ลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ เลือกกอง Hedge หรือ Unhedged?
ความนิยมของการออกไปลงทุนนอกโลก เอร๊ยยย ลงทุนนอกประเทศ ผ่านกองทุนรวมประภท FIF ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กองทุนรวมต่างประเทศที่ บลจ.ในไทยขนเงินออกไปลงทุนโตปีละไม่ต่ำกว่า 30% ซึ่งสาเหตุหลักก็มีอยู่สองประเด็นคือ เห็นโอกาสที่ดีกว่าการกระจุกพอร์ตการลงทุนอยู่ในไทยแห่งเดียว และอีกเรื่องก็เพื่อการกระจายความเสี่ยงจาก Politic Risk ภายในประเทศ ที่ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ไม่มีช่วงไหนเลยที่การเมืองจะราบเรียบนิ่งสงบได้เกินครึ่งปี
แต่เมื่อออกไปเล่นกับผู้เล่นระดับมือโปรทั่วโลก เกมส์การลงทุนระดับนี้ มันมีความเป็นพลวัตร (Dynamic) ที่สูงมาก ดังนั้น นอกจากจะถามหาว่า ตลาดหุ้นไหนให้ผลตอบแทนดี แต่ที่ต้องดูเพิ่มเติมก็คือ ความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน (Currency Risk) นั้นเอง
ยกตัวอย่าง ใครที่ไปลงทุนในในหุ้นยุโรป ถ้านับตั้งแต่ต้นปีนี้ ก็ได้กำไรสูงถึง 20% ทีเดียว (ใช้ดัชนี STOXX600 ในการวัดผล) แต่ค่าเงิน EUR ก็อ่อนค่าเมื่อเทียบกับไทยบาท (THB) ถึง -12% นั้นหมายความว่า หากไม่ทำการป้องกันความเสี่ยง Absolute Return ของพอร์ตจะเหลือแค่ 8% เท่านั้น (20% ลบด้วย 12%)
พอเจอแบบนี้ นักลงทุนเลยคิดดังๆขึ้นมาว่า งั้นแสดงว่า ไปลงทุนต่างประเทศ ก็ควรป้องกันความเสี่ยงนะสิ?
ผิดครับ ไม่แน่เสมอไป ยกตัวอย่างอีกหนึ่งตลาด คือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถ้านับตั้งแต่ต้นปี 2013 จนถึงวันนี้ ก็ได้กำไรสูงถึง 44% (ใช้ดัชนี S&P500 ในการวัดผล) แต่ต่างจากค่าเงิน EUR ครับ เพราะค่าเงิน USD แข็งค่าเมื่อเทียบกับไทยบาท (THB) ไปอีก 6.6% เพราะฉะนั้นใครไปลงทุนในอเมริกาแล้วยอมรับความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน ก็ได้กำไรสองต่อ รวมเป็น 50.6% (44% บวกกับ 6.6%)
ผิดครับ ไม่แน่เสมอไป ยกตัวอย่างอีกหนึ่งตลาด คือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถ้านับตั้งแต่ต้นปี 2013 จนถึงวันนี้ ก็ได้กำไรสูงถึง 44% (ใช้ดัชนี S&P500 ในการวัดผล) แต่ต่างจากค่าเงิน EUR ครับ เพราะค่าเงิน USD แข็งค่าเมื่อเทียบกับไทยบาท (THB) ไปอีก 6.6% เพราะฉะนั้นใครไปลงทุนในอเมริกาแล้วยอมรับความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน ก็ได้กำไรสองต่อ รวมเป็น 50.6% (44% บวกกับ 6.6%)
อ้าว แล้วอย่างงี้ควร Hedge (ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน) หรือ Unhedged (เปิดรับความเสี่ยงค่าเงิน) ดี?
การจะเลือกว่าทำอย่างไร เราต้องมองใน 2 มิติครับมิติแรก Currency trading = speculation
อีกความหมายหนึ่งคือ การพยายามกะเก็งทิศทางค่าเงินนั้น ถือเป็นการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุน ทั้งนี้ Trader ระดับโลกที่เป็นพวก FX Trade ยังอาศัยจังหวะใน Time Frame สั้นๆเพื่อเล่นทำกำไรค่าเงินกันเลย ไม่ค่อยมีใครถือ Position ยาวๆ เพราะแนวโน้มค่าเงินนั้น มันเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่มีทางที่จะวิเคราะห์ได้หมด ใครจะเปิดรับความเสี่ยง ก็ต้องยอมรับผลการผิดทางครับมิติที่สอง Hedge = Cost
การป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน นั้นเท่ากับกองทุนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งสูงต่ำขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และสกุลเงินนั้นๆ ดังนั้น ถึงแม้คุณจะอยากลงทุนใน FIF ซักกองแล้วอยากได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ Master Fund ในเมืองนอก ด้วยการลงทุนในกองที่มีนโยบาย Fully Hedge หรือป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวนก ก็ตาม ผลตอบแทนยังไงก็ไม่มีวันเท่ากับกองแม่แน่นอน เพราะมีต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน
กรณีศึกษาในเมืองนอก เปรียบเทียบระหว่างการลงทุนแบบป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน และไม่ป้องกัน
กราฟด้านล่าง คุณจะเห็นว่า ย้อนหลังไปปี 1990 นั้น การลงทุนทั้งสองประเภท มีความผันผวนแทบจะไม่แตกต่างกัน นั้นหมายถึง การ Hedge ไม่สามารถเพิ่มผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาวได้
กราฟด้านล่าง คุณจะเห็นว่า ย้อนหลังไปปี 1990 นั้น การลงทุนทั้งสองประเภท มีความผันผวนแทบจะไม่แตกต่างกัน นั้นหมายถึง การ Hedge ไม่สามารถเพิ่มผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาวได้
ประเด็นคือ ก็เห็นๆอยู่อย่างตัวอย่างหุ้นยุโรป และอเมริกา ว่าค่าเงินมีผลต่อกำไรของการลงทุนอย่างมาก แล้วความจริงคืออะไร?
ความจริงคือ สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่สหรัฐฯงัด QE ออกมาใช้ ทำให้หลักการเศรษฐศาสตร์และข้อมูลสถิติแบบเก่า อาจใช้ไม่ได้ (ผมใช้คำว่า “อาจ” นะครับ)
สาเหตุเพราะ Unequal Economic Recovery หรือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตซับไพรม์นั้น ไม่ได้ไปในทางเดียวกันทั้งโลก ทำให้บางประเทศยังคงจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งๆที่ผ่านช่วงวิกฤตมาแล้วถึง 6 ปี พอมองในมุมนี้ ก็จะพบว่า ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จะยังต้องการให้ค่าเงินตัวเองอ่อนค่าลงไป เพื่อให้มี Competitiveness ในเวทีโลก หากท่านกำลังจะไปลงทุนในประเทศกลุ่มนี้ ก็ควรทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (Hedge) เพราะแนวโน้มค่าเงินนั้นน่าจะอ่อนค่าในระยะยาว จนกว่าเศรษฐกิจจะยืนได้โดยไม่ต้องการยากระตุ้น กลุ่มที่เห็นจะเข้าข่ายก็คือ ยุโรป และ ญี่ปุ่น ซึ่งใช้ QE อยู่ในปัจจุบัน
อีกกลุ่มคือ ประเทศที่เศรษฐกิจยืนได้ ไม่ต้องพึ่งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าต่อเนื่อง นั้นก็คือ สหรัฐฯ
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่เศรษฐกิจครึ่งๆกลางๆจะดีก็ไม่ดี จะแย่ก็ไม่แย่ ค่าเงินก็น่าจะไร้ทิศทางชัดเจนในระยะสั้นและระยะกลาง เช่นกลุ่มประเทศในเอเชียกันเอง
2 กลุ่มหลังนั้น ใครสนใจลงทุน ผมมองว่า ไม่จำเป็นต้องป้องกันความเสี่ยงค่าเงินในช่วงนี้ครับ แต่ถ้าแนวโน้มค่าเงิน USD กลับทิศทางเมือไหร่ คงต้องปรับกลยุทธ์กันละ ส่วนยุโรป กับญี่ปุ่น ถ้ายังเห็นเงินเฟ้อไปไม่ถึงเป้าหมาย การขยายตัวต่ำกว่าที่รัฐบาลมอง ก็เชื่อได้ว่า ยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายต่อไป ใครไปลงทุนสองที่นี้ จะเลือกกองที่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ก็ถือเป็นกลยุทธ์ที่ดี
สุดท้าย สมมติว่า ยุโรป ญี่ปุ่น เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้ดีจริงๆ ค่าเงินก็จะกลับมาแข็งค่าเทียบกับกับสกุลอื่น เมื่อนั้นกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงของเราก็ต้องเปลี่ยนไป
แต่ถ้าใครวางพอร์ตไว้ในระยะยาวแล้ว และเชื่อมั่นในกรณีศึกษาย้อนหลังที่ผมเอามาแสดงให้ดูละก็ ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเลยครับ เด๋วตลาดทุนและตลาดเงินจะ Re balance ตัวมันเอง แต่… เราไม่รู้ว่ามันจะเมื่อไหร่นี่สิ มันเลยเป็นปัญหา ^^
สมัครเรียนเรียกดูผ่านทาง บริษัท เงินกู้บมจที่ทุกความต้องการทางการเงินที่จะทำให้พึงพอใจของคุณ คุณกำลังมองหาเงินกู้ที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือถ้าคุณจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายของคุณที่นี่เป็นโอกาสสำหรับคุณที่จะได้รับเงินกู้ใหม่เรามีเงินให้สินเชื่อประเภทของโปรแกรมใด ๆ และได้รับการอวยพร ติดต่อเราผ่านทาง (pastorgodtimeloanfirms@gmail.com) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมฉันหวังว่าจะตอบสนองต่อการให้กู้ยืมเงินหลวงพ่อ God'stime Alisha จาก บริษัท เงินทุนซีอีโอ / แมรี่แลนด์
ตอบลบ