"โรงไฟฟ้าชีวมวล" เป็นกระแสในประเทศทางยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ทำได้ประสบความสำเร็จสูงมาก จนมีจำนวนเพิ่มขึ้นโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายหมื่นโรง ...
แต่ในประเทศไทยเรา .... โรงไฟฟ้าชีวมวล กลับทำแล้วไม่รุ่ง ... แถมยังจะไม่รอด ด้วยสิ ?!?!
@_@
>>>>>>>>>> รายละเอียดจาก ประชาชาติธุรกิจ --->>>>>>
ผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลป่วน ต้นทุนพุ่งเดินเครื่องผลิตไฟแบบขาดทุน ประกาศขายโรงไฟฟ้ากว่า 10 โรง ราคา 500-1,000 ล้านบาท โวยรัฐไม่บริหารจัดการโซนนิ่ง แย่งวัตถุดิบทั้งแกลบ-ทะลายปาล์มราคาพุ่งพรวด แนะปรับโครงสร้างราคาแบบ IPP-Cogen สะท้อนต้นทุนเชื้อเพลิง
>>>>>>>>>> รายละเอียดจาก ประชาชาติธุรกิจ --->>>>>>
ผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลป่วน ต้นทุนพุ่งเดินเครื่องผลิตไฟแบบขาดทุน ประกาศขายโรงไฟฟ้ากว่า 10 โรง ราคา 500-1,000 ล้านบาท โวยรัฐไม่บริหารจัดการโซนนิ่ง แย่งวัตถุดิบทั้งแกลบ-ทะลายปาล์มราคาพุ่งพรวด แนะปรับโครงสร้างราคาแบบ IPP-Cogen สะท้อนต้นทุนเชื้อเพลิง
นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลประสบปัญหาอย่างหนัก จนบางโรงต้องตัดปัญหาด้วยการประกาศขายโรงไฟฟ้าที่ราคา 500-1,000 ล้านบาท/โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามาแล้วประมาณ 10 ปี สาเหตุหลักมาจาก 1) วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เช่น ราคาแกลบจากช่วงเริ่มต้นโครงการมีราคาที่ประมาณ 400 บาท/ตัน ราคาขยับขึ้นมาตั้งแต่ระดับ 1,200 บาท/ตัน จนถึง 2,000 บาท/ตัน
2) แต่ละพื้นที่ไม่มีการกำหนดโซนนิ่ง (Zoning) ทำให้บางพื้นที่มีการขอสร้างโครงการเพิ่มเติมเข้ามามาก เมื่อมีการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมาก หรือ VSPP เพิ่มเติม ทำให้ผู้ประกอบการแย่งวัตถุดิบ จนต้องสั่งซื้อจากพื้นที่อื่นเข้ามา รวมถึงกลุ่มโรงสีข้าวที่เคยขายแกลบให้ กลับมาลงทุนก่อสร้างทำโรงไฟฟ้าแทนเพราะมีวัตถุดิบของตัวเอง
3) การกำหนดสูตรราคารับซื้อที่ไม่ได้อิงตามต้นทุนจริง และโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่ละประเภทมีต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงเริ่มต้นโครงการภาครัฐใช้สูตรอิงจากราคาน้ำมันเตา จากนั้นปรับสูตรใหม่เป็นอิงกับราคาก๊าซธรรมชาติ ถัดมาคืออิงกับราคาถ่านหิน ล่าสุดอิงกับราคาค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งความเป็นจริงราคาแกลบ เศษไม้หรือทะลายปาล์มไม่สามารถอิงกับราคาเหล่านี้ได้
"ภาครัฐไม่ได้ดูความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ว่าควรมีโรงไฟฟ้าจำนวนเท่าไรควรกำหนดให้โรงไฟฟ้าซื้อวัตถุดิบในระยะไม่เกิน 200 กิโลเมตร ไม่ดูดีมานด์ ซัพพลายในพื้นที่ อย่างแกลบที่ปัจจุบันมีอยู่ที่ 7 ล้านตัน/ปีเท่านั้น แต่ก็ยังมีการอนุมัติโครงการใหม่ ๆ เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ตอนนี้หันมาสั่งซื้อทะลายปาล์มเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนแกลบ และเมื่อหลาย ๆ โรงหันมาซื้อทะลายปาล์มมากขึ้น ราคาก็จะปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาก็จะขยายวงไปสู่เชื้อเพลิงอื่น บางโรงตอนนี้หยุดเดินเครื่องก็มี ในบางรายก็ต้องเดินเครื่องแบบขาดทุน"
นายนทีกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลในรูปแบบ Feed in Tariff หรือ Fit เฉพาะโครงการใหม่ โดยที่ประกาศดังกล่าวไม่ครอบคลุมโครงการเก่าที่มีการซื้อขายไฟฟ้ามาก่อนหน้านี้ โดยอัตราค่าไฟฟ้าชีวมวลแบบ Fit อยู่ที่ 4.54 บาท/หน่วย ในขณะที่รูปแบบเดิมที่ได้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า หรือ Adder อยู่ที่ 3.30-3.40 บาท/หน่วย เท่ากับว่ามีส่วนต่างราคาสูงถึง 1-1.40 บาท/หน่วย และในแง่ของการแข่งขันโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ได้ค่าไฟแบบ Fit สามารถซื้อวัตถุดิบได้แพงถึง 500 บาท/ตัน ในขณะที่แบบ Adder ซื้อได้ที่ระดับราคา 300-400 บาท/ตันเท่านั้น
นอกจากนี้ ต้องการให้การคิดสูตรราคารับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลตามราคาที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และโรงไฟฟ้าพลังความร้อน-ไอน้ำ หรือ Cogeneration ที่ค่าพลังงานไฟฟ้าครอบคลุมผลตอบแทนการลงทุน ราคาค่าไฟฟ้าปรับขึ้น-ลงตามต้นทุนเชื้อเพลิงคือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผู้ผลิตไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระความเสี่ยงจากราคาเชื้อเพลิง
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงสร้างของอัตรา Fit จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนคงที่ (FitF) ซึ่งจะคงที่ตลอดอายุโครงการ (2) อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนแปรผัน (FitV) จะปรับเพิ่มขึ้นตามค่าอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน (Core Inflation) เฉลี่ยของปีก่อนหน้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ (3) อัตรารับซื้อไฟฟ้าพิเศษ (Fit Premium) กำลังผลิตน้อยกว่า 1 เมกะวัตต์ ที่ 3.13 -5 บาท/หน่วย กำลังผลิตมากกว่า 1-3 เมกะวัตต์ ที่ 2.61-4.82 บาท/หน่วย และมากกว่า 3 เมกะวัตต์ อยู่ที่ 2.39-4.24 บาท/หน่วย
ล่าสุด มีรายงานว่า ขณะนี้มีโรงไฟฟ้า SPP-VSPP ชีวมวลไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง ได้ประกาศขายกิจการในราคา 500-1,000 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น