ปุ๋ยหมักโดยทั่วไปมักมีคุณสมบัติและปริมาณแร่ธาตุน้อยกว่าสารเคมี
เวลาใส่ให้แก่พืชจะตอบสนองช้ามาก(ไม่เหมาะกับคนใจร้อน) ต้องใส่ในปริมาณมาก (ไม่เหมาะกับคนไม่แข็งแรง)
ต้องเตรียมการในการผลิตหลายขั้นตอน(ไม่เหมาะกับคนขี้เกียจ) ปุ๋ยเคมีมีเงินซื้อได้ทันที(คนมีเงินแต่คิดไม่เป็น)
ผมอ่านเจอเลยในเวปบ้านหมากล้อม.คอม แล้วให้เด็กลองทำดูได้ผลจริงๆครับเลยนำมาบอกต่อ
ก็คนมันอยากบอกทำอย่างไรได้ ทนอ่านเอานะครับ ) ครูชาตรีกล่าวไว้...
โดยวัตถุดิบที่ใช้นำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆข้อมูลจาก (นิรนาม (ข), 2553
1.ปุ๋ยหมักสูตร 16-16-16 และปุ๋ยหมักชีวภาพสูตร 15-15-15
วัตถุดิบต่อส่วนผสม
รำอ่อน 1 ส่วน
ดินดี 1 ส่วน
แกลบดิบ 1 ส่วน
แกลบดำ 1 ส่วน
มูลสัตว์ 1 ส่วน
พืชตระกูลถั่ว 1 ส่วน
2. ปุ๋ยหมักสูตร 16-20-0
วัตถุดิบต่อส่วนผสม
รำอ่อน 1 ส่วน
ดินดี 2 ส่วน
แกลบดิบ 4 ส่วน
แกลบดำ 4 ส่วน
มูลสัตว์ 4 ส่วน
พืชตระกูลถั่ว 4 ส่วน
ขั้นตอนและวิธีการทำปุ๋ยหมักสูตร
1.นำส่วนผสมทั้งหมด(ยกเว้นรำอ่อนให้ใส่หลังสุด) นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.เกลี่ยส่วนผสมออกเป็นวงกลมแล้วนำน้ำหมักที่ผสมไว้แล้วราดลงไปให้ทั่วกองปุ๋ยโดยให้เปียกพอประมาณ ความชื้นประมาณ 60%
1.นำส่วนผสมทั้งหมด(ยกเว้นรำอ่อนให้ใส่หลังสุด) นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.เกลี่ยส่วนผสมออกเป็นวงกลมแล้วนำน้ำหมักที่ผสมไว้แล้วราดลงไปให้ทั่วกองปุ๋ยโดยให้เปียกพอประมาณ ความชื้นประมาณ 60%
โดยอัตราส่วนในการผสมน้ำหมักชีวภาพ นำกากน้ำตาล 2 ช้อนแกงลงผสมกับน้ำหมัก 2-8 ช้อน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตรคนให้เข้ากันนำใส่บัวรดน้ำรดกองปุ๋ย
ข้อแนะนำและควรปฏิบัติ
1.ในการผสมปุ๋ยและเก็บปุ๋ยควรทำในร่มหรือในโรงเรือน
2.ในระยะ 7 วันแรกปุ๋ยจะมีความร้อนสูง ควรพลิกกลับปุ๋ยทุกวันในระยะ 2-7 วันแรก
3.การเก็บปุ๋ยไม่ควรซ้อนกันเกิน 5 ชั้น
4.หลังจากปุ๋ยคลายความร้อนแล้วนำไปใช้งานได้
5.น้ำที่ใช้ผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำหมักให้ใช้น้ำซาวข้าวแทนได้จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อแนะนำและควรปฏิบัติ
1.ในการผสมปุ๋ยและเก็บปุ๋ยควรทำในร่มหรือในโรงเรือน
2.ในระยะ 7 วันแรกปุ๋ยจะมีความร้อนสูง ควรพลิกกลับปุ๋ยทุกวันในระยะ 2-7 วันแรก
3.การเก็บปุ๋ยไม่ควรซ้อนกันเกิน 5 ชั้น
4.หลังจากปุ๋ยคลายความร้อนแล้วนำไปใช้งานได้
5.น้ำที่ใช้ผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำหมักให้ใช้น้ำซาวข้าวแทนได้จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การผลิตปุ๋ยหมักสูตร“โคบาชิ”เทียบเคียงปุ๋ยเคมี46-0-0
วัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยสูตรเทียบเคียงปุ๋ย 46-0-0(โบโบชิ)
- รำ 1 กระสอบ
- แกลบดิบ 1 กระสอบ
- มูลไก่ 1 กระสอบ
- ขี้ค้างคาว 6 กิโลกรัม
- น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM
- กากน้ำตาล
วัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยสูตรเทียบเคียงปุ๋ย 46-0-0(โบโบชิ)
- รำ 1 กระสอบ
- แกลบดิบ 1 กระสอบ
- มูลไก่ 1 กระสอบ
- ขี้ค้างคาว 6 กิโลกรัม
- น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM
- กากน้ำตาล
วิธีการทำ
- ผสมรำ แกลบดิบ มูลไก่ ขี้ค้างคาว คนให้เข้าด้วยกันกองบนพื้นราบ
- ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด. 2 ถ้าไม่มีให้ใช้ EM พร้อมกับใช้กากน้ำตาลรดบนกองขณะผสมวัสดุทำปุ๋ยให้ได้ความชื้นที่ 60 % วัดความชื้นที่เหมาะสมได้จากการกำวัสดุที่ผสมแล้วให้แน่นแล้วปล่อยให้อยู่ในอุ้งมือ ถ้าความชื้น 60 % จะติดกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน
- ตักปุ๋ยที่ได้บรรจุใส่ในกระสอบฟาง อย่าใส่จนเต็มกระสอบ จากนั้นมัดปากกระสอบ เก็บเข้าไว้ในที่ร่ม หมั่นกลับกระสอบทุกวัน โดยวันแรกวางกระสอบไว้แนวนอน
- จากนั้นกลับกระสอบไปมาวันละ 1 ครั้งจนครบ 7 วัน ในวันที่ 7 ให้วางกระสอบในแนวตั้งจากนั้นเปิดปากกระสอบระบายความร้อนทิ้งไว้อีก 1 คืน จะได้ปุ๋ยหมักโบโบชิสามารถนำไปใช้ได้
- ผสมรำ แกลบดิบ มูลไก่ ขี้ค้างคาว คนให้เข้าด้วยกันกองบนพื้นราบ
- ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด. 2 ถ้าไม่มีให้ใช้ EM พร้อมกับใช้กากน้ำตาลรดบนกองขณะผสมวัสดุทำปุ๋ยให้ได้ความชื้นที่ 60 % วัดความชื้นที่เหมาะสมได้จากการกำวัสดุที่ผสมแล้วให้แน่นแล้วปล่อยให้อยู่ในอุ้งมือ ถ้าความชื้น 60 % จะติดกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน
- ตักปุ๋ยที่ได้บรรจุใส่ในกระสอบฟาง อย่าใส่จนเต็มกระสอบ จากนั้นมัดปากกระสอบ เก็บเข้าไว้ในที่ร่ม หมั่นกลับกระสอบทุกวัน โดยวันแรกวางกระสอบไว้แนวนอน
- จากนั้นกลับกระสอบไปมาวันละ 1 ครั้งจนครบ 7 วัน ในวันที่ 7 ให้วางกระสอบในแนวตั้งจากนั้นเปิดปากกระสอบระบายความร้อนทิ้งไว้อีก 1 คืน จะได้ปุ๋ยหมักโบโบชิสามารถนำไปใช้ได้
วิธีการนำไปใช้
– ใช้หว่านบนแปลงปลูกพืช ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตรแทนการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0
ที่มาโดย ครูชาตรี ต่วนศรีแก้ว
– ใช้หว่านบนแปลงปลูกพืช ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตรแทนการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0
ที่มาโดย ครูชาตรี ต่วนศรีแก้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น