วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3 ธุรกิจ 3 ขนาด หันมอง ‘ธุรกิจบริการ’ ผ่าน Business Model Canvas by facebook.com/somkid

จากบทความก่อนหน้าที่เราได้แนะนำให้รู้จักกับ แนวคิดและวิธีการเขียน Business Model Canvas กันไปแล้ว ในบทความนี้ TCDCCONNECT จึงขอยกตัวอย่างธุรกิจบริการ แบบ ที่ได้ลองนำ Business Model Canvasไปประยุกต์ใช้เพื่อนำเสนอบริการให้กับลูกค้าได้

 cannes11130.jpg

ตัวอย่างที่ 
1 : ช่างภาพอิสระ 

เริ่มจากตัวอย่างแรกที่ค่อนข้างใกล้ตัวคืออาชีพ ช่างภาพอิสระ’ ทำงานถ่ายภาพงานแต่งงาน งานรับปริญญา ฯลฯเชื่อหรือไม่ว่าแม้กับอาชีพบริการเล็กๆ เช่นนี้ เขาก็สามารถเขียน Business Model Canvas ของตัวเองขึ้นได้เช่นกัน 
  
photographer-business-canvas.jpg 


1. Value Proposition (สิ่งที่เรามอบให้ลูกค้าเริ่มจากหัวข้อแรกกลางแผนภาพ สิ่งที่ช่างภาพมอบให้ลูกค้าก็คือภาพถ่ายที่เลือกมุมกล้องอย่างดี เล่าเรื่องราวได้ อาจจะเพิ่มเติมด้วยการแต่งภาพให้สวย อัดลงแผ่นซีดี และส่งมอบงานให้ลูกค้าพร้อมอัลบั้มสวยงาม
2. Customer Segments (กลุ่มลูกค้าอยู่ช่องขวาสุดด้านบน ซึ่งลูกค้าของช่างภาพคนนี้อาจจะมีอยู่ 3กลุ่ม คือ บัณฑิตใหม่  คู่แต่งงาน และผู้จัดกิจกรรมอีเวนท์ต่างๆ
3. Channels (ช่องทางการส่งมอบสินค้าและบริการกึ่งกลางระหว่าง ข้อ 1. กับข้อ 2. คือช่องทางการโปรโมทและหาลูกค้าใหม่ อันได้แก่ การใช้สื่อออนไลน์ หรือการบอกผ่านคนรู้จักที่แนะนำต่อๆ กัน
4. Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้าหมายถึงวิธีที่ช่างภาพจะรักษาลูกค้าเดิมไว้ เช่น ตั้งใจบริการอย่างซื่อสัตย์ ใส่ใจ และตรงเวลา เป็นต้น
5. Revenue Stream (รายรับที่เข้ามาอยู่ด้านล่างขวาของแผนภาพ ซึ่งช่างภาพจะระบุค่าบริการงานถ่ายรูป และรายได้เสริมอื่นๆ
6. Key Resources (ทรัพยากรหลักที่ใช้ในการทำงานทางซ้ายถัดจากช่อง Value Proposition คือสิ่งที่ช่างภาพต้องใช้ทำมาหากิน อันได้แก่ กล้อง แฟลช ขาตั้ง แผ่นสะท้อนแสง และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
7. Key Activities (กิจกรรมหลักเนื้องานหลักๆ ของอาชีพช่างภาพ ซึ่งก็คือการถ่ายภาพ การรีทัชภาพ และการไรท์ภาพลงอัลบั้มในฟอร์แมทต่างๆ
8. Key Partners (คู่ค้าที่สำคัญก็มีตั้งแต่คนในแวดวงช่างภาพที่จะส่งงานต่อให้กัน (หากงานล้นมือหรือไม่เชี่ยวชาญร้านอัดภาพที่จะทำอัลบั้มสวยๆ สำหรับคู่แต่งงาน ร้านแต่งหน้า ฯลฯ
9. Cost Structures (โครงสร้างต้นทุนอันได้แก่ ราคาค่ากล้อง ค่าอุปกรณ์ ค่าโปรแกรม ค่าวัสดุ ค่าอัดภาพที่ต้องจ่ายให้ร้านอัด ค่าเดินทาง ค่าซ่อมแซม ฯลฯ

 
jstka.jpg
 

ตัวอย่างที่ 2 : สายการบินโลว์คอสต์
ตัวอย่างต่อไปเป็นธุรกิจบริการขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบและผู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย อย่างเช่น Low Cost Airlines (สายบินต้นทุนต่ำ)
 Low-Cost-Airline-Business-Canvas.jpg

      1. Value Proposition = บริการเที่ยวบินราคาถูก เพราะลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นต่อการบินออกไป เช่น อาหาร-เครื่องดื่ม ความหรูหราแสนสบายของที่นั่ง น้ำหนักกระเป๋าเดิน         ทางที่ให้ฟรี ฯลฯ
2. Customer Segment = นักท่องเที่ยวที่มีงบประมาณจำกัด
3. Channels = โฆษณาตามสื่อต่างๆ  เจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์  และระบบเว็บไซต์เพื่อการจองตั๋ว
4. Customer Relationships = ผ่านทางการทำโปรโมชั่นและการสื่อสารการตลาดประเภทต่างๆ
5. Revenue Stream = ค่าตั๋วโดยสาร และค่าบริการอื่นๆ เช่น ค่าน้ำหนักสัมภาระ ค่าอาหาร-เครื่องดื่ม
6. Key Resources = เครื่องบิน  สนามบิน พนักงานบริการ ซัพพลายเออร์
7. Key Activities = จำหน่ายและจัดระบบการให้ที่นั่งโดยสาร  การบินตามเส้นทางที่กำหนด การบริการทั้งในช่วงก่อนบิน ขณะบิน และหลังเครื่องลง
8. Key Partners = โรงแรม บริการเช่ารถ ธุรกิจประกันภัย
9. Cost Structure  =  ค่าเครื่องบิน (หรือค่าเช่าเครื่องยนต์ค่าบำรุงรักษา ค่าเช่าสนามบิน เงินเดือนพนักงาน


facebook-user-2-970x0.jpg

ตัวอย่างที่ 
3 : 
เฟสบุ๊ค
สุดท้ายเป็นธุรกิจบริการในโลกดิจิตอลที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ซึ่งก็คือ Facebook

 facebook-business-model.png

      1. Value Propositions เพจออนไลน์ส่วนตัวที่เราใช้แชร์รูป เรื่องราว และข้อมูลข่าวสารต่างๆ กับผู้อื่น เปิดให้ใช้ได้ทั้งในนามบุคคลและในนามองค์กร โดยเน้นที่ความ           เป็น ‘ตัวจริงเสียงจริง’ และมีบริการช่องทางติดต่อส่วนตัวคล้ายการแชทหรืออีเมลด้วย 
2. Customer Segments = แบ่งออกได้เป็น กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Internet Users (หรือผู้ใช้ทั่วไป) Advertisers and Marketers (นักโฆษณา นักการตลาด องค์กรและเจ้าของธุรกิจที่ซื้อพื้นที่โฆษณาในFacebook) และ Developers (นักพัฒนาแอพลิเคชั่น เกม และควิซต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับ Facebook)
3. Channels =  ยุคแรกสุด Facebook ประชาสัมพันธ์บริการนี้ผ่านทางอีเมล แต่เมื่อธุรกิจเติบโตขยายใหญ่ขึ้นจึงเริ่มซื้อสื่อโฆษณาทั้งในเว็บไซต์และโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ  
4. Customer Relationship = เน้น Network effect ที่กระตุ้นให้ผู้ใช้แชร์เรื่องราวกันมากๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับธุรกิจ นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถรายงาน (report) สิ่งที่ไม่เหมาะสมกลับมายังทีมงานของ Facebook ได้
5. Revenue Stream =  ไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ แต่สร้างรายได้จากผู้ที่มาลงโฆษณา และค่าธรรมเนียมจากการชำระเงินบนแอพลิเคชั่นต่างๆ
6. Key Resources =  เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครือข่ายเซิรฟ์เวอร์ขนาดยักษ์ที่ตั้งอยู่ในอาคารหลังมหึมาของ Facebook รวมทั้งกองทัพ Developer นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และพนักงานด้านต่างๆ อีกนับหมื่นชีวิต
7. Key Activities =  การพัฒนาระบบและ Interface ให้ดีขึ้นและใช้ง่ายขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังที่มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เคยพูดไว้ว่า Facebook เป็นงานที่ไม่มีวันเสร็จ” นอกจากนั้นยังรวมถึงการดูแลระบบให้ทำงานอย่างราบรื่นด้วย
8. Key Partners = เจ้าของเนื้อหาหรือ Content partners ที่ใช้ Facebook แชร์บทความและคลิปต่างๆเพื่อดึงคนไปที่เว็บไซต์ของตัวเอง รวมไปถึงผู้พัฒนาและนักธุรกิจผู้ผลิตเกมหรือควิซต่างๆ ด้วย
9. Cost Structure  =  ค่าเซิฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์ ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนา ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารทั่วไปอื่นๆ

สามตัวอย่างจากธุรกิจทั้งสามไซส์นี้ น่าจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ ‘ธุรกิจบริการ’ จากมุมมองของ Business Model Canvas ได้ดีขึ้น  ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อร่างแผนธุรกิจใหม่ หรือเพื่อพิจารณาวิเคราะห์สถานะของธุรกิจเดิมให้รอบด้าน และมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

เครดิตภาพและข้อมูล 
incquity.com  
asuradech.com 
vitrifolk.be 
www.pennlive.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น