|
นักวิชาการทีดีอาร์ไอ-ประธานชมรมแพทย์ชนบท จี้รัฐแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพงเวอร์ และเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี แนะทางแก้แบบยั่งยืน สร้างมาตรฐานระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้คนยอมรับในการรักษาและเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลรัฐเพิ่มขึ้น พร้อมดึงภาคประชาชนเข้าร่วมแพทยสภาเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ขณะที่ ทีดีอาร์ไอ เสนอเก็บภาษีคนไข้ต่างชาติ นำเงินเข้าโรงเรียนแพทย์ ดึงหมอเกษียณ-หมอต่างชาติเข้ามาให้บริการ ส่วนหมอชนบท เผย 5 ช่องทางช่วยให้คนไทยมีระบบบริการสุขภาพดีเยี่ยมและสกัดการค้ากำไรเกินควรของวงการแพทย์ไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นับว่าเป็นรัฐบาลแรกที่เข้ามาจัดการกับการแก้ปัญหาโรงพยาบาลเอกชน ที่มีการเก็บค่ารักษาพยาบาลสูงเกินจริง ขณะที่รัฐบาลที่ผ่านมาบอกว่า หากใครรักษาโรงพยาบาลแพงก็ไปรักษาโรงพยาบาลรัฐ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เข้ามาดำเนินการ เพื่อหาแนวทางการกำหนดราคาและพิจารณาปรับปรุงมาตรการหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย คือ ทั้งผู้ป่วยและสถานพยาบาลเอกชน โดยกรมการค้าภายในภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งยาจัดเป็นวัตถุควบคุมตาม พ.ร.บ.นี้ ได้เข้ามาจัดการเรื่องราคายาและค่ารักษาพยาบาล โดยวางกฎเข้มโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ ที่ไหนแหกกฎไม่ติดป้ายแสดงราคายาและค่ารักษาพยาบาลอย่างชัดเจน เจอโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ขณะที่แพทยสภาเข้ามาวางกฎเกณฑ์ในการควบคุมค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในลักษณะควบคุมค่าแพทย์ หรือค่าวิชาชีพแพทย์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือเพื่อปรับปรุงเกณฑ์ค่าแพทย์ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ดียังมีการเสนอทางออกให้คนไข้ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนสามารถออกมาซื้อยาจากร้านขายยาภายนอกได้ แต่สุดท้ายยังเป็นปัญหา เพราะสมาคมโรงพยาบาลเอกชนเริ่มออกมาต่อต้านแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงการจะแก้ราคายา และค่ารักษาพยาบาลให้ตรงจุดนั้น นักวิชาการทีดีอาร์ไอ และประธานชมรมแพทย์ชนบทเสนอให้แก้เรื่องนี้โดยให้หาวิธีแก้ปัญหาแบบเป็นระบบและอย่างยั่งยืน จะเป็นประโยชน์กับประชาชนโดยตรง 2 กูรูแนะทางแก้แบบยั่งยืน สำหรับวิธีการแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพงนั้น ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งทำการศึกษาโครงการในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ให้กับกระทรวงพาณิชย์ และ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น ได้สะท้อนปัญหาและแนวทางออกที่ตรงกัน กล่าวคือปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพงเวอร์เกิดจากระบบประกันสุขภาพหลักของประเทศไทยยังไม่เป็นระบบที่จะสามารถทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นได้ จึงเลือกที่จะไปรักษาโรงพยาบาลเอกชน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจะต้องไม่ใช่แก้ด้วยการวิ่งไล่ราคายา แต่ต้องจัดการกับระบบประกันสุขภาพในภาพรวมให้สามารถตอบสนองต่อประชาชนได้ เพราะถ้าระบบสุขภาพดีแล้ว คนในระดับชนชั้นกลางลงมา ก็จะเปลี่ยนใจเข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐ ขณะที่กลุ่มคนรวยนั้นเลือกรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นค่ารักษาพยาบาลแพงจะเป็นปัญหากระทบกับคนไม่กี่คน“ค่ารักษา-ค่ายาโรงพยาบาลเอกชนที่แพงขึ้นทุกปีนั้น เกิดขึ้นเพราะมาตรฐานการคิดราคาสำหรับคนต่างชาติ รวมทั้งมีวิธีการเก็บเงินเพิ่มที่แฝงมาในรูปแบบค่ายาและค่าบริการต่างๆ ดังนั้นการหาทางออกแบบยั่งยืนนั้นควรแก้ปัญหาโดยสร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แข็งแกร่ง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คนไทยมีทางเลือกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ อีกทั้งยังสามารถต้านและตัดวงจรแพทย์พาณิชย์ไม่ให้แผ่อิทธิพลสร้างความแข็งแกร่งต่อไปในอนาคตได้ด้วย”
|
|
ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) |
|
|
|
ขณะเดียวกัน ดร.วิโรจน์ ย้ำว่า ค่ารักษาพยาบาลของเอกชนแพงที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่มีเสียงร้องเรียนออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเรียกเก็บค่ายาและการเรียกเก็บค่าบริการนั้น เป็นประเด็นรองลงมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาที่สะสมนานแล้ว ในอดีตปัจจัยที่ทำให้ราคาแพงนั้น อยู่ที่สภาพเศรษฐกิจ หากว่าเศรษฐกิจดีประชาชนจะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น ค่ารักษาพยาบาลก็จะเพิ่มขึ้นตามมา อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์เองก็มักจะลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน แต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 บุคลากรทางการแพทย์กลับเข้ารับราชการในสัดส่วนที่มากกว่า จึงสรุปได้ส่วนหนึ่งว่าปัจจัยค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนในอดีตขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย กระทั่งปัจจุบัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาราคาแพงนั้นอาจจะมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการรักษาคนไข้ต่างชาติ ซึ่งเป็นตัวแปรอีกส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในช่วง 10 ปีให้หลังนี่เอง คนไข้ต่างชาติทำให้ค่ารักษาพยาบาลแพง ด้วย “กำลังซื้อมหาศาลของคนไข้ต่างชาติ” เป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าบริการมีราคาแพงขึ้นได้ ซึ่งสังเกตได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 นิตยสาร Bloomberg จัดให้ “ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของ Medical Tourist destination” คือ ประเทศไทย ได้รับความนิยมจากคนต่างชาติมากที่สุด ที่จะให้เป็นจุดหมายปลายทางเพื่อการท่องเที่ยวและตรวจรักษาพยาบาลทางการแพทย์ เดิมจะรู้จักว่าเราจะเป็น Medical hub เป็นแนวคิดมาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีความพยายามเป็น Hub ในหลายๆ ด้าน ทั้ง Airline hub และ Medical Hub โดยคาดหวังจะมีคนเข้ามาในประเทศเพื่อรับการรักษาพยาบาลต่างๆ ขณะที่การพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็น Medical Hub ถือว่านำหน้าสิงคโปร์ไปมาก ทั้งในเรื่องความพร้อมของโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายขนาดที่ใหญ่กว่า เช่น เครือกรุงเทพดุสิตเวชการเองก็ให้ข้อมูลตัวเลขสัดส่วนการเข้าใช้บริการของโรงพยาบาลว่า 60% มาจากคนไข้ต่างชาติ ซึ่งเป็นการ “พิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าการดึงคนไข้ต่างชาติเข้ามาก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน และเป็นปัจจัยกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นจากกำลังซื้อ ซึ่งเป็นกลไกเศรษฐกิจ” โดยสถิติคนไข้ต่างชาติจะเป็นขาขึ้นมาโดยตลอด สถานการณ์การเมืองในประเทศไม่มีผลกระทบในระยะยาวเลย จะมีชะลอตัวเพียง 2-3 เดือนแรกในแต่ละเหตุการณ์ และกลับคืนสู่สภาพปกติทุกครั้ง นั่นคือเหตุผลที่โรงพยาบาลเอกชนยังสามารถทำรายได้ได้อย่างดี เพราะโดยปกติหากมีการคิดราคาที่สูงมากก็ต้องไม่มีผู้มาใช้บริการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าจำนวนคนไข้ไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนระดับท็อปมีอัตราลดลง แต่คนไข้ต่างชาติก็ยังเข้าใช้บริการอยู่ดี และเมื่อโรงพยาบาลระดับท็อปมีคนไข้ต่างชาติเพิ่มมากขึ้น แพทย์ก็จะถูกดึงไปที่โรงพยาบาลเหล่านั้นเป็นทอดๆ ไป และผู้ป่วยคนไทยที่ย้ายไปใช้โรงพยาบาลเอกชนระดับรองลงมาก็ยังเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอปัญหาค่าใช้จ่ายสูง เพราะราคาก็ขึ้นตามเป็นลำดับเช่นกัน
|
|
ค่ายาแพงซ่อนไว้ในผู้ป่วยใน นอกจากการรักษาคนไข้ต่างชาติที่เป็นมาตรฐานในการคิดราคาหลัก ซึ่งเป็นปัจจัยให้มีการดึงราคา ทำให้ผู้ป่วยคนไทยได้รับบริการการรักษาที่มีราคาสูงขึ้นนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะการคิดค่ายาแพงเกินจริง หากตั้งข้อสังเกต ”ใบเสร็จค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลเอกชน” มีค่าใช้จ่ายหลายรายการแยกออกมา และยังมีการขึ้นราคาที่เร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ว่ามีการคิดอัตราที่สูงกว่าปกติ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการอื่นๆ ของโรงพยาบาล ซึ่งค่าแพทย์นั้นอย่างไรก็ได้ไม่เกินค่าแพทย์ที่ระบุ และในบางโรงพยาบาลอาจต้องมีการแบ่งค่าแพทย์ให้กับโรงพยาบาลส่วนหนึ่งด้วย แม้ไม่สามารถสรุปว่าทุกอย่างถูกซ่อนไปในค่ายา แต่ในบรรดาค่าบริการต่างๆ ของโรงพยาบาล “ยาเป็นสิ่งที่มีความโปร่งใสน้อยที่สุด” ยกตัวอย่าง ค่าห้องของโรงพยาบาล 2 แห่ง ถ้าโรงพยาบาลแรกกำหนดว่า 3,000 บาท/คืน อีกโรงพยาบาล 5,000 บาท/คืน ก็จะสามารถเทียบกันได้ตรงๆ แต่กรณีการคิดค่ายา แม้แต่คนไข้ที่ไปโรงพยาบาลเดียวกัน ผู้ป่วยคนหนึ่งอาจต้องจ่ายค่ายา 1,000 บาท กับอีกคน 300 บาท ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าแพงหรือถูกกว่ากัน เนื่องจากมีการรักษาที่ต่างกัน ดังนั้น “ค่ายาจึงเป็นช่องโหว่ที่สามารถเพิ่มราคาได้” รวมทั้งคนที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลมีทางเลือกที่จำกัด แม้จะสามารถร้องขอซื้อยาเองจากข้างนอกได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทำ เพราะไม่สะดวกในทางปฏิบัติ และในอีกกรณีคือ โรงพยาบาลหลายแห่งมีการคิดราคาค่ายาชนิดเดียวกันแตกต่างกัน โดยเมื่อเปรียบเทียบค่ายาสำหรับผู้ป่วยในมีราคาสูงกว่าผู้ป่วยนอกถึง 2 เท่า ซึ่งเรื่องนี้โรงพยาบาลเอกชนมักจะให้เหตุผลว่าผู้ป่วยในมีต้นทุนที่สูงกว่า เช่นค่าใช้จ่ายของเภสัชกรที่ต้องมีประจำ 24 ชม. เป็นต้น ซึ่งเห็นว่าไม่น่าจะส่งผลกับต้นทุนยาถึงเท่าตัว แต่เป็นเพราะผู้ป่วยในมีทางเลือกน้อยกว่า จึงเป็นประเด็นและเป็นช่องทางในการคิดราคาเพิ่มขึ้น แนะเก็บภาษีคนไข้ต่างชาติช่วยโรงเรียนแพทย์ นอกจากนี้ ดร.วิโรจน์ยังแนะทางแก้ปัญหาซึ่งได้ค้นพบจากการศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาศูนย์กลางสุขภาพของประเทศไทย (Thailand Medical Hub)” ร่วมกับ รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง และ รศ.นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ โดยสะท้อนถึงปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ที่มีราคาสูงขึ้น ประกอบด้วย ประการที่ 1 รัฐต้องให้ความสำคัญกับการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ให้เพียงพอกับภาวะขาดแคลนที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน และกระทบเพิ่มเติมจากภาวะแพทย์ไหลไปสู่โรงพยาบาลเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยเสนอให้นำแพทย์ที่เกษียณแล้วกลับเข้ามาทำงาน รวมถึงการนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาทำงาน “ถ้าเราดึงคนไข้ต่างชาติเข้ามา ก็ควรนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาด้วย แต่ปัจจุบันนี้ด้วยข้อจำกัดที่ไทยกำหนดให้แพทย์สอบใบประกอบโรคศิลปของแพทยสภาที่เป็นภาษาไทยเท่านั้น ถ้ามีการผ่อนปรนอย่างน้อยคือปรับเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้แพทย์ต่างชาติเข้ามาทำงาน แต่จำกัดให้รักษาเฉพาะคนไข้ต่างชาติ จะมีผลที่ดี เพราะการจำกัดอาชีพไว้เพื่อแพทย์ไทยในการรักษาปัจจุบัน ในความเป็นจริงที่เรามีคนไข้ต่างชาติเป็นจำนวนมากขนาดนี้ จะทำให้มาแย่งกำลังของแพทย์ที่มีจำกัดในประเทศ ซึ่งก็ยิ่งดึงราคาค่ารักษาพยาบาลให้สูงขึ้นตามปกติของระบบเศรษฐกิจ” ประการที่ 2 คือ มาตรการเก็บภาษีจากคนไข้ต่างชาติที่เดินทางมาเพื่อรักษาพยาบาล ประเภทที่เรียกเป็นการเฉพาะว่า Medical Tourist โดยเสนอให้เก็บภาษีจากส่วนนี้ เพราะกำลังซื้อจากต่างประเทศยอมจ่ายแพงขึ้น จะดึงราคาเฉลี่ยขึ้นไป แต่หากเก็บภาษีคนไข้ต่างชาติจากโรงพยาบาล โรงพยาบาลอาจจะยินดีรักษาคนไข้ไทยในราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากไม่ได้ผลต่างจากค่ารักษาคนไข้ต่างชาติมากนัก และระดับราคาก็จะไม่ขึ้นเร็วเกินไป “การที่มีแพทย์บางท่านให้สัมภาษณ์ว่าค่ารักษาพยาบาลไม่ได้แพง โดยให้เหตุผลว่าต่างชาติมารักษาที่ไทยมาก และเก็บค่ารักษาพยาบาลในราคาเดียวกันหมด ตีความว่าราคาถูกนั้น อาจจะจริงเพราะสำหรับคนต่างชาติถือว่าถูกกว่าเทียบกับระดับราคาที่ต่างประเทศ เนื่องจากรายได้สูงกว่าเรา แต่โดยสรุปราคาก็แพงสำหรับคนไทย การทำทันตกรรมเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากสำหรับต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำในไทย เพราะราคาถูกกว่าในต่างประเทศ และไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน สามารถรอเดินทางมาทำได้” สำหรับภาษีที่เก็บมาได้ เสนอให้รัฐนำเงินมาใช้ในการบริหารเพื่อรักษาแพทย์ให้อยู่ในโรงพยาบาล รักษาแพทย์ให้อยู่ในโรงเรียนแพทย์เพราะแพทย์ในโรงเรียนแพทย์เป็นเป้าหมายหลักที่จะถูกดึงตัวไปยังโรงพยาบาลเอกชน และเสนอให้นำมาช่วยในการผลิตแพทย์เพิ่มเติมเข้าไปในระบบ ขรก.ต้นเหตุยาแพงเลือกใช้ ‘ยานอก’ ดร.วิโรจน์แนะด้วยว่า ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดไว้ว่าสถานพยาบาลจะต้องประกาศราคาค่ารักษาพยาบาล แต่ในทางปฏิบัติไม่มีโรงพยาบาลไหนประกาศ โดยเลี่ยงว่ารายการมีมาก ไม่สามารถแจกแจงได้ แต่แจ้งว่าผู้ป่วยสามารถสอบถามได้ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถตรวจสอบได้ และเห็นว่าผู้ป่วยควรตรวจสอบเพื่อความชัดเจน และหากโรงพยาบาลเอกชนระดับท็อปจะเก็บแพงกว่า และคนไข้ยินดีจ่าย ก็ควรระบุให้ชัดเจนเพื่อการตัดสินใจ และองค์กรต่างๆ จะได้ตรวจสอบง่ายขึ้น เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และระบบจัดการกับการร้องเรียนต่างๆ ก็จะตอบสนองได้ดีขึ้น ส่วนระบบที่มีการใช้ยาแพงมากที่สุดมักจะเป็นระบบที่มีการเบิกได้จากสวัสดิการข้าราชการ การใช้ยาต้นแบบหรือยานำเข้าส่วนหนึ่งคนไข้ไม่ต้องจ่ายเอง และอยากได้ยาที่ดีที่สุด จึงเป็นที่มาของการใช้ยานอก ซึ่งในบางครั้งก็เหมาะสม บางครั้งก็เกินจำเป็น อีกทั้งระบบการควบคุมเพื่อแก้ปัญหายามีราคาแพงนั้น ดร.วิโรจน์เห็นว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ควรเป็นผู้ควบคุมราคายา ยกตัวอย่างโครงการ 30 บาทเดิม มีการคิดค่าหัวโดยอ้างอิงที่อัตราเงินเฟ้อ แต่ในการเก็บข้อมูลนั้นกลับไปเก็บที่ยาสามัญประจำบ้านเป็นหลัก ขณะที่ยาประเภทปฏิชีวนะที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์มีความหลากหลายและละเอียดจนไม่สามารถจะไปคำนวณอัตราเงินเฟ้อได้ครบ ดังนั้นในการคิดและกำหนดการขึ้นราคาของยาสามัญประจำบ้านจึงไม่สะท้อนยาที่ใช้รักษาจริง ซึ่งอัตราการขึ้นราคานั้นมีค่าเฉลี่ยที่สูงกว่ากันมาก นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้อจำกัดเรื่องความชำนาญและความรู้เฉพาะทางเรื่องของยา แต่จะใช้หน่วยงานใดก็มีความซับซ้อน เช่นจะใช้แพทยสภา ก็เหมือนการใช้พวกวิชาชีพคุมกันเอง หากคุมกันเองได้ก็ไม่ต้องใช้คนนอกมาแทรกแซงซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่หากไม่มีความโปร่งใสก็จะมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ จึงจำเป็นต้องมีหลายฝ่ายเพื่อความเชื่อใจจากคนภายนอก เพราะแต่ละฝ่ายก็มีข้อจำกัดเพราะมีผลประโยชน์ทางวิชาชีพ ขณะเดียวกันระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดีต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่าย และควบคุมคุณภาพไปพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างยาต้นฉบับ ส่วนใหญ่จะมีคุณภาพที่ดีกว่า แต่ดีกว่าเป็นนัยยะสำคัญหรือไม่ หรือยาตัวใหม่ดีกว่า แต่ราคาแพงกว่า 5 เท่า ในเชิงของความคุ้มควรต้องมีหน่วยงานกลางตัดสินใจว่าจำเป็นต้องใช้ยาตัวใหม่หรือไม่จำเป็น ตัวอย่างองค์กรที่เป็นผู้ตัดสินใจ ในประเทศอังกฤษมี NICE (National Institute for Health and Care Excellence) เป็นองค์กรที่ตัดสินว่าจะซื้อยาตัวไหน หากองค์กรนี้ไม่รับรองก็จะจำหน่ายออกไป ดังนั้นถ้ารัฐจะแก้ไขปัญหาราคายา หรือการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบ ก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน ไม่ใช่แค่การสร้างองค์กรใหม่อย่าง NICE ขึ้นมาเท่านั้นแต่ต้องเป็นการปรับคุณภาพ หากการตั้งงบไว้ต่ำเกินไป ไม่ว่าจะเสนอยาอะไรที่มีคุณภาพเข้ามาในระบบ ก็ไม่มีใครมีสิทธิ์ใช้ได้เพราะติดเรื่องงบประมาณ ระบบประกันสุขภาพแบบยั่งยืนลดอิทธิพล รพ.เอกชน ดร.วิโรจน์ ย้ำถึงแนวทางแก้ปัญหาที่ควรจะเป็นว่า ถ้าเราเชื่อว่าคนทุกคนควรมีสิทธิ์เข้าถึงการรักษาพยาบาล เราควรมีระบบสุขภาพถ้วนหน้าที่ดี ในต่างประเทศก็มีปัญหาเรื่องการรอคิวเช่นกัน หากเป็นระบบสวัสดิการของรัฐ และไม่ใช่วิกฤตถึงชีวิตก็ต้องรอตามกำหนด เพราะการจำกัดของบุคลากร แต่ที่ไม่เป็นปัญหาในต่างประเทศเหมือนในประเทศไทย คือต่างประเทศไม่มีปัญหาเรื่องการบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการได้รับยาทั่วไปไม่ตรงกับอาการของโรค แบบที่หลายคนกลัวกับระบบเมืองไทย “ถ้าระบบสุขภาพถ้วนหน้าทำให้คนไทยรู้สึกฝากชีวิตได้ ปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพงในโรงพยาบาลเอกชนจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่วันนี้ทั้ง 3 ระบบสุขภาพ คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และ 30 บาท ไม่สร้างความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าจะได้รับการรักษาที่มีมาตรฐาน และการเข้ารักษาก็ไม่ง่าย บางรายอาจไม่ได้รับการตรวจในวันที่เข้ารับบริการ ถ้าปรับให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นในระบบ องค์กรทั้งหมดก็จะถือเป็นรายใหญ่เพื่อไปต่อรองกับสถานพยาบาล ลักษณะเดียวกับบริษัทประกันที่สามารถต่อรองกับสถานพยาบาลได้ เพราะทั้ง 3 ระบบของไทยก็ยังมีการใช้โรงพยาบาลเอกชนบางส่วน” โดย ดร.วิโรจน์ อธิบายว่า การคิดค่าใช้จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis related group, DRG) เป็นตัวอย่างหนึ่งของการต่อรอง เพื่อใช้ค่าเฉลี่ยในการจ่ายกับสถานพยาบาลที่ซื้อบริการจากเอกชน โดยมีกติกาที่ชัดเจน และมีการกำกับคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบซื้อบริการเป็นรายหัว แต่ผู้รักษาพยายามรักษาให้น้อยสุดเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย “ปัจจุบันเราพูดกันแค่ค่ารักษาพยาบาลที่คนใช้โรงพยาบาลเอกชนต้องจ่าย แต่การที่คนไข้ต่างชาติเข้ามา แล้วแพทย์ขาดแคลนมากขึ้นนั้น มีผลไปถึงแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลชุมชน และต่างจังหวัดในวงกว้าง ทำให้ภาครัฐต้องขึ้นค่าแรง ขึ้นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ซึ่งเป็นประเด็นพิพาทใหญ่โต ส่วนหนึ่งผลกระทบมาจากเรื่องนี้ เพราะต้องการรักษาแพทย์ให้อยู่ ภาคเอกชนจ่ายสูงภาครัฐจ่ายต่ำ เมื่อพิจารณาเพิ่มค่าแรง โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์สุขภาพก็มองว่าควรจะได้เพิ่มด้วย ปัญหาจึงขยายวงกว้าง “Medical Hub ไม่ใช่รายได้ที่เพิ่มมาฟรีๆ เพราะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงขึ้น และรัฐต้องจ่ายแพงขึ้น” จากปัญหาที่ตามมา ทั้งเรื่องโครงการประกันสุขภาพต่างๆ เรื่องปัญหาบุคลากร เป็นต้น”
|
|
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น |
|
|
|
เอกชนใช้ช่องว่าง Supply ของภาครัฐมีไม่เพียงพอ ส่วน “นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ” ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จ. ขอนแก่น ระบุถึงกรณีโรงพยาบาลเอกชนคิดราคาแพง เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับหลายประเด็น แต่ที่ผ่านมาปล่อยปละละเลย จนกระทั่งปัญหาสะสม และชัดเจนในวันนี้ เอกชนดำเนินธุรกิจบนคำกล่าวว่าเป็นทางเลือกในการเข้าถึงบริการ และใช้ช่องว่างในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่ง Supply ของภาครัฐมีไม่เพียงพอ ซึ่งหลายๆ รัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสนใจในการพัฒนาระบบ โรงพยาบาล ขยายบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาถึงวันนี้ต้องยอมรับความจริงว่าปริมาณในการรองรับกับการเข้าถึงบริการไม่เพียงพอ แต่ในทางกลับกันกลับไปเปิดกว้างที่จะให้การบริการของโรงพยาบาลเอกชนรองรับตลาด AEC เพิ่มมากขึ้น ขยายรับผู้ป่วยต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นช่องทางทำรายได้ของโรงพยาบาลเอกชน แต่จะยิ่งไปดึงทรัพยากรจากภาครัฐไปมากขึ้น จึงเป็นวงจรที่เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ นั่นเพราะทรัพยากรภาครัฐไม่เพียงพออยู่แล้ว ด้วยความหวังว่าโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยที่มีกำลังทรัพย์บ้าง แต่ในความเป็นจริงให้ความสำคัญการเปิดรับผู้ป่วยจากต่างประเทศมากกว่าการรักษาผู้ป่วยคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย นี่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นมาตลอดว่า ไม่ว่าจะเป็นการดึงบุคลากรทางการแพทย์ออกจากรัฐ ต้นทุนในการสร้างแพทย์ 1 คนใช้งบประมาณเป็น 2-3 ล้านบาท ปัจจุบันผลิตแพทย์ได้ปีละ 40,000 คน ไปทำงานที่โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยถึง 20,000 คน รายได้จากโรงพยาบาลเอกชนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ลงไปที่บุคลากรทางการแพทย์ และจะเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นด้วยถ้าเป็นผู้ถือหุ้นเอง ขณะที่รัฐต้องแบกภาระการสร้างบุคลากรเพิ่มจากปัญหาขาดแคลนนี้ การขาดแคลนจึงเป็นวงจรซ้ำเดิม และเอกชนก็จะมีแต้มต่อ ผู้ป่วยในระบบมีมากอยู่แล้ว ชนชั้นกลางหันมาใช้บริการของรัฐจากระบบที่ปรับปรุงขึ้นมากับปัจจัยตรงนี้หลายโรงพยาบาลมีการปรับตัวให้รองรับขึ้น พัฒนาบริการไปมาก อย่างไรก็ตามโดยธรรมชาติผู้ป่วยก็อยากได้บริการที่ดี สุขสบาย รัฐบาลอาจจะไม่ตอบสนองได้ตามที่คาดหวัง เช่นการรอคิวรักษา การดูแลบริการที่เป็นพิเศษ จึงทำให้โรงพยาบาลเอกชนมีภาษีมากกว่า ทั้งนี้ปัญหาอื่นที่ตามมา ยังมีเรื่องการเข้าไม่ถึงโรงพยาบาลเอกชนในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แม้จะมีกฎหมายทั้งในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกฎหมายสถานพยาบาล ที่มีการบังคับใช้ แต่ปัญหาอยู่ที่การไม่ให้ความร่วมมือของภาคเอกชน เพราะระบบของประเทศไทย เอกชนมีอิทธิพลที่จะมาอยู่ในแวดวงของการควบคุมกำกับ ในการควบคุมมาตรฐาน ไม่ว่าจะเข้ามาอยู่ในแพทยสภาหรือแม้กระทั่งหน่วยงานของรัฐเอง ลักษณะนี้จึงไม่สามารถดำเนินการได้แบบเบ็ดเสร็จเพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนั้นแนวทางเรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกภาคไม่ว่าหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน จะต้องให้ความร่วมมือเนื่องจากเป็นเรื่องของมนุษยธรรม โดยคำว่าฉุกเฉินนั้นหมายถึง 72 ชม.แรก ทุกหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน และหลังจากนั้นตัวแทนของผู้มีสิทธิ์ต่างๆ เช่นกองทุน หรือประกันต้องเข้ามาจัดการดูแลในกรณีที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ควรผลักภาระไปยังผู้ป่วยทั้ง 3 กองทุนสุขภาพได้แก่ กลุ่มข้าราชการไทยและครอบครัว จากกองทุน กรมบัญชีกลาง กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิ์ประกันสังคม จากกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ต้องไม่ไปเก็บกับตัวผู้ป่วย ทั้งเรื่องการอ้างไม่ให้ออกจากโรงพยาบาล ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่กองทุนหรือประกันต้องเข้ามาดูแล และถ้าทำประเด็นนี้ได้กรณีฉุกเฉินน่าจะจบ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลนี้มีความชอบธรรมที่จะทำให้ลุล่วงได้ง่ายมาก เพราะมีกฎหมายมาตรา 44 รับรองอยู่แล้ว ที่ผ่านมาไม่สำเร็จเพราะความเกรงกลัว หรือปล่อยผ่านกันมานาน แนะแก้ที่ระบบบิดเบี้ยว ต้นเหตุราคาแพง นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาโรงพยาบาลเอกชนมีราคาแพง ควรดำเนินการใน 5 ประการดังต่อไปนี้ ประการที่ 1 กลไกที่มีอยู่ไม่มีความสามารถในการควบคุมกำกับ และความหวังที่จะพึ่งแพทยสภานั้น ต้องยอมรับว่ามีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนในการตรวจสอบ เพราะในแพทยสภามีคนในโรงพยาบาลเอกชนร่วมอยู่ด้วย ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้กระทำผิดอาจมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ดังนั้นประเด็นการตรวจสอบ ความโปร่งใส จึงอาจไม่สามารถทำได้ อีกทั้งในความเป็นจริงแพทยสภาควรมีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในบทบาทเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สะท้อนเสียงจากผู้ป่วยไม่ใช่มีแต่กรรมการจากวิชาชีพเพียงอย่างเดียว การมีแพทย์ในแพทยสภาเพื่อใช้กลไกในการควบคุมมาตรฐานหรือกำกับ แต่ภาคประชาชนมีความสำคัญเพื่อมุมมองที่ครบด้านและตรวจสอบได้ ประการที่ 2 รัฐบาลขาดความจริงใจในการตรวจสอบแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมถึงทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ขาดความเข้มข้นในการตรวจสอบ ไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่เข้ามากำกับดูแล เพื่อประโยชน์ของภาคประชาชน ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากรเอง ก็ไม่ได้มีการตรวจสอบที่รัดกุมและเข้มงวด ปัจจุบันการทำกำไรเกินจริงของโรงพยาบาลเอกชนในการคิดค่ายา หรืออุปกรณ์ต่างๆ เชื่อว่าโรงพยาบาลไม่ได้แสดงต้นทุนที่แท้จริงกับกระทรวงพาณิชย์ จึงมีคำถามถึงการนำส่งภาษีและทำให้คนออกมาต่อต้าน พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายผู้ป่วย เพื่อเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ป่วย นั่นเพราะทุกคนกลัวจะรู้ต้นทุนจริง กลัวจะต้องเสียภาษี ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบเหมาจ่าย หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องตรวจสอบการขึ้นทะเบียนยา โครงสร้างของยา กรณีการออกยาตัวใหม่โดยไม่จำเป็น รวมทั้งกรรมการที่ควบคุมกลไกที่ควบคุมราคายาที่กำลังจะตั้งขึ้นมา ต้องมีตัวแทนของภาคประชาชนเข้าร่วมด้วย และเสนอให้มีการปรับ พ.ร.บ. สถานพยาบาลที่มีอยู่ เป็นโอกาสที่ดีในการปฏิรูป และที่สำคัญคือพัฒนาปรับปรุงกลไกของคณะกรรมการยาแห่งชาติให้ชัดเจน ซึ่งวันนี้เชื่อว่ามีหลักการที่ถูกต้องแล้วระดับหนึ่ง
|
|
(แฟ้มภาพ) |
|
|
|
ประการที่ 3 การคิดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลเอกชนเกินจริง ไม่สมเหตุสมผล ไม่มีการชี้แจงที่ชัดเจน ทั้งค่าแพทย์ ค่าหัตถการ ค่ายา ค่าวัสดุการแพทย์ ค่าแล็บ ถึงแม้ว่าจะเป็นทางเลือกตามความพึงพอใจในการจ่ายของผู้ป่วย แต่ก็ควรอยู่บนเกณฑ์ของความชัดเจน โรงพยาบาลเอกชนมีภาระต่างๆ ที่ต้องจ่ายเอง ซึ่งก็สมเหตุสมผลในการนำมาคิดค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในเกณฑ์ของการแสดงต้นทุน และการคิดกำไรที่โปร่งใส ซึ่งวันนี้ไม่มีใครรู้ข้อมูล ยกตัวอย่างค่าหัตถการบางรายการที่ต้องใช้บริการจากผู้รับจ้างภายนอก (outsource) รายการเดียวกันโรงพยาบาลรัฐบาลอาจใช้บริการที่ราคา 2,500 บาท แต่ในโรงพยาบาลเอกชน Outsource รายนั้นสามารถคิดค่าบริการถึง 20,000 บาท เพราะวิธีการของโรงพยาบาลเอกชนต้องนำเครื่องมือไปรอ และคนไข้สามารถมาตรวจในเวลาใดก็ได้ แต่อัตราที่โรงพยาบาลไปเรียกเก็บคนไข้สูงกว่าราคาที่บริษัท Outsource เรียกเก็บอีกถึง 3 เท่า คือ 60,000 บาท เป็นต้น ลักษณะนี้ควรมีหลักการที่ชัดเจนว่าการเพิ่มราคาค่าบริการขึ้นไปใช้วิธีการคำนวณด้วยอะไร ประการที่ 4 โครงสร้างโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทยอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในโลกนี้มีไม่ถึง 10 ประเทศที่โรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผิดหลักการและจริยธรรมธุรกิจ เพราะจะทำให้คิดถึงแต่กำไรของผู้ถือหุ้น การให้บริการกับผู้ป่วยกลายเป็นสินค้า แทนที่จะเป็นเรื่องทางมนุษยธรรม จึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์ และทำให้ไม่สามารถไปแก้ไขได้โดยง่ายทั้งในแง่ของธุรกิจ และเรื่องของผู้ถือหุ้นซึ่งบางส่วนมีบทบาทในแพทยสภา ประการที่ 5 มีกลไกความได้เปรียบของผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่มีจริยธรรมบางคน พยายามชักจูงให้คนไข้ใช้ยาที่ตนเองมีผลประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม หรือการให้คนไข้ใช้หัตถการ เครื่องมือทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็น บริษัทเอกชนเองก็พยายามขายยาที่แพงเกินกว่าความจำเป็นด้วย ราคายาที่แพงขึ้นก็ทำให้กำไรมากขึ้น เป็นผลประโยชน์กับโรงพยาบาลหรืออาจถึงแพทย์ในบางกรณี เอกชนผู้ผลิตยาจึงมีความพยายามที่จะผลิตยาใหม่ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นทั้งที่ยาเดิมครอบคลุมการรักษา แต่การผลิตยาใหม่ทำให้ตั้งราคาที่สูงขึ้นได้ การแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแพทย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท บอกอีกว่าแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์นั้น ประเทศไทยควรใช้ต้นแบบจากประเทศอังกฤษ ไม่อิงระบบทุนนิยม ไม่เน้นแพทย์เฉพาะทางทุกอย่าง แต่ทำให้โครงสร้างตั้งแต่ฐานรากเข้มแข็งสมบูรณ์ เน้นงานส่งเสริม ป้องกัน ตั้งแต่ฐานราก ส่วนไหนรักษาไม่ได้ค่อยส่งต่อไป ยกตัวอย่างในบางโรคที่สามารถดูแลตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ หรือไปหาแพทย์ที่อนามัยก็หายได้ แต่นิยมไปหาแพทย์เฉพาะทางแม้จะเป็นโรคทั่วไป ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่า ซึ่งเป็นเรื่องของค่านิยม คนที่ไม่ต้องการเสียเวลา รอคิวยาวก็ยอมเสียเงิน จึงเป็นวงจรแบบนี้ แนวทางที่เหมาะสมควรเริ่มจากการดูแลส่งเสริมเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยง ให้ร่างกายแข็งแรงก่อน น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ ถ้าเราใช้วิธีปูพรมในส่วนของปฐมภูมิอย่างเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ไปศึกษาถึงขั้นปริญญาเอก แต่ในทางปฏิบัติต้องมาทำงานระดับปริญญาตรีเพราะบุคลากรไม่เพียงพอ และเมื่อทำงานไม่เหมาะสม แพทย์ก็หันไปทำงานเอกชน ทั้งนี้การสร้างความแข็งแกร่งให้โรงพยาบาลรัฐ โดยระบบ Primary care เป็นแนวทางที่โรงพยาบาลชุมแพนำมาปรับใช้ ภายใต้การบริหารงบประมาณของรัฐที่มีการปรับแนวความคิด ซึ่งประสบความสำเร็จเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น จากเดิมเป็นโรงพยาบาลชุมชน ก็ปรับสถานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลจังหวัด และจากเดิมที่ไม่มีแพทย์เลยก็มีแพทย์เฉพาะทาง 30-40 คน มีการให้บริการฉีดยาละลายลิ่มเลือดให้คนไข้ที่มีอาการอัมพาตเลือดไม่ไปเลี้ยงสมองได้ปีละ 20-30 ราย มีซีทีสแกน และการบริการล้างไต ทำให้บางกรณีไม่จำเป็นต้องส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ก็มาปรับให้มีระบบนั้น การบริหารจัดการในรูปแบบนี้ โรงพยาบาลรัฐสามารถจัดการได้ที่โรงพยาบาล และผู้ป่วยก็ไม่เดือดร้อนต้องเดินทาง อาการป่วยจะไม่หนักไปกว่าเดิม วิธีการนี้คือเราต้องสร้างระบบบริการที่สมบูรณ์ ซึ่งรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เพื่อทานกระแสต่อแพทย์พาณิชย์ให้ได้ การสร้างนี้ต้องใช้ความอดทน และต้องสร้างความเข้าใจ พร้อมให้กำลังใจกัน ต้องดูแลตนเอง ใช้ยาให้ถูก นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ย้ำว่า เราก็ไม่ควรใช้ยาที่แพงเกินความเป็นจริง และหากในอนาคตข้างหน้ารัฐบาลเห็นว่ามียาตัวใดที่มีความเสี่ยง มีความจำเป็นต่อผู้ป่วย และเป็นภาวะวิกฤตกับประเทศ รัฐต้องทำกระบวนการ CL (Compulsory Licensing - การบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายสิทธิบัตร) เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น! |
ตอบลบสวัสดี ชื่อของฉันคือ ฌอง Xavier และฉันหญิงจากแคนาดา ฉันทำงานกับรัฐบาลแคนาดาเป็นระยะเวลานาน และผมจะได้รับเงินมากในช่วงเวลาของฉันใน office ที่ถูกมี $800,000,000 และเนื่องจากการที่ ผมตัดสินใจลงทุนในธุรกิจส่วนตัวผู้ให้กู้จะช่วยแก้ปัญหาทางการเงินของมนุษย์เพื่อนของฉัน ฉันตัดสินใจให้สินเชื่อใด ๆ 2% ดังนั้นหากคุณสนใจในเกียรติยศจากบริษัทของฉัน คุณสามารถติดต่อบริษัททางอีเมล์: jeannexavier111@gmail.com
เรามีรัฐบาลที่ได้รับการอนุมัติและผู้ให้กู้สินเชื่อได้รับการรับรอง บริษัท ของเราไม่ได้มีเงินให้สินเชื่อตั้งแต่ส่วนบุคคลเงินให้สินเชื่ออุตสาหกรรมเพื่อผู้ที่สนใจหรือ บริษัท ที่กำลังมองหาเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินในอัตราดอกเบี้ยเจรจาโอกาส 2% ที่จะล้างฝ่ายของคุณ. เริ่มต้นหรือธุรกิจเพิ่มคุณ ด้วยเงินกู้จากเงินให้กู้ยืมที่ บริษัท ของเราได้รับในปอนด์ (£) ดอลลาร์ ($) และยูโร ดังนั้นใช้สำหรับเงินกู้ในขณะนี้ผู้ที่สนใจควรติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรอกข้อมูลข้อมูลของผู้กู้ ติดต่อเราตอนนี้ผ่าน: jenniferdawsonloanfirm20@gmail.com
ตอบลบ(2) รัฐ:
(3) ที่อยู่:
(4) เมือง:
(5) เพศ:
(6) สถานภาพ:
(7) การทำงาน:
(8) หมายเลขโทรศัพท์มือถือ:
(9) รายได้รายเดือน:
(10) วงเงินกู้ที่จำเป็น:
(11) ระยะเวลาของเงินกู้ที่:
(12) วัตถุประสงค์เงินกู้:
ขอบคุณสำหรับความเข้าใจของคุณในขณะที่เรามุ่งหวังที่จะได้ยินจากคุณเร็ว ๆ นี้
E-Mail: jenniferdawsonloanfirm20@gmail.com
คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาความต้องการทางการเงินของคุณหรือไม่ เรามีเงินให้สินเชื่อตั้งแต่ 5,000.00 เพื่อ 250,000,000.00 แม็กซ์เรามีความน่าเชื่อถือที่มีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและแบบไดนามิกที่มีการตรวจสอบเครดิตไม่มีและนำเสนอ 100% รับประกันเงินกู้ยืมต่างประเทศในช่วงระยะเวลาที่มีทั้งหมดที่นี่ นอกจากนี้เรายังจะออกเงินกู้ในยูโรปอนด์และดอลลาร์อัตราแลกเปลี่ยนของเงินให้สินเชื่อทั้งหมด 2% หากคุณสนใจที่จะได้รับกลับมาให้เราผ่าน marycoleloanscompany3@gmail.com กับข้อมูลต่อไปนี้:
ตอบลบข้อกำหนดการใช้งาน
ชื่อ
ประเทศ:
เมือง:
ที่อยู่:
จำนวนที่ร้องขอ:
เวลา:
อายุ:
เพศ:
อาชีพ:
ไม่มีโทรศัพท์:
ขอบคุณ
นางแมรี่
สวัสดีฉันเป็น Melissa Delia ปัจจุบันอาศัยอยู่ใน New York City, USA ฉันเป็นหญิงม่ายในขณะที่มีเด็กสามคนและฉันก็ติดอยู่ในสถานการณ์ทางการเงินในวันที่ 19 มิถุนายนและฉันต้องการที่จะรีไฟแนนซ์และชำระค่าใช้จ่ายของฉัน ฉันพยายามหาเงินกู้จาก บริษัท เงินกู้หลายแห่งทั้งภาคเอกชนและองค์กร แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จและธนาคารส่วนใหญ่ก็ปฏิเสธเครดิตของฉัน แต่เป็นพระเจ้าจะมีฉันได้รับการแนะนำให้รู้จักกับผู้หญิงของพระเจ้าผู้ให้ยืมเงินกู้ส่วนตัวที่ให้ฉันกู้ยืมเงินจาก 30,000000Bath และวันนี้เป็นเจ้าของธุรกิจและเด็ก ๆ ของฉันกำลังทำดีในขณะนี้ถ้าคุณต้องติดต่อ บริษัท ใด ๆ โดยไม่มีการตรวจสอบเครดิตไม่มีผู้ลงนามร่วมที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 4% และแผนการชำระหนี้ที่ดีกว่าและตารางเวลาโปรดติดต่อคุณอร์เฆเกรซ เธอไม่รู้ว่ากำลังทำเช่นนี้ แต่ตอนนี้ฉันมีความสุขมากและฉันตัดสินใจที่จะแจ้งให้ผู้คนทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเธอและฉันต้องการให้พระเจ้าให้พรแก่เธอมากขึ้นคุณสามารถติดต่อเธอผ่านอีเมลของเธอได้ที่: {jorgegraceloanfirm@gmail.com}
ตอบลบMelissa Delia
สวัสดี !
ตอบลบคุณต้องการบริการสินเชื่อที่ถูกต้องและรวดเร็ว?
สมัครตอนนี้และขอรับเงินด่วน!
* ตำแหน่งระหว่าง 5000 ถึง 50 ล้าน
* เลือกระหว่าง 1 ถึง 30 ปีในการชำระคืน
* เงื่อนไขการกู้ยืมเงินแบบยืดหยุ่น
ทั้งหมดนี้และอื่น ๆ โปรดติดต่อเรา
ชื่อเต็ม: ..........
หมายเลขโทรศัพท์:.......
รายได้ต่อเดือน: .............
ประเทศ ...............................
วัตถุประสงค์สินเชื่อ ...........
จำนวนเงินที่ต้องการ .................
สถานะเงินกู้ ............
ระยะเวลา: ...........................
ติดต่อเราทางอีเมล: thompson.loanservice@gmail.com
การจัดการ
ติดต่อสินเชื่อ Speedy ตอนนี้ !!!