updated: 04 มิ.ย. 2558 เวลา 15:56:56 น.
ศูนย์โรคหัวใจ 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลเจ้าพระยา
พร้อมให้บริการทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
ด้วยนวัตกรรมล้าสุด..โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็น 1 ใน 3 สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในประเทศไทย สลับกับอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมี 4 ปัจจัยสำคัญได้แก่ โรคเบาหวาน,
โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเส้นเลือดสูง และการสูบบุหรี่
โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพชนิดย่อยสลายได้ เป็นนวัตกรรมล่าสุดช่วยรักษาภาวะตีบของหลอดเลือด โดยที่ไม่มีสิ่งใดเหลือค้างอยู่ในร่างกาย เมื่อไม่มีขดลวดคาอยู่ในหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดกลับคืนสู่ภาวะปกติสามารถหดและคลายตัวได้อีกครั้ง
สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับคือ
• ไม่มีสิ่งแปลกปลอมหลงเหลืออยู่ในร่างกาย
• ส่งผลดีในระยะยาวต่อโรคเส้นเลือดหัวใจ
• ส่งผลดีในระยะยาวต่อสุขภาพหัวใจ
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีการรักษาหลักๆ คือ
• การรักษาด้วยยา
• การทำบายพาสหลอดเลือด
• การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนเป็นการรักษาด้วยการใส่ลูกโป่งบอนลูนเพื่อขยายหลอดเลือดเพียงอย่างเดียว ปัญหาที่เกิดคือเส้นเลือดอาจฉีกปริขาดแตกทำให้ผู้ป่วยต้องไปผ่าตัดต่อเส้นเลือดฉุกเฉินหรือบางรายแม้หลอดเลือดไม่ฉีกปริขาดแต่ก็อาจเกิดแผลเป็นในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดกลับมาตีบซ้ำถึงร้อยละ30-60
ต่อมาจึงมีการผลิต “โครงลวด” ทำจากโลหะสเตนเลสสตีล เพื่อค้ำยันหลอดเลือหัวใจตีบเอาไว้ไม่ให้หลอดเลือดตีบและไม่ให้เกิดแผลเป็นจนกลับมาตีบซ้ำ อย่างไรก็ตามยังมีอุบัติการณ์ของการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจหลังจากใส่โครงลวดค้ำยันอยู่ถึงร้อยละ 16-44 ต่อจากนั้นก็ได้มีการผลิต “โครงลวดค้ำยันหลอดเลือดชนิดเคลือบยา” เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดอุบัติการณ์เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจได้เหลือร้อยละ 0-16
ปัจจุบันนับเป็นข่าวดีที่ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย “โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพ ชนิดย่อยสลายได้” โดยทำจากวัสดุโพลีแลคไตล์ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในไหมละลาย สามารถหด คลาดตัว เคลื่อนไหวได้เหมือนกับหลอดเลือดปกติ ซึ่งมีข้อดีหลายประการ เช่น ผู้ป่วยไม่ต้องกินยาต้านเกร็ดเลือดหลังจากทำการรักษาเป็นเวลานาน เนื่องจากหลังจากการขยายหลอดเลือดด้วยโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพ ภายใน 2 ปีก็จะสลายไป จึงไม่ต้องกังวลหลังจากหยุดยาต้านเกร็ดเลือดแล้วจะเกิดปัญหาการเกิดลิ่มเลือดอุดตันภายในขดลวด(Stent thrombosis)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น