วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

THAILD EF PARTNE นำทักษะสมอง 9 ด้าน พัฒนาเยาวชนไทย เติบโตอย่างมีคุณภา

“EF หรือทักษะสมอง เป็นกระบวนการในการคิด เพื่อกำกับควบคุมตนเองให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ช่วยให้บุคคลสามารถวางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม ช่วยยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น ความหุนหันพลันแล่น การใช้อารมณ์เกินเหตุ การไม่รู้จักอดทน ไม่มีสมาธิ วอกแวก เป็นต้น”
3OON_1327
คำกล่าวของ รศ.ดร.ยูซูเกะ โมริกูจิ นักจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากมหาวิทยาลัยการศึกษาโจเอ็ทสึ ประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เองโครงการ Thailand EF Partnership จึงเกิดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของ 6 พันธมิตรหลัก คือ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และสถาบันอาร์แอลจี ซึ่งอยู่ในกลุ่มบริษัท รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ปฯ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พระราม 4
1คณะผู้จัดงานเรื่อง-EF-หรือทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ
โดยคำว่า EF นั้นมาจากคำว่า Exclusive Functions หรือทักษะสมอง 9 ด้าน ซึ่งเป็นกระบวนการทางความคิด (Mental Process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึกและการกระทำ ประกอบไปด้วย 1) Working Memory ความจำที่นำมาใช้งาน เป็นทักษะในการจำหรือเก็บ ข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบ 2) Inhibitory Control การยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง เป็นความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในเวลาที่สมควร
2กิจกรรมสำหรับเด็ก
3) Shift / Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด ความสามารถในการยืดหยุ่น หรือปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดติดตายตัว ทำให้คิดนอกกรอบเป็น มองเห็นวิธีการและโอกาสใหม่ๆ เสมอ 4) Focus/Attention การใส่ใจจดจ่อ คือความสามารถในการมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก หรือถูกเร้าความสนใจจากปัจจัย ทั้งภายนอกหรือภายในตนเองที่เข้ามารบกวน
5) Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ความสามารถในการควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถจัดการกับความเครียด หงุดหงิด และการแสดงออกที่ไม่รบกวนผู้อื่น 6) Self -Monitoring การติดตามประเมินตนเอง คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง และหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
7) Initiating การริเริ่มและลงมือทำ เป็นความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด มีทักษะในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำสิ่งต่างๆ และลงมือทำให้ความคิดของตนเป็นจริงอาศัยความกล้า ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง 8) Planning and Organizing การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ เป็นทักษะกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม การจัดลำดับความสำคัญ รวมถึงการจัดระบบเพื่อดำเนินการ และมีการประเมินผลว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
9) Goal-Directed Persistence การมุ่งเป้าหมาย เป็นความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้วก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุป สรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันสำเร็จ ทักษะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมีโอกาสคิด และลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง รู้จักความผิดพลาด และรู้เท่าทันความเป็นจริงของโลก
ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.rlg-ef.com
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3089 วันที่ 20-23 กันยายน พ.ศ. 2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น