updated: 07 ก.ย. 2558 เวลา 21:59:13 น.
แพ็กเกจต่อลมหายใจเอสเอ็มอีเฟส 2 หนุนแหล่งทุน-มาตรการภาษี ดัน "ออมสิน" ปล่อยกู้ซอฟต์โลนแสนล้านผ่านแบงก์ เว้นภาษีกลุ่มสตาร์ตอัพ 5 ปี ทีม "สมคิด" ลุยต่อออกมาตรการอัดฉีดรายเซ็กเตอร์ ธุรกิจยานยนต์เฮ ! ด้านอสังหาฯ เตรียมรับส้มหล่น
แม้มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ทีมเศรษฐกิจชุดใหม่นำโดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาวันที่ 8 กันยายนนี้ ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการแต่หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมหารือต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางช่วยเหลือเอสเอ็มอี ซึ่งมีทั้งด้านสินเชื่อแหล่งเงินทุน มาตรการทางภาษี การพัฒนาด้านการผลิตและการตลาด
รุกต่ออัดฉีดรายเซ็กเตอร์
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า แพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2การช่วยเอสเอ็มอี เพราะมีเอสเอ็มิีในระบบสถาบันการเงินเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากขึ้น จำเป็นต้องเข้าไปดูแลไม่ให้เสียหายกว่านี้
"แพ็กเกจจะมีหลายเรื่อง ทางกระทรวงอุตฯเป็นเจ้าภาพ ส่วนคลังมีส่วนเรื่องการผ่อนปรนด้านภาษี การสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น การค้ำประกันที่เคยมีปัญหาก็จะแก้ไขให้"
สเต็ปต่อไปจะช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศ มีลักษณะกิจการเชื่อมโยงกับการส่งออก ซึ่งได้พูดคุยกับ.ผู้ประกอบการมา 2-3 กลุ่มแล้ว จะออกมาตรการดูแลแต่ละกลุ่ม ไม่ให้แต่ละเซ็กเตอร์มีปัญหา
"อุตฯยานยนต์เราต้องทำเพิ่ม เช่น เรื่องศูนย์ทดสอบยานยนต์ ที่ผ่านมาอุตฯยานยนต์เราเป็นเพียงผู้ประกอบชิ้นส่วน ไม่ค่อยมีเรื่องนวัตกรรม เรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถ้าจะเดินต่อก็ต้องทำตัวให้ก้าวหน้า ผมมองว่าคลื่นลูกใหม่คือ เรื่องนวัตกรรม การวิจัย และคิดค้นสิ่งใหม่"
ยกเว้นภาษีธุรกิจสตาร์ตอัพ 5 ปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2ช่วยเหลือเอสเอ็มอี จะมีทั้งมาตรการด้านภาษี ด้วยการลดหย่อนภาษีให้เอกชนที่นำเข้าเครื่องจักรช่วงปี 2558-2559, ให้สิทธิ์เช่าพื้นที่ระยะยาวขึ้น และด้านการเงินทั้งสินเชื่อซอฟต์โลน ช่วยเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการโอท็อป นอกจากนี้จะยกเว้นภาษีให้กับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น หรือสตาร์ตอัพเป็นเวลา 5 ปี โดยเน้นเฉพาะอุตฯดาวรุ่ง เช่น อุตฯแปรรูปสินค้าเกษตร, ไอที และอาร์แอนด์ดี เป็นต้น
ขณะที่มาตรการของกระทรวงอุตฯจะมีทั้งด้านการตลาด กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่น อย่างน้อย 45% เป็นต้น รวมทั้งจะพิจารณามาตรการช่วยนักลงทุนบางอุตสาหกรรมที่เป็นเซ็กเตอร์สำคัญของประเทศ อาทิ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มชิ้นส่วน สนับสนุนปลดล็อกรถคันแรกจากเดิมต้องถือครอง 5 ปี เหลือ 3 ปี อีกกลุ่มเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ประกอบการ2 กลุ่ม ได้เข้าพบ รมว.คลัง สัปดาห์ที่ผ่านมา
ชดเชยดอกเบี้ยซอฟต์โลน 2 หมื่น ล.
สำหรับวงเงินซอฟต์โลนที่จะให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี แก่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อนำไปปล่อยต่ออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ เบื้องต้นไม่เกิน 4% ต่อปี ส่วนต่างรัฐรับภาระอุดหนุนงบประมาณให้ มาตรการนี้จะมีวงเงินราว 1 แสนล้านบาท โดยต้องปล่อยกู้ภายในสิ้นปีนี้ อายุเงินกู้ 7 ปี
รัฐต้องชดเชยดอกเบี้ยปีละ 2,860 ล้านบาท/ปี รวม 7 ปีเท่ากับ 20,020 ล้านบาท นอกจากนี้จะปรับปรุงมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ PGS5 ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงิน 1 แสนล้านบาท จากเดิมแบงก์ต้องเข้ามาร่วมรับภาระความเสียหายตั้งแต่บาทแรก มาตรการใหม่แบงก์ร่วมรับความเสี่ยงลดลง ภาระการค้ำประกันของ บสย.จะเพิ่มเป็น 30% จะจูงใจให้แบงก์ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มาตรการซอฟต์โลนจะให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ธนาคารพาณิชย์กับธนาคารเฉพาะกิจรัฐทุกแห่ง ทำให้ต้นทุนเงินถูกลง นำไปให้สินเชื่อเอสเอ็มอีดอกเบี้ยต่ำให้มีสภาพคล่องดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ส่วนวงเงินสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นผู้พิจารณา โดยจะชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้ธนาคารออมสิน ส่วนการปล่อยเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้าน ซึ่งธนาคารออมสินรับผิดชอบ30,000 ล้านบาท จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร 15 ก.ย.นี้ แล้วโอนเงินได้ทันที
"สมคิด" ยันชงเข้า ครม. 8 ก.ย.
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีว่า จะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นมาตรการเร่งด่วนจะเสนอ ครม.พิจารณาวันที่ 8 ก.ย. 58 นี้เป็นมาตรการช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยไม่ใช้มาตรการอัดฉีด แต่ให้ธนาคารออมสินตั้งวงเงินมาปล่อยสินเชื่อ เชื่อว่าผู้ประกอบการจะสนใจใช้บริการเมื่อเทียบกับมาตรการที่มีการออกไปก่อนหน้านี้ ที่ให้ บสย.เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขไม่จูงใจ ระยะที่สอง เป็นมาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอสเอ็มอี ช่วยให้เข้มแข็งในอนาคตข้างหน้า จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตฯ พาณิชย์ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
เร่งช่วยให้ทันงบฯปี"59
ส่วนนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักจัดทำมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เปิดเผยว่า ได้ข้อสรุปมาตรการ 2 ระยะแล้ว ระยะเร่งด่วน กระทรวงการคลังสนับสนุนด้านสินเชื่อ และลดภาษี จะเสนอ ครม.ก่อน จากนั้นจะนำเสนอแผนพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยบูรณาการหน่วยงานส่งเสริมเอสเอ็มอีทั้งหมด เช่น กระทรวงอุตฯ, พาณิชย์, วิทยาศาสตร์ฯ เป็นต้น โดยโครงการช่วยเหลือทั้งหมดจะเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปบรรจุไว้ในงบฯปี 2559 ที่เริ่มต้นวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยแพ็กเกจช่วยเหลือ 4 มาตรการ มี 1.มาตรการด้านการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รับผิดชอบอาทิ Thailand Industry Expo มหกรรมซื้อของไทย ใช้ของดี ปีนี้จะจัดวันที่ 20-27 ก.ย. 2558 ภายใต้แนวคิด "อุตสาหกรรมไทยก้าวหน้า พัฒนาด้วยนวัตกรรม"
2.มาตรการด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ก่อนหน้านี้มีการลงนาม MOU กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เชื่อมโยง ส่งต่อข้อมูลผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขอรับสินเชื่อจาก SME Bank ปีนี้ 478 ราย วงเงิน 2,016 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อแล้ว 269 ราย 1,005.80 ล้านบาท โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับพิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษจากอีก 20 สถาบันการเงินด้วย
3.มาตรการด้านภาษี เสนอให้ คลังยกเว้นเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง SMEs ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบ และเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามระดับรายได้ รายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษี 5% ไม่เกิน 100 ล้านบาท เสียภาษี 15% และไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษี 20% และ 4.มาตรการด้านการเพิ่มขีดความสามารถ SMEs เช่น โครงการที่ผ่านมา "บ้านที่ปรึกษา" นำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้คำแนะนำ
เบื้องต้นจะประสาน สสว. คัด SMEs จำนวน 10,000 ราย แบ่งกลุ่มตามระดับปัญหา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประสบปัญหาขั้นวิกฤตและติดเครดิตบูโร 10% กลุ่มที่ 2 ประสบปัญหาปานกลางต้องการคำแนะนำด้านต่าง ๆ 40% และกลุ่มที่ 3 ประสบปัญหาน้อยมากต้องการคำแนะนำพัฒนาต่อยอด 50%โดยกลุ่ม SMEs ที่เข้าขั้นวิกฤตไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ กระทรวงอุตฯจะเสนอ ครม. ตั้งกองทุนพลิกฟื้น SMEs วงเงิน 1,000 ล้านบาท จะขอมติ ครม.โยกจากโครงการธุรกิจแรกตั้ง
ภายใต้การบริหารของ สสว. มาให้กระทรวงอุตฯบริหารจัดการ ตั้งกองทุนสินเชื่อนักรบใหม่ (Start Up) ได้รับเงินกองทุนจากธนาคารออมสิน 500 ล้านบาท SME Bank 500 ล้านบาท อยู่ระหว่างการเสนอให้ธนาคารกรุงไทยสมทบ 500 ล้านบาท ส่วน SMEs ทั่วไปเข้าโครงการสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูจากธนาคารพาณิชย์รายอื่นวงเงิน 1.02 แสนล้านบาทได้
พาณิชย์แจมชงยุทธศาสตร์ช่วย
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมเสนอยุทธศาสตร์ส่งเสริมเอสเอ็มอี เน้นการส่งเสริมขยายธุรกิจแฟรนไชส์ ต่อยอดให้เป็นธุรกิจใหญ่ขึ้น และการลงทุนการให้บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ thaitrade.com ให้มีศักยภาพมากขึ้น คาดว่าจะใช้งบฯ 100-130 ล้านบาท จากเดิมปีละ 20 ล้านบาท การส่งเสริมการทำตลาดของเอสเอ็มอี จะให้ความสำคัญกับการเจาะตลาดอาเซียนอันดับแรก และตามกลุ่มสินค้า
"ส่วนโครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุนถือเป็นเรื่องที่ดี อาจดำเนินการต่อเนื่อง จะดูรายละเอียดว่าดำเนินการได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้งานด้านทรัพย์สินทางปัญญาสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้"
เอกชนขานรับ
ขณะที่ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า มาตรการด้านภาษี อยากให้เป็นไปในรูปแบบที่เน้นเอสเอ็มอี กลุ่มที่อยู่ในระบบกว่า 7 แสนราย ซึ่งเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล ส่วนอีกกว่า 2 ล้านรายเสียผ่านรูปแบบบุคคลธรรมดาอยู่แล้ว ใน 7 แสนรายมีเพียง 80% ที่เสียภาษีถูกต้อง ทำบัญชีเล่มเดียว
เอสเอ็มอีปัญหาเยอะเข้าถึงยาก
นายทรงฤทธิ์ อมรวิกัยกุล อุปนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกล่าวถึงแนวทางในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีว่า ในเรื่องมาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน ที่ผ่านมาทั้งการกู้ดอกเบี้ยต่ำของเอสเอ็มอีแบงก์นั้น ถือว่าเป็นที่พอใจของผู้ประกอบการ แต่การทำงานที่ยังล่าช้าของเอสเอ็มอีแบงก์ ทั้งเรื่องการรอผลอนุมัติเงินกู้ การไม่ประสานงานกันระหว่างแบงก์สาขา และหน่วยงานใหญ่ ซึ่งเอสเอ็มอีต้องการคำตอบที่เร็วกว่านี้ เพื่อที่จะไปหาทางออกทางอื่นในการหาเงินกู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ หรือลงทุนต่อไป
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า สิ่งที่อยากขอเป็นเงื่อนไขพิเศษแก่ทางภาครัฐก็คือ เรื่องของการปลดล็อกเครดิตบูโรของเอสเอ็มอี โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในช่วงวิกฤต 2540 ซึ่งเป็นตราบาปแก่เอสเอ็มอีมาก ที่ผ่านมาเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนก็มาจากปัญหาการติดเครดิตบูโร
แม้มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ทีมเศรษฐกิจชุดใหม่นำโดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาวันที่ 8 กันยายนนี้ ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการแต่หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมหารือต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางช่วยเหลือเอสเอ็มอี ซึ่งมีทั้งด้านสินเชื่อแหล่งเงินทุน มาตรการทางภาษี การพัฒนาด้านการผลิตและการตลาด
รุกต่ออัดฉีดรายเซ็กเตอร์
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า แพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2การช่วยเอสเอ็มอี เพราะมีเอสเอ็มิีในระบบสถาบันการเงินเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากขึ้น จำเป็นต้องเข้าไปดูแลไม่ให้เสียหายกว่านี้
"แพ็กเกจจะมีหลายเรื่อง ทางกระทรวงอุตฯเป็นเจ้าภาพ ส่วนคลังมีส่วนเรื่องการผ่อนปรนด้านภาษี การสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น การค้ำประกันที่เคยมีปัญหาก็จะแก้ไขให้"
สเต็ปต่อไปจะช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศ มีลักษณะกิจการเชื่อมโยงกับการส่งออก ซึ่งได้พูดคุยกับ.ผู้ประกอบการมา 2-3 กลุ่มแล้ว จะออกมาตรการดูแลแต่ละกลุ่ม ไม่ให้แต่ละเซ็กเตอร์มีปัญหา
"อุตฯยานยนต์เราต้องทำเพิ่ม เช่น เรื่องศูนย์ทดสอบยานยนต์ ที่ผ่านมาอุตฯยานยนต์เราเป็นเพียงผู้ประกอบชิ้นส่วน ไม่ค่อยมีเรื่องนวัตกรรม เรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถ้าจะเดินต่อก็ต้องทำตัวให้ก้าวหน้า ผมมองว่าคลื่นลูกใหม่คือ เรื่องนวัตกรรม การวิจัย และคิดค้นสิ่งใหม่"
ยกเว้นภาษีธุรกิจสตาร์ตอัพ 5 ปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2ช่วยเหลือเอสเอ็มอี จะมีทั้งมาตรการด้านภาษี ด้วยการลดหย่อนภาษีให้เอกชนที่นำเข้าเครื่องจักรช่วงปี 2558-2559, ให้สิทธิ์เช่าพื้นที่ระยะยาวขึ้น และด้านการเงินทั้งสินเชื่อซอฟต์โลน ช่วยเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการโอท็อป นอกจากนี้จะยกเว้นภาษีให้กับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น หรือสตาร์ตอัพเป็นเวลา 5 ปี โดยเน้นเฉพาะอุตฯดาวรุ่ง เช่น อุตฯแปรรูปสินค้าเกษตร, ไอที และอาร์แอนด์ดี เป็นต้น
ขณะที่มาตรการของกระทรวงอุตฯจะมีทั้งด้านการตลาด กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่น อย่างน้อย 45% เป็นต้น รวมทั้งจะพิจารณามาตรการช่วยนักลงทุนบางอุตสาหกรรมที่เป็นเซ็กเตอร์สำคัญของประเทศ อาทิ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มชิ้นส่วน สนับสนุนปลดล็อกรถคันแรกจากเดิมต้องถือครอง 5 ปี เหลือ 3 ปี อีกกลุ่มเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ประกอบการ2 กลุ่ม ได้เข้าพบ รมว.คลัง สัปดาห์ที่ผ่านมา
ชดเชยดอกเบี้ยซอฟต์โลน 2 หมื่น ล.
สำหรับวงเงินซอฟต์โลนที่จะให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี แก่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อนำไปปล่อยต่ออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ เบื้องต้นไม่เกิน 4% ต่อปี ส่วนต่างรัฐรับภาระอุดหนุนงบประมาณให้ มาตรการนี้จะมีวงเงินราว 1 แสนล้านบาท โดยต้องปล่อยกู้ภายในสิ้นปีนี้ อายุเงินกู้ 7 ปี
รัฐต้องชดเชยดอกเบี้ยปีละ 2,860 ล้านบาท/ปี รวม 7 ปีเท่ากับ 20,020 ล้านบาท นอกจากนี้จะปรับปรุงมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ PGS5 ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงิน 1 แสนล้านบาท จากเดิมแบงก์ต้องเข้ามาร่วมรับภาระความเสียหายตั้งแต่บาทแรก มาตรการใหม่แบงก์ร่วมรับความเสี่ยงลดลง ภาระการค้ำประกันของ บสย.จะเพิ่มเป็น 30% จะจูงใจให้แบงก์ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มาตรการซอฟต์โลนจะให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ธนาคารพาณิชย์กับธนาคารเฉพาะกิจรัฐทุกแห่ง ทำให้ต้นทุนเงินถูกลง นำไปให้สินเชื่อเอสเอ็มอีดอกเบี้ยต่ำให้มีสภาพคล่องดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ส่วนวงเงินสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นผู้พิจารณา โดยจะชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้ธนาคารออมสิน ส่วนการปล่อยเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้าน ซึ่งธนาคารออมสินรับผิดชอบ30,000 ล้านบาท จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร 15 ก.ย.นี้ แล้วโอนเงินได้ทันที
"สมคิด" ยันชงเข้า ครม. 8 ก.ย.
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีว่า จะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นมาตรการเร่งด่วนจะเสนอ ครม.พิจารณาวันที่ 8 ก.ย. 58 นี้เป็นมาตรการช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยไม่ใช้มาตรการอัดฉีด แต่ให้ธนาคารออมสินตั้งวงเงินมาปล่อยสินเชื่อ เชื่อว่าผู้ประกอบการจะสนใจใช้บริการเมื่อเทียบกับมาตรการที่มีการออกไปก่อนหน้านี้ ที่ให้ บสย.เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขไม่จูงใจ ระยะที่สอง เป็นมาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอสเอ็มอี ช่วยให้เข้มแข็งในอนาคตข้างหน้า จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตฯ พาณิชย์ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
เร่งช่วยให้ทันงบฯปี"59
ส่วนนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักจัดทำมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เปิดเผยว่า ได้ข้อสรุปมาตรการ 2 ระยะแล้ว ระยะเร่งด่วน กระทรวงการคลังสนับสนุนด้านสินเชื่อ และลดภาษี จะเสนอ ครม.ก่อน จากนั้นจะนำเสนอแผนพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยบูรณาการหน่วยงานส่งเสริมเอสเอ็มอีทั้งหมด เช่น กระทรวงอุตฯ, พาณิชย์, วิทยาศาสตร์ฯ เป็นต้น โดยโครงการช่วยเหลือทั้งหมดจะเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปบรรจุไว้ในงบฯปี 2559 ที่เริ่มต้นวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยแพ็กเกจช่วยเหลือ 4 มาตรการ มี 1.มาตรการด้านการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รับผิดชอบอาทิ Thailand Industry Expo มหกรรมซื้อของไทย ใช้ของดี ปีนี้จะจัดวันที่ 20-27 ก.ย. 2558 ภายใต้แนวคิด "อุตสาหกรรมไทยก้าวหน้า พัฒนาด้วยนวัตกรรม"
2.มาตรการด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ก่อนหน้านี้มีการลงนาม MOU กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เชื่อมโยง ส่งต่อข้อมูลผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขอรับสินเชื่อจาก SME Bank ปีนี้ 478 ราย วงเงิน 2,016 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อแล้ว 269 ราย 1,005.80 ล้านบาท โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับพิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษจากอีก 20 สถาบันการเงินด้วย
3.มาตรการด้านภาษี เสนอให้ คลังยกเว้นเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง SMEs ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบ และเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามระดับรายได้ รายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษี 5% ไม่เกิน 100 ล้านบาท เสียภาษี 15% และไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษี 20% และ 4.มาตรการด้านการเพิ่มขีดความสามารถ SMEs เช่น โครงการที่ผ่านมา "บ้านที่ปรึกษา" นำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้คำแนะนำ
เบื้องต้นจะประสาน สสว. คัด SMEs จำนวน 10,000 ราย แบ่งกลุ่มตามระดับปัญหา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประสบปัญหาขั้นวิกฤตและติดเครดิตบูโร 10% กลุ่มที่ 2 ประสบปัญหาปานกลางต้องการคำแนะนำด้านต่าง ๆ 40% และกลุ่มที่ 3 ประสบปัญหาน้อยมากต้องการคำแนะนำพัฒนาต่อยอด 50%โดยกลุ่ม SMEs ที่เข้าขั้นวิกฤตไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ กระทรวงอุตฯจะเสนอ ครม. ตั้งกองทุนพลิกฟื้น SMEs วงเงิน 1,000 ล้านบาท จะขอมติ ครม.โยกจากโครงการธุรกิจแรกตั้ง
ภายใต้การบริหารของ สสว. มาให้กระทรวงอุตฯบริหารจัดการ ตั้งกองทุนสินเชื่อนักรบใหม่ (Start Up) ได้รับเงินกองทุนจากธนาคารออมสิน 500 ล้านบาท SME Bank 500 ล้านบาท อยู่ระหว่างการเสนอให้ธนาคารกรุงไทยสมทบ 500 ล้านบาท ส่วน SMEs ทั่วไปเข้าโครงการสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูจากธนาคารพาณิชย์รายอื่นวงเงิน 1.02 แสนล้านบาทได้
พาณิชย์แจมชงยุทธศาสตร์ช่วย
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมเสนอยุทธศาสตร์ส่งเสริมเอสเอ็มอี เน้นการส่งเสริมขยายธุรกิจแฟรนไชส์ ต่อยอดให้เป็นธุรกิจใหญ่ขึ้น และการลงทุนการให้บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ thaitrade.com ให้มีศักยภาพมากขึ้น คาดว่าจะใช้งบฯ 100-130 ล้านบาท จากเดิมปีละ 20 ล้านบาท การส่งเสริมการทำตลาดของเอสเอ็มอี จะให้ความสำคัญกับการเจาะตลาดอาเซียนอันดับแรก และตามกลุ่มสินค้า
"ส่วนโครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุนถือเป็นเรื่องที่ดี อาจดำเนินการต่อเนื่อง จะดูรายละเอียดว่าดำเนินการได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้งานด้านทรัพย์สินทางปัญญาสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้"
เอกชนขานรับ
ขณะที่ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า มาตรการด้านภาษี อยากให้เป็นไปในรูปแบบที่เน้นเอสเอ็มอี กลุ่มที่อยู่ในระบบกว่า 7 แสนราย ซึ่งเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล ส่วนอีกกว่า 2 ล้านรายเสียผ่านรูปแบบบุคคลธรรมดาอยู่แล้ว ใน 7 แสนรายมีเพียง 80% ที่เสียภาษีถูกต้อง ทำบัญชีเล่มเดียว
เอสเอ็มอีปัญหาเยอะเข้าถึงยาก
นายทรงฤทธิ์ อมรวิกัยกุล อุปนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกล่าวถึงแนวทางในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีว่า ในเรื่องมาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน ที่ผ่านมาทั้งการกู้ดอกเบี้ยต่ำของเอสเอ็มอีแบงก์นั้น ถือว่าเป็นที่พอใจของผู้ประกอบการ แต่การทำงานที่ยังล่าช้าของเอสเอ็มอีแบงก์ ทั้งเรื่องการรอผลอนุมัติเงินกู้ การไม่ประสานงานกันระหว่างแบงก์สาขา และหน่วยงานใหญ่ ซึ่งเอสเอ็มอีต้องการคำตอบที่เร็วกว่านี้ เพื่อที่จะไปหาทางออกทางอื่นในการหาเงินกู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ หรือลงทุนต่อไป
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า สิ่งที่อยากขอเป็นเงื่อนไขพิเศษแก่ทางภาครัฐก็คือ เรื่องของการปลดล็อกเครดิตบูโรของเอสเอ็มอี โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในช่วงวิกฤต 2540 ซึ่งเป็นตราบาปแก่เอสเอ็มอีมาก ที่ผ่านมาเอสเอ็มอีที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนก็มาจากปัญหาการติดเครดิตบูโร
ใช้สำหรับเงินกู้ของคุณออนไลน์วันนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายทุกชนิดและเริ่มต้น
ตอบลบเงินกู้ของคุณในอัตรา 3%
ติดต่อเราวันนี้
raphealjefferyfinance@gmail.com
กรอกข้อมูลในรูปแบบของการประยุกต์ใช้เงินกู้
ชื่อ:
ประเทศ:
สถานะ:
หมายเลขโทรศัพท์:
อายุ:
อาชีพ:
จำนวนเงินกู้ที่จำเป็น:
ระยะเวลา:
เว็บไซต์: raphealjefferyfinance@gmail.com
ผบ. นายเจฟฟรีย์
เราให้คำตอบที่จริงแก้ปัญหาที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของคุณ คุณปฏิเสธโดยธนาคารของคุณหรือคุณจำเป็นต้องกู้เงินได้อย่างรวดเร็วอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินเพิ่มขึ้นของเงินให้กู้ยืมของคุณในการชำระค่าของคุณหนี้และสร้างธุรกิจของคุณ
ตอบลบใช้สำหรับเงินกู้ในขณะนี้ เราจะให้ออกเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี
หากคุณมีความสนใจติดต่อผ่าน: williamfinanceagency@gmail.com และกรอกแบบฟอร์มใบสมัครสินเชื่อด้านล่าง
เงินกู้รูปแบบการใช้งาน:
ชื่อเต็ม:
ประเทศ:
ที่อยู่:
หมายเลขโทรศัพท์:
จำนวนเงินกู้:
เงินกู้ระยะเวลา:
อาชีพ:
รายได้รายเดือน:
เพศ:
อายุ:
ติดต่ออีเมล์: williamfinanceagency@gmail.com
ขอบคุณ
นายวิลเลียมส์
* คุณจำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วน?
ตอบลบ* การชำระหนี้รายเดือนเริ่มต้นภายใน 8 เดือนหลังจากที่คุณได้เก็บรวบรวมเงินกู้ในบัญชีธนาคารของคุณ
* อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2%
* ชําระคืนในระยะยาว (1-30 ปี) ระยะเวลา
* เงื่อนไขเงินกู้ที่มีความยืดหยุ่นและการชำระเงินรายเดือน
* มันใช้เวลานานเท่าใดเพื่อกองทุน? หลังจากส่งใบสมัครสินเชื่อคุณสามารถคาดหวังคำตอบเบื้องต้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมงและ ***
*** เงินทุนภายใน 72-96 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับข้อมูลที่เรา need.from คุณ
ติดต่อเราตอนนี้อีเมล์: trustloan87@gmail.com
BEST REGARD,
Mr.Anthony Dave.
Trust Loan Company
Email trustloan87@gmail.com
คุณกำลังมองหาสินเชื่อของแท้มาก? ข่าวดีก็คือที่นี่! ! ! เรามีเงินให้กู้ยืมตั้งแต่ $ 5, 000.00 ถึง $ 30, 000, 000.00 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เงินให้กู้ยืมสำหรับการพัฒนาธุรกิจของเราได้รับการรับรองที่น่าเชื่อถือและเชื่อถือได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วและการติดต่อแบบไดนามิกเราผ่านทางอีเมล์: khalifafinancialcompanies@gmail.com
ตอบลบ