บังเอิญได้ไปอ่านเจอมาเกี่ยวกับ สวัสดิการ ประชาชนในต่างประเทศ อ่านแล้วก็ให้อิจฉาตาร้อนปานกลางถึงแรงมากเพราะ สวัสดิการ เขานั้นทำไมมันดีเหลือเกิน ตอนหนุ่มสาวทำงาน จ่ายภาษี เก็บแพงแค่ไหนเขาก็จ่าย พอปลดเกษียน มีเงินเลี้ยงจนตาย หรือ ตกงานก็มีเงินให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อไหร่บ้านเราจะทำได้แบบนี้บ้าง
ยกตัวอย่างเช่น กรณีการตกงาน ว่างงาน ในประเทศญี่ปุ่น นั้นทางรัฐบาลมีเงินช่วยเหลือให้ แต่ระบบการจ่ายเงินของเขาจะไม่มีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ต้องให้มารับเองที่หน่วยงานที่กำหนดเช่น อำเภอ โดยทางรัฐบาลจะให้ เป็นเงินสดครึ่งหนึ่ง และ บัตรซื้อ อาหารครึ่งหนึ่ง และมีกฎห้ามออกต่างประเทศอย่างเด็ดขาด ซึ่งรอบคอบและเป็นการป้องกันคนไม่ยอมทำงานมากินเงินภาษีฟรีๆ จากคนทำงานด้วย นั่นหมายความว่าคนทำงานจะจ่ายภาษีค่อนข้างสูง และ การจัดเก็บภาษีอื่นๆจะสูงตามแต่ทุกอย่างรัฐคืนให้กับประชาชนในรูปของสวัสดิการสังคม
สวีเดน เป็นอีกประเทศที่มีสวัดิการให้กับประชาชนที่หลายคนบอกว่าเท่าเทียมและทั่วหน้า ตั้งแต่การรักษาพยาบาลจนถึงคนชรา คนยากไร้ เคยอ่านเจอจากหนังสือ คู่สร้างคู่สมของคุณ ดำรง พุฒตาล แม่บ้านไทยในสวีเดนมาเล่าสุ่กันฟังว่า ที่นั่นการรักษาพยาบาลดีมาก ประชาชนที่เป็นคนสวีเดนได้รับ สวัสดิการ ส่วนนี้เหมือนกันหมดเท่าเทียมกันหมดไม่มีแยกห้องพิเศษ หรือ ธรรมดา ในโรงพยาบาล สิทธิการรักษาเท่าเทียมกัน อ่านแล้วก็นึกถึง 30 บาทรักษาทุกโรคของเราจริงๆ ทั้งที่เป็นรัฐสวัสดิการแต่ถูกลดเกรดเป็นอนาถา จนกลายเป็นสโลแกน 30 บาทอาจตายได้ทุกโรค แต่ที่สวีเดนนี้ภาษีหนักเอาการพอดูแต่ผลลัพธ์มันคือความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่ง สวีเดนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 25 ภาษีรายได้ร้อยละ 30-50 หรืออาจมากกว่านี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง )
ส่วนสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก สวัสดิการ รัฐเขาก็ดีเช่นเดียวกันเท่าที่ทราบและหาข้อมูลมาได้คือ เงินเลี้ยงดูหลังเกษียนคือจะได้ 80% จากเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่ทำงาน แต่นั่นหมายความว่าก่อนเกษียนต้องทำงานและต้องมีเงินเดือนดีด้วยเพราะเขาคิดจากเงินเดือนสุดท้าย และ มีกำหนดเวลาด้วย ซึ่งในหลายประเทศในแถบยุโรปนั้นเสียภาษีต่อคนสูงมาก และ บางประเทศจะมีกฎบังคับตามบริษัทและองค์กรต่างๆให้ทำ pension scheme คือเงินเกษียนให้ขึ้นอยู่กับเงินเดือนเดือนสุดท้ายและต้องมีการจ่ายเงินสมทบเข้าไปด้วย เมื่อเกษียณจะได้รับเงินก้อนนี้เป็นรายเดือนไปเรื่อย ซึ่งนับว่ามากอยู่พอสมควร ส่วนหากคิดที่ได้จากรัฐแบบทั่วๆไปจาการเก็บภาษีเงินเดือน เงินสวัสดิการต่างๆ เงินรายเดือนยามชราในแต่ละประเทศคร่าวๆคือ อังกฤษ ประมาณ 280 – 400 ปอนด์ ต่อเดือน , สวิสเซอร์แลนด์อยู่ที่ สูงสุด 2000 สวิสฟรัง ต่อเดือน และ เยอรมันประมาณ 1000 กว่า ๆ ยูโร ต่อเดือน (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง )
นี่ยังไม่รวมเรื่องสวัสดิการอื่นๆเช่น การรักษาพยาบาล , บ้านเช่าสำหรับคนรายได้น้อย (ที่สวีเดินมีให้) และ อื่นๆทั้งเรื่องการศึกษาในหลายๆประเทศแถบยุโรป หากเป็นโรงเรียนของรัฐจะไม่เสียเงินค่าใช้จ่ายพวกค่าเทอม ค่าโน่นค่านี่ แทบ จะไม่มีเลยหากเรียนในเขต หรือ เมืองที่ตัวเองอยู่ หรือมีแต่เสียน้อยมากๆ แต่หากเป็นนานาชาติ หรือ ข้ามเมือง จะต้องมีค่าใช้จ่ายสูง (เรื่องนี้อ่านจากหนังสือเล่มหนึ่งนานแล้ว ) ซึ่งปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงในบางประเทศ
อ่านแล้วก็ได้แต่นำมาเล่าให้ฟัง ว่าทำไมหลายๆคนถึงอยากย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หาช่องทางไปทำงาน และหาทางยื่นขอสิทธิ์เป็นพลเมืองของต่างประเทศในหลายๆประเทศทั้งแถบยุโรป และ อเมริกา เพราะรัฐสวัสดิการที่ได้ มันคุ้มกับที่จ่ายภาษี ทั้งภาษีเงินได้ และ มูลค่าเพิ่ม การบริหารจัดการสวัสดิการประเทศญี่ปุ่น และ ยุโรป ถือว่าเป็นแนวหน้าของโลก โดยเฉพาะ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ และ สวีเดน แบบนี้คงไม่ต้องแปลกใจหากสาวไทยหลายๆ คนอยากแต่งงานกับต่างชาติในแถบยุโรป เพราะ หลังจากเหนื่อยมาทั้งชีวิตการเลี้ยงดูยามชราเขาดูแลจริงๆ และในบางประเทศมีทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพแบบเหมาครอบครัวคือ พ่อ แม่ ลูก แน่นอนว่าทำกับรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จ่ายแพงแต่ครอบคลุมหมดทั้งครอบครัว
อยากให้รัฐ สวัสดิการ ของไทยทำได้แบบต่างประเทศบ้าง ตอนนี้มองเห็นลางๆ ก็ประกันสังคมของคนทำงาน และ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ก็ยังเป็นที่แบ่งแยกกันอยู่ ทั้งสองอย่างจะเห็นได้จากเวลาไป รพ.ใหญ่ๆ ทั้งสองก็จะถูกจัดเป็นเหมือนคนไข้ไร้เกรด แยกส่วนการรักษาต่างหาก แออัดเข้าคิวรอกันไป หมอก็น้อยมาตรวจก็ดูๆถามๆ แค่นั้นแล้วก็สั่งยา ส่วนยาก็นะราคาหลักสิบ บางอย่างหลักร้อย แต่เห็นออกบิลคิดเงินไม่ต่างจากคนไข้เสียเงินแค่ไปเก็บกับกองทุนที่ใช้สิทธิรักษา ได้เงินช้าหน่อย พูดแล้วจะหาว่าโม้ ลองดูเวลาที่เขาให้เซ็นรับยาลองกวาดสายตาดูว่าเจอค่ารักษาพยาบาลไหม เดือนๆ หนึ่งจ่ายกันเท่าไหร่ ปีหนึ่งไปใช้บริการกันกี่ครั้ง บางคนทั้งชีวิตไม่เคยรักษาประกันสังคมก็มี บ่นไปก็เท่านั้นบ้านเรายังล้าหลังเรื่องนี้อีกเยอะ
http://moneyhub.in.th/article/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น