updated: 13 ต.ค. 2558 เวลา 09:00:00 น.
"พ่อเป็นเหมือนต้นไม้ที่เชิงเขา ส่งให้เจ้าเป็นดั่งต้นไม้ที่เกิดอยู่กลางเขา ตัวเจ้าก็มีหน้าที่เจริญเติบโตไปให้ถึงยอด แต่กระนั้นก็ต้องไม่ลืมคนที่อยู่ข้างหลัง หรือผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่า" คำสอนของบิดา ซึ่งตราตรึงอยู่ในความรู้สึกของ ศ.คลินิกเกียรติคุณ น.พ.เหลือพร ปุณณกันต์ กุมารแพทย์มือฉมังลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย
ด้วยวัย 72 ปี หลายคนอาจหยุดพักการทำงานไปแล้ว แต่สำหรับ น.พ.เหลือพร ทุกวันนี้เวลาส่วนใหญ่ยังคงสนุกและทุ่มเทไปกับงาน ในฐานะการเป็น...ผู้ให้ ในตำแหน่งผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ
"คนที่เป็นหมอย่อมมองเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่นมาก่อนอยู่แล้วเอาจริง ๆ ก่อนหน้าที่ผมจะมาเรียนแพทย์ ที่ศิริราชพยาบาล ผมก็เคยอยากเป็นวิศวกรนะ แต่คุณแม่ท่านมองอนาคตผมไว้ในอาชีพแพทย์ ประกอบกับผมก็สอบติด เลยเบนเป้าหมายมาเป็นหมอตามที่ครอบครัวแนะนำ
6 ปีในการเรียนแพทย์ ผมเห็นอะไรมากมาย และส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดือดร้อนกาย-ใจ จากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ผมในฐานะคนที่เติบโตมากับคำสอนของที่บ้าน ซึ่งสอนให้มองเห็นคุณค่าของผู้อื่น เห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ สิ่งเหล่านี้มันเลยซึมซับทับถมกันมาโดยตลอด" น.พ.เหลือพรเผยเรื่องราวของตน
โอกาสในการเป็นผู้ให้ของ น.พ.เหลือพร เปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่ในฐานะแพทย์ แม้แต่ในการสังสรรค์สมาคมกับเพื่อนฝูง การช่วยเหลือผู้อื่นยังคงเป็นประเด็นในการสนทนา จนเกิดเป็นชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ที่มักจะจัดโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสตามถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
และที่เห็นเป็นหลักใหญ่ของการให้ คือปัจจุบัน น.พ.เหลือพร ยังคงรับหน้าที่เป็นผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ มาต่อเนื่องยาวนานถึง 14 ปี โดยไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนแต่อย่างใด
"ทุกคนที่ศิริราชมูลนิธิ ยกเว้นระดับพนักงาน เราล้วนไม่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างใด ๆ ข้าวก็มีให้กินเป็นบางวันเท่านั้นนะ (หัวเราะ) ผมมักบอกคนอื่น ๆ ที่ทำงานมูลนิธิด้วยกันว่า เขาไม่ได้จ่ายเงินเราตอนนี้ แต่เขาจะสะสมไปจ่ายเราบนนั้น" น.พ.เหลือพรเล่าอย่างมีอารมณ์ขัน พร้อมกับยกนิ้วชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า
อย่างไรก็ตาม บทบาทของการเป็นผู้ให้ ไม่ได้จำกัดแค่คนเป็นหมอ หรือผู้ทำงานมูลนิธิเท่านั้น ทุกคนล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ได้ โดยผู้มีจิตศรัทธาไม่จำเป็นต้องรวยเงิน แต่ต้องรวยน้ำใจ คนธรรมดาหลายคนกลายเป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ได้ โดย น.พ.เหลือพรได้ยกตัวอย่างกรณีไม่คาดฝัน
ของจุดริเริ่มกองทุนเจ้าฟ้ามหิดลฯ ว่าเกิดจาก "ป้าช้อง" สาวใหญ่นุ่งผ้าถุงถือตะกร้าเชี่ยนหมาก
"ผมยังจำได้ดีกับ "ป้าช้อง" ที่เดินเข้ามาในมูลนิธิ ด้วยการแต่งกายทั่วไป นุ่งผ้าถุง หิ้วตะกร้าใส่เชี่ยนหมาก พร้อมนำสมุดบัญชีมาด้วยความประสงค์จะบริจาคเงิน 14 ล้านบาท โดยไม่หวังอะไรตอบแทน ผมเองเห็นถึงความน้ำใจดีของแก จึงสอบถามป้าช้องไปว่า อยากได้อะไรจากการบริจาคหรือไม่ แกก็ปฏิเสธ จนเมื่อไถ่ถามสรุปได้ใจความว่า หากเป็นไปได้อยากขอเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพฯ มูลนิธิจึงตอบแทนน้ำใจของป้าช้องทันที
ความน่ารักและเป็นชาวบ้านผู้มีจิตใจดี ในวันเข้าเฝ้าฯ ป้าช้องยังได้เตรียมมะม่วงสุกสวย ลูกใหญ่ เพื่อนำไปถวายแด่สมเด็จพระเทพฯด้วย ในสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝัน วันนั้นป้าช้องไม่ได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ เพียงพระองค์เดียว แต่ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดของป้าช้อง
ที่ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ด้วย นั่นเป็นหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดคิด ที่มีจุดเริ่มต้นเพียงการให้"
ทำดีได้ดี...ประจักษ์ให้เห็นจริง ความมั่นคงของศิริราชมูลนิธิก็เป็นไปตามครรลองนั้น น.พ.เหลือพรฉายภาพการทำงานของศิริราชมูลนิธิว่า ในทุกวันจะมีคนกำเงิน ถือสมุดบัญชี มายืนรอหน้าประตูมูลนิธิเพื่อบริจาคเงิน การบริหารงานของที่นี่โปร่งใสมาตลอด 46 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีคณะกรรมการคอยช่วยหาและดูแลเงินบริจาค ศิริราชมูลนิธิจดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคล ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน โดยมีวัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอบรมศึกษาและค้นคว้าวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2.ส่งเสริมและสนับสนุนการให้การรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3.ร่วมมือส่งเสริม และประสานงานกับสถาบันการกุศลอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 และ 2
หลายต่อหลายครั้งที่มีหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ เข้ามาขอความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของศิริราชมูลนิธิ
ด้วยการยึดมั่นในวัตถุประสงค์สำคัญและความโปร่งใสในการทำงานมายาวนานถึง46 ปี น.พ.เหลือพรได้เอ่ยถึงการยืนหยัดมั่นคงของศิริราชมูลนิธิว่า "ยิ่งใช้...เงินยิ่งมา"
จากวันแรกที่จดทะเบียนมูลนิธิด้วยเงินบริจาคเพียงสามหมื่นบาท ปัจจุบันศิริราชมูลนิธิมีเงินหมุนเวียนระดับหมื่นล้านบาท โดยมี กองทุนในการดูแลของศิริราชมูลนิธิ มากกว่า 5,000 กองทุน
"เราอยู่ได้ด้วยความศรัทธาของคน มูลนิธิก็ไม่ได้มีอะไรให้ แต่ขอตอบแทนน้ำใจของผู้มีจิตศรัทธาด้วยคำอวยพรที่จะส่งถึงในวันเกิดของผู้มาบริจาคเงิน ซึ่งผมจะเป็นคนเซ็นชื่อขอบคุณด้วยตนเองทุกใบ" น.พ.เหลือพรสรุปสั้น ๆ
ในด้านชีวิตส่วนตัวของ น.พ.เหลือพร ที่แม้ปัจจุบันจะมีสถานภาพเป็นคุณปู่คุณตาแล้ว แต่หากให้เกษียณตัวแล้วอยู่บ้านเฉย ๆ เจ้าตัวก็เอ่ยว่า เห็นทีจะไม่ไหว เพราะคนแก่อยู่แต่บ้านนั้น ไม่ทำอะไร จะเฉาเอาได้ง่าย ๆ อีกอย่างการมาทำงานไม่ว่าจะเป็นในหน้าที่แพทย์ หรือผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ ก็ล้วนเป็นการนำความรู้ความสามารถมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งสิ้น แม้ถามถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคต แพทย์ผู้ผ่านประสบการณ์มายาวนานอย่าง น.พ.เหลือพร ยังคงคิดเผื่อไปถึงส่วนรวมว่า
"ผมเคยไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการที่ศูนย์แพทย์พัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผมเห็นว่าน่าจะมีโรงพยาบาลสำหรับคนชั้นกลางเกิดขึ้นอีกมาก ๆ ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐมีผู้ป่วยล้นมือ ผู้ป่วยมาแต่ละครั้งต้องรอนาน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนก็มีราคาสูงเกินไป ถ้าหากมีโรงพยาบาลสำหรับคนชั้นกลางเกิดขึ้นอีกคงเป็นการดี และเชื่อว่าทุกฝ่ายก็สามารถอยู่ได้"
คำว่า "ทุ่มเท" อาจยังน้อยไป หากจะใช้กับ น.พ.เหลือพร ปุณณกันต์
"คนที่เป็นหมอย่อมมองเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่นมาก่อนอยู่แล้วเอาจริง ๆ ก่อนหน้าที่ผมจะมาเรียนแพทย์ ที่ศิริราชพยาบาล ผมก็เคยอยากเป็นวิศวกรนะ แต่คุณแม่ท่านมองอนาคตผมไว้ในอาชีพแพทย์ ประกอบกับผมก็สอบติด เลยเบนเป้าหมายมาเป็นหมอตามที่ครอบครัวแนะนำ
6 ปีในการเรียนแพทย์ ผมเห็นอะไรมากมาย และส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดือดร้อนกาย-ใจ จากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ผมในฐานะคนที่เติบโตมากับคำสอนของที่บ้าน ซึ่งสอนให้มองเห็นคุณค่าของผู้อื่น เห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ สิ่งเหล่านี้มันเลยซึมซับทับถมกันมาโดยตลอด" น.พ.เหลือพรเผยเรื่องราวของตน
โอกาสในการเป็นผู้ให้ของ น.พ.เหลือพร เปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่ในฐานะแพทย์ แม้แต่ในการสังสรรค์สมาคมกับเพื่อนฝูง การช่วยเหลือผู้อื่นยังคงเป็นประเด็นในการสนทนา จนเกิดเป็นชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ที่มักจะจัดโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสตามถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
และที่เห็นเป็นหลักใหญ่ของการให้ คือปัจจุบัน น.พ.เหลือพร ยังคงรับหน้าที่เป็นผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ มาต่อเนื่องยาวนานถึง 14 ปี โดยไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนแต่อย่างใด
"ทุกคนที่ศิริราชมูลนิธิ ยกเว้นระดับพนักงาน เราล้วนไม่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างใด ๆ ข้าวก็มีให้กินเป็นบางวันเท่านั้นนะ (หัวเราะ) ผมมักบอกคนอื่น ๆ ที่ทำงานมูลนิธิด้วยกันว่า เขาไม่ได้จ่ายเงินเราตอนนี้ แต่เขาจะสะสมไปจ่ายเราบนนั้น" น.พ.เหลือพรเล่าอย่างมีอารมณ์ขัน พร้อมกับยกนิ้วชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า
อย่างไรก็ตาม บทบาทของการเป็นผู้ให้ ไม่ได้จำกัดแค่คนเป็นหมอ หรือผู้ทำงานมูลนิธิเท่านั้น ทุกคนล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ได้ โดยผู้มีจิตศรัทธาไม่จำเป็นต้องรวยเงิน แต่ต้องรวยน้ำใจ คนธรรมดาหลายคนกลายเป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ได้ โดย น.พ.เหลือพรได้ยกตัวอย่างกรณีไม่คาดฝัน
ของจุดริเริ่มกองทุนเจ้าฟ้ามหิดลฯ ว่าเกิดจาก "ป้าช้อง" สาวใหญ่นุ่งผ้าถุงถือตะกร้าเชี่ยนหมาก
"ผมยังจำได้ดีกับ "ป้าช้อง" ที่เดินเข้ามาในมูลนิธิ ด้วยการแต่งกายทั่วไป นุ่งผ้าถุง หิ้วตะกร้าใส่เชี่ยนหมาก พร้อมนำสมุดบัญชีมาด้วยความประสงค์จะบริจาคเงิน 14 ล้านบาท โดยไม่หวังอะไรตอบแทน ผมเองเห็นถึงความน้ำใจดีของแก จึงสอบถามป้าช้องไปว่า อยากได้อะไรจากการบริจาคหรือไม่ แกก็ปฏิเสธ จนเมื่อไถ่ถามสรุปได้ใจความว่า หากเป็นไปได้อยากขอเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพฯ มูลนิธิจึงตอบแทนน้ำใจของป้าช้องทันที
ความน่ารักและเป็นชาวบ้านผู้มีจิตใจดี ในวันเข้าเฝ้าฯ ป้าช้องยังได้เตรียมมะม่วงสุกสวย ลูกใหญ่ เพื่อนำไปถวายแด่สมเด็จพระเทพฯด้วย ในสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝัน วันนั้นป้าช้องไม่ได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ เพียงพระองค์เดียว แต่ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดของป้าช้อง
ที่ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ด้วย นั่นเป็นหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดคิด ที่มีจุดเริ่มต้นเพียงการให้"
ทำดีได้ดี...ประจักษ์ให้เห็นจริง ความมั่นคงของศิริราชมูลนิธิก็เป็นไปตามครรลองนั้น น.พ.เหลือพรฉายภาพการทำงานของศิริราชมูลนิธิว่า ในทุกวันจะมีคนกำเงิน ถือสมุดบัญชี มายืนรอหน้าประตูมูลนิธิเพื่อบริจาคเงิน การบริหารงานของที่นี่โปร่งใสมาตลอด 46 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีคณะกรรมการคอยช่วยหาและดูแลเงินบริจาค ศิริราชมูลนิธิจดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคล ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน โดยมีวัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอบรมศึกษาและค้นคว้าวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2.ส่งเสริมและสนับสนุนการให้การรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3.ร่วมมือส่งเสริม และประสานงานกับสถาบันการกุศลอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 และ 2
หลายต่อหลายครั้งที่มีหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ เข้ามาขอความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของศิริราชมูลนิธิ
ด้วยการยึดมั่นในวัตถุประสงค์สำคัญและความโปร่งใสในการทำงานมายาวนานถึง46 ปี น.พ.เหลือพรได้เอ่ยถึงการยืนหยัดมั่นคงของศิริราชมูลนิธิว่า "ยิ่งใช้...เงินยิ่งมา"
จากวันแรกที่จดทะเบียนมูลนิธิด้วยเงินบริจาคเพียงสามหมื่นบาท ปัจจุบันศิริราชมูลนิธิมีเงินหมุนเวียนระดับหมื่นล้านบาท โดยมี กองทุนในการดูแลของศิริราชมูลนิธิ มากกว่า 5,000 กองทุน
"เราอยู่ได้ด้วยความศรัทธาของคน มูลนิธิก็ไม่ได้มีอะไรให้ แต่ขอตอบแทนน้ำใจของผู้มีจิตศรัทธาด้วยคำอวยพรที่จะส่งถึงในวันเกิดของผู้มาบริจาคเงิน ซึ่งผมจะเป็นคนเซ็นชื่อขอบคุณด้วยตนเองทุกใบ" น.พ.เหลือพรสรุปสั้น ๆ
ในด้านชีวิตส่วนตัวของ น.พ.เหลือพร ที่แม้ปัจจุบันจะมีสถานภาพเป็นคุณปู่คุณตาแล้ว แต่หากให้เกษียณตัวแล้วอยู่บ้านเฉย ๆ เจ้าตัวก็เอ่ยว่า เห็นทีจะไม่ไหว เพราะคนแก่อยู่แต่บ้านนั้น ไม่ทำอะไร จะเฉาเอาได้ง่าย ๆ อีกอย่างการมาทำงานไม่ว่าจะเป็นในหน้าที่แพทย์ หรือผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ ก็ล้วนเป็นการนำความรู้ความสามารถมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งสิ้น แม้ถามถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคต แพทย์ผู้ผ่านประสบการณ์มายาวนานอย่าง น.พ.เหลือพร ยังคงคิดเผื่อไปถึงส่วนรวมว่า
"ผมเคยไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการที่ศูนย์แพทย์พัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผมเห็นว่าน่าจะมีโรงพยาบาลสำหรับคนชั้นกลางเกิดขึ้นอีกมาก ๆ ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐมีผู้ป่วยล้นมือ ผู้ป่วยมาแต่ละครั้งต้องรอนาน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนก็มีราคาสูงเกินไป ถ้าหากมีโรงพยาบาลสำหรับคนชั้นกลางเกิดขึ้นอีกคงเป็นการดี และเชื่อว่าทุกฝ่ายก็สามารถอยู่ได้"
คำว่า "ทุ่มเท" อาจยังน้อยไป หากจะใช้กับ น.พ.เหลือพร ปุณณกันต์
cr:http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1444669219
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น