pdated: 26 มี.ค. 2558 เวลา 18:20:46 น.
นิตยสารฟอร์บสเพิ่งพิมพ์ฉบับพิเศษประจำปี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับอภิมหาเศรษฐีของโลกออกมาเป็นฉบับที่ 29 กฎเกณฑ์ของการเป็น อภิมหาเศรษฐี ในที่นี้คือ ต้องมีสินทรัพย์นับรวมกันได้อย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์ เฉกเช่นที่เป็นมา ฉบับนี้มีข้อมูลมากมายและอาจนำไปวิเคราะห์ต่อ หรือตั้งข้อสังเกตได้อีกมาก ขอนำบางส่วนมาปันกัน พร้อมกับข้อสังเกตบางอย่างด้วย
ปีนี้ทั่วโลกมีอภิมหาเศรษฐีทั้งหมด 1,826 คน ประกอบด้วย อภิมหาเศรษฐีใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในรอบปี 290 คน เป็นหญิง 197 คน อายุต่ำกว่า 40 ปี 46 คน กระจัดกระจายกันอยู่ใน 68 ประเทศ เป็นชาวอเมริกันมากเป็นอันดับ 1 คือมีถึง 536 คน ทั้งนี้ คงเพราะอเมริกามีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ทั้ง 1,826 คนนี้ มีสินทรัพย์นับรวมกันได้กว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์
ในช่วงปีที่ผ่านมา อภิมหาเศรษฐี 138 คน ซึ่งเคยติดอันดับเมื่อปีที่แล้ว มีอันต้องถูกคัดออก เพราะสินทรัพย์ลดลงจนต่ำกว่าเกณฑ์
ในช่วงปีที่ผ่านมา อภิมหาเศรษฐี 138 คน ซึ่งเคยติดอันดับเมื่อปีที่แล้ว มีอันต้องถูกคัดออก เพราะสินทรัพย์ลดลงจนต่ำกว่าเกณฑ์
คงเป็นที่รับรู้กันแล้วว่า บิลล์ เกตส์ รั้งอันดับหนึ่ง ทั้งที่แต่ละปีเขาบริจาคให้มูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นับพันล้านดอลลาร์ ปีนี้ฟอร์บสประเมินว่าเขามีสินทรัพย์ 79,200 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2.5 ล้านล้านบาท
ส่วน วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยอดเซียนแห่งการลงทุนและเพื่อนซี้ของเขา เข้ามาเป็นอันดับ 3 ต่อจาก คาร์ลอส สลิม นักธุรกิจด้านการคมนาคมชาวเม็กซิกัน อย่างไรก็ดี ในช่วงปีที่ผ่านมา วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก นั่นคือเพิ่มขึ้นถึง 14,500 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้คงเพราะราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยทั่วไปเพิ่มขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจอเมริกันเริ่มแข็งแกร่ง
ส่วน วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยอดเซียนแห่งการลงทุนและเพื่อนซี้ของเขา เข้ามาเป็นอันดับ 3 ต่อจาก คาร์ลอส สลิม นักธุรกิจด้านการคมนาคมชาวเม็กซิกัน อย่างไรก็ดี ในช่วงปีที่ผ่านมา วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก นั่นคือเพิ่มขึ้นถึง 14,500 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้คงเพราะราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยทั่วไปเพิ่มขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจอเมริกันเริ่มแข็งแกร่ง
เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็นอันดับสองรองจากวอร์เรนบัฟเฟตต์ ได้แก่ แจ็ค หม่า ซึ่งคอลัมน์นี้พูดถึงเมื่อเดือนที่แล้ว แจ็ค หม่า มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 12,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกิจการขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตชื่อ อาลีบาบา เป็นที่ทราบกันดีว่ากิจการแนวนี้ เจฟฟ์ เบซอส แห่งบริษัทอเมซอนเป็นผู้บุกเบิก และกำลังขยายออกไปในหลายส่วนของโลก ผู้เชี่ยวชาญมองกันว่ากิจการแนวนี้มีอนาคตสดใส
นอกจากจะมีอภิมหาเศรษฐีมากที่สุดในโลกแล้ว อเมริกายังมี อภิมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลก อีกด้วย เขาชื่อ อีวาน สปิเกล (Evan Spiegel) ซึ่งมีสินทรัพย์ราว 1,500 ล้านดอลลาร์ เขาอายุเพียง 24 ปี เป็นอภิมหาเศรษฐีขึ้นมาจากการเป็นต้นคิดและก่อตั้งธุรกิจปันรูปภาพในสังคมออนไลน์ชื่อ Snapchat เมื่อปี 2554 การสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วแบบนี้มิมีอะไรใหม่ รุ่นก่อนทำกันมาแล้ว เช่น บิลล์ เกตส์ ลาร์รี่ เอลลิสัน และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ซึ่งตอนนี้อายุเพียง 30 ปี และมีสินทรัพย์ถึง 34,300 ล้านดอลลาร์
เคล็ดลับไม่มีอะไรมาก นอกจากมันเป็นมาตลอดประวัติศาสตร์ นั่นคือ ผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ได้ หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้ก่อนผู้อื่น มักร่ำรวยขึ้นอย่างทันตาเห็น ยุคนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหัวจักรขับเคลื่อนโลก ผู้คิดอะไรใหม่ในกรอบดิจิทัลได้ หรือนำไปประยุกต์ในแนวที่ไม่มีใครทำได้มาก่อน จึงมักได้ค่าตอบแทนสูง
ในบรรดาอภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อเก่าแก่ซึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกตกหายไปเกือบหมด ชื่อเดียวที่ยังคงอยู่ ได้แก่ เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งมีสินทรัพย์ 3 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นอันดับที่ 215 ในกลุ่มชาวอเมริกัน หรืออันดับ 603 ของโลก
ชื่อนี้ครั้งหนึ่งมีสินทรัพย์สูงที่สุดในโลก จากการทำธุรกิจน้ำมันและการอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากยุคนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ร็อกกี้เฟลเลอร์ จึงไม่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้แต่ชื่อซึ่งเคยโด่งดังในด้านการผลิตสินค้าของยุคอุตสาหกรรม เช่น ฟอร์ด และดูปองท์ก็หายไป ทั้งนี้เพราะรุ่นลูกหลานได้แบ่งสินทรัพย์ไป และไม่มีใครเข้าไปบุกเบิกในด้านการประดิษฐ์คิดค้นและประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล
นอกจากจะมีอภิมหาเศรษฐีมากที่สุดในโลกแล้ว อเมริกายังมี อภิมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลก อีกด้วย เขาชื่อ อีวาน สปิเกล (Evan Spiegel) ซึ่งมีสินทรัพย์ราว 1,500 ล้านดอลลาร์ เขาอายุเพียง 24 ปี เป็นอภิมหาเศรษฐีขึ้นมาจากการเป็นต้นคิดและก่อตั้งธุรกิจปันรูปภาพในสังคมออนไลน์ชื่อ Snapchat เมื่อปี 2554 การสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วแบบนี้มิมีอะไรใหม่ รุ่นก่อนทำกันมาแล้ว เช่น บิลล์ เกตส์ ลาร์รี่ เอลลิสัน และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ซึ่งตอนนี้อายุเพียง 30 ปี และมีสินทรัพย์ถึง 34,300 ล้านดอลลาร์
เคล็ดลับไม่มีอะไรมาก นอกจากมันเป็นมาตลอดประวัติศาสตร์ นั่นคือ ผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ได้ หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้ก่อนผู้อื่น มักร่ำรวยขึ้นอย่างทันตาเห็น ยุคนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหัวจักรขับเคลื่อนโลก ผู้คิดอะไรใหม่ในกรอบดิจิทัลได้ หรือนำไปประยุกต์ในแนวที่ไม่มีใครทำได้มาก่อน จึงมักได้ค่าตอบแทนสูง
ในบรรดาอภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อเก่าแก่ซึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกตกหายไปเกือบหมด ชื่อเดียวที่ยังคงอยู่ ได้แก่ เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งมีสินทรัพย์ 3 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นอันดับที่ 215 ในกลุ่มชาวอเมริกัน หรืออันดับ 603 ของโลก
ชื่อนี้ครั้งหนึ่งมีสินทรัพย์สูงที่สุดในโลก จากการทำธุรกิจน้ำมันและการอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากยุคนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ร็อกกี้เฟลเลอร์ จึงไม่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้แต่ชื่อซึ่งเคยโด่งดังในด้านการผลิตสินค้าของยุคอุตสาหกรรม เช่น ฟอร์ด และดูปองท์ก็หายไป ทั้งนี้เพราะรุ่นลูกหลานได้แบ่งสินทรัพย์ไป และไม่มีใครเข้าไปบุกเบิกในด้านการประดิษฐ์คิดค้นและประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล
เมืองไทยมีอภิมหาเศรษฐีติดอันดับ17คน นำโดยผู้ประกอบการด้านอาหารแบบครบวงจร ตามด้วยผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มซึ่งมีเบียร์ช้างเป็นสัญลักษณ์ ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ใน 17 ชื่อนี้ไม่มีคนหนุ่มสาวที่ร่ำรวยมาจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในแนวที่เกิดขึ้นในอเมริกา
ทั้งนี้คงเพราะเยาวชนไทยยังไม่มีโอกาสหรือความสามารถเช่นชาวอเมริกันและเศรษฐกิจไทยยังเล็กเกินไปที่จะเอื้อให้เกิดอภิมหาเศรษฐีได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทย 17 คนนี้มีสินทรัพย์รวมกัน 56,100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ในขณะที่อภิมหาเศรษฐีอเมริกัน 536 คน ก็มีสินทรัพย์นับรวมกันเป็น 15% ของจีดีพีของประเทศเขาเช่นกัน
นิตยสารฟอร์บสมิได้บอกว่า อภิมหาเศรษฐีทั้งหลายนำสินทรัพย์มหาศาลนั้นไปทำอะไร ประเด็นน่าสนใจมากประเด็นหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมหัวกันของบิลล์ เกตส์ กับวอร์เรน บัฟเฟตต์ และได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ ได้แก่ การแบ่งปันกับเพื่อนมนุษย์
ทั้งนี้คงเพราะเยาวชนไทยยังไม่มีโอกาสหรือความสามารถเช่นชาวอเมริกันและเศรษฐกิจไทยยังเล็กเกินไปที่จะเอื้อให้เกิดอภิมหาเศรษฐีได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทย 17 คนนี้มีสินทรัพย์รวมกัน 56,100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ในขณะที่อภิมหาเศรษฐีอเมริกัน 536 คน ก็มีสินทรัพย์นับรวมกันเป็น 15% ของจีดีพีของประเทศเขาเช่นกัน
นิตยสารฟอร์บสมิได้บอกว่า อภิมหาเศรษฐีทั้งหลายนำสินทรัพย์มหาศาลนั้นไปทำอะไร ประเด็นน่าสนใจมากประเด็นหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมหัวกันของบิลล์ เกตส์ กับวอร์เรน บัฟเฟตต์ และได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ ได้แก่ การแบ่งปันกับเพื่อนมนุษย์
อาจจำกันได้ว่าครอบครัวร็อกกี้เฟลเลอร์ก่อตั้งมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ขึ้นมากว่า100ปีแล้ว เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และเมืองไทยเคยได้รับประโยชน์ ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำบรรดาอภิมหาเศรษฐีที่มี บิลล์ เกตส์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นต้นคิด เพื่อระดมสมองกันว่าจะใช้สินทรัพย์ทำอะไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
พวกเขาสรุปว่า แต่ละคนควรบริจาคอย่างน้อยกึ่งหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น พวกเขาจึงตั้งองค์กรขึ้นมาชื่อ Giving Pledge เมื่อปี 2553
องค์กรนี้เชิญชวนมหาเศรษฐีให้เข้าร่วม โดยสมาชิกแต่ละคนให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของสินทรัพย์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การบริจาคจะทำในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ หรือหลังจากนั้นก็ได้ ในขณะนี้มีผู้เข้าร่วมแล้ว 129 คน นำโดยบิลล์ เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ ตามด้วย ลาร์รี่ เอลลิสัน อภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ถึง 3 ของอเมริกา
ในบรรดาอภิมหาเศรษฐีอเมริกันที่ร่ำรวยจากอันดับ 1 ถึง 100 นั้น 20 คนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรนี้แล้ว รวมทั้ง เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ และ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ด้วย มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เชื่อว่าการบริจาคทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ไม่ต้องรอจนตนแก่เฒ่า หรือตายไปแล้ว หากควรเริ่มทำเร็วที่สุด เหตุผลของเขามีผู้รับฟัง ผู้ก่อตั้งสังคมออนไลน์ร่วมกับเขาซึ่งมีอายุเท่า ๆ กันชื่อ ดัสติน มอสโกวิตส์ จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรดังกล่าวแล้ว
ในการให้คำมั่นสัญญากับองค์กร แต่ละคนให้เหตุผลอันน่าสนใจต่างกัน เหตุผลเหล่านั้นอ่านได้ในเว็บไซต์ขององค์กร www.givingpledge.org
พวกเขาสรุปว่า แต่ละคนควรบริจาคอย่างน้อยกึ่งหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น พวกเขาจึงตั้งองค์กรขึ้นมาชื่อ Giving Pledge เมื่อปี 2553
องค์กรนี้เชิญชวนมหาเศรษฐีให้เข้าร่วม โดยสมาชิกแต่ละคนให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของสินทรัพย์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การบริจาคจะทำในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ หรือหลังจากนั้นก็ได้ ในขณะนี้มีผู้เข้าร่วมแล้ว 129 คน นำโดยบิลล์ เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ ตามด้วย ลาร์รี่ เอลลิสัน อภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ถึง 3 ของอเมริกา
ในบรรดาอภิมหาเศรษฐีอเมริกันที่ร่ำรวยจากอันดับ 1 ถึง 100 นั้น 20 คนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรนี้แล้ว รวมทั้ง เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ และ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ด้วย มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เชื่อว่าการบริจาคทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ไม่ต้องรอจนตนแก่เฒ่า หรือตายไปแล้ว หากควรเริ่มทำเร็วที่สุด เหตุผลของเขามีผู้รับฟัง ผู้ก่อตั้งสังคมออนไลน์ร่วมกับเขาซึ่งมีอายุเท่า ๆ กันชื่อ ดัสติน มอสโกวิตส์ จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรดังกล่าวแล้ว
ในการให้คำมั่นสัญญากับองค์กร แต่ละคนให้เหตุผลอันน่าสนใจต่างกัน เหตุผลเหล่านั้นอ่านได้ในเว็บไซต์ขององค์กร www.givingpledge.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น