วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Modern Japanese : จากวิถีชีวิต ความคิด สู่สถาปัตยกรรมเรียบง่าย by DSIGNSOMETHING

1ประเทศเทศแถบเอเชียที่มีหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 4000 เกาะ มีขนาดพื้นที่รวมน้อยกว่าประเทศไทยประมาณ 0.7 เท่า แต่มีพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสีสัน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม แหล่งผลิตสินค้า อาหารคุณภาพ และมีการเผยแพร่วัฒธรรมที่ทั่วโลกต่างยอมรับ มีเอกลักษณ์การดีไซน์ แนวคิด การสร้างสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับพื้นที่ขนาดเล็กได้อย่างน่าสนใจ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ประเทศญี่ปุ่น” นั่นเอง23
ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่วัฒธรรมทางอาหาร เสื้อผ้า ดนตรี สื่อบันเทิง lifestyle หรือแนวคิดทางสังคมเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูปแบบการดีไซน์แบบ Modern Japanese กำลังเป็นที่นิยมทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เราจึงอยากจะพาทุกคนมารู้จักกับรูปแบบการดีไซน์กันให้ถ่องแท้ เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ที่มาที่ไป และตัวอย่างลักษณะการใช้งานครับ
4 5
“ลักษณะสังคมเมือง” ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน มองในด้านของสังคมธุรกิจแล้วจะเป็นสังคมเมืองที่ต้องกการความเร่งรีบในการเดินทาง จำเป็นต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ มีความกดดันจากความเครียดในการแข่งขันการทำงานค่อนข้างสูง เพราะผู้คนมีความเอาจริงเอาจังกับการทำงาน ทุ่มเท่และขยันขันแข็ง ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ พื้นที่พักอาศัยก็มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆตามประชากรที่มีมากขึ้น
ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี่เอง  ทำให้เกิดแนวคิดภายใต้ปรัชญาพื้นฐานแห่ง “เซน” ตามลักษณะวัฒธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มาสู่แรงบันดาลใจการออกแบบที่เรียบง่าย การเคารพในเนื้อแท้ธรรมชาติของสถาปัตยกรรมสไตล์minimalist การสร้างที่พักอาศัยที่กลับสู่ ความสงบ เป็นส่วนตัว ราบเรียบหมดจด โปร่งโล่ง การเลือกใช้โทนสีอ่อนๆในการตกแต่ง เพื่อสร้างความรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดที่คนญี่ปุ่นเจอในชีวิตประจำวัน6
เริ่มต้นจากลักษณะรูปฟอร์มภายนอกของสถาปัตยกรรม นิยมการใช้รูปทรงเลขาคณิตที่เรียบง่าย เป็นทรงกล่องหรือรูปทรงหลายเหลี่ยม อาจจะประกอบไปด้วยพื้นที่หลายชั้น หรือลงไปในชั้นใต้ดิน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ที่มีขนาดเล็ก มีหน้าตาที่อาจจะดูแปลกประหลาด แต่ยังคงไว้ซึ่งพื้นที่น่าอยู่อาศัยภายใน การออกแบบที่อยู่อาศัยแบบร่วมสมัยเหล่านี้ แต่ละอาคารก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกัน  สร้างสรรค์ผสมผสานนวัตกรรมของวัสดุ เลือกใช้คอนกรีตและกระจก กรอบอลูมิเนียมสร้างรูปร่างในรูปแบบที่แตกต่าง  และการใช้ประโยชน์จากแสงแดดส่องสว่างไปในพื้นที่ภายในบ้าน  ในแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน78 9
Penguin House: บ้านรูปร่างเรียบง่ายคล้ายนกเพนกวิน บนพื้นที่ประมาณ 30 ตร.ม. เป็นการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในพื้นที่ขนาดเล็ก  นำเสนอประสิทธิภาพการใช้พื้นที่และการใช้งานที่ยอดเยี่ยม การใช้แสงส่องสว่างเพื่อทำให้พื้นที่ดูกว้างขวางขึ้น พื้นที่เพดานสูง  3  ชั้น  จัดสรรพื้นที่ทางตั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งาน ปิดมุมมองที่ไม่ต้องการสร้างความเป็นส่วนตัว และเลือกที่จะมีกระจกเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติต้นไม้ภายนอก
1011
เมื่อพูดถึงการตกแต่งพื้นที่ภายใน การตกแต่งห้องแบบ Modern Japanese มีลักษณะจำเพาะที่ชัดเจนและน่าสนใจอย่างยิ่ง เราสามารถพบเห็นการตกแต่งภายในเช่นนี้ไม่ใช่แต่เพียงในบ้านสมัยใหม่ แต่มันจะแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตการอยู่อาศัยทั่วไปของคนญี่ปุ่นไปเสียแล้ว การจัดของต่างๆให้เป็นระเบียบเพราะมีพื้นที่น้อย ป้องกันการเสียพื้นที่ใช้งาน  เป็นสไตล์ที่ตกแต่งที่เรียบง่าย เน้นให้เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นโดยยังคงประโยชน์การใช้สอดไว้เท่าเดิม เน้นการสร้างบรรยากาศสงบเป็นส่วนตัวและเลือกสีโทนอ่อนหรือโทนเย็นเพื่อการพักผ่อน สบายตา
1213(เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว ทำให้พื้นที่ใช้สอยดูกว้างขวางขึ้น ไม่รก สบายตา ผสานกับการเปิดให้แสงแดดเข้ามาสะท้อนผนังขาวและส่องลงเนื้อไม้ ขับให้ลายไม้โดดเด่นสวยงามยิ่งขึ้น )
จากวัฒนธรรมญี่ปุ่นโบราณแนวคิดตามปรัชญาเซน (สรรพสิ่งคือความว่าง ไม่ยึดติด) มีความสอดคล้องการตกแต่งภายในสไตล์  Minimalist ผสมผสานกันเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น  วิธีการออกแบบตกแต่งที่มุ่งเน้นการใช้เฟอร์นิเจอร์ วัตถุ ลวดลายและสีสันต่างๆในการตกแต่งให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้พื้นที่ว่างในห้องดูกว้างขวาง เชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกให้ได้พูดคุยกัน ด้วยการสร้างช่องเปิด(ประตู-หน้าต่าง)สู่ธรรมชาติภายนอกตามที่เราต้องการ
1415(ใช้ไม้ในการตีฝ้าเพดานและผนัง เพื่อสร้างเส้นสายที่เรียบง่าย แต่ยังน่าสนใจอย่างกลมกลืน และเลือกใช้กระจกใสเป็นระเบียงชั้น 2 เพื่อให้แสงส่องผ่านได้  สร้างการเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างชั้นบนและชั้นล่าง)
มาถึงตอนนี้ หลายท่านการคิดว่าด้วยสไตล์ที่ดูเรียบง่ายดังกล่าว เหล่าดีไซเนอร์สถาปนิกหรืออินทีเรียดีไซด์ สามารถทำงานดีไซน์แบบง่าย ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบให้สวยงามโดยใช้องค์ประกอบให้น้อยที่สุด เป็นสิ่งที่ยากและท้าทายมาก   เพราะไม่เพียงที่จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทางกายภาพที่มองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ต้องมองลึกไปถึงปรัชญาที่มองไม่เห็นด้วยตาอีกด้วย ความงามและความพอดีในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้ตอบโจทย์กับคำว่า less is more (น้อยแต่มาก) ได้นั่นเอง1617
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการออกแบบคือ รูปทรง แสงเงา รายละเอียดของวัตถุ พื้นผิว พื้นที่ว่าง และสภาพชีวิตจิตใจของผู้อยู่อาศัย  สำหรับคนที่สนใจในแนวคิดแบบเซน หรือคนที่ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับที่ว่าง ความโปร่งโล่ง การใช้วิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ชอบซึมซับบรรยากาศ แสงแดด มองเห็นความงดงามแท้จริงในธรรมชาติ สไตล์แบบ Modern Japanese จึงเป็นรูปแบบที่ทุกคนหลงใหลได้ไม่ยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น