updated: 20 มิ.ย. 2558 เวลา 12:00:51 น.
หลายคนอาจพอทราบกันมาบ้างแล้วว่า การแสวงหาพลังงานสะอาดแหล่งใหม่อย่าง เช่น "พลังงานความร้อนใต้พิภพ" เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานหลักของประเทศไทยมีข้อจำกัดอยู่มาก แต่ทำไมพลังงานชนิดนี้จึงยังอยู่ในความสนใจของบริษัทผู้ประกอบธุรกิจพลังงานในประเทศไทย ?
เพื่อให้เข้าใจถึงคำตอบนี้ จึงขอยก บมจ.บางจากฯ ซึ่งมีแผนในเชิงรุกในการหาแหล่งผลิตพลังงานดังกล่าว จากทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเป็นระบบมากที่สุดแห่งหนึ่ง ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา
รายละเอียดทั้งหมดนี้ มาจากการเดินทางในช่วงวันที่ 26 พ.ค.-2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง "คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และทีมงาน บมจ.บางจากฯ ได้นำคณะสื่อมวลชนไปศึกษาดูงานด้านการผลิตพลังงานความร้อนจากใต้พิภพ (Geothermal Energy) ที่โรงไฟฟ้า Wairakei ซึ่งมีกำลังการผลิต 132 เมกะวัตต์ และ Te Mihi มีกำลังการผลิต 166 เมกะวัตต์ ที่เมืองเตาโปของบริษัท Contact Energy Limited ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้าอันดับ 2 ของนิวซีแลนด์
ทั้งนี้ ตัวแทนของ Contact Energy Limited ได้อธิบายการสร้างความร้อนจากแหล่ง "พลังงานใต้พิภพ" ให้ฟังว่าบริษัทได้ขุดเจาะผิวดินลึก 400-500 เมตร หรือลึกได้สูงสุด 5 กิโลเมตร เพื่อนำของเหลวที่มีอุณหภูมิ 200-300 องศาขึ้นมา แล้วส่งเข้าโรงแยก (Separation Plant)
สิ่งที่ได้รับนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก คือ "ของเหลวที่มีความหนัก" ประกอบด้วยน้ำและซิลิก้าที่จะตกตะกอนออกมา ส่วนที่ 2 คือ "ไอน้ำ" ซึ่งเป็นส่วนที่จะนำมาใช้งาน โดยโรงแยกจะมีท่อเสียบ เพื่อดึงเอาไอน้ำเข้ามารวมกัน และปั่นเป็นกระแสไฟฟ้า หลังจากใช้เสร็จโดยไอน้ำกลั่นตัวเป็นน้ำจนเหลืออุณภูมิราว 50 องศาเซลเซียส ก็ฉีดกลับเข้าไปใต้ดินใหม่
"พลังงานความร้อนใต้พิภพ" มีจุดเด่นในด้านต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงนัก โดย"คุณชัยวัฒน์" ระบุว่า โครงการประเภทนี้จะมีค่าการก่อสร้างประมาณ 3-5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อโครงการ หลังจากนั้นมีเพียงต้นทุนด้านการแยกสารจากใต้ดิน ค่าบำบัดน้ำ และการฉีดกลับใต้ดิน ถือเป็นต้นทุนที่ต่ำมาก อีกทั้งพลังงานชนิดนี้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการเผา จึงไม่มีฟอสซิล รวมถึงของเสียที่ทำลายชุมชน และจากข้อดีทั้งหมดนี้ จึงทำให้ "พลังงานความร้อนใต้พิภพ" เปรียบเสมือน "ขุมทรัพย์ด้านพลังงาน" ที่น่าสนอย่างมาก
เพียงแต่พลังงานชนิดนี้กลับไม่ได้มีอยู่มากในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณแนว "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring Of Fire) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสะสมพลังงานความร้อนใต้พิภพ ทำให้มีแหล่งความร้อนชนิดนี้ค่อนข้างน้อย เช่น จ.ลำปาง และระนอง ฯลฯ โดยแต่ละแห่งที่พบมีอุณหภูมิไม่สูงเพียงพอประมาณ 60-80 องศาเซลเซียส และอาจมีแรงดันไม่มาก จึงส่งผลให้การทำโครงการในลักษณะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากในประเทศไทย
บมจ.บางจากฯ กลับมีความเห็นว่า ข้อจำกัดด้านการ "ขาดแคลนแหล่งพลังงาน" ในประเทศไม่ใช่อุปสรรคที่จะแสวงหารายได้จากพลังงานสะอาดชนิดนี้ จึงได้เตรียมแผนการลงทุน 6 ปี (2558-2563) ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และธุรกิจพลังงานทดแทน (Green Power Plant) ทั้งในและต่างประเทศ
โดยจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตปิโตรเลียมให้ได้ 20,000 บาร์เรลต่อวัน และขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ ชีวมวล ธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานความร้อนจากใต้พิภพ ฯลฯ เพิ่มเป็น 500 เมกะวัตต์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ
หากเจาะลึกเฉพาะในส่วนของกลยุทธ์การแสวงหาแหล่ง "พลังงานใต้พิภพ" ของ บมจ.บางจากฯ จะแบ่งเป็น "การหาสำรวจแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเสรีการค้าอาเซียน" (เออีซี) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียด้านฝั่งตะวันออก และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ และ "การมองหาพันธมิตรที่มีศักยภาพในกลุ่มประเทศอื่น ๆ"
ทั้งนี้ ระหว่างที่ลงทุนและผลิตพลังงาน บมจ.บางจากฯจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ในอนาคต
"บางจากตั้งเป้าว่า เมื่อเปิดเออีซีการลงทุนเพื่อนบ้านเหมือนลงทุนในประเทศ ดังนั้น ภายใน 3 ปี ถ้าเราออกไปหาแหล่งผลิตความร้อนใต้พิภพจากต่างประเทศได้ประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ ถือว่าถึงระดับที่น่าพึงพอใจแล้ว เพราะปัจจุบันเรายังไม่มีกำลังการผลิตด้านนี้เลย และหวังต่อไปว่าเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาได้ดีขึ้น จะสามารถนำมาปรับใช้กับแหล่งผลิตในประเทศไทยได้ เพราะข้อดีของพลังงานชนิดนี้มีความยั่งยืนสูง และมีต้นทุนการผลิตต่ำในระยะยาว ถ้าหากลงทุนผลตอบแทนจากโครงการ (IRR) ไม่ต่ำกว่า 12-15% หรืออาจจะดีกว่านี้ด้วย ดังนั้น พลังงานชนิดนี้จึงถือว่าน่าสนใจอย่างมาก"
แม้วันนี้ "พลังงานความร้อนใต้พิภพ" จะไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศไทย แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตพลังงานสะอาดชนิดนี้ อาจกลายเป็นคำตอบของแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน และเป็นหนึ่งในสายธุรกิจที่สร้างรายได้-กำไร อย่างมีนัยสำคัญให้แก่บริษัทผู้ผลิตพลังงานก็เป็นได้ เหมือนกับที่บมจ.บางจากกำลังมองธุรกิจนี้อยู่
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
เพื่อให้เข้าใจถึงคำตอบนี้ จึงขอยก บมจ.บางจากฯ ซึ่งมีแผนในเชิงรุกในการหาแหล่งผลิตพลังงานดังกล่าว จากทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเป็นระบบมากที่สุดแห่งหนึ่ง ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา
รายละเอียดทั้งหมดนี้ มาจากการเดินทางในช่วงวันที่ 26 พ.ค.-2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง "คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และทีมงาน บมจ.บางจากฯ ได้นำคณะสื่อมวลชนไปศึกษาดูงานด้านการผลิตพลังงานความร้อนจากใต้พิภพ (Geothermal Energy) ที่โรงไฟฟ้า Wairakei ซึ่งมีกำลังการผลิต 132 เมกะวัตต์ และ Te Mihi มีกำลังการผลิต 166 เมกะวัตต์ ที่เมืองเตาโปของบริษัท Contact Energy Limited ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้าอันดับ 2 ของนิวซีแลนด์
ทั้งนี้ ตัวแทนของ Contact Energy Limited ได้อธิบายการสร้างความร้อนจากแหล่ง "พลังงานใต้พิภพ" ให้ฟังว่าบริษัทได้ขุดเจาะผิวดินลึก 400-500 เมตร หรือลึกได้สูงสุด 5 กิโลเมตร เพื่อนำของเหลวที่มีอุณหภูมิ 200-300 องศาขึ้นมา แล้วส่งเข้าโรงแยก (Separation Plant)
สิ่งที่ได้รับนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก คือ "ของเหลวที่มีความหนัก" ประกอบด้วยน้ำและซิลิก้าที่จะตกตะกอนออกมา ส่วนที่ 2 คือ "ไอน้ำ" ซึ่งเป็นส่วนที่จะนำมาใช้งาน โดยโรงแยกจะมีท่อเสียบ เพื่อดึงเอาไอน้ำเข้ามารวมกัน และปั่นเป็นกระแสไฟฟ้า หลังจากใช้เสร็จโดยไอน้ำกลั่นตัวเป็นน้ำจนเหลืออุณภูมิราว 50 องศาเซลเซียส ก็ฉีดกลับเข้าไปใต้ดินใหม่
"พลังงานความร้อนใต้พิภพ" มีจุดเด่นในด้านต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงนัก โดย"คุณชัยวัฒน์" ระบุว่า โครงการประเภทนี้จะมีค่าการก่อสร้างประมาณ 3-5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อโครงการ หลังจากนั้นมีเพียงต้นทุนด้านการแยกสารจากใต้ดิน ค่าบำบัดน้ำ และการฉีดกลับใต้ดิน ถือเป็นต้นทุนที่ต่ำมาก อีกทั้งพลังงานชนิดนี้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการเผา จึงไม่มีฟอสซิล รวมถึงของเสียที่ทำลายชุมชน และจากข้อดีทั้งหมดนี้ จึงทำให้ "พลังงานความร้อนใต้พิภพ" เปรียบเสมือน "ขุมทรัพย์ด้านพลังงาน" ที่น่าสนอย่างมาก
เพียงแต่พลังงานชนิดนี้กลับไม่ได้มีอยู่มากในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณแนว "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring Of Fire) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสะสมพลังงานความร้อนใต้พิภพ ทำให้มีแหล่งความร้อนชนิดนี้ค่อนข้างน้อย เช่น จ.ลำปาง และระนอง ฯลฯ โดยแต่ละแห่งที่พบมีอุณหภูมิไม่สูงเพียงพอประมาณ 60-80 องศาเซลเซียส และอาจมีแรงดันไม่มาก จึงส่งผลให้การทำโครงการในลักษณะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากในประเทศไทย
บมจ.บางจากฯ กลับมีความเห็นว่า ข้อจำกัดด้านการ "ขาดแคลนแหล่งพลังงาน" ในประเทศไม่ใช่อุปสรรคที่จะแสวงหารายได้จากพลังงานสะอาดชนิดนี้ จึงได้เตรียมแผนการลงทุน 6 ปี (2558-2563) ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และธุรกิจพลังงานทดแทน (Green Power Plant) ทั้งในและต่างประเทศ
โดยจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตปิโตรเลียมให้ได้ 20,000 บาร์เรลต่อวัน และขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ ชีวมวล ธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานความร้อนจากใต้พิภพ ฯลฯ เพิ่มเป็น 500 เมกะวัตต์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ
หากเจาะลึกเฉพาะในส่วนของกลยุทธ์การแสวงหาแหล่ง "พลังงานใต้พิภพ" ของ บมจ.บางจากฯ จะแบ่งเป็น "การหาสำรวจแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเสรีการค้าอาเซียน" (เออีซี) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียด้านฝั่งตะวันออก และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ และ "การมองหาพันธมิตรที่มีศักยภาพในกลุ่มประเทศอื่น ๆ"
ทั้งนี้ ระหว่างที่ลงทุนและผลิตพลังงาน บมจ.บางจากฯจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ในอนาคต
"บางจากตั้งเป้าว่า เมื่อเปิดเออีซีการลงทุนเพื่อนบ้านเหมือนลงทุนในประเทศ ดังนั้น ภายใน 3 ปี ถ้าเราออกไปหาแหล่งผลิตความร้อนใต้พิภพจากต่างประเทศได้ประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ ถือว่าถึงระดับที่น่าพึงพอใจแล้ว เพราะปัจจุบันเรายังไม่มีกำลังการผลิตด้านนี้เลย และหวังต่อไปว่าเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาได้ดีขึ้น จะสามารถนำมาปรับใช้กับแหล่งผลิตในประเทศไทยได้ เพราะข้อดีของพลังงานชนิดนี้มีความยั่งยืนสูง และมีต้นทุนการผลิตต่ำในระยะยาว ถ้าหากลงทุนผลตอบแทนจากโครงการ (IRR) ไม่ต่ำกว่า 12-15% หรืออาจจะดีกว่านี้ด้วย ดังนั้น พลังงานชนิดนี้จึงถือว่าน่าสนใจอย่างมาก"
แม้วันนี้ "พลังงานความร้อนใต้พิภพ" จะไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศไทย แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตพลังงานสะอาดชนิดนี้ อาจกลายเป็นคำตอบของแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน และเป็นหนึ่งในสายธุรกิจที่สร้างรายได้-กำไร อย่างมีนัยสำคัญให้แก่บริษัทผู้ผลิตพลังงานก็เป็นได้ เหมือนกับที่บมจ.บางจากกำลังมองธุรกิจนี้อยู่
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น