“ขาดประสบการณ์” คือคำสบประมาทที่คนหน้าใหม่อายุน้อยผู้มารับตำแหน่งสูงสุดฝ่ายบริหารในทุกองค์กรต้องเจอ แต่ที่ Burger King กำแพงอคตินี้ทลายลงไป หลัง Daniel Schwartz ซีอีโอคนใหม่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับได้อย่างดุษฎี ด้วยการกู้วิกฤติแบรนด์ Fastfood เก่าแก่สัญชาติอเมริกันให้กลับมาทำกำไร ทั้งที่มีวัยเพียง 32 ปี
ราชันหนุ่มของ Burger King เติบโตขึ้นใน Alberston ย่านชนชั้นกลางฐานะดีของรัฐ New York เป็นคนมีความมุ่งมั่นมาแต่ไหนแต่ไร โดย Corol Vogt ครูประวัติศาสตร์ของโรงเรียน Wheatley School ยืนยันคุณสมบัติดังกล่าวของนักเรียนเกียรตินิยมรายนี้ด้วยตัวเอง“อะไรที่ชอบ เขาก็มักจะทำได้ดี เขาเป็นเด็กที่ขยันเรียนมาก” ส่วนนิสัยการเป็นคนชอบฝันไกล ไปให้ถึง แสดงออกมาผ่าน
ข้อความในหนังสือรุ่นปี 1998 ซึ่งเขานำมาจากคำพูดตัวละครใน Twelfth Night บทละคร Shakespeare ที่ว่า
“บางคนเกิดมาพร้อมความยิ่งใหญ่ บางคนประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ขณะที่บางคนมีความฝันอันยิ่งใหญ่เป็นตัวผลักดันไปสู่ความสำเร็จ”
ชีวิตระดับอุดมศึกษาที่คณะบริหารและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัย Cornell แม้ไม่หวือหวาแต่ความเอาจริงเอาจังยังเป็นสิ่งที่ผู้อื่นจดจำได้เมื่อถามถึง Schwartz หลังจบการศึกษา ทำงานกับ 3G กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่สัญชาติบราซิล สาขา New York ในตำแหน่งนักวิเคราะห์ ด้วยวัย 24 ปีเลื่อนขั้นไปดูแลกลุ่มหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ต่อเนื่องด้วยผลงานชิ้นโบว์แดง ผลักดัน Campaign ที่ทำให้บริษัทได้ที่นั่งฝ่ายบริหารของ CSX ผู้ประกอบการรถไฟเอกชนรายใหญ่ของสหรัฐฯ จน 3G ตระหนักว่าอดีตบัณฑิตเกียรตินิยมจาก Cornell ผู้นี้เก่งเกินวัย12830547705_3a619792bf_b
ภาพ :
 flickr.com
ปี 2010 Schwartz ฝันไกลอีกครั้ง เสนอ 3G ให้ซื้อกิจการ Burger King ที่ตอนแรกถูกตั้งคำถามว่าอาจไม่ทำกำไร เพราะขณะนั้นคู่แข่ง McDonald’s แบรนด์นี้แทบไม่ต่างจากกิจการ Start Up ที่ล้มลุกคลุกคลาน หลังขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปีและเปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง แต่เมื่อฝ่ายบริหารไฟเขียว พร้อมงบซื้อกิจการก้อนโตแผนปรับปรุงกิจการอันเป็นที่กล่าวขวัญของ นักวิเคราะห์หุ้นผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านกิจการเครือร้านอาหารจานด่วนก็เริ่มขึ้น
รองประธานฝ่ายการเงินคือตำแหน่งแรกของ Schwartz ใน Burger King โดยผลงานแรกของเขาคือการรัดเข็มขัด สั่งยกเลิกงานเลี้ยงต่างๆ ขายเครื่องบินประจำตำแหน่งและบ้านพักสุดหรูในยุโรปของฝ่ายบริหาร พร้อมออกกฏให้พนักงานใช้ Skype แทนการโทรศัพท์ทางไกล ส่งอีเมล์และสแกนเอกสารแทนการส่งเอกสาร รวมไปถึงการให้พนักงานคืน Printer ส่วนตัวแล้วหันมาให้ของส่วนกลางแทน ต่อด้วยแผนลดภาระทางการเงิน ขายสาขาเกือบทั้งหมดทั่วโลกให้เจ้าของแฟรนส์ไชส์นำไปบริหารพร้อมเพิ่มเมนูให้หลากหลายขึ้น ทั้งสลัด สมูตตี้ และเฟรปเป้ เป็นต้น
กลยุทธ์ดังกล่าวประสบผลสำเร็จ จากค่าแฟรนไชส์ที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมการขยายสาขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ปี 2012 รายได้สุทธิขยับมาอยู่ที่ 118 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3,776 ล้านบาท) เพิ่มจากปีก่อน 34% ส่วนยอดขายเพิ่มขึ้นมา 3.2% ขณะที่จำนวนสาขาจาก 12,174 แห่งทั่วโลกเมื่อปี 2010 ก็ขยายเป็น 13,667 แห่งเมื่อ Schwartz ขึ้นเป็น CEO มิถุนายน 2013
การกู้วิกฤติครั้งนี้ทำให้เขาได้รับคำชมอย่างล้นหลามจากทั้งพนักงานและบรรดาเจ้าของแฟรนไชส์รายใหญ่ ในขณะที่ McDonald’s และ Wendy 2 คู่แข่งสำคัญซึ่งยังไม่ฟื้นตัวได้แต่มองด้วยความอิจฉา
page
รับตำแหน่งได้ไม่ทันไร ผู้บริหารเจ้าของเงินเดือน 700,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 22.4 ล้านบาท)ต่อปี ถอดชุดสูท กางเกงสแล็ค ลงภาคสนามที่สาขา Miami ลุยงานทุกอย่างไม่ต่างจากพนักงานที่นั่น ตั้งแต่ทำ Whooper เมนูขึ้นชื่อ รับลูกค้า Drive-Thru ไปจนถึงขัด
ห้องน้ำ หลังเข้าใจหัวอกพนักงานที่ต้องเผชิญความยุ่งยากในการเตรียมอาหาร เขาตัดสินใจปรับเมนูให้เรียบง่ายขึ้น 
เป้าหมายต่อไปของแกนนำกลุ่มเลือดใหม่ซึ่งประกอบไปด้วยทีมผู้บริหารอายุเฉลี่ยเพียง 39 ปีไม่ใช่ 2 คู่แข่งหน้าเก่าที่ขับเคี่ยวกันมานาน แต่เป็นน้องใหม่ไฟแรงอย่าง Chipotle Mexican Grill และ Panera Bread พร้อมขยายสาขาในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากฝรั่งเศสซึ่งผู้บริโภคยังจดจำ Burger  Kingได้
Burger-King-Innsbruck-01
ภาพ : tagnacht.at