เมื่อเราหาบ้านในฝันของเราเจอเเล้ว หลายคนเริ่มมองหา ธนาคารเพื่อที่จะกู้เงิน โอเคเราข้ามขั้นตอนการหาทรัพย์ไปนะ หาอ่านได้ในบทความก่อนๆนะครับ
ขั้นตอนการกู้แบงค์ Step By Step
1. คำนวนวงเงินกู้ของเรา
เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเราจะกู้ได้ประมาณ เท่าไหร่ ไม่งั้นมีเสียเวลานะครับ อ่านวิธีคำนวนที่นี่
2. เตรียม เครดิต
เตรียมบัญชี เสตทเม้น เงินเดือน ของเราให้พร้อม อ่านรายละเอียดเพิ่มที่นี่
3. หาข้อมูล ราคาประเมินเบื้องต้น
จากธนาคารใกล้ๆ ทรัพย์ นั้นๆ ส่วนใหญ่เเล้ว เค้าจะรู้ราคาประเมิน (เพราะว่ามีคนเคยมากู้) หรือ ถามจากนิติ , เอเจ่นซี่ เอาก็ได้
4. เตรียมเงิน
ค่าเงินดาวน์ รายจ่ายที่มากับการโอน ค่าธรรมเนียม ค่าโอน สักประมาณ 10-20% ของราคาทรัพย์
5. วางเงินจอง
จองยิ่งน้อยยิ่งดีถ้าทำได้ ประมาณ 10,000 – 50,000 บาท
6. ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
อ่านรายละเอียดให้ดี สาระที่สำคัญ คือ
- ราคาที่จะซื้อจะขาย
- เงินดาวน์
- ค่ามัดจำในการจอง
- ระยะเวลาในการโอน
- ถ้ากู้ไม่ผ่านจะได้เงินคืนหรือไม่
- ค่าโอนใครจ่าย มีหลายตัว ดูให้ดี ค่าโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะ อื่นๆอีกมากมาย ดูรายละเอียดที่นี่
7. เลือกธนาคาร
มีข้อพิจารณาในการเลือกอยู่
- เลือกตามดอกเบี้ย อันไหนน้อยก็เอาอันนั้น
- เลือกแบงค์ที่เราใช้ประจำ อันนี้มีโอกาสกู้ได้สูงขึ้น
- เลือกตามสะดวก ทั้งการติดต่อ การชำระเงิน
- เลือกตามพนักงานสินเชื่อ รู้รึป่าวเเบงค์ เดียวกัน เเต่คนทำสินเชื่อไม่เหมือนกัน ผลลัพท์ออกมาคนละเรื่อง ลองหาดูว่าใครทำงานเก่ง เเล้วให้เค้าจัดการให้
- เลือกที่ใกล้ กับทรัพย์ที่จะซื้อ ส่วนมากเค้าจะรู้จัก และ คุ้นเคยอยู่เเล้ว จะทำให้ไวขึ้น
- เลือกธนาคารใกล้บ้าน (สำหรับนักธุรกิจ) เวลาประเมิน ธุรกิจ จะง่ายกว่า คนที่ไม่รู้จัก มีโอกาส ได้วงเงินสูงกว่า
8. ส่งเอกสาร ยื่นธนาคาร
สิ่งที่ต้องใช้ พนักงานบริษัท
- Payroll (การโอนเงินอัตโนมัติจากบริษัท)
- 50 ทวิ คือเอกสารรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- ภ.ง.ด. 90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นรายได้จากการมี
ทรัพย์สินให้เช่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมีกิจการเป็นของตัวเอง - สลิปเงินเดือน จากบริษัท
- สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน (คู่สมรสด้วย ถ้าเเต่งเเล้ว)
เจ้าของธุรกิจ
- ทะเบียนการค้า
- หนังสือรับรอง
- ใบอนุญาติ
- บริคณห์สนธิ (เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัด)
- หลักฐานการเสียภาษี
- บัญชีรายรับรายจ่าย และ งบการเงิน
- Statement 1 ปี (เอาชัวร์)
- ใบเสร็จในการซื้อสินค้า
- ภพ 20 ภพ 30 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน (คู่สมรสด้วย ถ้าเเต่งเเล้ว)
- เเละให้เเบงค์ มาเยี่ยมบริษัทด้วย (จะกินเวลาพอสมควร)
9. Pre Approve (การอนุมัติเบื้องต้น)
ถ้าเป็นนักธุรกิจก็จะช้ากว่า พนักงานประจำ ตีคร่าวๆ ประมาน 1 เดือน ขึ้นอยู่กับเเบงค์ และ คนทำสินเชื่อ ที่เราเลือก ซึ่งขั้นตอนนี้ เราจะรู้ วงเงินที่กู้ได้ อัตราดอกเบี้ย หรือ สินเชื่อไม่อนุมัติ ผมเเนะนำว่าเวลา ยื่นธนาคาร ควรยื่นสัก 2-3 เเบงค์ เพื่อ เป็นการเปรียบเทียบ และ กันพลาดเวลากู้ไม่ผ่านครับ ไม่งั้นโอกาสโดนยึดเงินจองมีสูงเหมือนกัน เเล้วเราจะเสียเวลา
10. ในกรณีที่ไม่อนุมัติ
เเบงค์จะเสนอ Option ในการกู้ร่วมครับ ถ้าตกลงก็จะต้องรอขั้นตอนการทำงานใหม่ ย้ำว่าใหม่ ไม่ใช่ทำต่อจากเดิมนะครับ ก็รอกันไปอีก 1 เดือน
11. นัดวันโอน
ตกลงกับเเบงค์ ตกลงกับทางคนขาย นัดกันว่าจะโอนวันไหน ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วเเบงค์จะมี วันที่มาที่ดินของเค้า เช่น เเบงค์เขียว มาวัน อังคาร กับ พฤหัส เท่านั้น ทางเราก็ต้องไปนัดกับทางคนขายเอง ซึ่งเราจะเลื่อนการโอนได้ ประมาณ 1 เดือน เเบบไม่น่าเกลียด เเต่ถ้ามี ธุระไป ต่างประเทศ จริงๆ ก็ต้องคุยกับเเบงค์ กับ คนขายนะครับ
12. โอนที่ ที่ดิน
วันนั้นจะอารมณ์เหมือนวันรวมญาติ จะมีทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ นายธนาคาร และก็นายหน้า ถ้าคุณซื้อขายผ่านนายหน้า ก็จะสะดวกมาก วันนั้นเค้าจะหล่อดูดี มาที่ดินเเต่เช้าทำเรื่องให้เราเรียบร้อย เรามีหน้าที่ไปเซ็นต์ เอกสาร และจ่ายค่าเท่านั้น ทางเเบงค์จะจ่ายเชค ให้ผู้ขาย จากนั้นเเยกย้ายกลับบ้าน
ในกรณีที่ไม่มีนายหน้าต้องทำเองครับ ทั้งเซ็นต์โอน จดจำนอง เยอะ ลองให้ที่ดินเค้าช่วยเอานะครับ
13. จัดการเรื่อง มิเตอร์ น้ำไฟ
รวมเเล้วประมาณ 7,000 บาท ได้ที่ ปะปา กับ ไฟฟ้า
14. เปลี่ยนชื่อในทะเบียนบ้าน
ให้คนเก่าออก เราเข้าไปเเทน เป็นเจ้าบ้าน ที่อำเภอ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น