วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เยอรมนีช็อกโลกประกาศปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2022 โดย Energy Saving วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 14 พ.ย. ว่า นางอังกีล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี สร้างความแปลกใจให้กับคนทั่วโลกด้วยการประกาศว่าจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 18 แห่งทั่วประเทศซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นจำนวน 28% ของประเทศระหว่างปี 2015 - 2022 เพื่อป้องกันภัยพิบัตินิวเคลียร์เหมือนที่เกิดขึ้นที่ฟุกุชิมะเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ประเทศเยอรมนีได้ปิดโรงไฟฟ้าไปแล้ว 8 แห่ง แต่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสูง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในกรุงเบอร์ลินกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อหาแนวทางการผลิตพลังงานมาทดแทนส่วนนี้ ก่อนที่เมืองหลวงของประเทศจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะไฟดับทั้งเมือง หรือต้องเสียเงินเพื่อนำเข้าพลังงานจำนวนมาก
ขณะเดียวกันธนาคารหลักของประเทศ ถูกสั่งให้เตรียมงบประมาณสำหรับการลงทุนในการดำเนินโครงการด้านพลังงานหมุนเวียนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในประเทศเป็นจำนวนเงิน 137,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งรัฐบาลของเยอรมนีได้ประกาศว่า นอกจากจะเป็นการทำเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว ยังจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 12 แห่งเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานด้านการพลังงานของประเทศในอนาคตอีกด้วย
โครงการนี้ค่อนข้างขัดต่อความหวังของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ที่เชื่อว่าเยอรมนีมีโอกาสที่จะสร้างประวัติศาสตร์ในการรณรงค์ใช้พลังงานหมุนเวียนมากกว่าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจะปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศค่อนข้างสูง
ปัจจุบันพลังงานทดแทนมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมาทางสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานและผู้บริโภคพลังงานได้ออกมาแสดงความไม่พอใจโดยระบุว่า “ค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นแต่คุณภาพจะลดลง” โดยทางสมาคมฯ ตั้งข้อสังเกตว่าในปีหน้าค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นอย่างน้อย 9%
การปฏิรูปพลังงานดังกล่าวจะช่วยส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เนื่องจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินมีอัตราค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 83 ดอลลาร์สหรัฐฯ / เมกาวัตต์ / ชั่วโมง ส่วนต้นทุนสำหรับการสร้างพลังงานลมเพิ่มขึ้นถึง 50% เป็น 124 ดอลลาร์สหรัฐฯ / เมกาวัตต์ / ชั่วโมง และค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่งเพิ่มเป็น 207 ดอลลาร์สหรัฐฯ / เมกาวัตต์ / ชั่วโมง ในขณะที่พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ก็เพิ่มขึ้นเป็น 268 ดอลลาร์สหรัฐฯ / เมกาวัตต์ / ชั่วโมง ซึ่งถือเป็น 3 เท่าของค่าใช้จ่ายสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เนื้อหาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พลังงานหมุนเวียนมีค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งชาวเยอรมันยอมรับได้และจากการสำรวจของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจภายในประเทศระบุว่า 79% ของชาวเยอรมันมองว่า ค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานใหม่อยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีเพียง 15% เท่านั้นที่มองว่าสูงเกินไป ในขณะที่นายโทเบียส โฮมันน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์แสงอาทิตย์ ได้ให้ความเห็นว่า “โครงการยกเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของประเทศในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับรัฐบาล ซึ่งประเทศเยอรมนีมีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมแห่งแรกที่ใช้พลังงานทดแทนทั้งประเทศ”
 แม้ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายจะเอื้ออำนวยในการดำเนินแผนการด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศเยอรมนีก็ยังเป็นประเทศที่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก  ด้วยศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 27 กิกะวัตต์ หรือ 16% ของปริมาณกระแสไฟฟ้าจากลมที่ผลิตได้ทั่วโลก ส่งผลให้ประเทศเยอรมนีคือประเทศที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากลมมากที่สุดในทวีปยุโรปในขณะนี้โครงการปฏิรูปการใช้พลังงานของเยอรมนีครั้งนี้ กำหนดออกมาในช่วงที่ถือว่าผิดเวลาสำหรับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการส่งออก เนื่องจากค่าพลังงานที่สูงขึ้นนั้นจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการส่งออกสูงขึ้นอีกด้วย แม้ประเทศเยอรมนีจะมีเจตนารมณ์ที่จะใช้โครงการนี้ในการรักษาค่าเงินยูโร แต่นโยบายปฏิรูปการใช้พลังงานนี้จะนำไปสู่ปัญหาด้านความไม่แน่นอนในการวางแผนทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศในอนาคต และโครงการยกเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์และการรณรงค์ใช้พลังงานหมุนเวียนของประเทศเยอรมนีก็จะถูกจับตาจากนานาชาติทั่วโลก รวมไปถึงกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์อย่างใกล้ชิด
ขณะที่ปัญหาเรื่องต้นทุนและการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้รับการแก้ไข ประเทศเยอรมนีกำลังเดิมพันด้วยอนาคตของประเทศและคนรุ่นต่อไปในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลม โดยที่ไม่ต้องฝังกากนิวเคลียร์ที่ใช้เวลานานและยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น