updated: 30 ก.ย. 2558 เวลา 10:30:00 น.
"รู้ ไหมว่าศิลปะแบบนี้กำลังจะตาย" "กบ-ณรงค์ชัย โตอินทร์" ช่างฝีมืองานพุทธศิลป์สุโขทัย รำพึงถึงสถานการณ์ข้างหน้าว่า ศิลปะสุโขทัย อันเป็นมรดกของพระร่วงกำลังจะเลือนหายไป
เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการงานศิลปะมองไม่เห็นอนาคตงานศิลป์ จนกระทั่งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) มีการผนึกกำลังเพื่อพลิกวิกฤต สร้างแบรนด์ "มรดกพระร่วง" ขึ้นมา ผลักดันให้งานศิลปะของ "สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร" มีคุณภาพสามารถขยายไกลออกไปทั้งในและต่างประเทศ
การเกิดขึ้นของแบรนด์ "มรดกพระร่วง" เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้เพราะ อพท. ดึงดีไซเนอร์ระดับแนวหน้าเข้ามาร่วมออกแบบ จนได้ชิ้นงานร่วมสมัยคงความเป็นมรดกทางศิลปะสุโขทัยไว้อย่างลงตัว สร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ
หากว่ากันด้วยเรื่องคุณค่า "กบ-ณรงค์ชัย" อธิบายว่า บางคนที่มองว่าการนำรูปลักษณะของพุทธศิลป์มาใช้ในผลิตภัณฑ์จะเป็นการลดทอนคุณค่านั้น ต้องพิจารณาก่อนว่าผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ใช่ถ้วยโถโอชามที่จะนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน แต่เป็นของประดับตกแต่ง ที่ให้คนทั่วไปได้เห็น ได้ทำความรู้จัก
"บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า พุทธศิลป์สุโขทัย จะมีหน้านาง คางหยิก ลีลาคล้ายสตรี เป็นการทำให้เข้าถึงศิลปะประเภทนี้ได้โดยง่าย ดีกว่าปล่อยให้หายไปเฉย ๆ และผมก็มีความเชื่อส่วนตัวว่า หากคนปกติทั่วไปเห็นงานเชิงพุทธศิลป์ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เขาก็คงจะไม่กระทำการใดที่ลบหลู่ดูหมิ่น เพราะหากมีความนับถืออยู่ในใจ ความเคารพ กาลเทศะต่าง ๆ จะตามมา" ช่างฝีมืองานพุทธศิลป์สุโขทัย กล่าวถึงการนำงานพุทธศิลป์ใส่ในผลิตภัณฑ์
เช่นเดียวกับงานหัตถศิลป์ที่ทรงคุณค่า อย่าง "ทองสุโขทัย" ที่มีเอกลักษณ์อยู่ที่เนื้อทอง 99.99% สีสุกสว่าง ลวดลายงดงามชดช้อย ราคาสูง เพราะต้องใช้ทักษะและความประณีตคงเอกลักษณ์แบบโบราณไว้ แต่เมื่อมาเป็นหนึ่งในแบรนด์ "มรดกพระร่วง" ที่ออกสู่สายตาคนได้มากขึ้น จำต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง
"ปราโมทย์ เขาเหิน" ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งร้านทองสมสมัย บอกว่า ทองสุโขทัยแบรนด์มรดกพระร่วง มีการออกแบบลวดลายให้ร่วมสมัยและหลากหลายมากขึ้น มีการนำทองมาผสมกับเงิน สร้างมาตรฐานให้เครื่องทอง-เครื่องเงินสุโขทัยด้วยการออกใบรับรองคุณภาพ ที่สำคัญต้องนำมาประยุกต์ใช้งานได้จริง
อีกหนึ่งผู้ประกอบการที่มองเป็นความสำคัญของแบรนด์ "มรดกพระร่วง" อย่าง เจ้าของร้านสุนทรีผ้าไทย "วีวรรณ ขนาดนิด" ให้ความเห็นว่า การที่ อพท.นำดีไซเนอร์ระดับแถวหน้าเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านได้แนวคิดและมองเห็นช่องทางต่อยอดธุรกิจไปได้แบบไม่ต้องทิ้งเอกลักษณ์ของชุมชนไป
ขณะที่ "อนุรักษ์ บุญคง" ผู้ประกอบการเครื่องสังคโลก มองว่า แบรนด์ "มรดกพระร่วง" มีการวางคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้ผลิตได้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของผลงานตนเอง
"เมื่อก่อนอาจมีสะเปะสะปะ เขวไปบ้าง แต่เมื่อแต่ละร้านได้มารวมกันภายใต้แบรนด์เดียว ทุกร้านก็จะมีโอกาสได้ชูจุดแข็งของตัวเอง อยู่รอด แต่ก่อนการวางราคาอาจคิดแค่เรื่องต้นทุน วัตถุดิบ ซึ่งทำให้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริง จนทำให้ผู้ประกอบการบางรายอยู่ไม่ได้ แต่แบรนด์ "มรดกพระร่วง" ช่วยสร้างคุณค่าในด้านราคาอันได้มาจากความพึงพอใจของผู้ซื้อ ปรับราคาให้เหมาะสมกับตัวสินค้า ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป"
"มรดกพระร่วง" เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่คนไทยภาคภูมิใจ ในมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบสานต่อกันมาจนพัฒนาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าและมีราคา
การเกิดขึ้นของแบรนด์ "มรดกพระร่วง" เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้เพราะ อพท. ดึงดีไซเนอร์ระดับแนวหน้าเข้ามาร่วมออกแบบ จนได้ชิ้นงานร่วมสมัยคงความเป็นมรดกทางศิลปะสุโขทัยไว้อย่างลงตัว สร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ
หากว่ากันด้วยเรื่องคุณค่า "กบ-ณรงค์ชัย" อธิบายว่า บางคนที่มองว่าการนำรูปลักษณะของพุทธศิลป์มาใช้ในผลิตภัณฑ์จะเป็นการลดทอนคุณค่านั้น ต้องพิจารณาก่อนว่าผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ใช่ถ้วยโถโอชามที่จะนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน แต่เป็นของประดับตกแต่ง ที่ให้คนทั่วไปได้เห็น ได้ทำความรู้จัก
"บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า พุทธศิลป์สุโขทัย จะมีหน้านาง คางหยิก ลีลาคล้ายสตรี เป็นการทำให้เข้าถึงศิลปะประเภทนี้ได้โดยง่าย ดีกว่าปล่อยให้หายไปเฉย ๆ และผมก็มีความเชื่อส่วนตัวว่า หากคนปกติทั่วไปเห็นงานเชิงพุทธศิลป์ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เขาก็คงจะไม่กระทำการใดที่ลบหลู่ดูหมิ่น เพราะหากมีความนับถืออยู่ในใจ ความเคารพ กาลเทศะต่าง ๆ จะตามมา" ช่างฝีมืองานพุทธศิลป์สุโขทัย กล่าวถึงการนำงานพุทธศิลป์ใส่ในผลิตภัณฑ์
เช่นเดียวกับงานหัตถศิลป์ที่ทรงคุณค่า อย่าง "ทองสุโขทัย" ที่มีเอกลักษณ์อยู่ที่เนื้อทอง 99.99% สีสุกสว่าง ลวดลายงดงามชดช้อย ราคาสูง เพราะต้องใช้ทักษะและความประณีตคงเอกลักษณ์แบบโบราณไว้ แต่เมื่อมาเป็นหนึ่งในแบรนด์ "มรดกพระร่วง" ที่ออกสู่สายตาคนได้มากขึ้น จำต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง
"ปราโมทย์ เขาเหิน" ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งร้านทองสมสมัย บอกว่า ทองสุโขทัยแบรนด์มรดกพระร่วง มีการออกแบบลวดลายให้ร่วมสมัยและหลากหลายมากขึ้น มีการนำทองมาผสมกับเงิน สร้างมาตรฐานให้เครื่องทอง-เครื่องเงินสุโขทัยด้วยการออกใบรับรองคุณภาพ ที่สำคัญต้องนำมาประยุกต์ใช้งานได้จริง
อีกหนึ่งผู้ประกอบการที่มองเป็นความสำคัญของแบรนด์ "มรดกพระร่วง" อย่าง เจ้าของร้านสุนทรีผ้าไทย "วีวรรณ ขนาดนิด" ให้ความเห็นว่า การที่ อพท.นำดีไซเนอร์ระดับแถวหน้าเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านได้แนวคิดและมองเห็นช่องทางต่อยอดธุรกิจไปได้แบบไม่ต้องทิ้งเอกลักษณ์ของชุมชนไป
ขณะที่ "อนุรักษ์ บุญคง" ผู้ประกอบการเครื่องสังคโลก มองว่า แบรนด์ "มรดกพระร่วง" มีการวางคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้ผลิตได้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของผลงานตนเอง
"เมื่อก่อนอาจมีสะเปะสะปะ เขวไปบ้าง แต่เมื่อแต่ละร้านได้มารวมกันภายใต้แบรนด์เดียว ทุกร้านก็จะมีโอกาสได้ชูจุดแข็งของตัวเอง อยู่รอด แต่ก่อนการวางราคาอาจคิดแค่เรื่องต้นทุน วัตถุดิบ ซึ่งทำให้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริง จนทำให้ผู้ประกอบการบางรายอยู่ไม่ได้ แต่แบรนด์ "มรดกพระร่วง" ช่วยสร้างคุณค่าในด้านราคาอันได้มาจากความพึงพอใจของผู้ซื้อ ปรับราคาให้เหมาะสมกับตัวสินค้า ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป"
"มรดกพระร่วง" เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่คนไทยภาคภูมิใจ ในมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบสานต่อกันมาจนพัฒนาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าและมีราคา
ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น