สุเจน กรรพฤทธิ์ : สัมภาษณ์
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ถ่ายภาพ
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ถ่ายภาพ
นักประวัติศาสตร์ทราบดีว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงหลังสงครามจบลงใหม่ ๆ ความอดอยากและสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ทำให้คนจีนจำนวนมากอพยพเข้ามาทำมาหากินในสยาม
ครอบครัวแซ่คูก็เป็นหนึ่งในผู้อพยพเหล่านั้น หัวหน้าครอบครัวทิ้งบ้านจากซัวเถามาเริ่มต้นชีวิตในสยามด้วยการเป็นคนงานโรงงานฟอกหนัง ไม่นานนักเขาก็ให้ลูกและภรรยาตามมาตั้งรกราก
ไม่ต่างกับครอบครัวจีนส่วนใหญ่ ทุกคนทำงานหนักเพื่อตั้งตัวและสร้างชีวิตที่ดีกว่า
“มุก แซ่คู” ลูกชายคนโตทำงานหาเงินส่งเสียน้อง ๆ เรียนหนังสือ ในช่วงวัยรุ่น เขาดัดแปลงห้องแถวบนถนนพระราม ๔ ย่านคลองเตยเป็นร้านรับปะยางจักรยานเล็ก ๆ ชื่อ “สินเจริญ”
จากงานปะยาง เขาใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีสร้างชื่อในฐานะ “ผู้ผลิตจักรยานเสือหมอบแฮนด์เมด” สัญชาติไทย โดยผลิตเสือหมอบให้นักจักรยานทีมชาติจนเป็นที่รู้จักในฉายา มุก คลองเตย
ความเชี่ยวชาญของมุกได้รับการยอมรับถึงระดับถูกทาบทามให้ทำหน้าที่ “นายช่าง” ของนักจักรยานทีมชาติไทยชุดซีเกมส์และเอเชี่ยนเกมส์หลายครั้ง เป็นที่รู้กันว่าเบื้องหลังความสำเร็จของนักจักรยานทีมชาติไทยช่วงต้นทศวรรษ ๒๕๐๐ นั้น “มุก คลองเตย” มีส่วนสำคัญไม่น้อย
ทว่าถึงปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ จู่ ๆ ร้าน “สินเจริญ” ก็ปิดตัว “มุก คลองเตย” หายไปจากวงการเงียบ ๆ กลายเป็นปริศนาให้วิเคราะห์ไปต่าง ๆ นานา บ้างลือถึงขนาดว่ามุกเสียชีวิตแล้ว
จนทุกวันนี้ นักจักรยานรุ่นใหญ่ยังคงพูดถึงเขาบ่อยครั้งในฐานะนักสร้างจักรยานแฮนด์เมดระดับปรมาจารย์ เฟรมที่ “มุก คลองเตย” สร้างปัจจุบันยังมีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของนักจักรยานจำนวนมาก
วันนี้ มุก แซ่คู หรือ “มุก คลองเตย” ในวัย ๗๙ ปี ซึ่งไม่เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารเล่มใดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เปิดใจคุยกับ สารคดี เพื่อเล่าเรื่องราวของตัวเองให้คนรุ่นหลังได้รับรู้
อยากให้คุณมุกเล่าประวัติส่วนตัว
ผมมีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน บ้านผมอพยพมาจากเมืองจีน จากเมืองซัวเถา นามสกุลคือ “แซ่คู” เตี่ย (พ่อ) มาเมืองไทยก่อน จากนั้นผมกับแม่ก็ตามมา ตอนนั้นผมอายุ ๑๒ ปี ผมเกิดที่เมืองจีน ส่วนน้อง ๆ มาเกิดที่เมืองไทย วันนี้ผมเองก็ยังมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าว นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมผมพูดจีนกลางได้นิดหน่อย ที่พูดได้จริง ๆ คือจีนแคะซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของซัวเถา ส่วนหนังสือผมเขียนไม่ได้เพราะที่บ้านไม่ได้ส่งให้เรียน
ผมมีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน บ้านผมอพยพมาจากเมืองจีน จากเมืองซัวเถา นามสกุลคือ “แซ่คู” เตี่ย (พ่อ) มาเมืองไทยก่อน จากนั้นผมกับแม่ก็ตามมา ตอนนั้นผมอายุ ๑๒ ปี ผมเกิดที่เมืองจีน ส่วนน้อง ๆ มาเกิดที่เมืองไทย วันนี้ผมเองก็ยังมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าว นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมผมพูดจีนกลางได้นิดหน่อย ที่พูดได้จริง ๆ คือจีนแคะซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของซัวเถา ส่วนหนังสือผมเขียนไม่ได้เพราะที่บ้านไม่ได้ส่งให้เรียน
ตอนเตี่ยมาเมืองไทย เตี่ยทำงานเป็นพ่อครัวให้ทหารญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาตั้งฐานทัพในเมืองไทยช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ ๒) พอญี่ปุ่นแพ้สงคราม เตี่ยเอาของที่ทหารญี่ปุ่นทิ้งไว้ไปขายแล้วเอามาเป็นค่าเดินทางให้ผมกับแม่ตามมาเมืองไทย
จุดเริ่มต้นการซ่อมและสร้างจักรยานเกิดขึ้นอย่างไร
ผมมีญาติอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เขามาเยี่ยมบ่อย ครั้งหนึ่งผมตามไปอยู่กับเขาราวปีเศษ เขาเปิดร้านจักรยาน รับปะยาง ผมก็ได้ไปเรียนรู้ สมัยนั้นปะยางแผลหนึ่งคิด ๕๐ สตางค์ พอกลับมากรุงเทพฯ ผมมาเปิดร้านปะยางที่บ้านบนถนนพระราม ๔ ตอนนั้นผมอายุ ๑๘ ปี ถนนพระราม ๔ ยังเป็นลูกรัง รอบ ๆ เป็นนาข้าว จนมีการสร้างถนนแล้วน้ำท่วมเข้าบ้าน ผมเลยย้ายบ้านมาที่อยู่ปัจจุบัน
ผมมีญาติอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เขามาเยี่ยมบ่อย ครั้งหนึ่งผมตามไปอยู่กับเขาราวปีเศษ เขาเปิดร้านจักรยาน รับปะยาง ผมก็ได้ไปเรียนรู้ สมัยนั้นปะยางแผลหนึ่งคิด ๕๐ สตางค์ พอกลับมากรุงเทพฯ ผมมาเปิดร้านปะยางที่บ้านบนถนนพระราม ๔ ตอนนั้นผมอายุ ๑๘ ปี ถนนพระราม ๔ ยังเป็นลูกรัง รอบ ๆ เป็นนาข้าว จนมีการสร้างถนนแล้วน้ำท่วมเข้าบ้าน ผมเลยย้ายบ้านมาที่อยู่ปัจจุบัน
ส่วนเรื่องสร้างจักรยาน เริ่มต้นจากมีเด็กฝรั่งคนหนึ่งขี่เสือหมอบมาให้ซ่อมที่ร้าน เขาพูดไทยชัด พ่อแม่ที่เมืองนอกซื้อจักรยานมาให้ สมัยนั้นหาที่ซ่อมจักรยานเสือหมอบยากและยังไม่มีการผลิตจักรยานชนิดนี้ในเมืองไทย ผมเกิดคิดจะทำเลียนแบบ เพราะเห็นเสือหมอบต่างประเทศสวยมาก เลยขอเขาวัดช่วงรถ ดูรายละเอียดต่าง ๆ แต่พอจะทำก็ติดเรื่องอะไหล่ว่าไม่มีของสักชิ้น ผมต้องทำขึ้นใหม่ทั้งหมด
แฮนด์เมดทุกขั้นตอน
ใช่ครับ วิธีสร้างต้องคิดเองทั้งหมด ตอนนั้นไม่มีเงินซื้อเครื่องมือ เช่น เครื่องเชื่อม เครื่องตัด ก็ทำแฮนด์เมดทั้งหมด เวลาสร้างจะทำเป็นลอต ลอตละ ๑๐ คัน ต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ครบก่อน เช่น ท่อเฟรม ตะเกียบรถ ซื้อเหล็กแผ่นมาม้วนใช้ค้อนทุบให้ได้ทรง หัวโตปลายเล็ก ต้องเคาะไม่ให้เหล็กมันยับยู่ยี่ ใช้ปากกาจับวัสดุจับแล้วดัด จะตัดก็ใช้เลื่อยมือ เวลาเจียเก็บมุมก็ใช้มือหมุนหินเจีย ใช้กระดาษทรายขัด พวกชิ้นส่วนอย่างหางปลาที่สมัยนี้ปั๊มออกมาด้วยเครื่องจักร ผมเอาเหล็กแผ่นมาวางเขียนลายแล้วตัดด้วยเลื่อยตามลาย ตอนเชื่อมเฟรม ผมใช้สายตากะระยะ
ใช่ครับ วิธีสร้างต้องคิดเองทั้งหมด ตอนนั้นไม่มีเงินซื้อเครื่องมือ เช่น เครื่องเชื่อม เครื่องตัด ก็ทำแฮนด์เมดทั้งหมด เวลาสร้างจะทำเป็นลอต ลอตละ ๑๐ คัน ต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ครบก่อน เช่น ท่อเฟรม ตะเกียบรถ ซื้อเหล็กแผ่นมาม้วนใช้ค้อนทุบให้ได้ทรง หัวโตปลายเล็ก ต้องเคาะไม่ให้เหล็กมันยับยู่ยี่ ใช้ปากกาจับวัสดุจับแล้วดัด จะตัดก็ใช้เลื่อยมือ เวลาเจียเก็บมุมก็ใช้มือหมุนหินเจีย ใช้กระดาษทรายขัด พวกชิ้นส่วนอย่างหางปลาที่สมัยนี้ปั๊มออกมาด้วยเครื่องจักร ผมเอาเหล็กแผ่นมาวางเขียนลายแล้วตัดด้วยเลื่อยตามลาย ตอนเชื่อมเฟรม ผมใช้สายตากะระยะ
เรื่องเชื่อมเหล็กก็มีเทคนิค ผมเชื่อมให้ไม่มีรอยต่อได้ สำคัญที่การใช้ไฟ ไฟมีแก่กับอ่อน ต้องคุมให้ได้ เป่าไฟมากเหล็กก็กรอบ เบาไปก็ยึดไม่อยู่ ทองเหลืองด้านในไม่ละลาย สมัยนั้นยังใช้แก๊สก้อน ซื้อมาแล้วเอาไปล้าง ผสมน้ำ ให้มันเดือดเป็นไอ เอาไอออกมาตามท่อเป็นแหล่งกำเนิดไฟ
เวลาลงสีเฟรมก็ไม่ใช้เครื่องพ่น ใช้มือนี่แหละทา ผมใช้สีตราทหารซื้อมาเป็นกระป๋อง ๆ จากสามย่าน การทาสีอยู่ที่การผสมสีและฝีมือ มันมีเทคนิค ผมบอกใคร ๆ ว่าผมทาเองนี่ไม่มีคนเชื่อ มีคนถามผมว่าใช้โรงงานทำสีที่ไหน ผมบอกทาเองทั้งนั้น
นี่ยังไม่นับขั้นตอนการสร้างที่ต้องดูให้เหมาะกับคนที่มาสั่ง ผมไม่ได้วัดตัว แต่ใช้สายตากะแล้วเอามาสร้างเฟรม พอคิดว่าจะไปจ้างคนอื่นทำ ก็คิดว่าสู้เราทำเองทั้งหมดไม่ได้
ผมทำจักรยานเฉลี่ยวันละคัน มีลูกมือช่วยราว ๕ คน เป็นน้องชายและเด็กที่ญาติ ๆ ฝากมาทำงาน ทำกันทั้งวันทั้งคืน เพราะมีคำสั่งซื้อเยอะ ใน ๑ วัน ผมต้องปั่นจักรยานไปซื้ออะไหล่ที่วรจักร ๒ ครั้ง แม่บอกว่าทำไมต้องทำมากขนาดนี้ แต่เราไม่ทำไม่ได้ เพราะเขาจ่ายเงินมาแล้ว และถ้าทำไม่ทันเวลาก็จะโดนต่อว่า
ทำจักรยานออกมากี่รุ่น
จักรยานที่สร้างมีอยู่ ๔-๕ รุ่น เช่น มุกเปอโยต์ มุกคาร์ลตัน มุกชินเนลลี่ แต่ละรุ่นมีลวดลายข้อต่อ (LUX)ต่างกัน ทำเลียนแบบจักรยานยี่ห้อต่างประเทศเหมือนเป๊ะ ส่วนพวกรอยบากบนตะเกียบหลังที่มีลักษณะของแต่ละรุ่น เราก็เอามาจากต่างประเทศ ภาพพวกนี้มันอยู่ในหัวของเรา
จักรยานที่สร้างมีอยู่ ๔-๕ รุ่น เช่น มุกเปอโยต์ มุกคาร์ลตัน มุกชินเนลลี่ แต่ละรุ่นมีลวดลายข้อต่อ (LUX)ต่างกัน ทำเลียนแบบจักรยานยี่ห้อต่างประเทศเหมือนเป๊ะ ส่วนพวกรอยบากบนตะเกียบหลังที่มีลักษณะของแต่ละรุ่น เราก็เอามาจากต่างประเทศ ภาพพวกนี้มันอยู่ในหัวของเรา
ทั้งหมดเกิดจากความกล้าเสี่ยง เรียนด้วยตัวเอง ทำไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็ไปของมันได้
ทำอย่างไรให้ “จักรยานมุก” ได้รับการยอมรับ
ผมให้พวกนักเรียนไปลองขี่ ไม่ชอบก็เอามาคืนได้ ผมทำเฟรมขายราคาถูกตั้งแต่ ๑๘๐ บาท สูงสุด ๖๐๐ บาท ต่อมามีคนเอาไปขี่ชนะได้ถ้วยรางวัล ก็รู้กันปากต่อปาก เขาก็สั่งกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จำได้ว่าให้ฟรีก็มี
ผมให้พวกนักเรียนไปลองขี่ ไม่ชอบก็เอามาคืนได้ ผมทำเฟรมขายราคาถูกตั้งแต่ ๑๘๐ บาท สูงสุด ๖๐๐ บาท ต่อมามีคนเอาไปขี่ชนะได้ถ้วยรางวัล ก็รู้กันปากต่อปาก เขาก็สั่งกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จำได้ว่าให้ฟรีก็มี
ส่วนโลโก น้องชายวาดแล้วไปจ้างร้านสติกเกอร์ ใช้คำภาษาอังกฤษว่า MOOK KLONGTOEI สมัยนั้นมีจดหมายมาจากทั่วประเทศถึงวันละ ๔๐ ฉบับ ส่วนมากจะถามราคา หาอะไหล่ สั่งรถ ตอบกันแทบไม่หวาดไม่ไหว ผมให้น้องชายช่วยเขียนตอบ
- See more at: http://www.sarakadee.com/2012/12/21/mook-klongtoey/#sthash.pJwbE3Qk.dpuf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น