วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

10 กฎเหล็ก สร้างธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างร้อยล้าน by Builk

10 กฎเหล็ก สร้างธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างร้อยล้าน (ตอนที่ 2)
แต่ละปีมีคนจดทะเบียนธุรกิจรับเหมา ในประเทศไทยหลายหมื่นราย ที่ล้มหายตายจากไปก็มาก แต่ยังมีบางกิจการที่ สร้างธุรกิจรับเหมา ให้เติบโตจนมีรายได้เป็นร้อยล้านในเวลาเพียงไม่กี่ปี
        หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่บิลค์ก่อตั้งขึ้น บิลค์ทีมได้คุยกับผู้รับเหมาเป็นพันราย เห็นการเติบโตของเพื่อนๆ ตั้งแต่เริ่ม สร้างธุรกิจรับเหมา จนขยับขยายเติบโต พอมีโอกาสนั่งคุยกับผู้รับเหมาที่ประสบความสำเร็จ พบว่ามีหลายอย่างที่พูดตรงกันจนน่าจะรวบรวมเป็น ข้อคิดให้กับผู้เริ่มต้นสร้างธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และผู้รับเหมาที่ต้องการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง
        ครั้งหน้าเราจะมีอะไรดีๆมาฝาก ขอให้ติดตามกันค่ะ ใครเกรงจะพลาด สมัครสมาชิกด้านล่างไว้ก่อน เพราะมีทั้งข่าวคราวอัพเดทสำหรับธุรกิจก่อสร้าง ข่าวกิจกรรมให้ผู้รับเหมา สำรวจราคาวัสดุก่อสร้าง โปรโมชั่นวัสดุก่อสร้างราคาถูกจากโรงงาน บทสัมภาษณ์ผู้รับเหมาตัวอย่าง ที่จะส่งให้ทางอีเมลล์ต่อเนื่อง

10 กฎเหล็ก สร้างธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างร้อยล้าน

6. รักษาความสัมพันธ์ซัพพลายเออร์

เราควรมองซัพพลายเออร์ในฐานะหุ้นส่วนที่ช่วย สร้างธุรกิจรับเหมา ของเราให้เติบโต 
        ซัพพลายเออร์ช่วยให้งานสำเร็จ ลดต้นทุน ได้เหมือนกันนะคะ วัสดุแต่ละอย่างมันมีเทคนิคการซื้อของมันอยู่ ซึ่งคนขายของเก่งๆเค้าจะรู้ดี อย่างเช่น ซื้อเหล็กยังไงให้ได้ราคาถู
        ถ้าเราโชคดีเจอซัพพลายเออร์ที่ดี ช่วยเราวางแผนจัดหาวัสดุให้ได้ราคาต่ำ จัดส่งให้ตามเวลาไม่ทำให้หน้างานสะดุด ขอให้จับมือคบหาไว้ยาวๆเลย รักษาความสัมพันธ์กันให้ดี ให้เกียรติ ไม่เอาเปรียบกันและกัน (พยายาม)จ่ายให้เงินตรง เมื่อเราทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างเข้าขา ทางนู้นก็อยากจะช่วยเราในฐานะลูกค้าที่ดี มีส่วนลดพิเศษ ราคาคุยกันได้ เพราะเค้าก็ไม่อยากเสียเราไปแน่ๆ บางคนเดินเข้าร้านแทบจะมีพรมแดงปูต้อนรับเลยล่ะ

7. ดูแลคนงาน และผู้รับเหมาช่วง

เรื่องปวดหัวอีกเรื่องของเราคือเรื่องแรงงานใช่มั้ยคะ ดังนั้น อย่าละเลยเรื่องพื้นฐานอย่าง จ่ายเงินตรง ดูแลสวัสดิการความเป็นอยู่ให้เหมาะสม
        ปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรอีกอย่างคือ แรงงานฝีมือ หลายทีเราฝึกคนให้เก่งมากับมือหรือส่งไปฝึกงานให้มีฝีมือมากขึ้น หวังจะให้ช่วยกันทำงานให้ดี สุดท้ายปรากฎว่า เก่งแล้วออกไปทำที่อื่น ..งงเลยทีนี้ องกลับมามองว่า ทำไมช่างฝีมือถึงไม่ทำงานกับเราต่อ เค้าได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมหรือเปล่า? อาจพร้อมพอจะขยับเป็นหัวหน้างาน หรือแม้แต่รับงานเฉพาะส่วนของเราเป็นผู้รับเหมาช่วงได้แล้ว เพราะบางคนอาจจะอยาก สร้างธุรกิจรับเหมา เหมือนกัน
     “เงินเดือนออก ต้องออก สำคัญที่สุดเลยคือแรงงาน ให้เค้ากินอิ่มนอนอุ่น ถ้าเกิดไม่มีเค้ามันก็ไม่มีเรา” คุณพัฒนา อินสำราญ จาก ชโยโฮมรับสร้างบ้านย้ำกับเราไว้ อ่านบทสัมภาษณ์ต่อที่นี่

8. ลงทุนกับสินทรัพย์

สินทรัพย์ที่ว่าคือ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง สโตร์ แคมป์คนงาน หรือ อะไรก็ตามที่เรา “ลงทุนซื้อ” แล้วได้ประโยชน์จากมันมากกว่า “เช่า″ หรือ “ไม่มีใช้” หลักๆที่ควรพิจารณาก่อนลงทุนคือ “เปรียบเทียบต้นทุน ระหว่างซื้อกับเช่า″ และ “ประสิทธิภาพการทำงาน”
        บทความคราวหน้า บิลค์ทีมจะมีคำแนะนำสำหรับการตัดสินใจว่า “ซื้อหรือเช่าดี?” สมัครสมาชิกติดตามบทความที่นี่ค่ะ 
        พอมีเครื่องมือทำให้งานไปไวด้วยนะคะ เพราะพร้อมให้หยิบจับมาใช้ได้ตลอด พองานไว ทุนก็ลด หรืออาจทำให้คุณภาพผลงานสูงขึ้นเพราะเครื่องมือดี ในชีวิตจริงบางทีกระบี่ก็ไม่ได้อยู่ที่ใจไปซะทุกอย่าง มีอาวุธดีถนัดมือ ผลงานก็ดี แข่งขันกับรายอื่นได้ แต่อย่าลืมคิดว่าหลังจากลงทุนแล้วมีค่าใช้จ่ายอะไรตามมาด้วยนะคะ การลงทุนมีความเสี่ยง

9. คุมเวลางานให้ได้ตามแผน เร็วกว่าแผนยิ่งดี

หลายคนบอก ลูกค้าชื่นชมที่งานเสร็จไวถึงกับเอาไปบอกต่อ นอกจากลูกค้าจะชอบแล้ว พองานเสร็จตามแผนเราก็โยกคนงาน โยกเครื่องจักรไปทำไซท์อื่นได้ ยิ่งถ้างานเสร็จก่อนแผน ยิ่งรับงานได้เพิ่ม 
        ว่าแต่ว่า วางแผนอะไร อย่างไร ใครเป็นคนทำ?
        วางแผนงานก่อสร้างตั้งแต่ช่วง Pre-Construction และ ติดตามผลงานให้ได้ตามแผนด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่วิศวกรหน้างานต้องลงไปส่องดูรายละเอียด ดูประสิทธิภาพทำให้งานเร็วขึ้น ดูคุณภาพงานให้จบงานได้ในครั้งเดียวแบบไม่ต้องเก็บงาน เรื่องที่ผู้บริหารพอจะช่วยวิศวกรได้คือ ลดเวลางานเอกสารของวิศวกร ให้เค้ามีเวลาหน้างานเยอะๆ ทำเรื่องที่เค้าถนัด ดีกว่าให้นั่งทำเอกสารอยู่ที่ออฟฟิส “
        “มีแผนทำให้งานกระชับขึ้น” คุณพัฒนา อินสำราญ BUILK Pro Network แนะไว้

10. บริการลูกค้า

ธุรกิจรับเหมาคือธุรกิจบริการ ที่ผู้รับบริการ (เจ้าของโครงการ) อยู่ใกล้ชิดกับผู้ให้บริการ (ผู้รับเหมา) นานเป็นเดือนๆ ปีๆ และสินค้าที่ส่งมอบ (สิ่งปลูกสร้าง) ก็จะอยู่กับลูกค้าต่อไปอีกนาน
        การบริการลูกค้าที่ดี ต้องมีการสื่อสารอย่างจริงใจ ปฏิบัติตามข้อตกลง และสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน
        ถ้าเริ่มต้นดีตามกฎข้อที่ 1 คือได้ลูกค้าที่ดีมาแล้ว ต่อไปต้องรักษาไว้ด้วยบริการที่ดีตลอดระยะเวลาก่อสร้าง ทำงานได้ตามเป้าหมาย ส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา เท่านี้เราก็มีโอกาสได้งานต่อเนื่อง หรือได้รับงานจากการแนะนำของลูกค้าเดิม

กฎ 10 ข้อนี้เป็นเรื่องพื้นๆ ที่ผู้รับเหมาเราก็รู้กันอยู่แล้ว จริงมั้ยคะ?

แต่จะทำข้อไหนเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และกลยุทธ์ของการ สร้างธุรกิจรับเหมา ของแต่ละคน ไม่มีผิดไม่มีถูกนะคะ สำคัญที่ลูกค้าจ่ายตรง เราจะได้ไม่ต้องปวดหัวเรื่องเงิน แล้วโฟกัสแต่เรื่องงานก่อสร้างเท่านั้น เมื่อทำงานอย่างมีกำไร ก็ สร้างธุรกิจรับเหมา ให้เติบโตเป็นผู้รับเหมาร้อยล้านได้ไม่ยากหรอกค่ะ

แล้วกฎเหล็กของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของคุณคืออะไร?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น