การมาของอีบุ๊ค ที่มีคำพยากรณ์การรอวันล่มสลายของโลกกระดาษ แม้วันนี้อีบุ๊คอาจจะยังไม่ชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่ก็สั่นคลอนโลกของการอ่านแบบเก่าไปได้มากอยู่
ebook หรือ emagazine ยังไม่ผลิดอกออกผลเต็มที่ในเมืองไทย มันเป็นเพียงแค่การตื่นตัวต่อ “ของใหม่” เป็นเพียงการคาดการณ์ เป็นคำพยากรณ์ มีแนวโน้ม หรือดูเหมือนว่ากำลังจะมา แต่เอาเข้าจริงๆมันยังไม่มา และหนังสือที่คาดว่าจะถูกอย่างอื่นมาแทนที่นาทีนี้มันพิสูจน์แล้วว่ามันจะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป
หลังการมาของสื่ออนไลน์ ปัญหานึงที่เราต้องเผชิญก็คือ งบที่ลูกค้าให้ก็งบก้อนเดิมเท่าเดิมนั่นแหล่ะ แต่ทุกวันนี้มันถูกซอยแบ่งแยกย่อยไปที่ดิจิตอล ออนไลน์ พื้นที่เดิมที่เราเคยยึดครองก็ถูกแย่งชิง ปริ๊นติ้งก็ต้องมาสู้กับพวกนี้ โชคดีที่หลายสำนักไม่ได้มองว่าโลกของกระดาษ กับ โลกออนไลน์ เปนศรัตรูกัน แต่พยายามที่จะหาที่อยู่ให้สองอย่างนี้ยืนคู่กันได้ แต่ก็นั่นแหล่ะ เรายังนึกโมเดลดีๆ ไม่ออก ที่ผ่านมาก็แค่ให้โลกออนไลน์เปนตัวซัพพอร์ตโลกกระดาษ เปนตัวพีอาร์ประชาสัมพันธ์เท่านั้นเอง
เพราะเอาเข้าจริงๆ โลกออนไลน์มันก็ยังไม่นิ่ง เช่น เวลาที่มีคนจัดงานแล้วขึ้นปฏิทินกิจกรรมชวนคนมางาน มีคนมากด “จะเข้าร่วม” เยอะมากๆ แต่ก็ไม่เสมอไปที่คนจะมาเข้าร่วมตามยอดการกด อย่างเมื่อเร็วๆนี้ มีเพจดังที่มียอดคนกดติดตามเปนแสนตัดสินใจพิมพ์หนังสือขายในงานสัปดาห์หนังสือ เขาตั้งโต๊ะรอคนมาขอลายเซ็นเลย ปรากฏว่าเงียบบบบ ยอดหนังสือแทบไม่วิ่งเลย อายคนอื่นชิบหาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า โลกออนไลน์ มันไม่ได้บอกอะไรเลย
ผมนึกถึงความกังวลของ บก.ท่านนึงเคยคร่ำครวญผ่าน บท บก.ว่าคนทำนิตยสารรายเดือนต้องปรับตัวกันยกใหญ่เหตุเพราะการมาของสื่อออนไลน์ที่มีความรวดเร็วกว่า มีประเด็นให้เล่นทุกวัน แถมบางวันมีเรื่องใหม่ๆเกิดขึ้นทุก 3-4ชั่วโมง ความสนใจของคนทุกวันนี้เปลี่ยนไปเร็วมาก แล้วนิตยสารรายเดือนมันมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ต่อให้คุณเป็นมืออาชีพแค่ไหน แต่ขั้นตอนการทำหนังสือมันก็มีจังหวะของมันอยู่ดี เช่น กว่าจะเริ่มเป็นหนังสือได้มันต้องมีไรต์เตอร์ ผ่านปรู๊ฟรีดเดอร์ มาบรรณาธิการบทความ ตรวจซ้ำด้วยซับอีดิตเตอร์ แล้วส่งถึงมือบก.ใหญ่ แล้วไหนจะเผื่อเวลาให้โรงพิมพ์อีก เรื่องที่เราตั้งใจเล่น เมื่อหนังสือคลอดเราก็พบว่าประเด็นนั้นมันเอาท์ไปแล้ว
เมื่อเทียบกับสื่อออนไลน์ ข้อดีของสื่อนี้คือรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ แต่ข้อเสียคือมันไม่มีระบบบรรณาธิการคอยปรู๊ฟคำและปรู๊ฟความ เนื้อหาเต็มไปด้วยคำผิด นั่นไม่น่าเจ็บใจเท่ากับข่าวที่แชร์มาไม่เป็นความจริง ไม่มีคนคอยรีเชคข่าว สื่อใหญ่อย่างเดลินิวส์ไทยรัฐเงิบกันมาแล้ว กรณีทำข่าวชมรมคนเอาหมา เรื่องมันมาฉาวตอนที่เจ้าของเฟสเขามาแฉว่าเขานั้นเต้าข่าวขึ้นมาเพื่อดักควาย555
ที่จะพูดคือ สื่อออนไลน์มันไวก็จริงแต่มันฉาบฉวย มันเล่นได้แต่เรื่องแบบแนวราบ ไม่ใช่แนวลึก เพราะฉะนั้นจุดแข็งของหนังสือแมกกาซีนรายเดือนคือ ต้องเล่นทางลึกอย่าเล่นทางกว้าง ทำในสิ่งที่สื่อออนไลน์ทำไม่ได้
ครับ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมาของสิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่เคยชินอยู่ในโลกกระดาษหวาดวิตก บางคนหวั่นใจว่าอีกหน่อยพวกที่อยู่ในวิชาชีพนี้จะพากันตกงาน แต่สำหรับผมมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะต่อให้ไม่มีหนังสือแล้วเราก็จะยังคงมีงานทำกันต่อไป เพราะหน้าที่เราคือผู้ผลิตคอนเทนต์ ซึ่งเป็นแกนหลักของทุกสิ่งอยู่แล้ว ผมไม่ซีเรียสเลยว่าถ้าวันหนึ่งไม่มีหนังสือเราจะทำยังไง สำหรับผมมันก็แค่การกลายร่าง เปลี่ยนรูปทรง เปลี่ยนฟอร์ม เคลื่อนย้ายจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่งเท่านั้น หน้าที่เราก็แค่เปลี่ยนวิธีการสื่อสารเล่าเรื่อง เพราะในความเป็นจริง ความคิดก้อนเดิมคอนเทนต์หลักก็ยังอยู่ไม่ได้ไปไหน
แต่สิ่งที่น่ากลัวอาจคือคนที่ทำงานอยู่ในสายพานการผลิตที่เปนภาชนะรองรับแบบเก่าที่ต้องต่อสู้กับภาชนะใหม่ๆ มากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น