วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาการของคนเสพติดหนี้ (Debt Addiction)

พอดีผมได้อ่านกระทู้

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อติด แบล็กลิส

แล้วไปสะดุดกับความเห็นที่ 2 ของคุณ ไอติมชาเขียวถั่วแดงเย็น 

ถ้าพี่สาว เป็นคน เสพติดหนี้ (เป็นหนี้ซ้ำซาก)
แล้ว ยังมาให้เรากู้ ไปใช้หนี้ ให้เค้าอีก
เสี่ยงมาก ที่เค้าจะเอาหนี้ มาแบกทับเรา

และความเห็นที่ 2-1 ของคุณ ผึ้งน้อยพเนจร

ผมดีใจมากๆที่มีคนไทยรู้จักอาการ debt addiction ด้วยครับ
อ่านที่คุณไอติมตอบแล้วชื่นใจมากเลย
อาการเสพติดหนี้เป็นภัยร้ายบ่อนทำลายความแข็งแรงทางการเงินอย่างมาก
คนไทยเป็นเยอะมากโดยไม่รู้ตัวเลยครับ

ทำให้ผมสนใจว่าอาการของคนเสพติดหนี้เป็นอย่างไร ก็เลยลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ
----------------------------------------------------------------------------------------
แปลมาจาก http://www.moneycrashers.com/what-is-debt-addiction/ และ http://debtorsanonymous.org/help/signs.htm แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษของผมไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไร ถ้าข้อมูลผิดตรงไหนท้วงติงได้เลยนะครับ จะแก้ไขให้ถูกต้องครับ

คนที่เสพติดการเป็นหนี้เป็นพฤติกรรมอันตราย ที่เกิดจากการก่อหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาปัญหาทางการเงินและตอบสนองความต้องการของตน แต่ไม่มีแผนที่จะชำระหนี้ที่เป็นรูปธรรม ไม่มีแผนที่จะพาตนเองออกจากสถานะการเป็นลูกหนี้ ทำให้ชีวิตตนเองตกอยู่ในสภาพลูกหนี้ไม่จบไม่สิ้น ซึ่งคนที่เสพติดการเป็นหนี้ จะมีสัญญาณ 12 ประการดังนี้

1. ไม่เข้าใจหรือไม่รับรู้ถึง สถานะทางการเงินของตัวเอง , ยอดเงินคงเหลือในบัญชีของตัวเอง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน รวมถึงอาจจะไม่เข้าใจถึง อัตราดอกเบี้ย , ค่าปรับ และข้อกำหนดในสัญญาของการเป็นหนี้
2. มีพฤติกรรมที่ชอบหยิบยืมเงินคนรอบข้างบ่อยๆ และไม่สามารถที่จะนำมาคืนได้ และบางครั้งอาจจะหมายรวมถึงสิ่งของด้วย เช่นขนม เครื่องเขียน หนังสือ ฯลฯ
3. มีพฤติกรรมการออมเงินที่แย่ ไม่มีแผนสำหรับการจ่ายภาษีต่างๆเมื่อถึงกำหนด ไม่มีแผนสำหรับการเกษียรอายุ รวมถึงไม่มีแผนรองรับรายจ่ายชั่วครั้งคราวที่สามารถคาดเดาได้ นอกจากนั้นมักจะรู้สึกประหลาดใจเมื่อถึงวันที่จะต้องจ่ายเงินดังกล่าวเพราะไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้
4. มีพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น เพียงเพราะสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าที่มี "ข้อเสนอพิเศษ" ซึ่งบางอย่างอาจจะซื้อมาแต่ไม่ได้ใช้งานเลย บางอย่างอาจจะซื้อมาแล้วก็ขายต่อไปในสภาพสมบูรณ์ เช่นยังไม่แกะห่อ ยังไม่ปลดป้าย
5. ไม่สามารถชำระหนี้ได้เมื่อถึงกำหนด หรืออาจจะชำระได้แต่ต้องอาศัยความพยายามมากกว่าปรกติ (เช่นนำของไปขาย เอาของไปจำนำ หยิบยืม ฯลฯ)
6. มีความรู้สึกดีเป็นพิเศษเมื่อซื้อของด้วยบัตรเครดิตมากกว่าการซื้อของด้วยเงินสด บางคนอาจจะภูมิใจที่ได้มีบัตรเครดิตบางประเภท หรือได้เป็นสมาชิกของคลับบางคลับ บางคนอาจจะรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ขึ้นเมื่อมีบัตรเครดิต
7. มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเงินๆทองๆ มีปัญหาทางด้านการเงินให้แก้ไขเอาตัวรอดอยู่เป็นประจำ บางคนอาจจะมีพฤติกรรมการสร้างหนี้ใหม่มาเพื่อโปะหนี้เก่า 
8. มีพฤติกรรมการใช้เงินเดือนชนเดือน และมักจะพบปัญหาเมื่อมีรายจ่ายพิเศษเข้ามา เช่นค่าประกันรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาล
9. รู้สึกอับอายหรือไม่สบายใจเมื่อต้องสนทนาเรื่องเงินๆทองๆกับคนอื่น แม้ว่าจะเป็นประเด็นทั่วๆไปก็ตาม (ผมเข้าใจว่าเช่นเพื่อนอาจจะพูดคุยกันเรื่องซื้อการลงทุน แต่เรากลับรู้สึกอายอยู่ลึกๆในใจที่เราไม่มีเงิน เป็นต้น)
10. ทำงานมากจนเกินไปเช่นต้องทำโอที หรือทำงานพิเศษเพื่อหาเงินมาจ่ายบัตรเครดิต หรือมีรายได้น้อยจนเกินไป เช่นอาจจะทำงานที่ได้รายได้น้อยกว่าความสามารถที่แท้จริงของตนเอง (** เรื่องรายได้น้อยคุณผึ้งน้อยพเนจรที่อธิบายไว้ใน คห. 1 นะครับ มีเหตุผลเหมือนกันครับ สั้นๆคือมีรายได้น้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตนเอง ทำให้พึ่งพาบัตรเครดิตและสินเชื่อต่างๆมาเป็นรายได้เสริม **)
11. ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวจาก ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่ดูแลตนเอง หรือใช้ชีวิตโดยขาดปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นความไม่เต็มใจเพราะต้องนำเงินไปชำระหนี้
12. มีความหวังเสมอว่าบางคนหรือบางสิ่งบางอย่างจะมาช่วยตนได้ในวันที่ลำบาก และถ้าหากเกิดวิกฤติทางการเงินขึ้นมาจริงๆ จะมีคนให้หันหน้าไปพึ่งพิงได้

จริงๆแล้วการเป็นหนี้ไม่ได้หมายถึงเราเสพติดการเป็นหนี้เสมอไป เพราะบางครั้งเราก็จำเป็นต้องก่อหนี้ด้วยเหตุผลที่ยอมรับได้ แต่คนที่เสพติดการเป็นหนี้มักจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป เช่นสามารถสร้างหนี้ใหม่ได้เรื่อยๆได้โดยไม่ได้สนใจถึงยอดหนี้ที่ตนมีอยู่ , พยายามหลบเลี่ยงและปิดบังความจริงว่าตนเองเป็นหนี้ , ใช้ชีวิตโดยไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับหนี้ที่ตนเองมี หรืออาจจะใช้ชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงต่อวิกฤติการณ์ทางการเงินส่วนบุคคลอยู่เสมอ

ส่วนวิธีนำพาตัวเองออกจากการเป็นคนเสพติดหนี้สามารถทำได้โดย
1. ทำบัญชีหนี้สินทั้งหมดที่ตัวเองมี รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและค่าปรับที่ต้องชำระทั้งหมด
2. หยุดสร้างหนี้สินใหม่ๆเพิ่มเติม และเริ่มที่จะชำระหนี้ แม้จะเป็นการชำระขั้นต่ำก็ยังดี
3. หันมาใช้เงินสดในการใช้จ่าย นอกเหนือจากนั้นคือต้องพยายามแยกแยะให้ออกระหว่าง "สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณ" และ "สิ่งที่คุณอยากได้"
4. บางครั้งคุณอาจจะต้องพิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่นยกเลิกบริการบางอย่างที่ไม่จำเป็น ขายรถยนต์ออกไปแล้วใช้รถประจำทางแทน ทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง
5. หากคุณมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะดำรงชีวิตและชำระหนี้ ให้ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอความช่วยเหลือและหาทางออก

(อันนี้เสริมเองนะฮะ) การจะแก้ไขปัญหาอะไรได้ ต้องยอมรับเสียก่อนว่าปัญหานั้นมีอยู่จริง และต้องยอมรับให้ได้ว่าเราเป็นคนก่อให้เกิดปัญหานั้นๆ เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์ เรามักจะมองข้ามปัญหาที่เราไม่ได้เป็นต้นเหตุหรือไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ในมุมกลับกันถ้าเราเป็นต้นเหตุหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง เราจะให้ความสนใจปัญหานั้นๆมากเป็นพิเศษ ... พูดง่ายๆว่าเราต้องยอมรับให้ได้ว่าตนเองเป็นคนผิด และปัญหาหนี้สินเกิดขึ้นมาเพราะตัวเราเอง ซึ่งเมื่อไรที่เรายอมรับตรงจุดนี้ได้แล้ว กระบวนการแก้ไขและปรับปรุงถึงจะตามมา แต่ตราบใดที่เรายังไม่ยอมรับ เราจะยังคงบ่ายเบียงปัญหานั้นต่อไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่รู้สึกว่ามันเกี่ยวข้องกับเรา ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของเรา
----------------------------------------------------------------------------------------
แวะมาแปะลิ้งค์ คห. 42 นะครับ ประสบการณ์ตรงของผู้ที่มีหน้าที่ติดตามหนี้สิน อยากให้ลองอ่านกันดูนะครับ

http://pantip.com/topic/34112405/comment42
----------------------------------------------------------------------------------------
ปรกติไม่ค่อยตั้งกระทู้แนวนี้ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และหวังว่าจะมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ

** แก้ไข 1 : เพิ่มเติมคำอธิบายเรื่องรายได้น้อย
** แก้ไข 2 : เพิ่มเครดิตคุณไอติมชาเขียวถั่วแดงเย็นครับ
** แก้ไข 3 : เพิ่มลิ้งค์ไปที่ คห. 42

cr:http://pantip.com/topic/34112405

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น