การทำธุรกิจครอบครัวนั้น จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย เพราะเป็นธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าธุรกิจแบบทั่วไปเช่นความรวดเร็วในการตัดสินใจ หรือการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วย่อมทำได้ดีและคล่องตัวกว่า ในขณะที่ความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ หรือเงินทุนในการขยายกิจการ และอีกหลายๆเรื่อง ก็ยังคงเป็นความท้าทายกับทุกธุรกิจครอบครัวมาตลอด
1 แยกแยะให้ออก
เมื่อมาถึงเรื่องธุรกิจ ก็ต้องเอาเรื่องธุรกิจนำ จะมายึดถือว่าพ่อแม่ต้องถูกเสมอ หรือพี่เสียงดังกว่าน้องไม่ได้ สมาขิกในครอบครัวควรแยกแยะให้ได้ว่านี่ไม่ใช่การคุยเรื่องภายในครอบครัว ถอดหมวกความเป็นพ่อแม่แม่พี่น้อง แล้วสวมหมวกของมืออาชีพแทน เพื่อให้การทำงานออกมาได้ผลลัพธ์ตามที่วางไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม
2 จ้างคนนอก
งานบางหน้าที่ที่สมาชิกในครอบครัวไม่มีความถนัด ให้เปิดใจจ้างคนนอกมาร่วมงาน และการเปิดใจก็ต้องเปิดให้หมด ไม่ใช่ให้เค้ามาทำแล้วยังคอยคุมหรือกำหนดไปทุกอย่าง เพราะถ้าเป็นแบบนี้คงไม่มีใครทนไหว
3 ความเห็นไม่ลงรอย
ความเห็นและแนวทางการทำงานที่ไม่ตรงกัน ปกติก็ทำให้การทำงานยากอยู่แล้ว และจะยิ่งยากขึ้นถ้าเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการธุรกิจครอบครัว ที่มีความสัมพันธ์ 2 อย่างทับซ้อนกันอยู่ การมุ่งเน้นที่เป้าหมายจึงเป็นทางออกที่สมเหตุสมผลที่สุด และแต่ละการตัดสินใจนั้นต้องมอบหมายให้ผู้ที่มีความถัดหรือดูแลงานในส่วนนั้นเป็นผู้ตัดสินใจ และสมาชิกครอบครัวคนอื่นควรยอมรับการตัดสินใจนั้น ผิดถูกให้ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน
4 มือไม่ถึง
สมาชิกบางคนอาจไม่มีความสนใจจะมาทำงานในธุรกิจของครอบครัว เพราะไม่ใช่สิ่งที่สนใจ แต่สุดท้ายต้องมารับผิดชอบเพราะเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมา เมื่อเข้ามาทำจึงกลายเป็นคนที่ "มือไม่ถึง" ในสายตาคนทั่วไป ทางออกคือให้สมาชิกคนนั้นทดลองงานในหน้าที่ต่างๆไปจนครบและหาจุดที่ลงตัวที่สุด แล้วเริ่มทุกอย่างจากตรงนั้น
5 วางตัวผู้สืบทอด
การกำหนดตัวผู้สืบทอดต้องทำล่วงหน้า ยิ่งนานเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาและคำนึงถึงเช่น แรงเสียดทานของผู้ถูกวางตัวต่อการรับมือกับสายตาและความคาดหวังจากทุกคนในองค์กร ความรู้ความสามารถและความพร้อมของผู้สืบทอด รวมไปถึงเป้าหมายของครอบครัวคืออะไร และผู้วางมือจะไปทำอะไรต่อหลังจากปล่อยมือแล้ว เรื่องเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเตรียมการนานกว่าที่ใครคิด
6 เขย-สะใภ้ไม่เกี่ยว
ว่ากันว่า คู่ครองนั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรื่องต่างๆในชีวิตอย่างมาก และถ้าคุณเป็นคนนึงที่กำลังทำธุรกิจครอบครัวของคุณเองอยู่แล้ว คุณก็ไม่ควรเอาคู่ครองเข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจครอบครัวให้มันยุ่งขึ้นไปอีก เพราะลำพังในธุรกิจครอบครัวเอง คุณต้องบริหารความสัมพันธ์ 2 แบบอยู่แล้ว คือความสัมพันธ์ของสมาชิกครอบครัวและความสัมพันธ์ด้านการทำงาน แค่นี้ก็น่าจะยากพอแล้ว ถ้าขืนไปเอาคู่ครองเข้ามาร่วมด้วยอีก คราวนี้จะหนักไปกว่าเดิม
แต่ถ้าใครอยากเรียนรู้การทำธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ผ่านประสบการณ์ของผู้ที่ทำจริง เจ็บจริง และสำเร็จจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น