิต เพราะมีสติเป็นที่ตั้ง จิตนิ่งสามารถเข้าสมาธิ ตั้งแต่ฌานที่ 1 – 4 หรือเจริญวิปัสสนาฝึกสติ ทำจิตนิ่ง ใจเราจะสงบ พิจารณาธรรมะแล้วเกิดปัญญา (จิตนิ่ง จึงเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา)
                โดยส่วนมากแล้ว คำว่า จิตนิ่งนั้น คนนึกว่าเป็นฌานสมถะอย่างเดียว ลืมญาณที่เป็นวิปัสสนาไปก็มี ความสงบนิ่ง หรือจิตนิ่ง เมื่อแยกให้ละเอียดทั้งสมถะและวิปัสสนา ดังนี้ คือ



ความสงบนิ่ง 3 อย่าง

                1. ความสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง
                2. ความสงบนิ่งในนิมิตสมาธิ
                3. ความสงบนิ่งแห่งอุเบกขาสมาธิ

อธิบายขยายความ
                ความสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง หมายถึง จิตสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง หรือชั่วคราว เป็นได้ทั้งสมถะ คือ อารมณ์ของฌานที่ 1 และเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เรียกว่า ขณิกสมาธินั้นเอง
                ความสงบนิ่งในนิมิตสมาธิ หมายถึง จิตสงบนิ่งอยู่อารมณ์แห่งสมาธิและในนิมิตต่างๆ เรียกว่า อารมณ์ของผู้ที่ได้นิมิตสมาธิ ตั้งแต่ฌานที่ 2 – 3
                ความสงบนิ่งแห่งอุเบกขาสมาธิ หมายถึง จิตสงบนิ่งและปล่อยวางแล้ว จึงไม่หวั่นไหวไปตามนิมิตต่างๆ เรียกว่า อุเบกขาสมาธิ หรืออารมณ์ของฌานที่ 4

ความสงบนิ่งในอารมณ์ของวิปัสสนา

                ความสงบนิ่งในอารมณ์ของวิปัสสนานั้น (จิตจะไม่ส่ายไปเพราะความฟุ้งซ่าน) ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ
                เมื่อพิจารณาธรรมะก็มีสติเป็นที่ตั้ง จิตก็สงบนิ่ง อยู่ในอารมณ์ของขณิกสมาธิ ไม่ส่ายไปเพราะความฟุ้งซ่าน พิจารณาธรรมะแล้วก็เกิดปัญญา ปล่อยวางใจจากความยึดมั่นถือมั่น
                วิปัสสนานั้นจะเข้าสมาธิไม่ลึกเหมือนสมถะ (สมถะมุ่งเน้นตรงไปอุเบกขาฌานทีเดียวเลย) แต่วิปัสสนาเข้าแค่ขณิกสมาธิก่อน โดยมีสติเป็นที่ตั้ง พิจาณาธรรมะแล้ว จึงปล่อยวางทีหลัง เกิดเป็นอุเบกขาญาณของวิปัสสนา

ความสงบนิ่งของสมถะ เรียกว่า ฌาน
ความสงบนิ่งของวิปัสสนา เรียกว่า ญาณ

เรื่องจิตดับ

                การเข้าฌานถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ไม่ได้จิตดับเสมอไป ควรวิเคราะห์ให้ละเอียด การเข้าอัปปนาสมาธิที่ควรรู้ มีหลายระดับแห่งสภาวะจิต ในการเข้าสมาธิ ดังนี้ คือ
                1. เข้าอัปปนาสมาธิ จนถึงขั้นฌานสมาบัติ
                2. เข้าอัปปนาสมาธิ ในอิริยาบถต่างๆ ไม่ได้นั่งหลับตา แต่ลืมตาเข้าฌาน
                3. เข้าอัปปนาสมาธิ เป็นการเข้าฌานและญาณไปพร้อมๆกัน

อธิบายขยายความ
                การเข้าอัปปนาสมาธิ จนถึงขั้นฌานสมาบัติ จิตจะดับแน่นอน และเป็นหนึ่งเดียว ไม่สามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา เน้นเจริญสมถะอย่างเดียว ไม่เน้นเจริญวิปัสสนาควบคู่ไปด้วย
                การเข้าอัปปนาสมาธิ ในอิริยาบถต่างๆ ไม่ได้นั่งหลับตา แต่ลืมตาเข้าฌาน (เข้าฌานแบบนี้ จิตยังไม่ดับ) เช่น พระโมคคัลลานะ เข้าฌาน 4เหาะเหินเดินอากาศ หรือพระสาคตะสำเร็จฌาน 4 เพ่งซากศพอสุภะ จิตของท่านยกขึ้นสู่วิปัสสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น
                การเข้าอัปปนาสมาธิ เป็นการเข้าฌานและญาณไปพร้อมๆกัน (เข้าฌานแบบนี้ จิตยัง ไม่ดับ) เป็นการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาไปพร้อมกัน สำหรับคนที่ได้ญาณหยั่งรู้ เป็นต้น
หมายเหตุ การเข้าอัปปนาสมาธิ คือ เข้าฌานขั้นสมาบัติเท่านั้น ที่จิตดับ การเข้าฌานอัปปนาสมาธิแบบอื่นๆ จิตเรายังไม่ดับ จึงควรแยกแยะและพิจารณาให้ละเอียด



เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ปฏิบัติไม่เหมือนกัน

                การปฏิบัติแบบเจโตวิมุตติไม่กลัวจิตดับ เพราะเข้าฌานสมาบัติถึงขั้นจิตดับ ก็สามารถใช้วสีสมาธิ เข้าฌานถอยหลังมาที่ขณิกสมาธิ เพื่อเจริญวิปัสสนาต่อ หรือเข้าฌานจิตดับแล้ว สามารถใช้วสีสมาธิถอยหลังมาที่องค์ฌานใดๆก็ได้ พลิกจิตเป็นวิปัสสนา พิจารณาความเกิดดับของจิต เห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                นอกจากนี้ เจโตวิมุตติจะเข้าฌานแบบอัปปนาสมาธิจิตยังไม่ดับก็ได้ ในกรณีที่ยังเข้าฌานแบบจิตยังไม่ดับ จะอยู่ในองค์ฌานใดๆ แล้วก็พลิกจิตเป็นวิปัสสนา พิจารณาความเกิดดับของจิต หรือเข้าฌานถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้วใช้วสีสมาธิ เข้าฌานเดินหน้าถอยหลัง มาอยู่ที่ขณิกสมาธิ เปลี่ยนเป็นวิปัสสนาทีหลังก็ได้ สุดแล้วแต่จริตของคนเราเป็นหลัก
                การปฏิบัติแบบปัญญาวิมุตติกลัวจิตดับ เพราะจะเข้าฌานแค่ขณิกสมาธิ เพื่อให้ใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เกิดสติพิจารณาธรรมะ เกิดปัญญา เห็นแจ้งชัดในสัจธรรมทั้งปวง
ขณิกสมาธิสมถะเป็นฌาน ขณิกสมาธิวิปัสสนาเป็นญาณ จึงปฏิบัติไม่เหมือนกัน
ปัญญาวิมุตติ จึงกลัวจิตดับ เพราะจะไม่เกิดปัญญาพิจารณาธรรมะ
ปัญญาวิมุตติ จึงปฏิบัติไม่เหมือนเจโตวิมุตติ ซึ่งเจโตวิมุตติ ไม่กลัวจิตดับ
เจโตวิมุตติ จึงเน้นเจริญสมถะให้ได้ฌานก่อน แล้วมาต่อเป็นวิปัสสนาทีหลัง
ปัญญาวิมุตติ จึงเน้นเจริญวิปัสสนาล้วน เพื่อให้เกิดปัญญา แจ้งชัดในสัจธรรม
                การจะปฏิบัติเจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุตติ อันไหนก็ได้ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่า จริตของเราเป็นหลัก จึงควรพิจารณาให้เหมาะสมกับจริตของเราเอง

การฝึกสมาธิใช้ตาเพ่ง กับใช้จิตเพ่ง แตกต่างกันอย่างไร

                สำหรับผู้เจริญกสิณใหม่ๆแล้ว จะใช้ตาเพ่ง จะหลับตาและลืมตา จนจำติดตาเป็นนิมิต สำหรับผู้เจริญกสิณจนชำนาญแล้ว จะใช้จิตเพ่งกสิณนั้นๆ จนได้นิมิตขึ้น
                การเจริญกสิณ ใจจะสงบเป็นสมาธิ เพราะจิตจำนิมิตติดตาจนแม่นยำ แล้วเกิดความสงบขึ้นต่างหาก ความสงบจึงเกิดขึ้นจากภายในจิต ไม่ใช่อยู่ที่ภายนอก
                การเจริญกสิณที่รูปลักษณ์ภายนอกหรือวัตถุต่างๆ บางครั้งใจก็ไม่สงบ รูปแบบภายนอก มีไว้เพื่อฝึกให้ได้นิมิต ส่วนใจจะสงบหรือไม่ ต้องอยู่ที่การเจริญสติควบคู่ไปกับกสิณของผู้นั้น เป็นสำคัญ ธรรมชาติที่สงบเป็นแต่กายวิเวก จิตใจจะสงบเป็นสมาธิหรือไม่ ก็อยู่ที่ใจท่านเอง

ทำอย่างไรเพ่งวัตถุภายนอกเจริญกสิณ แล้วทำใจให้สงบเป็นสมาธิได้

                การทำจิตให้สงบ โดยเจริญกสิณ จะหลับตาและลืมตา จนจำเป็นนิมิตของกสิณนั้นๆ
                การใช้ตาเพ่งกสิณ เพื่อให้จำเป็นนิมิตติดตาได้อย่างรวดเร็ว เวลาใจไม่สงบเป็นกสิณนั้นๆ ที่เราฝึก ก็ให้เจริญสติควบคู่ไปกับกสิณนั้นๆ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหลับตาและลืมตา เพื่อให้ตาเพ่งกสิณ จะใช้จิตเพ่งกสิณแทน จิตจึงสำเร็จกสิณได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างเช่น ฝึกกสิณดิน
                เริ่มต้นฝึกกสิณจะใช้ตาเพ่งดิน จะหลับตาและลืมตา จนจำเป็นนิมิตได้อย่างรวดเร็ว เมื่อจำจนเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตาเพ่งอีกต่อไป จะใช้จิตเพ่งแทน เรียกว่า ได้นิมิตติดตา และนิมิตเทียงเคียง เวลาถูกโลกธรรมมากระทบ จิตใจจะหนักแน่นดั่งแผ่นดิน ไม่หวั่นไหวง่ายๆ

เคล็ดลับการฝึกกสิณให้จำเป็นนิมิตติดตาได้อย่างรวดเร็ว
                เคล็ดลับการฝึกกสิณให้ได้นิมิตอย่างรวดเร็ว คือ จะฝึกกสิณใดให้ทำจิตเป็นเหมือนกสิณนั้นๆ เหตุผลเพราะ เช่น จะฝึกกสิณน้ำ แต่จิตใจไม่เป็นน้ำ ก็ไม่สามารถได้นิมิตกสิณน้ำ หรือ ไม่ได้นิมิตติดตา เวลาใช้อานุภาพกสิณน้ำ จิตใจไม่เป็นน้ำ ก็ไม่สามารถเรียกฝนได้ เป็นต้น

                นี้เป็นเคล็ดลับในการฝึกกสิณ และการใช้อานุภาพของกสิณ นักปฏิบัติควรรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติธรรมเจริญภาวนา ดังนี้ คือ
การฝึกกสิณดิน ต้องทำจิตให้ต้องแข็งแกร่งดั่งศิลา
การฝึกกสิณน้ำ ต้องทำจิตให้เย็นเหมือนสายน้ำ
การฝึกกสิณไฟ ต้องทำจิตให้เหมือนเปลวไฟ หรือพระอาทิตย์
การฝึกกสิณลม ต้องทำจิตให้เย็นเหมือนสายลม
การฝึกกสิณสีต่างๆ ต้องทำจิตให้เป็นกสิณสีนั้นๆ
การฝึกกสิณแสงสว่าง ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์และสว่าง
การฝึกกสิณอากาศ ต้องทำจิตให้ว่างเปล่า

หมายเหตุ การฝึกเจริญกสิณนั้น แล้วแต่บารมีควบคู่ไปกับความเพียรของคนเราเป็นหลัก บางคนบารมีสูง ใช้เวลาไม่นานก็สำหรับอย่างรวดเร็ว บางคนไม่มีบารมีทางนี้ อาจใช้เวลานาน

กสิณคุณและกสิณโทษ

                กสิณคุณ หมายถึง เพ่งวัตถุที่เป็นอารมณ์ของกสิณ จะต้องไม่มีตำหนิแต่อย่างใด เป็นวัตถุกสิณที่บริสุทธิ์ จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น สงบเป็นสมาธิ จนได้นิมิตติดตา เป็นต้น
                วัตถุที่บริสุทธิ์ในการเพ่งกสิณ คือ วัตถุที่ไม่มีตำหนิ เช่น ฝึกกสิณน้ำ ก็หาน้ำใส่ขัน เป็นน้ำที่ใส ไม่ขุ่น และไม่มีตะกอน เป็นต้น
                กสิณโทษ หมายถึง เพ่งวัตถุที่เป็นตำหนิของกสิณ เช่น ฝึกกสิณดิน ก็ไปเพ่งตำหนิของดิน มีก้อนหิน ก้อนกรวด เศษใบ้ไม้ เรียกว่า กสิณไม่บริสุทธิ์ หรือฝึกกสิณน้ำ ก็ไปเพ่งน้ำที่ขุ่น หรือน้ำมีตะกอน
                การฝึกกสิณโทษ ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แค่จิตไม่สงบเป็นสมาธิ เพราะแทนที่จะเพ่งวัตถุที่เป็นกสิณจนได้สมาธิ แต่กลับไปเพ่งจุดที่เป็นตำหนิของกสิณแทน จิตจึงไม่เป็นสมาธิ

                สำหรับผู้ที่สั่งสมบารมีในอดีตชาติทางด้านกสิณมา จะเพ่งมองวัตถุของกสิณ ก็สำเร็จอย่างรวดเร็ว จะฝึกอย่างไรก็ได้ ไม่มีโทษ มีแต่คุณฝ่ายเดียว
                สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีบารมีในอดีตชาติทางด้านกสิณมา จำเป็นต้องเพ่งวัตถุที่บริสุทธิ์ เว้นจากวัตถุที่เป็นตำหนิ จึงเรียกว่า ฝึกกสิณคุณ ไม่มีโทษเจือปน ผู้สั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ กับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ พึ่งจะเริ่มต้นฝึก ในปัจจุบัน จึงแตกต่างกัน ดังนี้
                การฝึกเพ่งกสิณ จำเป็นต้องรู้เอง เห็นเอง เข้าถึงเอง ว่าเราเป็นผู้สั่งสมบารมีมา ในอดีตชาติ เกี่ยวกับกสิณจริงหรือไม่ แล้วมีบารมีสั่งสมกสิณไหนมา ก็ควรกสิณนั้น

เริ่มต้นฝึกกสิณ

                การเริ่มต้นฝึกกสิณ จะฝึกกสิณใดกสิณหนึ่งก่อนก็ได้ ให้เหมาะสมกับจริตของตน เมื่อสำเร็จฌานสมาธิ พร้อมด้วยวสีสมาธิแล้ว จะฝึกอีกกี่กสิณก็ได้ ความยากง่าย จึงอยู่ที่กสิณแรกว่า สำเร็จสมาธิจนได้ฌานหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ ก็ไม่สามารถฝึกกสิณต่อไป ให้ชำนาญเป็นวสีสมาธิได้ แต่ถ้าได้แล้ว กสิณที่เหลือก็จะฝึกได้อย่างง่ายดาย
                ผู้เริ่มต้นไม่ควรเริ่มต้นหลายอย่าง จะได้หน้าลืมหลัง ใจเราจะไม่สงบ ควรเริ่มต้น กสิณใดกสิณหนึ่งก็ได้ เพียงอย่างเดียว ให้ใจสงบเป็นสมาธิในกสิณนั้นๆ จนสำเร็จฌานสมาธิ
                ผู้ที่สำเร็จวสีสมาธิ จะเข้าฌาน 1 ด้วยกสิณดิน จะเข้าฌาน 2 ด้วยกสิณน้ำ จะเข้าฌาน 3 กสิณไฟ จะเข้าฌาน 4 ด้วยกสิณลม เป็นต้น เรียกว่า วสีสมาธิ
                ด้วยเหตุนี้ ผู้เริ่มต้นกับผู้ที่ได้วสีสมาธิ จึงแตกต่างกัน

กสิณดิน

                การเริ่มต้นฝึกกสิณดิน ให้เอาดินสีแดงเหมือนสีอรุณ มาทำเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ และดินนั้นจะต้องไม่มีก้อนหิน กรวด ใบไม้เจือปนอยู่ด้วย จึงเป็นดินที่บริสุทธิ์ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณดินไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณดินมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณดิน ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณดิน ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ดินที่มีก้อนกรวด ก้อนหิน หรือเศษใบไม้เจือปน เวลาเราฝึกเพ่งกสิณดิน แทนที่จะเพ่งดินให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของดินแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณดินมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องเอาดินมาทำเป็นวงกลม เพียงแค่มองดูดิน ไม่ว่าดินนั้น จะเป็นดินสีดำ สีแดง หรือดินที่มีหิน กรวด ใบไม้เจือปน จะเป็นดินจากแผ่นดิน หรือภูเขา ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณดินอย่างง่ายดาย

กสิณน้ำ

                การเริ่มต้นฝึกกสิณน้ำ ให้เอาน้ำใส่ขันบริสุทธิ์ไม่มีตะกอน ขันน้ำก็ต้องสะอาด ไม่สกปรกด้วย จึงบริสุทธิ์ทั้งน้ำและขันน้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมอยู่แล้ว เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณน้ำไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่ง ลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณน้ำมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณน้ำ ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณน้ำ ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ น้ำขุ่น น้ำมีตะกอน เวลาเราฝึกเพ่งกสิณน้ำ แทนที่จะเพ่งน้ำให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของน้ำแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณน้ำมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาใส่ขันวงกลม เพียงแค่มองดูน้ำบ่อ น้ำคลอง แม่น้ำ ลำธาร น้ำตก น้ำฝน ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณน้ำอย่างง่ายดาย

กสิณไฟ

                การเริ่มต้นฝึกกสิณไฟ ให้ก่อกองไฟ แล้วทำแผ่นกระดานให้เป็นวงกลม มาไว้หน้าเรา คู่ไปกับเพ่งไฟ เพื่อทำเป็นดวงกสิณไฟ แต่ถ้าคนเก่งแล้ว จะเพ่งเปลวเทียน ไม่จำเป็นต้องทำแผ่นวงกลมให้เห็นเป็นดวงกสิณ ก็ได้นิมิตติดตาได้อย่างรวดเร็ว หรือฝึกเพ่งดวงอาทิตย์ ตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะจะสบายสายตาไม่ปวดตา ถ้าเป็นตอนเที่ยง คนไม่มีพลังจิตกล้าแข็ง จะปวดตาได้ ไม่เหมาะสมที่จะเพ่งดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน สำหรับผู้เริ่มต้น ผู้ที่จะเพ่ง ดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน โดยไม่ปวดสายตา ต้องเป็นผู้มีพลังจิตกล้าแข็ง และชำนาญมาก ด้วยวสีสมาธิ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณไฟไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณไฟมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณไฟ ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณไฟ ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ กองไฟที่มีสิ่งอื่นเจือปน หรือเพ่งดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน จนสายตาทนไม่ไหว เวลาเราฝึกเพ่งกสิณไฟ แทนที่จะเพ่งไฟให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของไฟแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณไฟมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณไฟ เพียงแค่มองดูเปลวไฟ เปลวเทียว หรือดวงอาทิตย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณไฟอย่างง่ายดาย

กสิณลม

                การเริ่มต้นฝึกกสิณลม ให้ฝึกเพ่งลมที่กำลังพัดไปมาตามต้นไม้หรือใบไม้ และทำแผ่นกระดานเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ ข้อสำคัญเวลาฝึกเพ่งกสิณลม ต้องเพ่งลมที่พัดไปมา ไม่หยุดนิ่ง ถ้าลมขาดช่วง เท่ากับฝึกกสิณลมขาดตอน ไม่ต่อเนื่องกัน หรือจะเอาพัดลมมาไว้หน้าเรา แล้วเพ่งฝึกลมก็ได้ ซึ่งลมจะไม่ขาดตอน ต่อเนื่องกันตลอดเวลา สมาธิกสิณลม จะไม่ขาดหาย พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณลมไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ
                การจะเพ่งลมตามธรรมชาติ หรือเพ่งลมที่พัดไปมาไม่ขาดตอนของพัดลม แบบไหนก็ได้ แล้วแต่จริตของเราเป็นหลัก จึงไม่ควรยึดติดในรูปแบบว่าต้องเป็นลมธรรมชาติเสมอไป เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณลมมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณลม ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณลม ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ลมที่ไม่ได้พัดต่อเนื่อง จิตจึงหยุดหรือขาดจากสมาธิของกสิณลม หรือเพ่งลมแล้ว กลับเห็นวัตถุที่ลมพัดไปมา มีต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เป็นต้น ต้องกำหนดจิตให้แน่วแน่ว่าเราฝึกกสิณลม ไม่ใช่กสิณสีเขียว หรือกสิณอย่างอื่น ใจเราถึงสงบเป็นกสิณลม ถ้าเราไม่แน่วแน่ในการกำหนดกสิณลม เวลาเราฝึกเพ่งกสิณลม แทนที่จะเพ่งลมให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของลมแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณลมมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณลม เพียงแค่มองดูลมพัดไปมาตามที่ต่างๆ ลมบนบก ลมบนน้ำ ลมที่พัดอยู่ตามต้นไม้ ลมพัดไปมาตามร่างกายเรา หรือแม้แต่พัดลม ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณลมอย่างง่ายดาย
เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

กสิณลมกับอานาปานสติ แตกต่างกันอย่างไร
กสิณลม เป็นการเพ่งลมที่พัดไปมา ให้ใจสงบเป็นสมาธิ โดยมีสติเป็นที่ตั้ง
อานาปานสติ เป็นการกำหนดสติพิจารณาลมหายใจเข้าออก
                กสิณลมกับอานาปานสติ ทั้งสองอย่างนี้ จึงเป็นกรรมฐานคนละแบบ คนละเรื่องกัน ไม่ควรเอาปะปนกัน จะทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติธรรม

กสิณสีเขียว

                การเริ่มต้นฝึกกสิณสีเขียว ให้เอาตัดกระดาษหรือเศษผ้าสีเขียวทำเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ สำหรับคนที่เก่งแล้ว จะเพ่งใบไม้สีเขียวแทน แต่ฝึกใหม่ๆ ควรนำกระดาษหรือเศษผ้าสีเขียว มาทำเป็นวงกลม เพื่อจำนิมิตติดตาให้เป็นดวงกสิณ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณสีเขียวไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีเขียวมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณสีเขียว ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณสีเขียว ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ใบไม้มีสีเขียวและสีอื่นเจือปน หรือวัตถุที่เพ่งกสิณสีเขียว มีตำหนิ อาจมีสีอื่นเจือปนอยู่ด้วย เวลาเราฝึกเพ่งกสิณสีเขียว แทนที่จะเพ่งสีเขียวให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของสีเขียวแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีเขียวมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณสีเขียว เพียงแค่มองดูสีเขียวของสถานที่ต่างๆ แม้แต่สีเขียวของใบไม้ ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณเขียวอย่างง่ายดาย

กสิณสีเหลือง

                การเริ่มต้นฝึกกสิณสีเหลือง ให้เอาตัดกระดาษหรือเศษผ้าสีเหลืองทำเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ สำหรับคนที่เก่งแล้ว จะเพ่งใบไม้หรือดอกไม้สีเหลืองแทน แต่ฝึกใหม่ๆ ควรนำกระดาษหรือเศษผ้าสีเหลือง มาทำเป็นวงกลม เพื่อจำนิมิตติดตาให้เป็นดวงกสิณ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณสีเหลืองไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีเหลืองมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณสีเหลือง ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณสีเหลือง ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ดอกไม้มีสีเหลืองและมีสีอื่นเจือปน หรือวัตถุที่เพ่งกสิณ สีเหลืองมีตำหนิ อาจมีสีอื่นเจือปนอยู่ด้วย เวลาเราฝึกเพ่งกสิณสีเหลือง แทนที่จะเพ่งสีเหลือง ให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของสีเหลืองแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีเหลืองมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณสีเหลือง เพียงแค่มองดูสีเหลืองของสถานที่ต่างๆ แม้แต่ สีเหลืองของดอกไม้ ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีเหลืองอย่างง่ายดาย

กสิณสีแดง

                การเริ่มต้นฝึกกสิณสีแดง ให้เอาตัดกระดาษหรือเศษผ้าสีแดงทำเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ สำหรับคนที่เก่งแล้ว จะเพ่งใบไม้หรือดอกไม้สีแดงแทน แต่ฝึกใหม่ๆ ควรนำกระดาษหรือเศษผ้าสีแดง มาทำเป็นวงกลม เพื่อจำนิมิตติดตาให้เป็นดวงกสิณ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณสีแดงไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตา ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีแดงมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณสีแดง ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณสีแดง ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ดอกไม้มีสีแดงและมีสีอื่นเจือปน หรือวัตถุที่เพ่งกสิณสีแดงมีตำหนิ อาจมีสีอื่นเจือปนอยู่ด้วย เวลาเราฝึกเพ่งกสิณสีแดง แทนที่จะเพ่งสีแดงให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของสีแดงแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีแดงมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณสีแดง เพียงแค่มองดูสีแดงของสถานที่ต่างๆ แม้แต่สีแดงของดอกไม้ ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีแดงอย่างง่ายดาย

กสิณสีขาว

                การเริ่มต้นฝึกกสิณสีขาว ให้เอาตัดกระดาษหรือเศษผ้าสีขาวทำเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ สำหรับคนที่เก่งแล้ว จะเพ่งใบไม้หรือดอกไม้สีขาวแทน แต่ฝึกใหม่ๆ ควรนำกระดาษหรือเศษผ้าสีขาว มาทำเป็นวงกลม เพื่อจำนิมิตติดตาให้เป็นดวงกสิณ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณขาวไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีขาวมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณสีขาว ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณสีขาว ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ดอกไม้มีสีขาวและมีสีอื่นเจือปน หรือวัตถุที่เพ่งกสิณสีขาวมีตำหนิ อาจมีสีอื่นเจือปนอยู่ด้วย เวลาเราฝึกเพ่งกสิณสีขาว แทนที่จะเพ่งสีขาวให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของ สีขาวแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณสีขาวมาในอดีตชาติ

                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณสีขาว เพียงแค่มองดูสีขาวของสถานที่ต่างๆ แม้แต่สีขาวของดอกไม้ ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีขาวอย่างง่ายดาย

กสิณแสงสว่าง

                การเริ่มต้นฝึกกสิณแสงสว่าง ให้ฝึกเพ่งแสงสว่างของดวงจันทร์ หรือแสงสว่างของหลอดไฟ ที่มีลักษณะเป็นวงกลมเท่านั้น เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณแสงสว่างไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ
                สมัยโบราณสามารถเพ่งดูแสงสว่างของดวงจันทร์ ใจเราจะสงบเย็น แม้แต่สมัยปัจจุบัน ก็สามารถทำแบบนี้ ได้เช่นกันการเพ่งมองดูแสงสว่างที่ออกมาจากตัวสัตว์ตอนกลางคืน เช่น หิ่งห้อย เป็นต้น ยังไม่ดีพอสำหรับผู้เริ่มต้นฝึก เพราะจะไม่เป็นดวงกสิณ รวมทั้งจิตไปมองดูสัตว์แทนมากกว่าแสงสว่าง ผู้ที่จะทำแบบนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่มีบารมี หรือผู้ที่ชำนาญแล้ว ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึก
                สมัยปัจจุบัน อาจเพ่งมองแสงสว่างจากหลอดไฟ ควรมองแสงไฟสีขาว จึงเป็นแสงที่บริสุทธิ์ ไม่ควรมองจากหลอดไฟสีต่างๆ ใจเราจะไม่สงบ จิตจะวิ่งตามนิมิตถึงแสงสีต่างๆ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ควรมองดูสีใดสีหนึ่ง จิตจึงนิ่ง แต่สีขาวดีที่สุด ใจเราจะบริสุทธิ์และสว่าง
                การจะฝึกเพ่งกสิณแสงสว่าง จะเพ่งแสงไฟจากดวงจันทร์ หรือแสงของหลอดไฟ อย่างไหนก็ได้ สุดแล้วแต่จริตของเราเป็นหลัก เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณแสงสว่างมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณแสงสว่าง ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของ กสิณแสงสว่าง ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ วัตถุที่เพ่งกสิณแสงสว่างมีตำหนิ อาจมีอะไรมาปนอยู่ด้วย ทำให้ฝึกเพ่งแสงสว่างไม่บริสุทธิ์ เวลาเราฝึกเพ่งกสิณแสงสว่าง แทนที่จะเพ่ง แสงสว่างให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของแสงสว่างแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณแสงสว่างมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณแสงสว่าง เพียงแค่มองดูแสงสว่างของสถานที่ต่างๆ แสงสว่างของหลอดไฟ ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณแสงสว่างอย่างง่ายดาย

ข้อควรทราบ กสิณไฟกับกสิณแสงสว่าง ก็เป็นแสงไฟเหมือนกัน แตกต่างกันอย่างไร
กสิณไฟ เป็นแสงไฟที่ร้อน กสิณแสงสว่าง เป็นแสงไฟเย็น
การฝึกแสงไฟทั้งสองกสิณ จึงแตกต่างกัน และมีวิธีฝึกที่ไม่เหมือนกัน

กสิณอากาศ

                การเริ่มต้นฝึกกสิณอากาศ ให้เจาะกระดาษเป็นวงกลม แล้วติดไว้ตรงหน้าต่างหรือประตู เป็นการเพ่งช่องว่างของอากาศ เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ ช่องว่างของอากาศที่เราฝึกเพ่งกสิณอากาศนั้น ต้องไม่มีอะไรมาบัง ซึ่งจะเป็นช่องว่างไม่สมบูรณ์ ต้องเป็นอากาศล้วนๆ พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณอากาศไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตา ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณเมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณอากาศมาในอดีตชาติ
                ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณอากาศ ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณอากาศ ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ วัตถุที่เพ่งกสิณอากาศมีตำหนิ อาจมีอะไรมาปนอยู่ด้วย ในช่องว่างของอากาศที่เราฝึกเพ่งกสิณ จึงมองเห็นอย่างอื่นด้วย แทนที่จะเห็นอากาศอย่างเดียว ใจจึงไม่สงบ เวลาเราฝึกเพ่งกสิณอากาศ แทนที่จะเพ่งอากาศให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของอากาศแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณอากาศมาในอดีตชาติ
                ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณอากาศ เพียงแค่มองดูอากาศที่อยู่รอบตัวเรา ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณอากาศอย่างง่ายดาย

เคล็ดลับการเข้าฌานแรงและการเข้าฌานนิ่ม

การเข้าฌานแรง คือ การขยายดวงกสิณให้ใหญ่ขึ้น มีพลานุภาพมาก ในการเข้าฌาน
การเข้าฌานนิ่ม คือ การย่อดวงกสิณให้เล็กลง จะเข้าฌานเบาและนิ่ม เหมือนสำลี
                การเข้าฌานแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นเข้าฌานแรง หรือเข้าฌานนิ่ม สุดแล้วแต่จริตของเรา หรือสถานการณ์ สถานที่ กาลเวลา บุคคล กาลเทศะ เป็นสำคัญ

อานุภาพอภิญญาฤทธิ์ กสิณ 10

                1. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณดิน สามารถเดินบนน้ำได้ เป็นต้น
                2. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณน้ำ สามารถเรียกฝนได้ เป็นต้น
                3. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณไฟ สามารถทำอากาศที่หนาวให้อบอุ่นได้ เป็นต้น
                4. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณลม สามารถเรียกพายุลมได้ เป็นต้น
                5. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีเขียว สามารถเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสีเขียว
                6. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีเหลือง สามารถเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสีเหลือง
                7. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีแดง สามารถเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสีแดง
                8. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีขาว สามารถเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสีขาว
                9. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณแสงสว่าง สามารถทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นต้น
                10. ผู้ใดสำเร็จสมาธิด้วยกสิณอากาศ สามารถเดินทะลุสิ่งกีดขวางได้ เป็นต้น

นิมิตที่จะพึงได้จากการเพ่งกสิณ

                การเจริญกสิณจะได้นิมิตกี่แบบ ก็จัดอยู่ในนิมิต 3 ประเภท อาจารย์ส่วนมากจะอธิบายแค่ 2 ประเภท คือ นิมิตติดตาและนิมิตเทียบเคียง ผู้เขียนจะขออธิบายนิมิตทั้งหมด ดังนี้ คือ

นิมิต 3
                1. ปริกรรมนิมิต นิมิตในการบริกรรม (สติอยู่กับนิมิต และคำบริกรรมภาวนา)
                2. อุคคหนิมิต นิมิตติดตา (เป็นนิมิตสมาธิที่จำได้ติดตา จะหลับตาก็เห็นนิมิตนั้น)
                3. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเทียบเคียง (เป็นนิมิตที่ได้สามารถพัฒนาต่อให้เทียบเคียง เช่น ย่อขยายดวงกสิณได้ และเปลี่ยนไปได้ตามความต้องการ เป็นต้น)

ข้อควรทราบ: การทำสมาธิได้ขณิกสมาธิ (จะได้นิมิตในการบริกรรม) เรียกว่า ได้ฌานที่ 1
                         การทำสมาธิได้อุปจารสมาธิ (จะได้นิมิตติดตาหรือนิมิตเทียบเคียง) เรียกว่า ได้ฌาน ที่ 2 หรือฌานที่ 3
                       การทำสมาธิได้อัปปนาสมาธิ (จะได้นิมิตเทียงเคียง) เรียกว่า ได้ฌานที่ 4

หมายเหตุ นิมิตติดตาหรือนิมิตเทียบเคียง (จะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก็ได้) ถ้าเป็นอุปจารสมาธิ จะเป็นฌานที่ 2 – 3 ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิ จะเป็นฌานที่ 4
                อัปปนาสมาธิ จะได้นิมิตติดตาหรือนิมิตเทียบเคียง (เป็นฌานที่ 4 เท่านั้น เพราะจิตที่แน่วแน่แล้ว และจิตที่เป็นหนึ่งเดียว) เรียกว่า อัปปนาสมาธิ หรืออุเบกขาฌาน
                ดังนั้น การที่จะรู้ว่า เป็นนิมิตติดหรือนิมิตเทียบเคียง และรู้ว่า จิตอยู่ในสภาวะองค์ฌานที่เท่าไร ให้ดูสภาวะอารมณ์ของจิตเป็นหลัก ไม่ว่าจะได้นิมิตใด (จิตอยู่ในวิตกและวิจาร เป็นองค์ฌานที่ 1 จิตอยู่ในปีติ เป็นองค์ฌานที่ 2 จิตอยู่ในสุขเป็นองค์ฌานที่ 3 และจิตปล่อยวางจนเป็นเอกัคคตา จิตเป็นหนึ่งเดียว เป็นองค์ฌานที่ 4) ดังนี้

ข้อควรรู้ นิมิตติดตาและนิมิตเทียบเคียง

                การที่จะใช้อานุภาพของกสิณได้ ต้องได้นิมิตติดตาและนิมิตเทียบเคียง
                ส่วนบริกรรมนิมิตนั้น เป็นแค่จุดเริ่มต้นของอภิญญาด้านกสิณ มักจะใช้บริกรรมสำหรับปลุกเสกน้ำมนต์ หรือพระเครื่อง เป็นต้น แต่ความจริงแล้ว จะให้อานุภาพของกสิณสมาธิแรง จะเข้าฌานไหนบริกรรมภาวนาก็ได้ ยิ่งเข้าฌานสูง อานุภาพก็จะยิ่งแรงตามฌานนั้น
                อานุภาพของกสิณ ที่สำเร็จด้วยนิมิตติดตา ตั้งแต่ฌาน 2 ขึ้นไป สามารถย่อขยายดวงกสิณได้ จิตจะสงบเป็นสมาธิ ต้องฝึกจิตให้นิ่ง ไม่ไหลตามนิมิตมากเกินไป จิตจึงมีพลังเพราะฌานเรานิ่งแล้ว ถึงสามารถใช้อานุภาพสมาธิ มีการรักษาโรคให้คนอื่นได้ เป็นต้น ฯลฯ
                อานุภาพของกสิณ ที่สำเร็จด้วยนิมิตเทียบเคียง เป็นอัปปนาสมาธิขั้นสูง คือ ฌานที่ 4 เมื่อสำเร็จฌานขั้นนี้แล้ว จะใช้อานุภาพของกสิณสมาธิได้ ตามจิตปรารถนา แต่ก็ไม่ควรยึดติด
การปล่อยวาง แล้วมีสติ กำหนดจิต เฉพาะปัจจุบัน ใจเราจะสงบ เป็นสมาธิมากขึ้น
การเจริญฌาน 4 เป็นสัมมาทิฏฐิ
แต่ไม่ควรยึดติด ใจเราถึงจะหลุดพ้น

การจำนิมิตได้ จะเรียกว่า ยึดติดหรือปล่อยวาง อย่างไร

                การจำนิมิตได้ เป็นที่จิตเราได้สมาธิ แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับการยึดติดในนิมิต
                การจะปล่อยวาง หรือการจะยึดติด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจำนิมิตได้ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน ไม่ควรเอามาปะปนกัน จะทำให้เกิดการสับสนในการปฏิบัติธรรมได้
                สภาวะอารมณ์ของการยึดติด คือ จิตไปยึดติดในนิมิต จึงไหลไปตามนิมิตได้ง่าย
                สภาวะอารมณ์ของการปล่อยวาง คือ จิตไม่ไหลไปตามนิมิต มีสติ ใจนิ่งอยู่ในนิมิต

                การจำนิมิตได้ เป็นสภาวะอารมณ์ของสมาธิ มีสติเป็นที่ตั้ง จิตไม่ไหลไปตามนิมิตต่างๆแต่การจะยึดติดหรือปล่อยวาง ต้องดูจิต อีกทีหนึ่งว่า ปฏิบัติไปถึงขั้นไหนแล้ว
                การยึดติดในนิมิต จิตยังไหลไปตามนิมิตต่างๆอยู่ จึงมิได้ปล่อยวาง
                การจำนิมิตได้ กับการยึดติดในนิมิต จึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่ควรเอามาปะปนกัน
                เพราะฉะนั้น การจะยึดติด หรือการจะปล่อยวาง จึงไม่เกี่ยวข้องกับนิมิต นิมิตเป็นส่วนช่วยนำจิต ให้เกิดสมาธิเท่านั้น
                การยึดติดในนิมิต คือ การพอใจในสุขแห่งนิมิต หรือแสงสว่าง เป็นต้น
                การไม่ยึดติดในนิมิต คือ การไม่ยินดีและยินร้ายในนิมิตทั้งปวง สามารถปล่อยวางได้
                การจะยึดติดหรือจะปล่อยวาง เป็นเรื่องของจิตว่า ได้ปฏิบัติถึงขั้นอุเบกขา หรือยังติดอยู่ในปีติและสุข ควรใช้สติดูจิต เป็นสำคัญ
                ด้วยเหตุนี้ ถ้าได้สมาธิยังติดอยู่ในปีติและสุข จิตก็ยังไหลตามนิมิต และยึดติดในนิมิตได้
                ถ้าปฏิบัติถึงขั้นอุเบกขาแล้ว ก็จะสามารถปล่อยวางนิมิตได้ นิมิตจึงเป็นเพียงเครื่องนำจิตให้สงบเป็นสมาธิเท่านั้น ไม่ยึดติด อีกต่อไป
                การปฏิบัติได้ถึงไหนแล้ว จึงควรใช้สติดูจิต เป็นสำคัญ ใจเราจะไม่ไหลตามนิมิต และปล่อยวางได้ในที่สุด
                จิตไหลตามนิมิต ในอารมณ์ของปีติหรือสุข หรือในสภาวะอารมณ์ต่างๆ ก็ยึดติด
                จิตปล่อยวาง ด้วยสติ ก็ไม่ยึดติด ในนิมิตทั้งปวง

ข้อควรรู้ เรื่องนิมิต

                นิมิตที่เป็นอารมณ์ของสมาธิ แม้จริงหรือเท็จ ถ้าเผลอสติ ทำให้คนเราหลงยึดติดมาแล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติด้วยปัญญาพิจารณาให้รอบคอบก่อน จึงไม่ควรยึดติด ปล่อยวางเสีย ด้วยสติ
                อารมณ์ของการยึดติด จะเกี่ยวข้องกับนิมิตโดยตรงบ้าง หรือไม่ได้เกี่ยงข้องกับนิมิตโดยตรงบ้าง จิตเราก็ไม่ควรส่ายไปตามนิมิตนั้น ใจเราจะสงบ ไม่ยึดติดในนิมิต ปล่อยวางได้

                ปีติในอารมณ์ของบุญ กับปีติในอารมณ์ของสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร
                ปีติในอารมณ์บุญ เกิดขึ้นได้ 3 กาล คือ ก่อนทำบุญ ขณะทำบุญ และหลังทำบุญ
                ปีติในอารมณ์สมาธิ ต้องเข้าฌานสมาธิ เสวยอารมณ์ขององค์ฌานนั้นๆ
                ปีติในอารมณ์ของบุญ ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของปีติในสมาธิ แต่อย่างใด
                ด้วยเหตุนี้ เมื่อสั่งสมบุญมากๆหลังทำบุญ เรียกว่า บุญฤทธิ์เกิดเป็นอานุภาพของบุญขึ้น ไม่จำเป็นต้องเข้าฌานเสมอไป ก็สามารถใช้ฤทธิ์ได้ เช่น เห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เป็นต้น

เคล็ดลับในการฝึกกสิณ 10

                1. กสิณดิน ทำใจให้แข็งเหมือนก้อนดิน
                2. กสิณน้ำ ทำใจให้เย็นเหมือนน้ำ (มีความรักเมตตาสงสารผู้อื่น)
                3. กสิณไฟ ทำใจให้นิ่งและร้อนดังพระอาทิตย์หรือเปลวไฟ
                4. กสิณลม ทำใจให้สงบเย็นเหมือนสายลมที่พัดไปมา
                5. กสิณสีเขียว ทำใจให้เหมือนสีเขียวดังมรกต
                6. กสิณสีเหลือง ทำใจให้เหมือนสีเหลืองดังบุษราคัม
                7. กสิณสีแดง ทำใจให้เหมือนสีแดงดังทับทิม
                8. กสิณสีขาว ทำใจให้เหมือนสีขาวดังไข่มุก
                9. กสิณแสงสว่าง ทำใจให้สงบนิ่งและมีแสงสว่างที่ภายในจิต
                10. กสิณอากาศ ทำใจให้ว่างเปล่าดุจอากาศ (ที่ไม่มีอะไรและหาประมาณมิได้)

ข้อควรทราบ :  กสิณนั้นฝึกเพ่งดูวัตถุจากภายนอกเพื่อให้ได้นิมิตติดตา จำรูปแบบกสิณได้นั้นเอง เป็นการลืมตาดูหรือเพ่งวัตถุกสิณขึ้นมาก่อน แล้วควรหลับตาเพื่อให้ได้นิมิตในใจ
                (การที่จะได้นิมิตกสิณนั้น ให้เกิดขึ้นภายในจิต ควรดำเนินสติไปพร้อมกับกสิณนั้นที่ตนเองได้ฝึก และทำจิตให้สงบ นิมิตของสมาธิก็จะเกิดขึ้น ที่จิตที่สงบอยู่ภายในใจ)
                เคล็ดลับในการทำสมาธิ เพื่อจะได้นิมิตของกสิณนั้นมา คือ ทำใจให้เหมือนกสิณนั้นๆ ที่ตนเองได้ฝึก เช่น ฝึกกสิณดิน ก็ทำใจของตนให้หนักแน่น ดังแผ่นดิน เป็นต้น ก็จะสำเร็จและได้นิมิตของกสิณดิน ดังนี้

เปรียบเทียบธาตุ 6 กับกสิณธาตุ
ธาตุทั้ง 6 คือ
                1. ปฐวีธาตุ คือธาตุดิน
                2. อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ
                3. เตโชธาตุ คือธาตุไฟ
                4. วาโย คือธาตุลม
                5. อากาศธาตุ คือช่องว่างมีในกาย
                6. วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไร

ข้อควรทราบ ธาตุ 6 เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา

                ธาตุ 6 เป็นสมถะ คือ การเจริญธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม (ในรูปแบบกสิณธาตุ) ส่วนอากาศเป็นการเจริญ (อากาศกสิณนั้นเอง) ส่วนวิญญาณธาตุนั้น (คือ การเจริญสติเพ่งจิตก่อน และถ้าได้นิมิตโอภาสขึ้นมาเป็นแสงสว่าง เปรียบได้กับเจริญกสิณแสงสว่างและสติเพ่งจิตไปพร้อมๆกัน)
                ธาตุ เป็นวิปัสสนา คือ การพิจารณาธาตุต่างๆ ในร่างกาย และอาการ 32 ประการ เป็นต้น

นิมิตในกสิณ 10
                1. กสิณดิน นิมิตแข็งแกร่งดังศิลา
                2. กสิณน้ำ นิมิตเยือกเย็นดุจน้ำนิ่ง
                3. กสิณไฟ นิมิตร้อนแรงดุจพระอาทิตย์
                4. กสิณลม นิมิตรวดเร็วเหมือนลมพัด
                5. กสิณสีเขียว นิมิตสีเขียวดังมรกต
                6. กสิณสีเหลือง นิมิตสีเหลืองดังบุษราคัม
                7. กสิณสีแดง นิมิตสีแดงดังทับทิม
                8. กสิณสีขาว นิมิตสีขาวดังไข่มุก
                9. กสิณแสงสว่าง นิมิตโอภาสแสงสว่างขึ้นมาจากจิต
                10. กสิณอากาศ นิมิตว่างเปล่าดุจอากาศ

ข้อควรทราบ : ในนิมิตของกสิณ (แม้จะเป็นนิมิตจริง) ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ควรมีสติแล้วปล่อยวาง ในนิมิตทั้งปวง (ไม่ติดสุขในนิมิตกสิณนั้นๆ) จิตจะเป็นหนึ่งเดียว ดังนี้

เจาะลึกกสิณทีละนิมิตตามลำดับขององค์ฌานสมาธิ

                นิมิตของกสิณนั้น จะได้ไม่เหมือนกัน ตามลำดับขององค์ฌาน ถ้าเจาะลึกให้ละเอียดแล้ว มีดังต่อไปนี้ คือ
กสิณดิน
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตเป็นดั่งแผ่นดิน
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตดินสีดำล้วน
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตดินสีแดงล้วน
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตหนักแน่น ดังศิลาดิน

กสิณน้ำ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตน้ำธรรมดา
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตน้ำตกตะกอน
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตน้ำมีแสงสะท้อนหลายสี
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตน้ำบริสุทธิ์สะอาดเย็นสงบนิ่ง

กสิณไฟ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตแสงไฟของเปลวเทียน
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตแสงไฟของกองเพลิง
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตแสงไฟของเปลวเพลิง
·         นิมิตองค์ฌานที่ นิมิตแสงไฟของพระอาทิตย์

กสิณลม
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตลมหายใจเข้าออก (หรือลมพัดไปตามตัว)
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตลมพัดไปมาตามอากาศ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตลมพัดไปมาตามภูเขา
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตลมพัดเย็นที่สงบนิ่ง

กสิณสีเขียว
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตเหมือนสีเขียวของกระดาษ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตเหมือนสีเขียวของใบไม้
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตเหมือนสีเขียวแสงของหิ่งห้อย
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตเหมือนสีเขียวของมรกต

กสิณสีเหลือง
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตเหมือนสีเหลืองของกระดาษ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตเหมือนสีเหลืองวัตถุสิ่งของ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตเหมือนสีเหลืองของแสงจันทร์
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตเหมือนสีเหลืองของบุษราคัม

กสิณสีแดง
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตเหมือนสีแดงของกระดาษ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตเหมือนสีแดงของวัตถุสิ่งของ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตเหมือนสีแดงของพฤกษา พรรณไม้ต่างๆ ตามธรรมชาติ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตเหมือนสีแดงของทับทิม

กสิณสีขาว
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตเหมือนสีขาวของกระดาษ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตเหมือนสีขาวของวัตถุสิ่งของ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตเหมือนสีขาวของลำสี
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตเหมือนสีขาวของไข่มุก

กสิณแสงสว่าง
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตแสงสว่างเหมือนหลอดไฟ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตแสงสว่างเหมือนแสงของดวงดาว
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตแสงสว่างเหมือนแสงนวลของดวงจันทร์
·         นิมิตองค์ฌานที่ 4 นิมิตแสงสว่างเหมือนแสงสีขาวบริสุทธิ์

กสิณอากาศ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 1 นิมิตความว่างเปล่าของอากาศ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 2 นิมิตความว่างที่สงบ
·         นิมิตองค์ฌานที่ 3 นิมิตอากาศหาที่สิ้นสุดมิได้
·         นิมิตองค์ฌานที่ นิมิตอากาศที่สงบนิ่งอยู่ในสมาธิ

แก้อารมณ์ของนิมิตในกสิณ 10
                1. กสิณดิน แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณดิน
                2. กสิณน้ำ แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณน้ำ
                3. กสิณไฟ แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณไฟ
                4. กสิณลม แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณลม
                5. กสิณสีเขียว แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณสีเขียว
                6. กสิณสีเหลือง แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณสีเหลือง
                7. กสิณสีแดง แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณสีแดง
                8. กสิณสีขาว แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณสีขาว
                9. กสิณแสงสว่าง แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณแสงสว่าง
                10. กสิณอากาศ แก้อารมณ์ด้วยการมีสติ นิ่งแล้วปล่อยวาง ในนิมิตกสิณอากาศ

ข้อควรทราบ : ในการเจริญกสิณนั้น ไม่ว่าจะเป็นกสิณใดก็ตาม เมื่อเกิดนิมิตขึ้น ก็ควรมีสติ ทำจิตของตัวเองให้สงบนิ่ง อย่าไปตามนิมิตนั้นมาก (ปล่อยวางเป็นอุเบกขา) นิมิตก็สักแต่ว่านิมิต จิตจึงสงบและได้ฌานสมาธิที่มีนิมิตเป็นหนึ่งเดียว ดังนี้

ข้อแตกต่าง ระหว่างผู้สำเร็จกสิณกับผู้อุปาทาน

                ผู้สำเร็จกสิณดิน สามารถใช้อานุภาพของกสิณดินประสานกระดูก และบาดแผลได้ สามารถใช้อานุภาพของกสิณดิน ห้ามกระแสน้ำได้ เป็นต้น ฯลฯ
                ผู้อุปาทานกสิณดิน ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณดิน (ไหนละอานุภาพที่เกิดจากกสิณดิน ไหนละการประสานกระดูกและบาดแผลต่างๆในร่างกาย หรือการใช้อานุภาพของกสิณดินห้ามกระแสน้ำได้ เป็นต้น ฯลฯ) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณน้ำ สามารถทำให้ตัวเองเย็นได้ และฝ่ามือตัวเองเย็นได้ เรียกฝนได้ ทำดินที่แห้งแล้งให้ชุ่มชื้นด้วยน้ำ เป็นต้น ฯลฯ
                ผู้อุปาทานกสิณน้ำ ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณน้ำ (ไหนละอานุภาพที่เกิดจากกสิณน้ำ ยังทำให้ฝ่ามือเย็นไม่ได้ เรียกฝนให้ตกลงมาไม่ได้ เป็นต้น ฯลฯ) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณไฟ สามารถทำให้ฝ่ามือตัวเองร้อนได้ ทำน้ำธรรมดาให้อุ่นได้ด้วยกสิณไฟ เป็นต้น ฯลฯ
                ผู้อุปาทานกสิณไฟ ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณไฟ (ไหนละอานุภาพของกสิณไฟ ยังทำให้ฝ่ามือตัวเองร้อนไม่ได้ ทำน้ำธรรมดาให้อุ่นไม่ได้ เป็นต้น ฯลฯ) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณลม สามารถเรียกลม ให้พัดไปมาในอากาศได้ เป็นต้น ฯลฯ
                ผู้อุปาทานกสิณลม ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณลม (ไหนละอานุภาพของกสิณลม ที่สามารถเรียกลม ให้พัดไปมาในอากาศได้ เป็นต้น ฯลฯ) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณสีเขียว สามารถเปลี่ยนสีของวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีเขียวได้
                ผู้อุปาทานกสิณสีเขียว ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณสีเขียว (ไหนละอานุภาพของกสิณสีเขียว ที่สามารถเปลี่ยนวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีเขียว) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณสีเหลือง สามารถเปลี่ยนสีของวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีเหลืองได้
                ผู้อุปาทานกสิณสีเหลือง ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณสีเหลือง (ไหนละอานุภาพของกสิณสีเหลือง ที่สามารถเปลี่ยนวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีเหลือง) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณสีแดง สามารถเปลี่ยนสีของวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีแดงได้
                ผู้อุปาทานกสิณสีแดง ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณสีแดง (ไหนละอานุภาพของกสิณสีแดง ที่สามารถเปลี่ยนวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีแดง) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณสีขาว สามารถเปลี่ยนสีของวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีขาวได้
                ผู้อุปาทานกสิณสีขาว ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณสีขาว (ไหนละอานุภาพของกสิณสีขาว ที่สามารถเปลี่ยนวัตถุสิ่งของให้กลายเป็นสีขาว) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณแสงสว่าง สามารถทำให้ที่มืด ปรากฏเป็นที่สว่างได้ เป็นต้น ฯลฯ
                ผู้อุปาทานกสิณแสงสว่าง ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณแสงสว่าง (ไหนละอานุภาพของกสิณแสงสว่าง ที่สามารถทำที่มืดให้ปรากฏเป็นที่สว่าง) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

                ผู้สำเร็จกสิณอากาศ สามารถเปลี่ยนอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ให้บริสุทธิ์ เป็นต้น ฯลฯ
                ผู้อุปาทานกสิณอากาศ ยึดติดนิมิตและคิดไปว่า ตนเองนั้นสำเร็จกสิณอากาศ (ไหนละอานุภาพของกสิณอากาศ ที่สามารถทำให้อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ให้บริสุทธิ์ได้) ถ้าทำไม่ได้ท่านนั้น อุปาทานคิดไปเองว่าตนนั้นสำเร็จ

ข้อควรทราบ : ในความเป็นจริงนั้นอานุภาพของกสิณนั้นยังมีมากกว่านี้ ผู้เขียนเพียงแต่ยกตัวอย่างโดยย่อให้พอเข้าใจเท่านั้น (ผู้ปฏิบัติต้องเข้าถึงเอง) อานุภาพของกสิณจะใช้ได้ดีขึ้นอยู่กับอำนาจของฌานสมาธิด้วย กสิณกับฌานจึงเป็นของคู่กัน และเป็นสิ่งให้เรารู้ด้วยปัญญาว่า เรานั้นสำเร็จหรือไม่ เพราะถ้าสำเร็จก็จะใช้อานุภาพของกสิณได้ ถ้าไม่สำเร็จก็จะใช้ไม่ได้ นั้นเอง

จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นให้ใจเป็นทุกข์ ควรแล้วที่จะปล่อยวาง จึงไม่ยึดติดในอภิญญาสมาธิ

                การพิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญาของตนนั้นว่า สิ่งใดสำเร็จหรือเป็นอุปาทาน ทำให้ เราทราบ (นิมิตที่เราได้จากสมาธินั้น เราสำเร็จแล้วหรือไม่ประการใด) ควรพัฒนาจิตของตนให้ยิ่งขึ้นไปอีก สิ่งใดยังไม่สำเร็จ เราควรฝึกจิตตนให้พัฒนายิ่งขึ้นไปอีก สิ่งใดสำเร็จแล้ว ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ควรปล่อยวางเป็นอุเบกขา
                ด้วยเหตุนี้ ผู้สำเร็จก็ยังต้องใช้สติปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตนเองว่า เรานั้นสำเร็จหรือไม่ประการใด จึงไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นในนิมิต (อันเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานขึ้นได้) สมาธิที่สมบูรณ์นั้น จึงมีทั้งการฝึกสติ ฝึกจิต และปัญญา ในสมาธิ
                ปัญญาในสมาธิ ทำให้เรารู้ความสามารถของสมาธิตนเอง ไม่หลงยึดติดในอภิญญาสมาธิ จะสำเร็จสมาธิ ก็ใช้ปัญญาพิจารณาในสมาธิของตน จึงไม่เกิดเป็นอุปาทาน
                การเจริญสมถะจะเป็นการฝึกสติและจิตเท่านั้น การที่จะได้ปัญญาในสมาธินั้นมา คือ การเจริญสมถะแล้วมาต่อเป็นวิปัสสนา ตัวอย่างเช่น การเจริญกสิณเป็นสมถะ เมื่อสำเร็จแล้ว เอากสิณมาเจริญเป็นวิปัสสนาสมาธิต่อ จึงไม่หลงติดอยู่ในนิมิต แล้วเกิดปัญญาว่าเราสำเร็จหรือไม่ประการใด
                แม้สำเร็จการเจริญกสิณในรูปแบบต่างๆแล้ว ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางเป็นอุเบกขาฌาน เพื่อให้จิตเป็นหนึ่งเดียวและสงบเป็นสมาธิ แล้วฝึกนำกสิณมาเจริญวิปัสสนาต่อ เช่น กสิณธาตุ เป็นต้น ให้เห็นว่า ธาตุทั้งหลาย ไม่มีสิ่งใดที่น่ายึดติด ก็เป็นสักแต่ว่าธาตุ คลายจากการยึดติด และยึดมั่นถือมั่น จิตปล่อยวางเป็นอุเบกขาญาณ แห่งวิปัสสนา
                ความเป็นจริงนั้น การสำเร็จอานุภาพของกสิณทั้ง 10 ประการนั้น มีมากกว่านี้ ผู้เขียน เขียนแต่โดยย่อให้เข้าใจเท่านั้น ความสำเร็จในสมาธิ จิตของท่านต้องเข้าถึงเอง ดังนี้

วิธีแก้ความท้อแท้ในการเจริญกสิณ

                การทำสมาธิไม่ว่าจะฝึกอย่างไรก็ตาม จะเจริญสมถะและวิปัสสนา (จะฝึกกสิณต่างๆ) จุดมุ่งหมาย คือ ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ ถ้าเราฝึกต้องการอภิญญาของกสิณ หรืออภินิหารต่างๆ จิตจะไม่สงบ เพราะส่ายไปในความฟุ้งซ่าน คิดถึงเรื่องอนาคตว่าอยากสำเร็จ ลืมตั้งสติให้อยู่กับปัจจุบัน ในความเป็นจริง อภิญญาเป็นของแถมจากการฝึกสมาธิ บุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
                การทำสมาธิควรฝึกให้มีสติ แล้วจิตก็จะสงบ ในรูปแบบของการฝึกกสิณนั้นๆ จะได้นิมิตหรือไม่ได้นิมิตไม่สำคัญ ถ้าจิตสงบแล้วนิมิตก็จะเกิดขึ้นเอง แม้แต่ได้นิมิตมาแล้ว ควรมีสติแล้วปล่อยวาง ในนิมิตทั้งหมด ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น จิตจึงสงบ และเป็นหนึ่งเดียว
                นอกจากความคิดว่า ตนเองปฏิบัติจิตไม่สงบ อันเป็นสาเหตุแห่งความท้อแท้เกิดขึ้น บางครั้งการไปฟังคำพูดของบาปมิตร ก็เป็นเหตุให้เราท้อแท้ใจขึ้นได้เช่นกัน จึงไม่จำเป็นต้องไปฟังคำพูดของใคร ควรเชื่อมั่นในปฏิปทาของตนเอง ปฏิบัติสมาธิไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสำเร็จ ไม่ควรท้อแท้ใจขึ้น และอย่าไปสนใจคำพูดของคนอื่น อันเป็นเหตุให้คลายจากความเพียรลง
                ไม่ว่าเราจะสำเร็จสมาธิขั้นไหน พวกบาปมิตรหรือคนที่ไม่อยากให้เราได้ดีเกินหน้า ก็ว่าเราเสียๆหายๆ ต่อให้เราปฏิบัติสมาธิ จนสำเร็จอัปปนาสมาธิ คนพวกนี้ ก็ตีค่าสมาธิเราเป็นศูนย์
                การปฏิบัติสมาธิไม่ว่าจะเป็นสายวิปัสสนา หรือสายอภิญญา โดยเฉพาะสายอภิญญา ไม่ควรพูดกับใครเรื่องสมาธิ ต้องเก็บไว้เป็นความลับ อย่าไปคิดว่า คนที่จ้องจับผิดโจมตีกัน เป็นคนต่างศาสนา คนในศาสนาเดียวกัน ก็จ้องจะจับผิดโจมตีกันเองเช่นกัน ท่านไม่เชื่อลองไปสำนักปฏิบัติธรรม คุยเรื่องสมาธิกับคนที่ไม่มีอภิญญา รับรองได้ว่า โดนพวกหมั่นไส้หาเรื่องโจมตีเช่นกัน เรื่องแบบนี้ ต้องคุยกับกัลยาณมิตรที่มีมุทิตาจิต แต่ไม่พูดเสียเลยเป็นที่ดีสุด ไม่ควรเข้าฌานให้คนอื่นรู้ อย่าประมาทคิดว่าไม่มีใครเห็น คนมีเจโตรู้ดี ควรซ่อนคมไว้ข้างใน
                ความท้อแท้ ย่อมไม่มีสำหรับผู้มีความเพียร ถ้าไม่เลิกสร้างบารมีไปเสียก่อน

การบรรลุธรรมด้วยกสิณ

การเจริญกสิณบรรลุธรรมได้อย่างไร
                การบรรลุธรรมด้วยการเจริญกสิณนี้ (เป็นการบรรลุธรรมแบบเจโตวิมุตติ คือ เจริญสมถะก่อนแล้วมาต่อเป็นวิปัสสนาทีหลัง)

การบรรลุธรรมด้วยกสิณธาตุ
                1. กสิณดิน ผู้สำเร็จสมาธิด้วยพลังของกสิณดินจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณดินแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาธาตุดินว่า แม้ธุลีดินเล็กน้อยก็คือกิเลสเกาะติดจิตใจ ธุลีดินแห่งกิเลสนั้น เป็นความทุกข์ทรมานเกาะติดจิตใจ เป็นเครื่องพันธนาการแห่งกิเลส ข้ามภพข้ามชาติ หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ และไม่มีสิ่งใดควรยึดติดในตัวตน เราเขา จิตคลายความยึดติดในธาตุดินที่เป็นธุลีกิเลส เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                2. กสิณน้ำ ผู้สำเร็จสมาธิด้วยพลังของกสิณน้ำจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณน้ำแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาธาตุน้ำว่า ห้วงน้ำแห่งกิเลสตัณหาและอวิชชานั้น ยังคนเราให้ติดอยู่กิเลสข้ามภพข้ามชาติ เมื่อพิจารณาการเกิดแต่ละชาติที่เต็มไปด้วยกิเลส จะเกิดความเบื่อหน่ายเป็นทุกข์และหาเที่ยงแท้แห่งภพชาติไม่ เมื่อจิตพิจารณาความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนแห่งห้วงน้ำของกิเลส ยังบุคคลให้ข้ามภพข้ามชาติ ก็จะเกิดความ เบื่อหน่าย ไม่มีสิ่งใดที่น่ายึดติด จึงปล่อยวางในการยึดมั่นตัวตน เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                3. กสิณไฟ ผู้สำเร็จสมาธิด้วยพลังของกสิณไฟจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณไฟแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาธาตุไฟว่า ไฟนั้นคือกิเลส เป็นไฟราคะความรัก ไฟโทสะความโกรธ ไฟโมหะความหลง พิจารณาทุกข์ที่เกิดจากโทษของไฟกิเลส อันเป็นเครื่องผูกมัดจิตให้ร้อนไปด้วยไฟรัก โลภ โกรธ หลง ทำให้คนเรานั้นร้อนรนไปด้วยไฟกิเลส เผาไหม้จิตใจให้ทุกข์ทรมาน และทำให้คนตกเป็นทาสของกิเลส จนคลายความยึดมั่น ถือมั่น เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                4. กสิณลม ผู้สำเร็จสมาธิด้วยพลังของกสิณลมจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณลมแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาธาตุลมว่า สังขารร่างกายของคนเรานั้น หาเที่ยงไม่ โดยมีสติกำหนดพิจารณาลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา เป็นความไม่ประมาทแห่งความตาย และสติกำหนดพิจารณาลมหายใจอีกว่า คนเราทุกคนเกิดมาต้องตาย หาสิ่งใดยึดติดไม่ได้ จนจิตปล่อยวาง เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ

การบรรลุธรรมด้วยกสิณสีต่างๆ
                5. กสิณสีเขียว ผู้สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีเขียวจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณสีเขียวแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นอสุภะที่เป็นซากศพ มีสีเขียวขึ้น จนจิตสลดสังเวชใจในสังขารร่างกาย ให้เห็นว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับแห่งสังขาร เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จนจิตคลายความยึดติดในตัวตน เราเขา เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                6. กสิณสีเหลือง ผู้สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีเหลืองจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วยกสิณสีเหลืองแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นอสุภะที่เป็นซากศพ มีสีน้ำเหลืองขึ้น จนจิตสลดสังเวชใจในสังขารร่างกาย ให้เห็นว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับแห่งสังขาร เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จนจิตคลายความยึดติดในตัวตน เราเขา เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                7. กสิณสีแดง ผู้สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีแดงจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณสีแดงแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นอสุภะที่เป็นซากศพ มีน้ำเลือดสีแดงไหลเป็นของไม่งาม จนจิตสลดสังเวชใจในสังขารร่างกาย ให้เห็นว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับแห่งสังขาร เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จนจิตคลายความยึดติดในตัวตน เราเขา เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                8. กสิณสีขาว ผู้สำเร็จสมาธิด้วยกสิณสีขาวจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณสีขาวแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาสิ่งต่างๆนั้นบริสุทธิ์ดุจสีขาว แต่เพราะมีธุลีคือ กิเลสแห่งจิตทำให้เศร้าหมองไป (ก็เพราะกิเลสนี้ ทำให้สรรพสัตว์ต้องเป็นทุกข์ เวียนวายตายเกิด นับภพชาติไม่ถ้วน เราควรแล้วที่จะปล่อยวาง และสละกิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งปวง) จนความจากความยึดมั่นถือมั่น เข้าสู่อนัตตาญาณ เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ

การบรรลุธรรมด้วยกสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศ
                9. กสิณแสงสว่าง ผู้สำเร็จสมาธิด้วยกสิณแสงสว่างจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วยกสิณแสงสว่างแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาธาตุวิญญาณว่า วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ดวงจิตวิญญาณนี้ที่ติดไปด้วยกิเลสข้ามภพข้ามชาติมานับไม่ถ้วน การปล่อยวางให้ดวงจิตวิญญาณของตนนั้น หลุดพ้นจากกิเลส เครื่องผูกมัดทั้งหลาย จนจิต ของตน หมดความยึดมั่นถือมั่น เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                10. กสิณอากาศ ผู้สำเร็จสมาธิด้วยกสิณอากาศจนได้ฌานสมาธิ พึงเข้าฌานสมาธิด้วย กสิณอากาศแล้วเจริญวิปัสสนาต่อมาเป็นญาณ แล้วพิจารณาธาตุอากาศว่า สรรพสัตว์และทุกคนที่เกิดมาบนโลกบนนี้ ย่อมอาศัยอากาศเป็นการหายใจ อาศัยอากาศเป็นที่อยู่ และกาลเวลา ย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีใครรอดพ้นจากความตายไปได้ จิตเกิดสลดสังเวชใจ คลายความยึดมั่นในกิเลสทั้งปวง เป็นการหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ
                (ในสมัยครั้งพระพุทธกาลนั้น การเจริญกสิณให้สำเร็จฌานสมาธิก่อน แล้วมาเจริญวิปัสสนาทีหลัง มีพระอรหันต์บรรลุธรรมให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย อาทิเช่น พระสาคตะบรรลุธรรมด้วยการเจริญกสิณไฟ พระจูฬปันถกะบรรลุธรรมด้วยการเจริญสีขาว เป็นต้น ฯลฯ)

ข้อควรรู้พิเศษ การปฏิบัติเจโตวิมุตติ

                การปฏิบัติเจโตวิมุตติ จะให้ใครรู้ไม่ได้ ควรซ่อนไว้เป็นความลับ การอยู่ในสังคมไทยต้องทำใจและปล่อยวาง เหตุผลเพราะค่านิยมในสังคมไทย จะปฏิบัติวิปัสสนา คนไทยฝั่งใจว่า ต้องปฏิบัติวิปัสสนา เจริญปัญญาวิมุตติอย่างเดียวเท่านั้น ถึงจะบรรลุธรรมได้
                การบรรลุธรรมจะปฏิบัติเจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุตติก็ได้ สุดแล้วแต่จริตของคนจึงควรสนทนาธรรมกับคนที่ปฏิบัติเจโตวิมุตติเหมือนกัน
                ผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้ของวิปัสสนาแล้วจะไม่โจมตีกัน คนที่โจมตีกัน แสดงว่า ปฏิบัติไม่ถึงแก่นแท้ของวิปัสสนา เขาไม่ใช่นักปราชญ์และบัณฑิต เป็นแต่บาปมิตรที่คอยจ้องโจมตีผู้อื่น
                บัณฑิตไม่พูดให้ร้ายใคร การพูดใครร้ายผู้อื่นอยู่ เรายังไม่เรียก บุคคลนั้นว่าเป็นบัณฑิต
                การยึดติดนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นอภิญญาเสมอไป แม้แต่ปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว เกิดทิฐิหรือยังติดอยู่ในอารมณ์ต่างๆของวิปัสสนาก็มี เรียกว่า โทษคนอื่นเห็นเท่าภูเขา โทษตัวเองกลับมองไม่เห็น แม้คนเราจะไม่ได้ปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา การใช้ชีวิตประจำวันอยู่ คนที่โจมตีผู้อื่นยังขาดปัญญาพิจารณาว่า เรามีอะไรยึดติดอยู่หรือไม่ หรือละวางกิเลสได้ทั้งหมด
                คนเรามีกิเลสด้วยกันทุกคน อยู่ที่ว่า ใครจะมีน้อยหรือมากกว่ากันเท่านั้นเอง และ ใครควบคุมกิเลสในจิตของตนเอง ให้อยู่ในศีลธรรมได้มากกว่ากัน
                การจะปฏิบัติยังติดอยู่ในสมถะหรือวิปัสสนา ไม่ใช่สิ่งที่จะเอามาโจมตีกัน คนที่โจมตีผู้อื่นอยู่เป็นบาปมิตร จึงควรสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตรเท่านั้น
                คนที่โจมตีผู้อื่นว่า อภิญญานั้นปฏิบัติแล้วยึดติด เขาไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญาว่า คนที่ปฏิบัติอภิญญานั้น เขาปฏิบัติได้ถึงขั้นไหน ยังติดอยู่ในปีติหรือสุข หรือปฏิบัติถึงขั้นปล่อยวาง หรือปฏิบัติถึงขั้นโลกีย์หรือโลกุตตระ อภิญญานั้นมีขั้นโลกีย์และขั้นโลกุตตระ (อภิญญาขั้น โลกุตตระไม่ต้องพูดถึง เพราะท่านเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ย่อมไม่ยึดติดอย่างแน่นอน) อภิญญาขั้นโลกีย์เท่านั้น ที่ยังยึดติดอยู่ แต่ก็ยังต้องใช้ปัญญาวิเคราะห์ให้ละเอียดว่า ผู้ปฏิบัติถึงขั้นไหน ถ้าปล่อยวางได้ จะไม่ยึดติด ผู้ได้ถึงขั้นปีติและสุข ที่ยังยึดติดอยู่ ต้องแก้อารมณ์กรรมฐานต่อไป
                อภิญญาก็สักว่าอภิญญา แม้ความรู้ที่เกิดจากวิปัสสนาก็สักแต่ว่าความรู้ ปล่อยวาง ไม่ยึดติด ใจเราก็สงบ เพราะมีสติเป็นที่ตั้ง จึงจะไม่ยึดติดทั้งสมถะและวิปัสสนา
                ด้วยเหตุนี้ การสนทนาธรรมกับบาปมิตร ก็มักจะมีปัญหาอยู่ร่ำไป ควรนิ่งเสีย ไม่โต้ตอบ เพราะจะเกิดปัญหาทะเลาะกันมากกว่า จึงควรสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตรเท่านั้น ถึงจะแก้อารมณ์กรรมฐานให้ได้ และเกิดประโยชน์สูงสุด

สมถะปฏิบัติถึงขั้นอภิญญา แก้อารมณ์ด้วยการปล่อยวาง อย่างมีสติ ไม่ยึดติด

                วิปัสสนาปฏิบัติถึงขั้นปัญญา แก้อารมณ์ด้วยการละวางจากความรู้ ทิฐิทั้งปวง จนสามารถปล่อยวางได้ อย่างมีสติ ไม่ยึดติดเช่นกัน

                การปฏิบัติเจโตวิมุตติ เจริญรอยตามพระอรหันต์สายอภิญญา ต้องทำใจ ปล่อยวาง และซ่อนความรู้ความสามารถเอาไว้ ไม่ควรบอกให้ใครได้รับรู้ ถ้าจะพูดต้องพูดกับผู้ที่อยู่ ชั้นเดียวกันเท่านั้น จึงมีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษเหมือนสนทนากับพวกบาปมิตร

                   --ขอขอบพระคุณ อาจารย์เสก ที่กรุณาเผยแผ่ความรู้เป็นวิทยาทาน--