คมคิดธุรกิจนิวเจน : คมคิดธุรกิจนิวเจน
วันพุธที่ 15 เมษายน 2558
ร.อ.สมพงษ์ สุขสงวนติดปีก‘กานต์แอร์’บินไกลเกินฝัน
ร.อ.สมพงษ์ สุขสงวนติดปีก‘กานต์แอร์’บินไกลเกินฝัน : คมคิดธุรกิจนิวเจน โดยสกาวรัตน์ ศิริมา
"สายการบินกานต์แอร์" ภายใต้การบริหารของ "ร.อ.สมพงษ์ สุขสงวน" ประธานกานต์นิธิกรุ๊ป เปิดตัวขึ้นเมื่อปี 2553 ท่ามกลางสปอตไลท์ที่ฉายจับจากทั่วสารทิศ ว่าธุรกิจสายการบินที่ลงทุนโดยคนไทยจะโลดแล่นติดลมบนด้วยเงินทุนหลักร้อยล้านบาท หรือว่าพวกเขา เข้ามาเพียงในสถานะนอมินีของใครบ้างคนหรือไม่
หากแต่ในระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ มูลค่าทางธุรกิจของกานต์แอร์ได้เพิ่มขึ้นมามากกว่า 1,000 ล้านบาท หรือแตกไลน์ภายใต้ปีกกลุ่มทุนเดิมออกไปอีกนับสิบแห่ง ย่อมเป็นข้อพิสูจน์ในระดับหนึ่งว่า ทุกย่างก้าวของการดำเนินธุรกิจไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา ที่สำคัญก็คือ การบริหารงานที่สามารถลบข้อกังขาเมื่อครั้งก่อตั้งขึ้นมาได้
ในบทบาทหนึ่งของนายทหารอากาศที่เติบโตจากสายงานจากการสมัครเข้ารับราชการ จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายทหารตำแหน่งผู้ช่วยทหารสืบสวนสอบสวน กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย น่าสนใจว่า อีกสถานะหนึ่งของนักธุรกิจที่ดำเนินควบคู่ไปนั้น เขาบริหารงานอย่างไร
"ผมไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจการบินมาก่อน แต่มองว่าคนเดินทางในประเทศไทยยังต้องการการเติมเต็ม ตอนนั้นจำได้ว่าไปซื้อแผนที่มากางดูจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ และไปเรียนการบินที่กองทัพอากาศ ก่อนตัดสินใจใช้เงินก้อนใหญ่ของชีวิตราว 9 ล้านบาท ซื้อเครื่องบินไพรเวตเจ็ตขนาด 4 ที่นั่ง ศึกษาทั้งระบบการบิน และระบบการทำธุรกิจ และช่องว่างของธุรกิจเกือบ 3 ปี ก่อนที่จะยื่นเรื่องขออนุญาตจากกรมการบินพาณิชย์ และทำการบินอย่างเป็นกิจจะลักษณะ"
การเข้ามาบุกเบิกให้บริการสายการบินระยะสั้น ต้นทุนต่ำ นับเป็นเสี้ยวชีวิตหนึ่งที่ท้าทายยิ่ง เพราะทั้งหลายทั้งปวงต้องผ่านการเรียนรู้จนตกผลึกก่อนจะลงมือทำจริง ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า ระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้ สายการบินกานต์แอร์ให้บริการเต็มมาตรฐาน จนเป็นที่รู้จักกันในนามของบริษัท กานต์นิธิ เอวิเอชั่น จำกัด ที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นในบริการและความปลอดภัย ซึ่งถึงปัจจุบันนี้ กานต์แอร์มีเส้นทางบินครอบคลุมภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ซึ่งยังมีจุดบอดที่สายการบินขนาดใหญ่เข้าไม่ถึง
"ที่ผ่านมา ถามว่าผมเคยล้มไหม ตอบได้เลยว่านับครั้งไม่ถ้วน แต่ผมยึดแนวคิดว่าทุกอย่างเป็นประสบการณ์ให้ทดลองเดิน และเป็นบทเรียนที่จะก้าวต่อไปได้ เพราะหากว่าใจเราไม่สู้ เราก็ไม่มีวันนี้ ทุกครั้งที่มีคนสบประมาทว่า ขายยาเสพติดหรือเปล่า ฟอกเงินหรือเปล่า ผมไม่มีความรู้สึกโกรธ แต่กลับยิ่งภูมิใจ ที่ยืนบนลำแข็งของตัวเองได้ ผมทำธุรกิจโปร่งใส เงินทุกบาทมาจากไฟแนนซ์ที่ทำธุรกิจบริหารหนี้มีที่มาที่ไปตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส"
ปัจจุบัน สายการบินกานต์แอร์ ให้บริการการบินด้วยเครื่องบินขนาด 66-114 ที่นั่ง เพียง 4 ลำ ที่ใช้บินในแต่ละเส้นทางเชื่อมโยงหากัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จึงมีแผนที่จะพัฒนาสนามบินขนาดเล็กที่เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เพิ่มเติม ถือเป็นการเพิ่มเส้นทางการบิน อีก 1 จุด นอกเหนือจากนครราชสีมา พัทยา (ชลบุรี) และเชียงใหม่ และด้วยการขยายตัวอย่างมั่นคงเช่นนี้เอง ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า จะนำธุรกิจกานต์นิธิกรุ๊ปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใน 2 ปีข้างหน้า
ด้วยประสบการณ์ของหนุ่มใหญ่วัย 47 ปี ที่ "ลงเงินทุน" และ "ลงมือทำ" พร้อมเรียนรู้ธุรกิจการบินไปในเวลาเดียวกัน ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า "คน" ยังเป็นหัวใจสำคัญของการธุรกิจด้านนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบิน ซึ่งมักจะประสบปัญหาขาดแคลน เขาจึงตัดสินใจลงทุนอีก 100 ล้านบาท สร้างโรงเรียนการบินของสายการบินกานต์แอร์ ขึ้นที่ จ.ขอนแก่น ภายในปี 2558 นี้ เพื่อผลิตนักบินสนับสนุนการเพิ่มเส้นทางบินของสายการบินกานต์แอร์ พร้อมรองรับความต้องการของสายการบินอื่นๆ โดยจะใช้มาตรฐานการเรียนการสอนระดับสากล ภายใต้เป้าหมายสูงสุดคือ เป็นศูนย์กลางการเรียนการบินในกลุ่มอาเซียน
สำหรับแนวคิดในการแตกไลน์ธุรกิจของกานต์นิธินั้น ร.อ.สมพงษ์ ยกตัวอย่างก้าวย่างสู่บริการรถเช่าว่า ด้วยมุมมองที่เล็งเห็นว่า ธุรกิจรถเช่าจะสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ขึ้นได้ จากประสบการณ์ที่เคยใช้บัตรเครดิตแล้ววงเงินไม่พอ จึงเกิดไอเดียที่จะลดช่องว่างให้ลูกค้าด้วยการให้ลูกค้าชำระเงินค่าเช่ารถเพียงอย่างเดียว สำหรับความเสี่ยงอื่นๆ จะวางระบบควบคุมเอาไว้อย่างรัดกุม คาดว่าในอนาคตจะต่อยอดเข้ากับธุรกิจสายการบินได้ เพราะขณะนี้ก็มีสาขาให้บริการเช่ารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการด้านการบินอยู่แล้ว ขณะที่ประสบการณ์อีกด้านหนึ่งจากธุรกิจส่งผลไม้เข้าโรงแรม ที่เคยไปลงทุนปลูกมะละกอในลาว แต่ขาดทุนหลายแสนบาทจึงหันมาใช้การบริหารผลไม้ในตลาดเพื่อส่งขายให้แก่โรงแรมแทน จนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้มีรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท
ใช่เพียงเดินหน้าขยายธุรกิจออกไปให้ครอบคลุมหลายด้านอย่างเจนจัด หากแต่การ "คืนกำไร" ให้สังคม ก็อยู่ในแผนงานของ ร.อ.สมพงษ์ ซึ่งเขาบอกกล่าวเอาไว้ว่า วันนี้ยังมีความฝันว่า จะตั้งมูลนิธิขนส่งผู้ป่วยทางอากาศโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้เป็นรูปธรรม พร้อมกับจัดตั้งมูลนิธิเพื่อเด็กที่ถูกทอดทิ้ง "ผมมองว่าเมื่อประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้ว ก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม หากเด็กที่ถูกทอดทิ้งได้รับการบ่มเพาะทั้งกายและใจ มีความรู้ติดตัว ก็จะเกิดอาชีพตามมา" ร.อ.สมพงษ์ ให้ข้อคิดทิ้งท้าย
กว่าจะมีวันนี้
กว่าจะมาเป็นประธานสายการบินอย่างทุกวันนี้ เด็กชายจากแดนใต้คนหนึ่งเฝ้าใฝ่ฝัน ยามเมื่อเห็นเครื่องบินลอยลำอยู่เหนือฟากฟ้าว่า จะมีปัญญาได้ขึ้นเครื่อง หรือได้เข้าไปเห็นสภาพภายในเครื่องบินลำใหญ่นั้นอย่างใครเขาได้บ้างหรือไม่
หากแต่เด็กชายคนนั้น ก็สามารถบินได้ไกลเกินฝันในเวลาอีกร่วม 40 ปีให้หลัง ไม่น้อยไม่มาก สำหรับเด็กจากชนบทคนหนึ่ง ผู้เริ่มต้นถากถางทางชีวิตด้วยแรงกายและจิตใจมุ่งมั่น
"ผมไม่ใช่ลูกเศรษฐี แต่เป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่งซึ่งเติบโตจากลูกแม่ค้าใน จ.พัทลุง สมัยเด็กๆ เดินไปโรงเรียนเท้าเปล่า เพราะไม่มีเงินซื้อรองเท้า บางวันไปช่วยพ่อทำนา ร้อนและเหนื่อยก็ต้องกินน้ำในบ่อโคลนไม่มีน้ำขวดให้เลือกกินเหมือนคนอื่นเขา" ประธานกานต์นิธิกรุ๊ป เจ้าของสายการบินกานต์แอร์ บอกเล่าเส้นทางชีวิตเมื่อครั้งเยาว์วัย
แม้ว่าจะเป็นเด็กบ้านนอก แต่หลักคิดหนึ่งที่เขาไม่ละทิ้งคือ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้มีความรู้ ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า พยายามทำทุกวิถีทางที่จะได้เรียนหนังสือและมีงานทำ ตอนนั้นครอบครัวอยากให้เป็นทหาร จึงรับราชการเป็นทหาร แต่เงินเดือนข้าราชการขณะนั้น แค่เดือนละ 3,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ บางวันไม่มีเงินค่าอาหาร ทั้งยังต้องแบ่งเงินก้อนเล็กๆ นี้เอาไว้สำหรับค่าเดินทางอีกด้วย
จุดหักเหของชีวิต เดินทางมาถึงเพราะแรงบีบคั้นจากรายได้ที่ไม่พอรายจ่าย ร.อ.สมพงษ์ เล่าว่า ไปรับงานเป็นการ์ดให้แก่สถานบันเทิง เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นจังหวะที่ดี มีรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่บริษัทไฟแนนซ์มาชวนให้ไปทำงานตามรถยนต์จากลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้ ก็เลยรับงาน ตามรถจากลูกค้าคืนมาให้บริษัทได้ 11 คัน จากทั้งหมด 12 คัน ตรงจุดนี้เองทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป หลังจากนั้นเมื่อสถาบันการเงินเรียกเข้าไปคุย และให้งานทำ จึงเป็นที่มาของธุรกิจบริหารหนี้ ในนามของ "กานต์นิธิกรุ๊ป"
"แรกๆ ผมชวนเพื่อนชวนพี่ที่รู้จักมาร่วมหุ้น เพื่อดำเนินธุรกิจบริหารหนี้แต่ไม่มีใครสนใจ ผมจึงตัดสินใจทำคนเดียว โดยนำรถยนต์มือสองแต่เป็นคันแรกในชีวิตที่เก็บหอมรอมริบมาไปจำนำ เพื่อเอาเงินมาลงทุนก่อน ทยอยซื้อหนี้มาบริหารจัดการ เกิดเรียนรู้ว่า การทำธุรกิจต้องมีเทคนิคมาเป็นกรอบเป็นแนวคิดในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจที่ต้องมีการสื่อสาร และการใช้ความคิด การต่อรองควบคู่กัน หากว่าไม่เข้าใจหัวใจของธุรกิจที่จะทำ ก็เข้าถึงรายได้ที่จะตอบแทนกลับคืนมาได้ยาก
จากวันนั้นเมื่อปี 2548 บริษัทมีพนักงานเพียงคนเดียว เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ขณะนี้มีพนักงานร่วม 500 ชีวิต มีสำนักใหญ่ที่กรุงเทพฯ และจ.เชียงใหม่ มีมูลค่าหนี้ที่อยู่ในมือเพื่อให้บริหารหลายพันล้านบาท และมีรายได้มากกว่าปีละ 20 ล้านบาท และใช้เงินทุนจากธุรกิจนี้เปิดธุรกิจบริหารสินทรัพย์, ธุรกิจรถเช่า, ธุรกิจโรงแรม, ธุรกิจขายส่งผลไม้ให้แก่โรงแรม, ธุรกิจสายการบิน, ธุรกิจโรงเรียนการบิน, และธุรกิจเหมืองแร่ ฯลฯ
สิ่งสำคัญที่มายืนจุดนี้ได้ ร.อ.สมพงษ์ ชี้ว่า เพราะเป็นคนที่มีความคิดต่างในการทำธุรกิจ แรกๆ ที่เข้าไปติดตามยึดรถคืนจากลูกค้า ตั้งโจทย์ไว้เลยว่า "ไม่มีใครอยากจะถูกยึดรถ และสถาบันการเงินเองก็ไม่อยากได้รถคืน เพราะมีแต่จะขาดทุนทั้งคู่" เพราะฉะนั้นจึงเข้าไปทำหน้าที่หาทางออกให้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไม่ใช่การไปข่มขู่ลูกค้า กับรอรับค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทไฟแนนซ์เท่านั้น แต่ไปช่วยให้เกิดการบริหารหนี้อย่างเป็นระบบ ลูกค้าก็อยู่ได้ บริษัทไฟแนนซ์ก็บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น
"ระหว่างนั้น ผมไม่ลืมที่จะขวนขวายที่จะหาสถานที่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยอาศัยช่วงเวลาตอนเย็นไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีภาคค่ำ จนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และจบปริญญาโท คณะบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อใดที่หวนไปนึกถึงวันที่ผ่านมาๆ ผมจะมีความภูมิใจในตัวเอง ไม่คิดไม่ฝันว่าจะมายืนต้องจุดนี้ได้ ทุกวันนี้แม้ผมจะมีบริษัทที่ต้องบริหารราว 10 แห่ง มูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 2,500 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีโต๊ะทำงานเป็นของตัวเอง ผมนั่งโต๊ะลูกน้องบ้าง นั่งโต๊ะประชุมบ้าง เพราะการทำงานอย่างผมเน้นไปที่การใช้ความคิด ที่สามารถอยู่ได้ทุกที่ไม่ต้องมายึดติดว่าต้องอยู่กับโต๊ะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง" นี่คือบทสรุปการบริหารงานในสไตล์ของประธานกานต์นิธิกรุ๊ป
หากแต่ในระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ มูลค่าทางธุรกิจของกานต์แอร์ได้เพิ่มขึ้นมามากกว่า 1,000 ล้านบาท หรือแตกไลน์ภายใต้ปีกกลุ่มทุนเดิมออกไปอีกนับสิบแห่ง ย่อมเป็นข้อพิสูจน์ในระดับหนึ่งว่า ทุกย่างก้าวของการดำเนินธุรกิจไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา ที่สำคัญก็คือ การบริหารงานที่สามารถลบข้อกังขาเมื่อครั้งก่อตั้งขึ้นมาได้
ในบทบาทหนึ่งของนายทหารอากาศที่เติบโตจากสายงานจากการสมัครเข้ารับราชการ จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายทหารตำแหน่งผู้ช่วยทหารสืบสวนสอบสวน กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย น่าสนใจว่า อีกสถานะหนึ่งของนักธุรกิจที่ดำเนินควบคู่ไปนั้น เขาบริหารงานอย่างไร
"ผมไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจการบินมาก่อน แต่มองว่าคนเดินทางในประเทศไทยยังต้องการการเติมเต็ม ตอนนั้นจำได้ว่าไปซื้อแผนที่มากางดูจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ และไปเรียนการบินที่กองทัพอากาศ ก่อนตัดสินใจใช้เงินก้อนใหญ่ของชีวิตราว 9 ล้านบาท ซื้อเครื่องบินไพรเวตเจ็ตขนาด 4 ที่นั่ง ศึกษาทั้งระบบการบิน และระบบการทำธุรกิจ และช่องว่างของธุรกิจเกือบ 3 ปี ก่อนที่จะยื่นเรื่องขออนุญาตจากกรมการบินพาณิชย์ และทำการบินอย่างเป็นกิจจะลักษณะ"
การเข้ามาบุกเบิกให้บริการสายการบินระยะสั้น ต้นทุนต่ำ นับเป็นเสี้ยวชีวิตหนึ่งที่ท้าทายยิ่ง เพราะทั้งหลายทั้งปวงต้องผ่านการเรียนรู้จนตกผลึกก่อนจะลงมือทำจริง ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า ระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้ สายการบินกานต์แอร์ให้บริการเต็มมาตรฐาน จนเป็นที่รู้จักกันในนามของบริษัท กานต์นิธิ เอวิเอชั่น จำกัด ที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นในบริการและความปลอดภัย ซึ่งถึงปัจจุบันนี้ กานต์แอร์มีเส้นทางบินครอบคลุมภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ซึ่งยังมีจุดบอดที่สายการบินขนาดใหญ่เข้าไม่ถึง
"ที่ผ่านมา ถามว่าผมเคยล้มไหม ตอบได้เลยว่านับครั้งไม่ถ้วน แต่ผมยึดแนวคิดว่าทุกอย่างเป็นประสบการณ์ให้ทดลองเดิน และเป็นบทเรียนที่จะก้าวต่อไปได้ เพราะหากว่าใจเราไม่สู้ เราก็ไม่มีวันนี้ ทุกครั้งที่มีคนสบประมาทว่า ขายยาเสพติดหรือเปล่า ฟอกเงินหรือเปล่า ผมไม่มีความรู้สึกโกรธ แต่กลับยิ่งภูมิใจ ที่ยืนบนลำแข็งของตัวเองได้ ผมทำธุรกิจโปร่งใส เงินทุกบาทมาจากไฟแนนซ์ที่ทำธุรกิจบริหารหนี้มีที่มาที่ไปตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส"
ปัจจุบัน สายการบินกานต์แอร์ ให้บริการการบินด้วยเครื่องบินขนาด 66-114 ที่นั่ง เพียง 4 ลำ ที่ใช้บินในแต่ละเส้นทางเชื่อมโยงหากัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จึงมีแผนที่จะพัฒนาสนามบินขนาดเล็กที่เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เพิ่มเติม ถือเป็นการเพิ่มเส้นทางการบิน อีก 1 จุด นอกเหนือจากนครราชสีมา พัทยา (ชลบุรี) และเชียงใหม่ และด้วยการขยายตัวอย่างมั่นคงเช่นนี้เอง ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า จะนำธุรกิจกานต์นิธิกรุ๊ปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใน 2 ปีข้างหน้า
ด้วยประสบการณ์ของหนุ่มใหญ่วัย 47 ปี ที่ "ลงเงินทุน" และ "ลงมือทำ" พร้อมเรียนรู้ธุรกิจการบินไปในเวลาเดียวกัน ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า "คน" ยังเป็นหัวใจสำคัญของการธุรกิจด้านนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบิน ซึ่งมักจะประสบปัญหาขาดแคลน เขาจึงตัดสินใจลงทุนอีก 100 ล้านบาท สร้างโรงเรียนการบินของสายการบินกานต์แอร์ ขึ้นที่ จ.ขอนแก่น ภายในปี 2558 นี้ เพื่อผลิตนักบินสนับสนุนการเพิ่มเส้นทางบินของสายการบินกานต์แอร์ พร้อมรองรับความต้องการของสายการบินอื่นๆ โดยจะใช้มาตรฐานการเรียนการสอนระดับสากล ภายใต้เป้าหมายสูงสุดคือ เป็นศูนย์กลางการเรียนการบินในกลุ่มอาเซียน
สำหรับแนวคิดในการแตกไลน์ธุรกิจของกานต์นิธินั้น ร.อ.สมพงษ์ ยกตัวอย่างก้าวย่างสู่บริการรถเช่าว่า ด้วยมุมมองที่เล็งเห็นว่า ธุรกิจรถเช่าจะสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ขึ้นได้ จากประสบการณ์ที่เคยใช้บัตรเครดิตแล้ววงเงินไม่พอ จึงเกิดไอเดียที่จะลดช่องว่างให้ลูกค้าด้วยการให้ลูกค้าชำระเงินค่าเช่ารถเพียงอย่างเดียว สำหรับความเสี่ยงอื่นๆ จะวางระบบควบคุมเอาไว้อย่างรัดกุม คาดว่าในอนาคตจะต่อยอดเข้ากับธุรกิจสายการบินได้ เพราะขณะนี้ก็มีสาขาให้บริการเช่ารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการด้านการบินอยู่แล้ว ขณะที่ประสบการณ์อีกด้านหนึ่งจากธุรกิจส่งผลไม้เข้าโรงแรม ที่เคยไปลงทุนปลูกมะละกอในลาว แต่ขาดทุนหลายแสนบาทจึงหันมาใช้การบริหารผลไม้ในตลาดเพื่อส่งขายให้แก่โรงแรมแทน จนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้มีรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท
ใช่เพียงเดินหน้าขยายธุรกิจออกไปให้ครอบคลุมหลายด้านอย่างเจนจัด หากแต่การ "คืนกำไร" ให้สังคม ก็อยู่ในแผนงานของ ร.อ.สมพงษ์ ซึ่งเขาบอกกล่าวเอาไว้ว่า วันนี้ยังมีความฝันว่า จะตั้งมูลนิธิขนส่งผู้ป่วยทางอากาศโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้เป็นรูปธรรม พร้อมกับจัดตั้งมูลนิธิเพื่อเด็กที่ถูกทอดทิ้ง "ผมมองว่าเมื่อประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้ว ก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม หากเด็กที่ถูกทอดทิ้งได้รับการบ่มเพาะทั้งกายและใจ มีความรู้ติดตัว ก็จะเกิดอาชีพตามมา" ร.อ.สมพงษ์ ให้ข้อคิดทิ้งท้าย
กว่าจะมีวันนี้
กว่าจะมาเป็นประธานสายการบินอย่างทุกวันนี้ เด็กชายจากแดนใต้คนหนึ่งเฝ้าใฝ่ฝัน ยามเมื่อเห็นเครื่องบินลอยลำอยู่เหนือฟากฟ้าว่า จะมีปัญญาได้ขึ้นเครื่อง หรือได้เข้าไปเห็นสภาพภายในเครื่องบินลำใหญ่นั้นอย่างใครเขาได้บ้างหรือไม่
หากแต่เด็กชายคนนั้น ก็สามารถบินได้ไกลเกินฝันในเวลาอีกร่วม 40 ปีให้หลัง ไม่น้อยไม่มาก สำหรับเด็กจากชนบทคนหนึ่ง ผู้เริ่มต้นถากถางทางชีวิตด้วยแรงกายและจิตใจมุ่งมั่น
"ผมไม่ใช่ลูกเศรษฐี แต่เป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่งซึ่งเติบโตจากลูกแม่ค้าใน จ.พัทลุง สมัยเด็กๆ เดินไปโรงเรียนเท้าเปล่า เพราะไม่มีเงินซื้อรองเท้า บางวันไปช่วยพ่อทำนา ร้อนและเหนื่อยก็ต้องกินน้ำในบ่อโคลนไม่มีน้ำขวดให้เลือกกินเหมือนคนอื่นเขา" ประธานกานต์นิธิกรุ๊ป เจ้าของสายการบินกานต์แอร์ บอกเล่าเส้นทางชีวิตเมื่อครั้งเยาว์วัย
แม้ว่าจะเป็นเด็กบ้านนอก แต่หลักคิดหนึ่งที่เขาไม่ละทิ้งคือ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้มีความรู้ ร.อ.สมพงษ์ บอกว่า พยายามทำทุกวิถีทางที่จะได้เรียนหนังสือและมีงานทำ ตอนนั้นครอบครัวอยากให้เป็นทหาร จึงรับราชการเป็นทหาร แต่เงินเดือนข้าราชการขณะนั้น แค่เดือนละ 3,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ บางวันไม่มีเงินค่าอาหาร ทั้งยังต้องแบ่งเงินก้อนเล็กๆ นี้เอาไว้สำหรับค่าเดินทางอีกด้วย
จุดหักเหของชีวิต เดินทางมาถึงเพราะแรงบีบคั้นจากรายได้ที่ไม่พอรายจ่าย ร.อ.สมพงษ์ เล่าว่า ไปรับงานเป็นการ์ดให้แก่สถานบันเทิง เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นจังหวะที่ดี มีรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่บริษัทไฟแนนซ์มาชวนให้ไปทำงานตามรถยนต์จากลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้ ก็เลยรับงาน ตามรถจากลูกค้าคืนมาให้บริษัทได้ 11 คัน จากทั้งหมด 12 คัน ตรงจุดนี้เองทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป หลังจากนั้นเมื่อสถาบันการเงินเรียกเข้าไปคุย และให้งานทำ จึงเป็นที่มาของธุรกิจบริหารหนี้ ในนามของ "กานต์นิธิกรุ๊ป"
"แรกๆ ผมชวนเพื่อนชวนพี่ที่รู้จักมาร่วมหุ้น เพื่อดำเนินธุรกิจบริหารหนี้แต่ไม่มีใครสนใจ ผมจึงตัดสินใจทำคนเดียว โดยนำรถยนต์มือสองแต่เป็นคันแรกในชีวิตที่เก็บหอมรอมริบมาไปจำนำ เพื่อเอาเงินมาลงทุนก่อน ทยอยซื้อหนี้มาบริหารจัดการ เกิดเรียนรู้ว่า การทำธุรกิจต้องมีเทคนิคมาเป็นกรอบเป็นแนวคิดในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจที่ต้องมีการสื่อสาร และการใช้ความคิด การต่อรองควบคู่กัน หากว่าไม่เข้าใจหัวใจของธุรกิจที่จะทำ ก็เข้าถึงรายได้ที่จะตอบแทนกลับคืนมาได้ยาก
จากวันนั้นเมื่อปี 2548 บริษัทมีพนักงานเพียงคนเดียว เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ขณะนี้มีพนักงานร่วม 500 ชีวิต มีสำนักใหญ่ที่กรุงเทพฯ และจ.เชียงใหม่ มีมูลค่าหนี้ที่อยู่ในมือเพื่อให้บริหารหลายพันล้านบาท และมีรายได้มากกว่าปีละ 20 ล้านบาท และใช้เงินทุนจากธุรกิจนี้เปิดธุรกิจบริหารสินทรัพย์, ธุรกิจรถเช่า, ธุรกิจโรงแรม, ธุรกิจขายส่งผลไม้ให้แก่โรงแรม, ธุรกิจสายการบิน, ธุรกิจโรงเรียนการบิน, และธุรกิจเหมืองแร่ ฯลฯ
สิ่งสำคัญที่มายืนจุดนี้ได้ ร.อ.สมพงษ์ ชี้ว่า เพราะเป็นคนที่มีความคิดต่างในการทำธุรกิจ แรกๆ ที่เข้าไปติดตามยึดรถคืนจากลูกค้า ตั้งโจทย์ไว้เลยว่า "ไม่มีใครอยากจะถูกยึดรถ และสถาบันการเงินเองก็ไม่อยากได้รถคืน เพราะมีแต่จะขาดทุนทั้งคู่" เพราะฉะนั้นจึงเข้าไปทำหน้าที่หาทางออกให้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไม่ใช่การไปข่มขู่ลูกค้า กับรอรับค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทไฟแนนซ์เท่านั้น แต่ไปช่วยให้เกิดการบริหารหนี้อย่างเป็นระบบ ลูกค้าก็อยู่ได้ บริษัทไฟแนนซ์ก็บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น
"ระหว่างนั้น ผมไม่ลืมที่จะขวนขวายที่จะหาสถานที่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยอาศัยช่วงเวลาตอนเย็นไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีภาคค่ำ จนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และจบปริญญาโท คณะบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อใดที่หวนไปนึกถึงวันที่ผ่านมาๆ ผมจะมีความภูมิใจในตัวเอง ไม่คิดไม่ฝันว่าจะมายืนต้องจุดนี้ได้ ทุกวันนี้แม้ผมจะมีบริษัทที่ต้องบริหารราว 10 แห่ง มูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 2,500 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีโต๊ะทำงานเป็นของตัวเอง ผมนั่งโต๊ะลูกน้องบ้าง นั่งโต๊ะประชุมบ้าง เพราะการทำงานอย่างผมเน้นไปที่การใช้ความคิด ที่สามารถอยู่ได้ทุกที่ไม่ต้องมายึดติดว่าต้องอยู่กับโต๊ะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง" นี่คือบทสรุปการบริหารงานในสไตล์ของประธานกานต์นิธิกรุ๊ป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น