วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ที่มาโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

ถ้าจะเริ่มเกี่ยวกับประเด็นสามสิบบาท คงต้องท้าวความไปถึงผู้ริเริ่มโครงการนี้ คือ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ หมอสงวนคนนี้เนี่ยเขาเรียนจบรามา แล้วมาทำงานรักษาคนไข้ที่ชนบท หมอสงวนกับเพื่อนๆอีกหลายคนเล็งเห็นปัญหาในยุคก่อนที่เมืองไทยจะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่า คนไทยในยุคนั้นยังเข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ ยิ่งเป็นชาวบ้านที่ยากจนยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าป่วยเป็นโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งขึ้นมา บางคนถึงกับต้องขายวัวขายควาย ขายไร่นา เพื่อหาเงินมารักษาโรค จนหมดเนื้อหมดตัวล้มละลายกันมากมาย
หมอสงวนเลยศึกษาระบบประกันสุขภาพของเกาหลี และ ญี่ปุ่น (ซึ่งสองประเทศนี้ มีระบบคล้ายๆกับประกันสุขภาพในยุคปัจจุบันของบ้านเรามาเกือบ 30-40 ปี แล้ว แต่ไม่ได้เหมือนกับสามสิบบาทของบ้านเราซะทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่น จะช่วยออกค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคให้กับประชาชนที่อยู่ในระบบนี้ 30% อะไรประมาณนั้น)
หมอสงวนกับเพื่อนๆก็เลยช่วยกันร่างแนวคิดระบบสามสิบบาทรักษาทุกโรค แล้วหอบไปเสนอนักการเมืองเพื่อผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นจริง เคยอ่านบทความบอกว่ามีหลายๆคนส่ายหัวให้กับแนวคิดของหมอสงวน บอกว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอก นั่นมันญี่ปุ่น เกาหลี ที่นี่เมืองไทยนะ หมอสงวนก็บอกว่าแต่ญี่ปุ่น เกาหลี เขาเริ่มระบบนี้ตั้งแต่ สามสิบสี่สิบปีก่อนนะ ถ้าคุณพูดงี้แปลว่าเมืองไทยทุกวันนี้ (เมื่อสิบปีก่อน) มันเจริญสู้ญี่ปุ่นเมื่อสามสิบปีก่อนไม่ได้เลยหรือ
หลังจากหอบโครงการไปนำเสนอนักการเมืองหลายๆคน สุดท้ายหมอสงวนก็ได้มาเจอกับทักษิณ และโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค ก็กลายเป็นความจริงในที่สุด
หมอสงวนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อปี 2551 ขอให้หมอสงวนไปสู่สุคติครับ
ย้อนกลับมาพูดเรื่องสามสิบบาทกันต่อ อย่างที่บอกว่าระบบนี้มันไม่ได้มีในเมืองไทยประเทศเดียว ประเทศอื่นๆเขาก็ทำกันเยอะแยะ รายละเอียดปลีกย่อยจะต่างกันออกไปบ้าง แต่ประเด็นหลักๆที่มีร่วมกันคือระบบประกันสุขภาพพวกนี้ จะมีบทบาทเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ไม่ใช่ภาระที่รัฐบาลต้องเอางบประมาณไปจ่ายตามล้างตามเช็ดไม่มีหยุดหย่อน
ทำไมถึงเป็นการลงทุน เพราะแนวคิดของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือ ประชาชนทุกคนมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ บางคนค่าใช้จ่ายสูงเกินจะรักษาก็ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคภัยจนไม่เป็นอันทำงานทำการ
แต่ถ้ารัฐเข้าไปช่วยเหลือตรงนี้ เช่น ร่วมจ่ายบางส่วน หรือจ่ายค่ารักษาให้ทั้งหมด ประชาชนก็จะลดภาระค่าใช้จ่าย มีเงินออมเหลือ สุขภาพแข็งแรง มีเวลาทำมาหาแดกสร้างรายได้ให้ประเทศชาติมากขึ้น
ถ้าคุณเข้าใจตรงจุดนี้ คุณจะรู้เลยว่าไอ้โครงการนี้มันไม่ใช่ประชานิยม
แต่มันคือสิ่งที่เรียกว่า รัฐสวัสดิการ
และข้อเท็จจริงทางสถิติก็เป็นตัวยืนยันแนวคิดนี้ได้เป็นอย่างดี เพียงหนึ่งปี หลังจากประกาศนโยบายสามสิบบาท ประชาชนชาวไทยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ พุ่งปรี๊ดเป็น 75% และสุงขึ้นๆๆๆเรื่อยจนเกือบจะ 100% แล้วในปัจจุบัน แล้วลองเปรียบเทียบกับกราฟสถิติประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ในประเทศต่างๆเทียบกับประเทศไทยดู ทุกวันนี้เมืองไทยมีคนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ แค่ 0.4-1.4 % เท่านั้น น้อยติดอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว
ดูกราฟอันถัดมา เป็นกราฟสถิติของคนไทย ที่ล้มละลาย ขายบ้านขายช่อง ขายควาย ขายเรือกสวนไร่นาเพื่อหาเงินมารักษาโรค จะเห็นว่าหลังจากประกาศนโยบายสามสิบบาทปุ๊บ คนที่ล้มละลายขายวัวขายควายลดลงฮวบๆอย่างชัดเจน และตัวเลขของคนไทยที่ยากจนเพราะหมดเงินกับการรักษาโรคก็ลดลงฮวบๆเช่นเดียวกัน
เพราะนโยบายนี้ คนไทยทุกวันีน้จึงไม่ต้องขายวัวขายควาย ขายทรัพย์สิน มรดกพ่อแม่เพื่อรักษาโรคอีกต่อไป ค่าใชจ่ายที่ต้องใช้ในเรื่องสุขภาพก็ลดลง เอาเงินไปทำมาหากินอย่างอื่นได้อีกเยอะ
แต่ถ้าพ่อแม่พี่น้องได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพบ้าง ก็คงจะเคยได้ยินข่าวประมาณว่า รพ จะล้มละลายอยู่แล้วว้อย อยู่เนืองๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องจริงที่ปฎิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าทุกวันนี้การบริหารและจัดสรรงบสำหรับระบบประกันสุขภาพนี้มันยังมีปัญหาอยู่ ไอ้เรื่อง รพ ติดตัวแดงจะล้มละลายนี่มันก็มีมาตั้งแต่ยุคประกาศนโยบายใหม่ๆแล้วแหละ แต่ก็มีการแก้ไขปัญหานี้มาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ปัญหา รพ ติดตัวแดงไม่มีเงินจ่ายค่ายา ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างอะไรพวกนี้ก็ลดน้อยลงไปเยอะแล้ว แต่ก็ยังคงต้องปรับปรุงกันต่อไปเรื่อยๆ
งบประมาณที่รัฐต้องจ่ายให้กับระบบนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากหลายปัจจัย เช่น เรื่องเงินเฟ้อ จากสมัยนู้นตอนเริ่มระบบนี้ใหม่ๆมาจนถึงทุกวันีน้ งบรายหัวเพิ่มมาสองเท่าจะสามเท่าอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ได้มาจากการเพิ่มงบรายหัว เช่น ประชาชนเข้าถึงวัคซีนสารพัดโรคมากขึ้น เข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็ง และการรักษาโรคมะเร็งมากขึ้น มันคุ้มเกินคุ้มจริงๆว่ะครับ
ประเด็นคือ นโยบายนี้แม่งแจ่มเหี้ยๆ อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความโดดเด่นและดีงามของนโยบายนี้จางหายไปแต่ประการใด เหมือนคุณเห็นต้นไม้ต้นนึง มีบางกิ่ง บางใบที่มันหงิกงอไม่สวยงานเหมือนกิ่งอื่นใบอื่น เป็นคุณ คุณจะแก้ปัญหายังไง
เอาขวานมาจามให้แม่งโค่นทั้งต้นกันไปเลย หรือเล็มเอาใบที่หงิกงอออกแล้วบำรุงมันให้งอกใบใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
อาจกล่าวได้ว่า นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรคนี่แหละ ที่เป็นนโยบายที่ดีงามที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยมีมาก็ว่าได้ ไม่ว่าคุณจะไปประเทศไหนก็ตาม ไม่มีทางเจอแบบประเทศไทยหรอกนะ ที่รักษามะเร็งฟรี รักษาโรคหัวใจ ฟรี ผ่าตัดสารพัดโรคฟรี ขนาดต่างประเทศไม่รู้ตั้งกี่ประเทศ เขาเห็นนโยบายนี้ในบ้านเรายังแตกตื่นเลยว่าประเทศจนๆประเทศนี้มันสามารถดูแลสุขภาพของคนทั้งประเทศในงบแค่นี้ได้ยังไง จนแห่กันมาดูงานที่บ้านเรากันตั้งเยอะแยะ อย่าให้มันจบแค่นี้เลยครับ ให้มันเจริญงอกงามต่อไปเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แผ่ร่มเงาให้คนไทยทั้งประเทศได้เถอะ
ก็หวังว่าทุกคนอ่านที่จ่าเล่าแล้วจะเข้าใจที่มาที่ไปของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากขึ้น และช่วยๆกันปกป้องให้นโยบายนี้อยู่คู่กับคนไทยไปนานๆ และพัฒนาให้มันดีขึ้นเรื่อยๆนะครับ
ปล.ไอ้คนที่จะหยิบนโยบายนี้มาด่าหรือเอามาวิจารณ์อะไรเนี่ย กรูขอเลยนะ อย่าด่าเพราะมันเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นในยุคแม้ว มันควรจะก้าวข้ามการเมืองไปเป็นชาติแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น