updated: 29 ส.ค. 2558 เวลา 12:12:00 น.
ธุรกิจร้านยาคึกคัก เชนสโตร์แห่ปูพรมสาขาชิงส่วนแบ่งตลาด 2.9 หมื่นล้าน ระบุตลาดแข่งแรง แนวโน้มแย่งตัวเภสัชกร ยักษ์ค้าปลีกมากันครบทั้ง "เทสโก้-บิ๊กซี" ชูจุดขายวันสต็อปเซอร์วิส "ซูรูฮะ" ตั้งเป้าเปิดอีก 100 สาขาใน 5 ปี เครือ ร.พ.ธนบุรีเดินหน้าขยายลงทุนร้านยาเอเพ็กซ์
ร้านขายยาซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 2.92 หมื่นล้านบาท จากจำนวนร้านขายยามากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ กำลังเป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ
สืบเนื่องจากค่ายค้าปลีกยักษ์รวมถึงเชนสโตร์ต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับตลาดนี้อย่างจริงจัง สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตกับสินค้ากลุ่มสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจร้านขายยาในช่วงที่ผ่านมาว่า ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของเชนสโตร์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ อาทิ ซูรูฮะ ซูเปอร์ ดรักสโตร์ ของบริษัท ซูรูฮะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างสหพัฒน์และบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ตั้งเป้าเปิด 100 สาขาใน 5 ปี จากที่มี 24 สาขา และมีแผนจะขยายธุรกิจออกไปในหลายประเทศในอาเซียน บิ๊กซีที่มีร้านยาเพรียว 155 สาขา ยังคงเดินหน้าเปิดเพิ่มต่อเนื่อง ส่วนเซเว่นอีเลฟเว่นมีร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัส มีนโยบายเปิดขายแฟรนไชส์มากขึ้น
ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพมีการเพิ่มสัดส่วนสินค้าเวชสำอางเข้ามาในร้านยาเซฟดรักมากขึ้น รวมถึงบริษัท ฟาร์แมกซ์ รีเทล จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านยาฟาร์แมกซ์ก็ประกาศจะเปิดสาขาเพิ่มอีกปีละ 3-5 แห่งจากปัจจุบันที่มี 7-8 สาขา
ทั้งนี้ สำนักยา กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าปี 2557 ที่ผ่านมา มีร้านยาแผนปัจจุบันเปิดดำเนินการ 15,359 ร้าน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 4,794 ร้าน ต่างจังหวัด 10,565 ร้านเป็นร้านขายยาเชนสโตร์ประมาณ 1,400 ร้าน
นายปริญญา อัครจันทโชติ นายกสมาคมร้านขายยา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันธุรกิจร้านขายยาขยายตัวต่อเนื่อง ล่าสุดมีจำนวนร้านขายยาทั้งสิ้นประมาณ 1.9 หมื่นร้าน โดยการขับเคลื่อนหลัก ๆ มาจากเชนร้านขายยาที่มีการเปิดสาขาใหม่จำนวนมาก อาทิ บู๊ทส์ วัตสัน เอ็กซ์ตร้าของเซเว่นฯ และยังมีผู้เล่นรายใหม่ ๆอย่างโรงพยาบาลเอกชน อาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ซื้อกิจการร้านยาเซฟดรักมาบริหาร
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร้านขายยามีกฎหมายควบคุมเรื่องใบอนุญาตและเภสัชกรประจำร้าน ประกอบกับปัจจุบันเภสัชกรหายาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการแย่งตัวบุคลากรและเภสัชกร นอกจากนี้ที่สังเกตพบคือ ร้านยาตามชายแดนมีความคึกคักขึ้นตามการเติบโตของการค้าชายแดน
"แม้ว่าตลาดใหญ่ของยาจะยังอยู่ที่ช่องทางโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่ช่วงหลัง ๆ มานี้ บริษัทยาได้หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางร้านขายยามากขึ้น และร้านขายยาที่เปิดใหม่ส่วนใหญ่เป็นเชนสโตร์ ส่วนร้านขายยาเดี่ยวมีแนวโน้มที่จะปิดตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันร้านขายยาเดี่ยวยังมีจำนวนมากกว่าร้านขายยาเครือข่าย หรือเชนสโตร์ โดยมีสัดส่วน 80:20"
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานบริหารกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ในฐานะประธานบริษัท ทันตสยาม จำกัด เจ้าของร้านขายยาเอเพ็กซ์ เฮลท์แคร์ เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดร้านขายยาโดยรวมในเขตกรุงเทพฯยังเติบโตต่อเนื่อง แต่การแข่งขันค่อนข้างสูง และร้านขายยามีจำนวนมาก ตามการขยายตัวของเชนสโตร์อย่าง บู๊ทส์, วัตสัน, เอ็กซ์ต้าพลัสของเซเว่นอีเลฟเว่น ทำให้ตลาดเริ่มโอเวอร์ซัพพลาย อย่างไรก็ตามในต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ยังมีโอกาสขยายตัว และร้านขายยาส่วนใหญ่จะหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพและความงามมากขึ้น เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค
"ร้านเชนสโตร์ที่มีสาขาจำนวนมากจะมีประโยชน์จากอีโคโนมีออฟสเกล ทำให้ร้านขายยาเดี่ยวลำบาก เพราะต้นทุนสูงทำให้แข่งขันยาก และมีแนวโน้มปิดตัว เพราะไม่คุ้มค่าเช่าที่ ค่าแรง จากการสำรวจพบว่า ความสำเร็จของร้านขายยาขึ้นอยู่กับเภสัชกรที่มีอัธยาศัยดี แนะนำดี ทำให้กลับมาซื้อซ้ำ"
สำหรับเอเพ็กซ์ เฮลท์แคร์ ภายในสิ้นปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่งในกรุงเทพฯ จากปัจจุบันมี 10 สาขา และจากนี้ไปมีนโยบายจะหันมาลงทุนกับธุรกิจร้านขายยาอย่างจริงจัง ตั้งเป้าเปิดให้ได้ปีละ 2-3 สาขา งบฯลงทุน 2-3ล้านบาทต่อสาขา เน้นทำเลใกล้โรงพยาบาล ย่านชุมชน และมีแผนจะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการบรรษัท บริษัท เอก-ชัย ดิสตริบิวชั่น ซิสเต็มส์ จำกัด เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายจะลงทุนเปิดร้านขายยา "เทสโก้ โลตัส ฟาร์มาซี" เพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นเปิดตามสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ต จากปัจจุบันที่เปิดไปกว่า 50 สาขา นอกจากยาที่เป็นสินค้าหลักแล้ว ในร้านก็จะมีสินค้ากลุ่มเวชสำอาง และอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าครบวงจรและดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และกฎหมายที่กำหนดให้มีเภสัชกรประจำร้านเป็นข้อจำกัดในการขยายสาขาใหม่ ๆ
สืบเนื่องจากค่ายค้าปลีกยักษ์รวมถึงเชนสโตร์ต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับตลาดนี้อย่างจริงจัง สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตกับสินค้ากลุ่มสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจร้านขายยาในช่วงที่ผ่านมาว่า ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของเชนสโตร์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ อาทิ ซูรูฮะ ซูเปอร์ ดรักสโตร์ ของบริษัท ซูรูฮะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างสหพัฒน์และบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ตั้งเป้าเปิด 100 สาขาใน 5 ปี จากที่มี 24 สาขา และมีแผนจะขยายธุรกิจออกไปในหลายประเทศในอาเซียน บิ๊กซีที่มีร้านยาเพรียว 155 สาขา ยังคงเดินหน้าเปิดเพิ่มต่อเนื่อง ส่วนเซเว่นอีเลฟเว่นมีร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัส มีนโยบายเปิดขายแฟรนไชส์มากขึ้น
ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพมีการเพิ่มสัดส่วนสินค้าเวชสำอางเข้ามาในร้านยาเซฟดรักมากขึ้น รวมถึงบริษัท ฟาร์แมกซ์ รีเทล จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านยาฟาร์แมกซ์ก็ประกาศจะเปิดสาขาเพิ่มอีกปีละ 3-5 แห่งจากปัจจุบันที่มี 7-8 สาขา
ทั้งนี้ สำนักยา กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าปี 2557 ที่ผ่านมา มีร้านยาแผนปัจจุบันเปิดดำเนินการ 15,359 ร้าน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 4,794 ร้าน ต่างจังหวัด 10,565 ร้านเป็นร้านขายยาเชนสโตร์ประมาณ 1,400 ร้าน
นายปริญญา อัครจันทโชติ นายกสมาคมร้านขายยา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันธุรกิจร้านขายยาขยายตัวต่อเนื่อง ล่าสุดมีจำนวนร้านขายยาทั้งสิ้นประมาณ 1.9 หมื่นร้าน โดยการขับเคลื่อนหลัก ๆ มาจากเชนร้านขายยาที่มีการเปิดสาขาใหม่จำนวนมาก อาทิ บู๊ทส์ วัตสัน เอ็กซ์ตร้าของเซเว่นฯ และยังมีผู้เล่นรายใหม่ ๆอย่างโรงพยาบาลเอกชน อาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ซื้อกิจการร้านยาเซฟดรักมาบริหาร
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร้านขายยามีกฎหมายควบคุมเรื่องใบอนุญาตและเภสัชกรประจำร้าน ประกอบกับปัจจุบันเภสัชกรหายาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการแย่งตัวบุคลากรและเภสัชกร นอกจากนี้ที่สังเกตพบคือ ร้านยาตามชายแดนมีความคึกคักขึ้นตามการเติบโตของการค้าชายแดน
"แม้ว่าตลาดใหญ่ของยาจะยังอยู่ที่ช่องทางโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่ช่วงหลัง ๆ มานี้ บริษัทยาได้หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางร้านขายยามากขึ้น และร้านขายยาที่เปิดใหม่ส่วนใหญ่เป็นเชนสโตร์ ส่วนร้านขายยาเดี่ยวมีแนวโน้มที่จะปิดตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันร้านขายยาเดี่ยวยังมีจำนวนมากกว่าร้านขายยาเครือข่าย หรือเชนสโตร์ โดยมีสัดส่วน 80:20"
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานบริหารกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ในฐานะประธานบริษัท ทันตสยาม จำกัด เจ้าของร้านขายยาเอเพ็กซ์ เฮลท์แคร์ เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดร้านขายยาโดยรวมในเขตกรุงเทพฯยังเติบโตต่อเนื่อง แต่การแข่งขันค่อนข้างสูง และร้านขายยามีจำนวนมาก ตามการขยายตัวของเชนสโตร์อย่าง บู๊ทส์, วัตสัน, เอ็กซ์ต้าพลัสของเซเว่นอีเลฟเว่น ทำให้ตลาดเริ่มโอเวอร์ซัพพลาย อย่างไรก็ตามในต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ยังมีโอกาสขยายตัว และร้านขายยาส่วนใหญ่จะหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพและความงามมากขึ้น เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค
"ร้านเชนสโตร์ที่มีสาขาจำนวนมากจะมีประโยชน์จากอีโคโนมีออฟสเกล ทำให้ร้านขายยาเดี่ยวลำบาก เพราะต้นทุนสูงทำให้แข่งขันยาก และมีแนวโน้มปิดตัว เพราะไม่คุ้มค่าเช่าที่ ค่าแรง จากการสำรวจพบว่า ความสำเร็จของร้านขายยาขึ้นอยู่กับเภสัชกรที่มีอัธยาศัยดี แนะนำดี ทำให้กลับมาซื้อซ้ำ"
สำหรับเอเพ็กซ์ เฮลท์แคร์ ภายในสิ้นปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่งในกรุงเทพฯ จากปัจจุบันมี 10 สาขา และจากนี้ไปมีนโยบายจะหันมาลงทุนกับธุรกิจร้านขายยาอย่างจริงจัง ตั้งเป้าเปิดให้ได้ปีละ 2-3 สาขา งบฯลงทุน 2-3ล้านบาทต่อสาขา เน้นทำเลใกล้โรงพยาบาล ย่านชุมชน และมีแผนจะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการบรรษัท บริษัท เอก-ชัย ดิสตริบิวชั่น ซิสเต็มส์ จำกัด เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายจะลงทุนเปิดร้านขายยา "เทสโก้ โลตัส ฟาร์มาซี" เพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นเปิดตามสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ต จากปัจจุบันที่เปิดไปกว่า 50 สาขา นอกจากยาที่เป็นสินค้าหลักแล้ว ในร้านก็จะมีสินค้ากลุ่มเวชสำอาง และอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าครบวงจรและดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และกฎหมายที่กำหนดให้มีเภสัชกรประจำร้านเป็นข้อจำกัดในการขยายสาขาใหม่ ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น