วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ผนังกั้นแม่น้ำเทมส์ (Thames Barrier)

สวัสดีครับเพื่อนๆ เหตุภัยภิบัติจากธรรมชาติ ณ ปัจจุบันเป็นอะไรที่เหนือความคาดการณ์  เพราะสภาวะโลกเปลี่ยนไปอย่างมาก มีปัจจัยแปรผันมากมาย  จนบางเรื่องเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะประเมินความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่กำลังจะเกิด  เหตุการณ์หนึ่งในอดีตของอังกฤษ และเนเธอแลนด์ ที่ต้องเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่ในครั้งนั้น  ส่งผลให้นักคิดหลายศาสตร์ระดมความคิดเพื่อที่จะหาทางป้องกัน  และในที่สุดจึงได้สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ที่มีชื่อว่า Thames Barrier ซึ่ง ณ ปัจจุบันมัีนก็ยังคงสามารถปกป้องภัยธรรมชาติให้กับประชากรของอังกฤษได้อย่างดี
ย้อนกลับไปในช่วงเกิดอุทกภัยทะเลเหนือ อังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วย วันที่ 31 มกราคม ปี พ.ศ. 2496 พายุที่ถล่มใส่ชายฝั่งตะวันออกของอังกฤษทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเทมส์ล้นทะลักเข้าท่วมพื้นที่สองฟากฝั่งริมแม่น้ำกินบริเวณกว้างกว่า 600 ตารางกิโลเมตร คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 300 ราย สร้างความเสียหายพื้นที่เกษตรและเขย่าขวัญคนในพื้นชั้นนำของมหานครแห่งนี้เนื่องจากมีช่องทางการอพยพจากภัยพิบัติค่อนข้างแคบและจำกัด  ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติเลวร้ายที่สุดในพื้นที่ตอนเหนือของยุโรปในรอบกว่า 200 ปี
ภัยพิบัติครั้งนั้นได้เผยให้เห็นว่า คันกั้นน้ำตามแนวชายฝั่งไม่เพียงพอที่จะปกป้องอังกฤษให้รอดพ้นจากภัยน้ำท่วม นั่นนำไปสู่การปรับปรุงระบบการป้องกันน้ำทะเลท่วมทะลักครั้งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ และเป็นที่มาของ 'Thames Barrier' กำแพงกั้นน้ำทะเลรูปทรงกลมมนแปลกตามีเอกลักษณ์เฉพาะ 10 อันเรียงรายต่อกันเป็นประตูน้ำที่มีระยะห่างจากกันพอประมาณยาว 520 กิโลเมตร ที่วูลวิช รีช  ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2527 และเปิดดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพ ผนังกั้นแม่น้ำ Themes กันน้ำท่วม


ภาพน้ำท่วมประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2496

ภาพจำลองเหตุการณ์หากน้ำท่วมกรุงลอนดอน
ผนังป้องกันน้ำท่วมแม่น้ำเทมส์ (Thames Barrier) จัดเป็นผนังกันน้ำท่วมที่เคลื่อนได้ขนาดที่ใหญ่เป็นที่สองของโลก โดยอันดับหนึ่ง คือOosterscheldekering ในประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) ผนังกั้นน้ำนี้อยู่ตรงท้ายสุดของลอนดอนตอนกลาง (Central London) หน้าที่ของมันคือการควบคุมน้ำท่วมที่เป็นผลจากน้ำทะเลหนุนสูงเมื่อประสมกับพายะแรงจัด(high tides and storm surgesในทะเลเหนือ ผนังกั้นน้ำนี้จะยกขึ้นสูงเมื่อน้ำขึ้นสูง และเมื่อน้ำลง ก็จะปรับระดับลงตาม ปล่อยให้น้ำไหลออกจากแม่น้ำสู่ทะเลตามปกติ

แม้เวลาจะผ่านไปเกือบ 40 ปี  แต่ถือว่าการลงทุนครั้งนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก  เป็นประโยชน์อย่างคุ้มค่าจริงๆ เราก็ได้แต่หวังว่าสักวันรัฐบาลบ้านเรา  จะเริ่มลงมือศึกษาอย่างจริงจังและจับมือกันฝ่าฟันอุปสรรคจากทั้งนักวิชาการและนักการเมือง  ก่อเกิดสิ่งดีๆ ให้กับประเทศไทย  แล้วพบกันใหม่ครับ....mata
เรียบเรียงโดย  พรชัย  สังเวียนวงศ์  (mata)
ขอบคุณภาพประกอบ http://news.bbc.co.uk , http://http://www.davidmixner.com/2012/11/history-on-film-the-great-dutch-north-sea-storm-of-1953.html,  http://www.literarynorfolk.co.uk/sea_palling.htm
ขอบคุณ คลิป  http://www.youtube.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น