ว่าด้วยเรื่องพลอยต้องไปสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง "เคนเนท สคาร์แรทท์" กรรมการผู้จัดการสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (จีไอเอ) หนึ่งในนักอัญมณีศาสตร์แนวหน้าของโลก ผู้มีประสบการณ์ด้านอัญมณีมากกว่า 30 ปีในด้านการตรวจวิเคราะห์พลอยหลากหลายชนิด อธิบายถึงที่มาของแหล่งพลอยที่สำคัญในโลก โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้าพลอย และยังมีอีกหลายประเทศ เช่น ศรีลังกา อินเดีย และนิวยอร์ก ส่วนแหล่งที่มาพลอยคุณภาพที่ดีที่สุดในโลกตอนนี้ คือ พลอยจากแคชเมียร์จะมีราคาแพงกว่าแหล่งอื่น ๆ ซึ่งราคาจะแตกต่างกันมาก หากนำพลอยมาจากแคชเมียร์กับศรีลังกามาเทียบกัน พลอยแคชเมียร์จะได้ราคาดีกว่า
ในเมื่อพลอยแต่ละเม็ดได้มาจากต่างถิ่นที่แตกต่างกัน พลอยเม็ดนั้น ๆ ย่อมมีคุณภาพและราคาที่แตกต่างกัน รวมถึงพลอยสังเคราะห์หรือพลอยที่ทำขึ้นมาจากวัสดุเดียวกัน ก็มีความคงทนแข็งแรงเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ผลึกชั้นภายในที่จะมีลวดลายแตกต่างออกไปจากพลอยดิบที่จะมีเส้นลายที่สวยงาม แต่พลอยสังเคราะห์จะเรียงกันเป็นชั้น ๆ แบบชัดเจน หากส่องด้วยตาเปล่าอาจจะดูไม่แตกต่างกันมาก เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะได้ว่า เม็ดไหนคือพลอยธรรมชาติ และเม็ดไหนคือพลอยสังเคราะห์
สถาบันจีไอเอได้เปิดคอร์สพิเศษเพื่อให้ความรู้แก่สื่อมวลชนในการตรวจวิเคราะห์พลอยเพื่อจะได้รู้ว่าเป็นพลอยแท้หรือพลอยประดิษฐ์ เพราะในทางอัญมณีของปลอมก็ไม่ได้ปลอมซะทีเดียว "ภัทรภูมิ สุดประเสริฐ" ผู้สอนดูพลอยสถาบันจีไอเออธิบายวิธีการส่องอัญมณีที่มีระดับต้องมี 3 อย่าง คือ สวยงาม คงทน และหายาก
พลอย ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ Ruby หรือทับทิม อัญมณีเม็ดสีแดง ราชาของหินทั้งปวง ยิ่งเม็ดสีแดงสดมากเท่าไหร่ราคายิ่งสูงตามไปด้วย ตอนนี้ทับทิมที่นิยมมากที่สุดต้องมีแหล่งที่มาจากพม่า ขึ้นมาเบียดทับทิมสยามจากจันทบุรีที่ดังมากในอดีต
Sapphire หรือไพลิน พลอยสีน้ำเงิน อัญมณีที่แพงรองลงมา คำว่า ไพลิน นั้นจะรู้จักกันในหมู่คนไทย เนื่องจากคำว่า ไพลิน เป็นชื่อเหมืองพลอยสีน้ำเงิน ทำให้เรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันว่า ไพลิน ซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่นักค้าพลอย โดยพลอยสีน้ำเงินจะพบมากในแคชเมียร์
มรกต เป็นพลอยที่มีรอยแตกมาก ของแท้สังเกตได้จากรอยด่าง ๆ อยู่ภายในเม็ดมรกต
หยก อัญมณีที่ราชวงศ์จีนนิยมมาก โดยหยกมี 2 เกรด คือ Jedeite เป็นหยกราคาสูง และ Nephrite ราคาถูกกว่าเป็นพวกหยกแกะสลัก สำหรับหยกราคาแพงที่สุด คือ หยกเขียว รองลงมาคือ หยกม่วง ลาเวนเดอร์ หยกราคาแพงสามารถสังเกตได้จากความโปร่งแสง คือแสงส่องผ่านได้ดี เวลาจับหรือมองส่องผ่านแสงจะมีความละเอียดมาก
อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะไม่มีแหล่งพลอยให้ขุดอย่างในอดีต แต่ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยและแหล่งเจียระไนฝีมือดีลำดับต้น ๆ ของโลก รวมถึงฝีมือช่างสังเคราะห์พลอยขึ้นใหม่ของไทยก็เรียกว่าฝีมือเนียนและมีเทคนิคที่หลาย ๆ ประเทศให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการเผาพลอยให้สีสวยมากขึ้น หรือการประสานต่อเชื่อมพลอยที่เรียกว่าเหนือชั้นกว่าใคร ๆ
ผู้สอนดูพลอยจากจีไอเอยังบอกอีกว่า การดูพลอยแท้หรือพลอยเทียมในอัญมณีที่ไม่มีเอกสารการันตี หากมองด้วยตาเปล่าค่อนข้างจะแยกยาก แต่พลอยที่ขุดมาจากดินแบบดิบ ๆ กับพลอยที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ก็มีวิธีดูแบบคร่าว ๆ 4 อย่าง คือ 1.แท้หรือเทียม 2.สีสวยหรือไม่ 3.ปรับปรุงมาหรือไม่ 4.มาจากแหล่งใด
"แท้หรือเทียม ผู้ซื้อจะต้องเลือกร้านที่น่าเชื่อถือและถามที่มาให้ละเอียด บางครั้งของที่ทำขึ้นมาใหม่หรือจะเรียกว่าการโคลนนิ่งพลอย ที่ทำขึ้นในห้องแล็บโดยการนำแร่ธาตุที่เหมือนกันมาเพิ่มความดันและความร้อนสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะมีปริมาณที่ทำได้มากกว่าของธรรมชาติ คุณสมบัติเหมือนกันคือ เล่นไฟ ทนความร้อนและแข็งคงทน"
นอกจากนี้ มีพลอยอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า พลอยประกบ คือการเอาพลอยแท้วางบนพลอยสังเคราะห์ ใช้น้ำยาประสานให้มันเชื่อมต่อกัน หากมองจากด้านบนจะไม่เห็นรอยประกบ แต่ถ้ามองด้านข้างถึงจะเห็นรอยประกบ
ความสวยงาม ให้ดูที่สี พลอยที่มีราคาสีต้องสะอาด รูปทรงสวยงามหรือไม่
"การปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งมีทั้งการเผา การอาบรังสี ย้อมสี และอุดแก้วตะกั่ว ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพด้วยการเผาให้พลอยเปลี่ยนสี หากเผาแบบเก่าไม่ใส่อะไรเลย แต่สีพลอยจะสวยงามขึ้น ช่างไทยจะทำได้ แต่ปัจจุบันมีการนำสารเคมีมาใช้ระหว่างเผาจะทำให้ได้สีที่สวยขึ้นเป็นการเผาแบบใหม่ ซึ่งช่างทั่วไปสามารถทำได้"
สุดท้ายเพื่อความมั่นใจว่าได้พลอยตามแบบที่ต้องการและคุ้มค่าเงินที่แลกมา ผู้ซื้อต้องมีความรู้เบื้องต้นในการส่องพลอยที่ไม่ใช่แค่มองแล้วสวย แต่ต้องรู้ที่มาที่ไป และแหล่งที่นำมา รวมถึงการรู้จักสังเกตว่าพลอยเม็ดนั้นเป็นพลอยจากธรรมชาติสังเคราะห์ หรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
นี่เป็นแค่ข้อมูลคร่าว ๆ ที่อาจจะไม่ได้ช่วยแยกแยะว่าอันไหนแท้ อันไหนเทียม แต่การรู้ที่มาที่ไปรวมถึงกรรมวิธีการทำพลอยประดิษฐ์ก็คงพอต่อรองกับพ่อค้าแม่ค้าพลอยบ้าง
อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะไม่มีแหล่งพลอยให้ขุดอย่างในอดีต แต่ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยและแหล่งเจียระไนฝีมือดีลำดับต้น ๆ ของโลก รวมถึงฝีมือช่างสังเคราะห์พลอยขึ้นใหม่ของไทยก็เรียกว่าฝีมือเนียนและมีเทคนิคที่หลาย ๆ ประเทศให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการเผาพลอยให้สีสวยมากขึ้น หรือการประสานต่อเชื่อมพลอยที่เรียกว่าเหนือชั้นกว่าใคร ๆ
ผู้สอนดูพลอยจากจีไอเอยังบอกอีกว่า การดูพลอยแท้หรือพลอยเทียมในอัญมณีที่ไม่มีเอกสารการันตี หากมองด้วยตาเปล่าค่อนข้างจะแยกยาก แต่พลอยที่ขุดมาจากดินแบบดิบ ๆ กับพลอยที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ก็มีวิธีดูแบบคร่าว ๆ 4 อย่าง คือ 1.แท้หรือเทียม 2.สีสวยหรือไม่ 3.ปรับปรุงมาหรือไม่ 4.มาจากแหล่งใด
"แท้หรือเทียม ผู้ซื้อจะต้องเลือกร้านที่น่าเชื่อถือและถามที่มาให้ละเอียด บางครั้งของที่ทำขึ้นมาใหม่หรือจะเรียกว่าการโคลนนิ่งพลอย ที่ทำขึ้นในห้องแล็บโดยการนำแร่ธาตุที่เหมือนกันมาเพิ่มความดันและความร้อนสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะมีปริมาณที่ทำได้มากกว่าของธรรมชาติ คุณสมบัติเหมือนกันคือ เล่นไฟ ทนความร้อนและแข็งคงทน"
นอกจากนี้ มีพลอยอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า พลอยประกบ คือการเอาพลอยแท้วางบนพลอยสังเคราะห์ ใช้น้ำยาประสานให้มันเชื่อมต่อกัน หากมองจากด้านบนจะไม่เห็นรอยประกบ แต่ถ้ามองด้านข้างถึงจะเห็นรอยประกบ
ความสวยงาม ให้ดูที่สี พลอยที่มีราคาสีต้องสะอาด รูปทรงสวยงามหรือไม่
"การปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งมีทั้งการเผา การอาบรังสี ย้อมสี และอุดแก้วตะกั่ว ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพด้วยการเผาให้พลอยเปลี่ยนสี หากเผาแบบเก่าไม่ใส่อะไรเลย แต่สีพลอยจะสวยงามขึ้น ช่างไทยจะทำได้ แต่ปัจจุบันมีการนำสารเคมีมาใช้ระหว่างเผาจะทำให้ได้สีที่สวยขึ้นเป็นการเผาแบบใหม่ ซึ่งช่างทั่วไปสามารถทำได้"
สุดท้ายเพื่อความมั่นใจว่าได้พลอยตามแบบที่ต้องการและคุ้มค่าเงินที่แลกมา ผู้ซื้อต้องมีความรู้เบื้องต้นในการส่องพลอยที่ไม่ใช่แค่มองแล้วสวย แต่ต้องรู้ที่มาที่ไป และแหล่งที่นำมา รวมถึงการรู้จักสังเกตว่าพลอยเม็ดนั้นเป็นพลอยจากธรรมชาติสังเคราะห์ หรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
นี่เป็นแค่ข้อมูลคร่าว ๆ ที่อาจจะไม่ได้ช่วยแยกแยะว่าอันไหนแท้ อันไหนเทียม แต่การรู้ที่มาที่ไปรวมถึงกรรมวิธีการทำพลอยประดิษฐ์ก็คงพอต่อรองกับพ่อค้าแม่ค้าพลอยบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น