วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

chief innovation officer (CINO) or chief technology innovation officer (CTIO) is a person in a company who is primarily responsible for managing the process of innovation in an organization,[1] as well as being in some cases the person who "originates new ideas but also recognizes innovative ideas generated by other people."[2]
A Chief Technology Innovation Officer (CTIO) is focused on the organizational innovation through technology. This is an important strategic position especially in an organization that has significant technology component in addition to the traditional information technology. This positions is typically held by a person with a broad technical expertise in that organization's industry.
The term "chief innovation officer" was first coined and described in the 1998 book Fourth Generation R&D.[3]
The CINO is responsible for managing the innovation process inside the organization that identifies strategiesbusiness opportunities and new technologies and then develops new capabilities and architectures with partners, new business models and new industry structures to serve those opportunities.
CINO/CTIO doesn't have to report to the CEO or another C-level executive. This is a functional title (similar to the Chief Information Security Officer). The words "Chief" and "Officer" are used to communicate that a person in this position is responsible for driving innovation throughout the entire organization. Using functional "Chief ... Officer" title helps to communicate that this is a cross-organizational position and enables this person to work across organizational silos.
The title Chief Technology Innovation Officer (CTIO) is commonly used in the organizations that have a technology component as a part of its core business. The CTIO is responsible for maintaining organizational technological strategy, defining the requirements for new technology implementations and communicating them to key business stakeholders.
The CTIO is responsible for organizational leadership on technology issues, management of the technology research and review function, ensuring the alignment of technology vision with business strategy, and for driving technology innovation throughout the entire organization. The position can also be responsible for tracking new technology developments in areas of interest to the organization to ensure that it maintains a technological edge within the industry, analyzing and improving upon technology standards and maintaining organizational awareness of new technologies.
The position's charter is different of that of the Chief Information Officer (CIO) or IT Director who is responsible for the information technology and computer systems that support enterprise goals.
Organizations with a CINO/CTIO are practicing part of the fourth generation of innovation theory and practice to emerge since 1900.[4]
The CINO/CTIO focuses on radical or breakthrough innovation. The coined term CINO/CTIO is used to differentiate the position from the Chief Information Officer.
Successful Chief Innovation Officers focus on delivering on the key principles behind innovation - leadership, creating networks, harnessing VOC/HOC in idea development, leveraging the right incentives, and building/running an effective, transparent, and efficient innovation process.[5]


Chief Innovation Officer

Industries:
Fashion and Textiles
Departments:
Apparel | Technical Textiles | Textiles

The lowdown

  • Being responsible for the research and innovation side of a business

    Is this role right for me?

    To do this role, you will need to:
    • have an analytical mind
    • continuously learn
    • have good leadership skills
    • have excellent communication skills
    • have an entrepreneurial outlook
    • be enthusiastic
    • be self-motivated 
    • have an adventurous personality
    • have excellent commercial knowledge
    • be good at research
    • have problem-solving abilities 
    • have extensive knowledge of your company's products and target audience
    • work with specialists such as scientists or technicians

      What does a Chief Innovation Officer (CIO) do?

      A CIO specialises in innovation. They create innovation plans based on researching new products and assessing the target market and current trends.

      They look at new manufacturing techniques and produce prototypes. Sometimes this involves working with scientists, researchers and technicians.

      A CIO then writes technical reports and cost estimates before negotiating with customers, suppliers and sales teams.
      They also need to be able to lead a team, manage deadlines and identify companies to work with.

      A key part of the CIO’s role is to understand new technologies and IT. It’s essential to have up-to-date knowledge of materials and machinery.

      A CIO carries out both office and laboratory-based work. They need to be highly flexible in their working day to cater to overseas customers. Travel within the UK and abroad is common.

      What might I earn?

      A typical starting salary is £35,000 a year, which would increase substantially with experience.

      Will I need a qualification?

      You will find that employers usually expect a candidate to be educated to A-level, HND or degree standard. Many larger companies run training schemes and experience of the industry is also valued highly.

      Many universities now offer degrees in buying and product development, specifically for the fashion or textile markets.

      You could also take an ABC Award in Fashion and Textiles; Manufacturing Textile Products; Apparel, Footwear, Leather, or Textiles Production; Apparel Manufacturing Technology; or Handcraft Tailoring. There’s also an NOCNcourse in Skills for the Fashion Industries or Making it in Fashion.

      Where might the role take me?

      Research and development is integral to fashion and textiles companies. Once you gain expertise within the area of technical textiles, this is transferable across the manufacturing sector and major employers are found in the pharmaceutical, biotechnology, electronics and food industries.

      You could look to eventually progressing to the role of Head of Innovation. With experience, you could set up your own company.

      === อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องดู!!! - 11 เหตุผลเบื้องหลังความสำเร็จของ STARTUP ===



      1. วิสัยทัศน์
      การมีวิสัยทัศน์กว้างไกลคือความสามารถที่ผู้นำบริษัททุกคนจำเป็นต้องมี เพื่อที่จะได้พาทีมไปถึงฝั่งฝัน
      วิสัยทัศน์ที่ดีคือพลังผลักดันอันยิ่งใหญ่เบื้องหลังความสำเร็จของเจ้าของธุรกิจ และยังเป็นป้ายบอกทางในเวลาที่มืดมน
      STARTUP ต้องเห็นช่องทางการทำเงินตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
      เงินบาทแรกที่ได้รับนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะถ้าคุณต้องการดึงดูดนักลงทุน

      2. ความรวดเร็ว
      การทำงานให้เสร็จอย่างรวดเร็วเป็นหนึ่งในเหตุผลว่าทำไม STARTUP สามารถบรรลุเป้าหมายได้
      STARTUP ที่ประสบความสำเร็จไม่เคยทำงานล่าช้า ทุกอย่างตรงเวลาเป๊ะ และทำงานหนักมากพอที่จะเห็นงานเสร็จตามกำหนดเวลา
      คนที่มีประสิทธิผลมากที่สุดคือ คนที่ใช้เวลาคุ้มค่ามากที่สุด 
      เราเชื่อว่ายิ่งคุณทำผิดพลาดได้เร็วเท่าไหร่ คุณจะได้เรียนรู้และปรับปรุงได้เร็วขึ้นเท่านั้น

      3. เจ้าพ่องบประมาณ
      STARTUP ที่ประสบความสำเร็จนั้นบริหารงบประมาณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย
      ทุกฝ่ายควรมีงบประมาณของตัวเอง และตัดอะไรก็ตามที่ไม่จำเป็นออกให้หมด
      เมื่อแรกเริ่ม ทุกอย่างถูกจำกัดหมด และเวลาคือเรื่องสำคัญ STARTUP ต้องเรียนรู้วิธีทำงานให้ได้ผลมากที่สุดโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด

      4. ทักษะการเข้าสังคม
      การมี Network ที่ดีเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ STARTUP ประสบความสำเร็จ
      ทีมผู้ก่อตั้งที่รู้จักผู้มีอิทธิพลในวงการธุรกิจนั้นถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ประมาณค่าไม่ได้มากที่สุด
      STARTUP ที่ทำได้ยอดเยี่ยมล้วนมี CEO ที่สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ในทุกองค์กร

      ในอีกแง่มุมหนึ่ง STARTUP ต้องสามารถโน้มน้าวให้ทีมงานติดตามเข้าไปสู่ความไม่แน่นอนได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก, เงินเดือนที่อาจถูกลด และประกันสังคมที่ไม่น่าจะมี

      5. วินัย
      ความมีวินัยเริ่มต้นจากการควบคุมตนเอง ปราศจากวินัยแล้ว STARTUP จะไม่มีหนทางสำเร็จได้เลยแม้ทุกอย่างจะเกื้อหนุนมากเพียงใดก็ตาม
      ความมีวินัยนำไปสู่ปรัชญาในการทำงานที่เป็นบวก ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพ
      สำคัญมากๆที่ทุกคนในทีมต้องทำงานร่วมกันเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

      6. ความมุ่งมั่น
      ความมุ่งมั่นอันแรงกล้าจำเป็นเสมอสำหรับความสำเร็จ STARTUP ที่ประสบความสำเร็จมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า และเล่นไม่เลิก โดยเฉพาะเมื่อเส้นทางเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม ความท้าทายต่างๆจะถาโถมเข้าใส่ และความมุ่งมั่นแรงกล้านี่แหละจะช่วยให้ผ่านพ้นไปได้

      7. ความสามารถในการปรับตัว
      STARTUP ที่ดีที่สุดล้วนเต็มใจที่จะปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ
      การปรับตัวสามารถนำไปสู่การยกระดับองค์กรครั้งใหญ่ได้
      แต่ในช่วงแรกๆ STARTUP อาจต้องล้มลุกคลุกคลานจนกว่าจะหาสูตรสำเร็จเจอ

      8. ทักษะการระดมทุน 
      เงินสดหมุนเวียนเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงธุรกิจทุกธุรกิจ นั่นหมายความว่า ถ้าบริหารเงินทุนไม่ดีอาจถึงขั้นปิดกิจการได้
      STARTUP ที่ประสบความสำเร็จคือ พวกที่มีงบเพียงพอต่อการดำเนินการ
      หน้าที่หลักของ CEO คือต้องสามารถระดมทุนได้

      9. ความเชื่อที่ไม่สั่นคลอน
      ความสำเร็จของทุกธุรกิจเกิดจากการกล้าเสี่ยง
      STARTUP ที่ประสบความสำเร็จเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเสี่ยง STARTUP ต้องเสี่ยงแบบทำการบ้านมาแล้ว เพื่อลดการสูญเสียให้น้อยที่สุดในกรณีที่ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้

      10. จ้าวแห่งการบริหารเวลา 
      ชีวิต STARTUP อาจไม่สวยงามอย่างที่หลายคนคิด เพราะเต็มไปด้วยสิ่งที่ต้องทำมากมาย แถมทีมงานและทรัพยากรมีจำกัดมากๆ ความสำเร็จของบริษัทฝากไว้ที่ความสามารถของทีมงาน และประสิทธิภาพในการทำงานภายใต้ทรัพยากรจำกัด
      จุดสำคัญคือ เลือก FOCUS ให้ถูกที่ และให้ความสำคัญให้ถูกจุด

      11. การลงมือทำ
      ท้ายที่สุด การมีไอเดียที่ดีเป็นแค่จุดเริ่มต้น การลงมือทำต่างหากคือ ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ
      ซึ่งในส่วนนี้ ประสบการณ์ของทีมมีความสำคัญมาก

      สรุป
      STARTUP ที่ประสบความสำเร็จจะมองหาโอกาสที่จะพัฒนาตลอดเวลาโดยการคิดนอกกรอบ และไม่ยอมรับความธรรมดาสามัญ
      STARTUP ที่ประสบความสำเร็จเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเอง และแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ในขณะที่ก้าวไปข้างหน้าสู่การเดินทางที่อีกไม่นานก็จะประสบความสำเร็จ

      แรงบันดาลใจบทความจาก FORBES
      Credit website : ohmpiang.com

      วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

      3D BIO PRINTING: มิติใหม่แห่งวงการแพทย์

      Posted by  on 19:7 in 2015http://www.cu-tcdc.com/3d-bioprinting-a-new-horizon-of-medical-profession/?lang=TH
      3D Printing หรือ การพิมพ์แบบสามมิติ ไม่ได้เปิดโอกาสการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้กับวงการออกแบบเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้กับวงการแพทย์เมื่อศักยภาพของนวัตกรรมนี้ทำให้ทีมหมอ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและพัฒนา สามารถผลิตเนื้อเยื่อที่มีชีวิตและอวัยวะมนุษย์ได้สำเร็จ
      ในปี 2011 บริษัท Invetech บริษัทวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสัญชาติออสเตเลีย สามารถผลิตเครื่อง 3D Bioprinting หรือเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติเครื่องแรกของโลกให้กับบริษัท Organovo ได้สำเร็จ เครื่องพิมพ์ดังกล่าวสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อมนุษย์ได้ด้วยการนำวัสดุหรือเซลล์ที่มีชีวิตมาเรียงซ้อนกันเพื่อสร้างเป็นรูปสามมิติ นับเป็นการเปิดโอกาสทางการแพทย์ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อมนุษย์ รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดการพิมพ์อวัยวะมนุษย์เพื่อนำไปใช้ในการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
      หลังจากปี 2011 ความนิยมใน 3D Bioprinting ในวงการแพทย์มีมากขึ้นและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2014 คณะวิจัยจากโรงพยาบาล Brigham and Women’s Hospital (BWH) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ทดลองสร้างหลอดเลือดเทียมขึ้นด้วยเครื่อง 3D Bioprinting นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างแม่พิมพ์ของหลอดเลือดเทียมด้วยเส้นใยอะกาโรส(Agarose)หรือวุ้นที่มีน้ำตาลที่มีในธรรมชาติ ดร. Ali Khademhosseini หัวหน้าของคณะวิจัยโรงพยาบาล BWH อธิบายถึงการทดลองครั้งนี้ไว้ว่าเป็นการรวมเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 3D Bioprinting เข้ากับวัสดุทางธรรมชาติเพื่อผลิตอวัยวะมนุษย์
      ในปี 2015 ไม่กี่เดือนถัดมาหลังจากการทดลองของคณะวิจัยโรงพยาบาล BWH ก็มีรายงานว่า บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางค์สัญชาติฝรั่งเศสอย่าง L’oreal จับมือกับบริษัท Organovo พัฒนาเครื่อง 3D Bioprinting เพื่อพิมพ์ผิวหนังมนุษย์ขึ้น การพิมพ์ผิวหนังของบริษัท L’oreal ทำขึ้นเพื่อใช้ทดสอบผลิตภัณฑ์แทนการทดสอบกับคนหรือสัตว์อย่างที่เคยเป็นมา อีกทั้งเพื่อทดแทนวิธีการผลิตผิวหนังสำหรับการทดสอบแบบเดิม ที่ต้องผลิตจากการรับบริจาคผิวหนังจากผู้เข้ารับการศัลยกรรมพลาสติกมาปลูกบนเนื้อเยื่อ วิธีการดังกล่าวใช้เวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ซึ่งช้าและไม่เพียงพอต่อความต้องการในการทดสอบผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม 3D Bioprinting ทำให้ L’oreal ทดสอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งเอื้อต่อการใช้ทางการทดลองรักษาทางการแพทย์ผิวหนังโดยเฉพาะเรื่องของการรักษาผิวหนังไหม้
      นอกจาก 3D Bioprinting จะเอื้อประโยชน์ต่อการผลิตเนื้อเยื่อและอวัยวะมนุษย์แล้ว ยังเอื้อต่อการผลิตอวัยวะเทียมรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ที่สูญเสียอวัยวะ บริษัท Bespoke Innovation ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผลิตแขนเทียมด้วยการใช้นวัตกรรมดังกล่าว เช่นเดียวกับนักศึกษาจากสถาบัน Pratt Institute ในกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ชื่อ William Root ที่ผลิต Exo ขาเทียมน้ำหนักเบาที่มีรูปทรงและรูปร่างเตะตา เพื่อเปิดทางเลือกในการผลิตขาเทียมที่มีรูปลักษณ์สวยงาม ราคาย่อมเยาว์ และผลิตได้อย่างสะดวกขึ้น ซึ่งแตกต่างจากขาเทียมที่ผลิตใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน
      ด้วยศักยภาพของ 3D Printing ที่เปิดโอกาสให้วงการแพทย์พัฒนาทางเลือกในการรักษาได้มากขึ้นผ่านนวัตกรรม 3D Bioprinting ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเนื้อเยื่อ การผลิตอวัยวะ หรือแม้แต่การผลิตอวัยวะเทียมให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม จึงไม่น่าแปลกใจแม้แต่น้อยที่ 3D Printing จะได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนวัตกรรมที่สร้างความสั่นสะเทือนให้แก่โลกแห่งการผลิตในปัจจุบัน

      ปลูกผักบุ้งจีน ในล้อยางรถยนต์ สร้างรายได้ 2.5 หมื่นบาทต่อเดือน

      โดย ไทยรัฐออนไลน์ 29 ก.ค. 2558 09:06
      42,354 ครั้ง


      เกษตรกรชาวสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ผันตัวเองมาปลูกผักบุ้งจีนในล้อยางรถยนต์ สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เดือนละกว่า 25,000 บาท

      วันที่ 29 ก.ค.58 นายนิพัฒน์ ม่วงพานิชย์ อายุ 67 ปี อยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ 2 ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ธานี เผยว่า เดิมตนเองมีอาชีพทำสวนยางพารา และสร้างอาชีพเสริมด้วยการทำงานจักสาน เช่น กรงนก สุ่มจับปลา แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับโรคไขข้อ และหมอห้ามนั่งเป็นเวลานานๆ จนเมื่อมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรฯ เข้ามาแนะนำให้ลูกค้าทำอาชีพ เสริมด้วยการปลูกผัก
      เกษตรกรชาวสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี ปลูกผักบุ้งจีนในล้อยางรถยนต์

      นายนิพัฒน์ กล่าวต่อว่า หลังจากเข้ารับการอบรม ตนและภรรยาจึงได้เริ่มปลูกผัก โดยการนำยางรถยนต์ที่เขาไม่ใช้งานแล้วมาตัดเป็นกระถาง เพื่อวางไว้บริเวณรอบๆ บ้าน เนื่องจากไม่มีที่ดินที่เหมาะสมกับการปลูกผัก โดยแรกสุดตนและภรรยาทดลองปลูกพืชหลายชนิด ทั้งคะน้า ต้นหอม ผักชี และผักบุ้ง ต่อมาได้หันมาปลูกผักบุ้งจีนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงที่บ้าน ในกิโลกรัม ละ 20 บาท และสามารถขายได้ตลอดปี ส่วนราคาจะขึ้นลงตามความต้องการของตลาด แต่มีรายได้ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 25,000 บาท และทำต่อเนื่องมาแล้วกว่า 4 ปี
      สำหรับขั้นตอนการปลูกผักบุ้งจีนในกระถางยางรถยนต์นั้น มีข้อดีคือ สามารถควบคุมน้ำ อาหาร และวัชพืช ได้เป็นอย่างดี รวมถึงร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว จากเดิมที่ต้องใช้เวลาประมาณ 25-28 วัน เหลือแค่ 15-18 วัน และมีลำต้นอวบอ้วน เป็นที่ต้องการของตลาด ที่สำคัญผักบุ้งของตน เป็นการปลูกแบบปลอดสารพิษ
      ผักบุ้งทั้งหมด เป็นแบบปลอดสารพิษ!

      ส่วนเคล็ดลับการปลูกผักบุ้ง ในกระถางยางรถยนต์นั้น นายนิพัฒน์ บอกว่า จะใช้ดินตะกอนจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานเนื่องจากเป็นดินที่ไม่มีเมล็ด วัชพืช จากนั้นนำมาตากให้แห้งแล้วใส่ลงในกระถางยางรถยนต์ที่ได้มีการเตรียมไว้แล้ว ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งซึ่งแช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง ไปหว่านลงบนดิน จากนั้นก็ดูแลด้วยการรดน้ำ วันละ 1-2 ครั้ง แล้วแต่สภาพอากาศ ส่วนเคล็ดลับที่สำคัญคือ จะใช้น้ำหมักชีวภาพต่างๆ ทั้ง น้ำหมักพืชผักผลไม้ที่มีในท้องถิ่นทั้งเปลือกทุเรียน มังคุด กระท้อน น้ำหมักปลา นำมาฉีดบำรุงต้นผักบุ้ง และไล่แมลงไม่ให้มากินใบ ทำให้ต้นโตเร็ว ที่สำคัญเป็นการลดค่าต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี
      ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้แปลงปลูกผักบุ้งจีนของตน มีเพียง 50 ล้อยางรถยนต์เท่านั้นซึ่งเมื่อเทียบกับความต้องการของตลอดที่มีมากขึ้น เรื่อยๆ ตนและครอบครัวกำลังมีแผนที่จะโค่นล้มไม้ยางพาราบริเวณหลังบ้านจำนวน 3 ไร่ เพื่อขยายพื้นที่ปลุกผักบุ้งจีนรองรับความต้องการของตลาดในเร็วๆ นี้
      ลำต้นอวบอ้วน เป็นที่ต้องการของตลาด

      A Wonder Boy “จิรายุ วาณิชวัฒนะโกศล” ผู้สร้างรายได้ 100 ล้านด้วยวัยเพียง 26 ปี

      WEDNESDAY, JULY 29, 2015

      Benz
      บทความที่แล้วผมพูดถึงคุณปอนด์เจ้าของเพจเงินล้านกันไปแล้วนะครับ วันนี้ผมจะมาต่อกันที่น้องอีกคนหนึ่ง น้องคนนี้ผมนับถือเขามากในความมุ่งมั่น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแบบอย่างของผมเลยก็ว่าได้ น้องเขาชื่อว่า "จิรายุ วาณิชวัฒนะโกศล" หรือน้องเบ้นซ์ ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับน้องเบ้นซ์เขาประมาณครั้งถึงสองครั้ง ผมสามารถสัมผัสได้ถึงพลังงานอันสูงส่งของเขา คือถ้ามีสเค้าท์เตอร์วัดพลังคงระเบิดไปละ น้องคนนี้เขาน่าสนใจอย่างไรเดี๋ยวผมจะเล่าให้อ่านกันนะครับ
      เบ้นซ์ เด็กหนุ่มจากต่างจังหวัด ถือได้ว่าเป็นเด็กหนุ่มมหัศจรรย์คนหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยวัยเพียง 26 ปีเขาก็สามารถจับเงิน 100 ล้านได้แล้วกับธุรกิจส่งออกมือถือไปต่างประเทศ แต่ชีวิตก็มิได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ เนื่องจากปัญหาบุคคลภายในบริษัทมีการยักยอกเงินทำให้นายเบ้นซ์จากเศรษฐีหนุ่มกลับกลายมาเป็นบุคคลที่มีหนี้สินถึง 30 ล้านบาทภายในชั่วข้ามคืน
      แต่ด้วยระยะเวลาเพียงหนึ่งปีครึ่งเท่านั้นนายเบ้นซ์ก็สามารถกลับมายืนได้ใหม่อีกครั้งด้วยธุรกิจที่เป็น Niche market สำหรับคนที่ชอบเล่นกล้าม โดยเบ้นซ์ได้เริ่มธุรกิจใหม่ของเขาจากแฟนเพจตามคำแนะนำจากคุณปอนด์เจ้าของเพจเงินล้านนั่นเอง ชื่อเพจของน้องเบ้นซ์คือ Sixpackhome และก็มีเว็บไซต์ Sixpackhome.com ที่เป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องการเล่นกล้ามที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยตอนนี้ ธุรกิจนี้เองที่ทำให้เบ้นซ์สามารถใช้ชีวิตได้ตามที่เขาต้องการนั่นก็คือ การไปเที่ยวตามที่ต่างๆ โดยไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะไม่มีเงิน เพราะว่าเบ้นซ์ได้มีเครื่องจักรทำเงินที่ชื่อว่า Sixpackhome อยู่แล้ว
      ทีนี้ลองมาชมคลิปที่น้องเขาให้สัมภาษณ์ใน Hacklife Thailand กันนะครับ

      ให้อีกคลิปที่น้องเบ้นซ์ไปสัมภาษณ์ในรายการ "Life & Real"

      ถ้าดูคลิปจนจบจะรู้ว่าน้องเขายังเป็นผู้ก่อตั้ง Hacklife Thailand อีกด้วย นอกจากนั้นเบ้นซ์ยังมีธุรกิจอื่นๆอีกตามรายการด้านล่างนี้
      1) Co-Founder/CEO at Nude Cosmetics
      2) MD at Laboratory of nature Co.,Ltd.
      3) Co-Founder at Multi science
      4) Co-Founder at Passive.Life
      5) Co-Founder at Business Improvisation.Co.,Ltd
      นอกจากนั้นเบ้นซ์เองก็ยังเป็นหนึ่งในผู้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการหาเงินจากเพจร่วมกับคุณปอนด์ด้วยเช่นกันในหัวข้อ "สร้างเฟสบุ๊คเงินล้าน (ด้วยตัวเอง)" และตอนนี้เบ้นซ์เองก็มีคอร์สของตัวเองภายใต้หัวข้อว่า "สร้างโมเดลธุรกิจเงินล้านจาก Facebook" สามารถเข้าไปเรียนรู้จากหนุ่มมหัศจรรย์คนนี้ได้เลยนะครับ หรือถ้าอยากจะเรียนกันสดๆเจอกันตัวเป็นๆ ตอนนี้ คอร์ส สร้างเฟสบุ๊คเงินล้าน (ด้วยตัวเอง) รุ่นที่ 2 (+เพิ่มเนื้อหาพิเศษ)” กำลังเปิดรับอยู่เลยครับ สนใจเข้าไปลงชื่อได้ที่ >> คลิก

      เจาะลึกต้นทุนร้านขายยา...ทำไมถึงรวย!


      July 29, 2015


      วันก่อนผมเข้าไปหาข้อมูลธุรกิจที่จะขายกิจการครับ พอดีมีเงินอยู่ก้อนนึงเลยอยากลงทุนทำอะไรเล็กๆ แต่จะเข้าไปลงทุนก็ไม่อยากขาดทุนครับ พอลงไปหาข้อมูลก็เจอว่าธุรกิจร้านขายยาดูมีเซ้งเยอะ ค่าเซ้งก็ไม่แพง เลยสนใจจะลองศึกษาธุรกิจนี้ดูครับ...ความคิดเร็วๆ ครับ เป็นธุรกิจซื้อมาขายไปกำไรเยอะ...ประกอบกับเคยอยู่ในวงการโรงพยาบาลมาบ้างเลยต้องเจาะลึกซะหน่อย
      เริ่มต้นเลยก็โทรไปถามร้านยาที่จะเซ้งในราคาที่พอรับได้ครับ ร้านที่โทรไปร้านแรกก็เปิดราคาเซ้งที่ 450,000 บาท ไม่รวมยาครับทำเลดีครับติดถนนแถวรามคำแหง...รายได้ที่เขาบอกไว้คือ 3,000-6,000 บาทต่อวันครับ ฟังเร็วๆ น่าสนมากครับลงแค่ 450,000 บาท +/- นิดหน่อยค่ายา ถ้าได้วันละ 6,000 บาทต่อวันก็ 180,000 บาทต่อเดือนและนิไม่กี่เดือนก็คืนทุนแล้ว แต่ปัญหาคือถ้ารายได้ดีแบบนี้และเขาเซ้งทำไม ตอนที่โทรถามครั้งแรกเขาก็บอกว่า เพราะจะไปเรียนต่อต่างประเทศไม่มีเวลาดู

      สิ่งที่ผมคิดตอนนั้นคือ “น่าสนใจจริงๆ โอกาสมาและแต่ความเสี่ยงคืออะไร"
      จากประสบการณ์ทำให้ผมมีแนวคิดการตัดสินใจอยู่ 3 ข้อครับคือ 1.  ประมาณการทางการเงินและได้กำไรไม้ 2. ความสามารถทางเทคนิคผมทำได้ไม้หรือต้องพึ่งคนอื่น 3. ความสามารถทางการตลาดของร้านและธุรกิจเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน และ (4) ข้อจำกัดด้านกฎหมายต่างๆ
      ประมาณการทางการเงิน

      ผมลองประมาณการจนนากสมมุติฐานที่ว่า
      (1) ธุรกิจนี้น่าจะอยู่ได้อีกประมาณ 10 ปีเท่านั้นก่อนที่บริษัทใหญ่อย่าง ซีพี ที่พยายามปั้นร้าน 7-XTRA จะทำสำเร็จจนทำให้ร้านยาเล็กๆ อยู่ไม่ได้ (อย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในรูปแบบของ 7-11 ที่ร้านค้าปลีกย่อยตายไปเยอะครับ) (2) ผมต้องการผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 10% ครับ (ดู IRR และ NPV เป็นหลักครับ เพราะผมมองเป็นโครงการลงทุน) (3) ราคาขายปรับได้ประมาณ 6% ต่อปี (4) ต้นทุนปรับประมาณ 3%- 6% ต่อปี เช่น ต้นทุนค่าแรง ค่ายาและค่าเช่าครับ (5) ต้องไม่ขาดทุนจนไม่สามารถรับไหว (หมายถึงตลอด 5 ปีที่ดำเนินงานถ้าจะขากทุนผมต้องรับไหว ไม่ใช้ล้มละลายและเป็นหนี้มุกคนเดือดร้อนครับ)

      จากสมมุติฐานนี้ก็เลยเป็นที่มาของการทำโมวเดลการเงินในระยะ  5 ปีเพื่อตรวจสอบว่าจากสถานะรายได้และต้นทุนปัจจุบันของร้านครับ โดยข้อมูลหลักมาจากการขอดูบัญชีการขายของเขา (ซึ่งก็ได้ดูบางส่วนครับ จริงเท็จไม่รู้ครับเพราะร้านแบบนี้ไม่ค่อยจดบัญชี ถังแม้ได้จากระบบคอมที่เขาส่งให้ก็ยังแก้นั่นนี้ได้ อันนี้ผมระวังอยู่มากครับ) แต่พอสรุปโมเดลการเงินผมได้ดังนี้



      เพื่อความเข้าใจผมอธิบายไปตามแถวเลยนะครับ
      (1) รายได้ (REVENUE) ผมลองใส่ตัวเลขกลางคือประมาณ 4,500 บาทต่อวันเพราะคนให้เซ้งบอกว่าบางวันก็ได้น้อย 3000 บางวันก็ได้มากและได้มากตอนต้นเดือน ฝนตกไม่มีผลครับ (ผมเลยลองเอาตัวเลขกลางก่อน) ถ้ารายได้เท่านี้ปีนึงผมจะมีรายได้จากร้านนี้ถึง 1.62 ล้านบาทครับ (แลรวยมาก)

      (2) ต้นทุนหลัก (COST OF GOOD SOLD) สำหรับโมเด็ลนี้ผมเอายาเป็น COGS อย่างเดียวเลยครับ ซึ่งเมื่อถามจากเพื่อนในวงการแล้วเขาบอกว่ากำไรไม่เท่ากัน (ขึ้นอยู่กับว่ายารับมาจากไหน ซื้อเยอะไม้ เป็นยาเฉพาะหรือเปล่า เป็นอาหารเสริมหรืออะไร) แต่เฉลี่ยแล้วกำไรอยู่ที่ประมาณ 50% ครับ (เพื่อความเข้าใจนะครับ สำหรับผม 50% คือรายได้รวมหลังจากหักค่ายาแล้วได้อยู่ที่ 50% นะครับไม่ใช้ต้นทุนบวกกำไร 50% ครับ)

      (3) รายจ่าย (EXPENSES) ครับซึ่งผมมีรายจ่ายที่เป็นรายจ่ายคงที่ค่อนข้างมากครับ ซึ่งข้อมูลพวกนี้ก็ถามคนที่เซ้งมาครับและอันนี้หลอกกันไม่ได้ครับ รายจ่ายผมแยกออกมาเป็น 8 ประเภทครับ

      3.1. ค่าเช่าตึก ร้านนี้เขาคิดชั้นล่างตึกอย่างเดียวครับเดือนละ 20,000 บาทหรือ 240,000 บาทต่อปีครับ

      3.2. ค่าแรง ต้องมีสองคนครับเป็นอย่างน้อย อย่างผมไม่ใช่เภสัชกรก็ต้องจ้างคนมาดูร้าน (ในวงการเขาเรียกว่าผู้ช่วยเภสัชครับ ซึ่งจะมีค่าแรง ค่าโอที และค่าอื่นที่จะให้กันรวมมแล้วผมให้ที่ 14,000 ต่อเดือนครับและเงินเดือนผมเอง 20,000 บาทครับ (ลงทุนเท่านี้จะคาดหวังรายได้เยอะแยะก็กะไรอยู่ครับเอาเท่านี้ก่อนเพราะกำไร (ถ้ามี) ก็เป็นของเรา ดังนั้นผมมีค่าจ่ายนี้อยู่ที่ 34,000 บาทต่อเดือนหรือ 40,8000 บาทต่อปีครับ

      3.3. ค่าใบประกอบวิชาชีพเภสัช (LICENSE) อันนี้เป็นค่าป้ายแขวนที่เขาเรียกกันครับโดยราคาปัจจุบันอยู่ที่ 3000-7000 บาทครับ ซึ่งผมก็ถามมาหลายคนย เขาเอาที่ 7000 บาทเป็นส่วนมาก (มีถูกกว่านี้ครับ) เลยตีเท่านี้ไว้ก่อนครับ ซึ่งเป็นเงิน 60,000 บาทต่อปี

      3.4. ค่าน้ำค่าไฟ (UTILITY) เขาบอกว่านิดเดียวประมาณ 3,000 บาทต่อเดือนหรือ 36,000 บาทต่อปีครับ

      3.5. ค่าภาษีป้าย (PLATE TAX – อันนี้ผมเรียกเองครับมันมีศัพท์เฉพาะอยู่แต่ขี้เกียจหา) ซึ่งมันอยู่ประมาณ 5000 บาทต่อปีโดยที่คนที่ให้เซ้งบอกว่าเขาไม่เคยต้องจ่ายเลย แต่เขาไม่เหมือนผม (ที่เป็นลูกตาสีตาสา ไม่มีเส้นสายอะไร เดี๋ยวมาเก็บแย่เลยต้องเผื่อไว้ก่อน)

      3.6. ค่าการตลาด (MARKETING) ผมตีไว้ 1,000 บาทต่อเดือนเผื่อทำเอกสารแจกบ่งครับ ซึ่งก็ไม่มากประมาณ 12,000 บาทต่อปีเท่านั้น

      3.7. ค่าผู้ทำบัญชีและสอบบัญชีครับ (ACCOUNTING FEES) ผมมีเตรียมไว้ครับเผื่อต้องจ่าย เพราะผมไม่ชอบทำธุรกิจแบบมีบัญชีหลายเล่ม (และไม่ตรงไปตรงมาครับ-มันเหนือยหนีหรือเลี่ยงครับ – มีก็จ่ายไม่มีก็ไม่จ่ายครับแต่ใครสักคนต้องช่วยผมทำบัญชีตรงนี้) คนเซ้งบอกว่าเขาเขาไม่เคยจ่าย ทำเองส่งเองไม่ค่อยมีใครดูจริงจัง (ผมก็เห็นด้วยครับ แต่มันไม่ใช่ต้นทุนหลักเลยก็เลยใส่ไว้ครับ)

      3.8. ค่าอื่นๆ ครับ (จริงๆ ผมเผื่อไว้เยอะและครับ) แต่เผื่ออีกเดือนละ 3000 บาทคงไม่เป็นไรครับหรือแค่ปีละ 36,000 บาทครับ

      ต้นทุนหลักๆ รวมแล้ว 827,000 บาทต่อปีครับ แต่จริงๆ มันมีต้นทุนอื้นที่แฝงอยู่คือค่าเสื่อมครับ ค่าเสื่อมอยากให้คิดง่ายๆ คือค่าอุปกรณืที่เราซื้อมาและมันเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ พอถึงวันนึงต้องซื้อใหม่ครับ หรือคิดอีกแบบครับคือมันเหมือนบัตรเติมเงินครับ ซื่ออุปกรณืมาเหมือนเติมเงินเต็ม พอใช้ไปเรื่อยๆ เงินมันก็โดนตัดไปเรื่อยๆ พอหมดก็ต้องเติมให่หรือซื้อใหม่ครับ ต้นทุนอันนี้ผมเอามาจากทรัพย์สินที่เขาจะให้ผมมาหารเวลาที่จะใช้ได้ (จำนวนปี) และหักออกครับก็จะประมาณ 17,000 บาทต่อปีเพราะมูลค่าสินค้าที่รับมามันก็เหลือมูลค่าจริงแค่ 85,000 บาทครับ
      หลังจากเอารายได้มาหักกับรายจ่ายที่อธิบายตอนต้นแล้วก็เจอว่าในปีแรกจะติดลบ 6,143 บาทครับซึ่งก็ไม่เป็นไรถ้าปีอื่นๆ มีพัฒนาวการที่ดีครับ (แหมผมตีไว้ตั้ง 10 ปีนะครับ)
      ผมเลยต้องเอารายได้และต้นทุนต่างๆ มาปรับค่าในปีต่อๆ ไป เช่น ค่าแรงก็ต้องมีการเพิ่มขึ้นถ้าเราจะรักษาพนักงานเราไว้ครับผมเลยให้เพิ่มขึ้น 6% ต่อปี ค่าอื่นๆ ก็เช่นกันครับก็ปรับให้สอดคล้องกับตลาดหรือความเป็นจริงมากที่สุด รวมถึงรายได้ด้วย ทำให้พอ 10 ปีแล้วผมพบว่า จากรายได้ 4500 ต่อวันลงทันค่าเว้งร้าย + ยา + ค่าอุปกรณืที่ต้องซื้อเพิ่มระหว่างช่วงเวลา (10 ปีนั้น) มูลค่าการลงทุนผมอยู่ที่ 647,560 และจะได้คืนมาเป็น 1.30 ล้านใน 10 ปีครับ (สุทธิจากต้นทุน) หรือ IRR ที่ 17% ซึ่งผมว่าดีมากครับ แต่ก็มีความเสี่ยงว่าถ้าขายได้น้อยกว่า 4,500 หรือก็จะรวยได้มากถ้าขายได้มากกว่านั้นครับ

      คราวนี้ผมเลยมาดูว่าผมจะได้เงินจริงต่อเดือนเท่าไหร่ คุ้มไม้กับความเสี่ยงที่จะต้องลงไปทำ (เมื่อเปรียบเทียบกับที่ยังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่)  ผลเป็นตามนี้ครับ



      หมายเหตุ เทียบเฉพาะปีแรกที่ดำเนินการ

      จากที่วิเคราะห์แล้วผมว่าได้มากสุด 43,952 บาทครับซึ่งอันนี้แหละที่ทำให้หลายคนเซ้งเพราะทำอย่างอื่นได้เงินเยอะกว่าครับ และบางคนอาจจะบริหารต้นทุนหรือลืมคิดต้นทุนหลายตัวทำให้ผลลัพทธ์อาจจะขาดทุนได้ครับ (แบบไม่รู้ตัว) เพราะคิดว่ามีเงินใช้ทุกวันแต่ต้องเอาเงินเก่ามาใช้ตลอดครับ ส่วนใครที่มีไอเดียอื่นประกอบผมว่าผลตอบแทนถือว่าใช้ได้ครับ ยิ่งถ้าเป็นเภสัชเองน่าจะมีรายได้สูงกว่านี้ครับ

      ประเมินความสามารถด้านเทคนิค
      เนื่องจากเป็นธุรกิจยาครับ ต้องเป็นคนมีความรู้เกี่ยวกับการจ่ายยา ซึ่งผมไม่มีครับ ซึ่งจะทำให้ผมต้องไปพึ่งกับผู้ช่วยเภสัชมากครับ ดังนั้นถ้าผมจะทำจริงคงต้องเค้นหาคนที่มีประสบการณืไม่น้อยกว่า 5 ปีครับ ซึ่งเท่าที่ผมลองหาแล้วก็หาไม่ยากครับหากแต่ต้องระวังจริงๆ เพราะการจ่ายยา จ่ายยาผิดคือฆ่าเขานะครับ (กรณีเขาแพ้ยามาก) อันนี้ผมเลยต้องเตือยตัวเองนิดนึง

      3. ประเมินความสามารถทางการตลาด
      ผมประเมินเบื้องต้นเจอว่าด้สนสภาพแวดล้อมที่มีคู่แข่งใหญ่เข้ามา ร้านยาเข้าง่ายออกง่าย รวมถึงคนชั้นกลางถึงสูงเขามีสวัสดิการบริษัทหรือมีประกันที่เข้าโรงพยาบาลรัฐและเอกชนได้อยู่แล้ว จึงพึ่งร้านขายยาน้อย หากแต่กลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่ (ระดับกลางลงมา ที่ไม่มีประกันหรือสวัสดิการบรัทมากมาย) ก็ยังมีอยู่มาก และก็มียาประเภทใหม่หรืออาหารเสริมต่างๆ รูปแบบใหม่เข้ามาให้ขายเรื่อยๆ ซึ่งเรียกน้องความสนใจกับผู้บริโภคได้ดี รวมถึงสมัยนี้ขายยาออนไลนด์ได้อีก ผมจึงว่าน่าสนใจครับ

      สรุป
      คุ้มที่จะทำครับ ถ้ามีความรู้เรื่องของการจ่ายยาบ้าง สำหรับผมผมเลือกที่จะไม่ทำครับเนื่องจากไม่คุ้มการลงทุนในเวลาผมยกเว้นจะขยายสาขาไปเยอะๆ ครับ

      แหล่งที่มา http://www.oknation.net/blog/Edunet/2014/07/17/entry-1