วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โครงการงานวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุน

วัตถุประสงค์
เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของทางราชการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารของหน่วยงานราชการ ซึ่งปริมาณของเสื้อเกราะกันกระสุนยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานจริง ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าวต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากการที่อุปกรณ์ป้องกันภัยมีไม่เพียงพอและที่มีใช้อยู่ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ

โดยที่ เอ็มเทค และ ม.มหิดล ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการการพัฒนาเกราะแข็งน้ำหนักเบาสำหรับการใช้งานด้านยุทโธปกรณ์ทางทหารในกองทัพไทย (Development of Light Weight Hard Armor for the Royal Thai Military Armory) โดย เอ็มเทค เป็นเจ้าของผลงานวิจัยเกราะคอมโพสิทกันกระสุน และ ม.มหิดล

เป็นเจ้าของผลงานวิจัยการผลิตเส้นใยโพลิเอทีลีนสมบัติเชิงกลสูง โดยที่ พีทีทีพีเอ็ม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลน เสื้อเกราะกันกระสุน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว จึงมีความประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนและการสร้างเครื่องจักรสำหรับการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุน ตลอดจนสนับสนุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงเพื่อผลิตเส้นใยโพลีเอทิลีนที่มีสมบัติเชิงกลสูง เพื่อเป็นการช่วยลดการนำเข้าเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ลักษณะเด่นของผลงานวิจัย   (ผลลัพธ์ของโครงการ)

เสื้อเกราะกันกระสุน จำนวน 100 (หนึ่งร้อย) ชุด ที่ผลิตขึ้นตามโครงการนี้จะมีคุณสมบัติและลักษณะดังนี้
(1)   มีระดับการป้องกันภัยคุกคามของเกราะบุคคลในระดับ III ตามมาตรฐานของ NIJ (National Institute of Justice)
(2)   เสื้อเกราะ 1 ชุด มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัมประกอบด้วยตัวเสื้อ 1 ตัว ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับสรีระของคนไทย และแผ่นสอดแข็งแบบโค้ง 2 แผ่น ขนาด 10 x 12 นิ้ว เพื่อสอดใส่เสื้อด้านหน้าและด้านหลัง
(3)   แผ่นสอดแข็งประกอบด้วยแผ่นกระจายแรงที่ทำหน้าที่ทำลายหัวกระสุนและแผ่นดูดซับแรงที่เป็นแผ่นโพลีเอทิลีนคอมโพสิทที่ทำหน้าที่กระจายแรงและลดแรงปะทะเพื่อลดการบาดเจ็บต่อร่างกาย

(4)  เสื้อเกราะกันกระสุนทุกชุดจะมีตราสัญลักษณ์และ/หรือโลโก้ของ พีทีทีพีเอ็ม (โดยมีรูปแบบตามแต่ที่ พีทีทีพีเอ็ม จะกำหนด) ติดอยู่บนเสื้อเกราะกันกระสุนในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
เป็นการต่อยอดโครงการร่วมวิจัยการพัฒนาเกราะแข็งน้ำหนักเบาสำหรับการใช้งานด้านยุทโธปกรณ์ทางทหารในกองทัพไทย ที่มีสิทธิบัตร “เกราะคอมโพสิทกันกระสุน” คำขอเลขที่ 0701003760 และองค์ความรู้ด้านโพลีเมอร์คอมโพสิทของมหิดล

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ  (ผลกระทบ)
ลดการนำเข้าเกราะจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่า 4,000,000 บาท

ต้นแบบเสื้อเกราะกันกระสุน ที่ป้องกันความคุกคามได้ระดับ III
ตามมาตรฐานของ NIJ (National Institute of Justice)
- See more at: http://www.most.go.th/main/index.php/flagship/116-nstda/1579-research-projects-gear.html#sthash.Gwnlz0D3.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น