วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

เจาะ พ.ร.บ. ร่วมทุนปี 56 ความหวังลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไทย - See more at: http://forbesthailand.com/article_detail.php?article_id=554#sthash.yEwjBrPj.dpuf

เจาะ พ.ร.บ. ร่วมทุนปี 56 ความหวังลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไทย
เจาะ พ.ร.บ. ร่วมทุนปี 56 ความหวังลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไทย
เค้าลางการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทยเริ่มเด่นชัดขึ้น หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งปี 2558-2565 ระยะเวลา 8 ปีมูลค่า 2 ล้านล้านบาทไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเน้นการลงทุนอย่างโครงการรถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail Project) ที่มีเม็ดเงินลงทุนสูงกว่า 1 ล้านล้านบาทในช่วง 7 ปีข้างหน้า ทั้งหมดนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปลายปี 2558

แน่นอนว่า เมื่อเม็ดเงินลงทุนสูงขนาดนี้ รัฐบาลจะพึ่งพางบประมาณเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดด้านการเงินและการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ ทางออกของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกทางหนึ่งที่จะนำมาใช้ได้ คือ การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnerships หรือ PPPs) โดยรัฐเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Infrastructure)

เหตุผลบางส่วนที่ทำให้การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงได้รับความนิยม? นั่นเป็นเพราะ PPPs ช่วยรัฐประหยัดต้นทุนการลงทุน การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนช่วยให้รัฐเกิดความคล่องตัวในการจัดสรรงบประมาณและค่าใช้จ่าย ถือเป็นการแบ่งเบาภาระและลดปริมาณเงินที่รัฐจำเป็นต้องกู้มาจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้ง PPPs เพิ่มโอกาสและช่องทางในการทำธุรกิจให้แก่ภาคเอกชน นำไปสู่การนำเสนอการให้บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลดีแก่ผู้บริโภค

ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา มีราชกิจจานุเบกษาประกาศคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เรื่อง แผนยุทธศาสตร์ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2558-2562 ออกมาแล้วว่า จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt-out) 6 กิจการ และรัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt-in) 14 กิจการ โดยมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นราว 1.41 ล้านล้านบาท ซึ่งกติกาของการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน จะเป็นไปตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หรือเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ. ร่วมทุนปี 2556 (กฎหมาย PPPs)

ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ยังได้ศึกาการดึงเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษหรือเกาหลีใต้ สำหรับบ้านเราหากลองเจาะลงไปดูรายละเอียดของพ.ร.บ. ร่วมทุนปี 56 จะเห็นความชัดเจน 5 ด้านหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้

1.มีหน่วยงานกำกับดูแลชัดเจน
2.การพิจารณาโครงการมีความรวดเร็วขึ้น
3.มีสัญญามาตรฐานชัดเจน
4.โครงการมีความน่าเชื่อถือและมีมูลค่ามากขึ้นเพราะมีที่ปรึกษาดูแล
5.มีกลไกที่อำนวยความสะดวกในการลงทุน โดยกฎหมายกำหนดมาตรการพิเศษ
- See more at: http://forbesthailand.com/article_detail.php?article_id=554#sthash.yEwjBrPj.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น