วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อย่าเอาแต่พยายาม


อย่าเอาแต่พยายาม
.
.
.

ผมใช้เวลา 8 ปีลองผิดลองถูกจดกระทั่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าเรื่องที่ผมจะเขียนนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจปัจจุบันแน่นอนแล้ว ถ้าไม่มั่นใจคงไม่กล้าเขียนเพราะกลัวโดนด่าเหมือนกัน
.
มันอาจจะเป็นเรื่องที่ทำใจให้เชื่อได้ยากซักหน่อยเพราะมันยังขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้อยู่
.
ความเชื่อที่ว่านี้คือ “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น”
.
ผมขอนิยามความพยายามในประโยคข้างบนว่าความพยายามแบบเถรตรงนะครับ คือความพยายามแบบทำงานหนักเข้าว่า สักแต่ว่าขอให้ได้ทำงานเยอะๆ ทำงานหนักแล้วสบายใจ แต่บ้างทีอาจไม่ได้หยุดคิดว่าที่ทำงานหนักนี่ จริงๆแล้วกำลังทำอะไรอยู่
.
นี่คือการท้าทายชุดความคิดที่ใหญ่ที่สุดที่ผมเคยทำมาในชีวิตก็ว่าได้
.
เพราะผมกำลังจะบอกว่าในยุคนี้แม้พยายามหรือขยันแค่ไหน แต่ไม่ทบทวนวิธีคิดซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแล้วล่ะก็ ต่อให้พยายามขึ้นสองเท่า ทำงานหนักขึ้นสองเท่า ผลลัพธ์ไม่มีทางดีขึ้นสองเท่านอน เผลอๆอาจจะแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ
.
คุณลองมองดูรอบๆตัวคุณซิครับ คนที่มาทำงานเช้าที่สุด และกลับบ้านดึกที่สุดคือคนที่ทำผลงานได้ดีที่สุดรึเปล่า ผมขอเดาก่อนล่วงหน้าไปเลยว่าไม่ใช่
.
ความพยายามและความขยันแบบเถรตรงอาจจะเป็นอาวุธหลักเมื่อ 50 ปีที่แล้ว แต่มันไม่ใช่อาวุธหลักของการทำธุรกิจยุคนี้อีกต่อไป
.
ธุรกิจยุคนี้ ความคิด (idea) และ จังหวะเวลา (timing) เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
.
แต่เดี๋ยวก่อนผมไม่ได้บอกให้คุณขี้เกียจนอน slow life อยู่บ้าน
.
เพราะสิ่งที่ตรงข้ามกับความพยายามเดิมๆอย่างมุมานะ ไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่คือการสร้างตัวเองให้รับกับการเปลี่ยนแปลงที่สูงและต่อเนื่องตลอดเวลาได้
.
ย้ำอีกที สิ่งที่ตรงข้ามกับความพยายามแบบเถรตรงไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่คือความ dynamic
.
ตลอดเวลา 8 ปีนี้ผมลองผิดลองถูกมาหมดแล้วทั้งเรื่องธุรกิจและเรื่องการลงทุนส่วนตัว
.
ผมลองมาหมดแล้วทั้งการทำงานหนักแบบไม่ลืมหูลืมตา
.
slow life / festive season ใช้ชีวิตแบบ artist ชิลๆ
.
หรือให้คนอื่นทำงานผมนั่งติดสินใจอย่างเดียว
.
หรือวิธีอื่นๆอีกมากมาย
.
ผมพบว่ากระบวนที่สร้างความสำเร็จได้มากที่สุดคือการสร้าง dynamic thinking system ให้กับตัวเองและองค์กรให้ได้ครับ
.
dynamic thinking system คืออะไร ?
.
คือการหาชุดความคิดในการในการต่อสู้กับความท้าทายทางธรุกิจ
.
เรียกว่ามีกลยุทธ์ในการเดินหมาก ไม่ใช่สักแต่ว่าทำงานไปวันๆ
.
ผมยกตัวอย่างง่ายๆให้ฟังเรื่องนึงละกัน
.
เมื่อหลายปีมาแล้วผมกับทีมงานคิดกันว่าแทนที่เราจะพยายามขายของทุกอย่างที่มีในบริษัทอยู่ไปเรื่อยๆเราควรมาคิดก่อนว่า
.
1.เราจะขายอะไรต่อ
2.เราจะขายอะไรใหม่
3.เราจะยกเลิกการขายอะไร
.
บริษัทเราตัดสินใจวางระบบ SAP ทั้งๆที่รู้ว่าการลงทุนค่อนข้างสูงและมีการใช้งานที่ยุ่งยากพอควร แต่สิ่งที่เราต้องการจะรู้คือต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าที่เราขายแต่ละตัว เพราะระบบที่เราใช้ก่อนหน้านี้ไม่สามารถบอกได้
.
ทันทีหลังจากตัวเลขต้นทุนออกมา มีสินค้าหลายตัวที่ต้นทุนสูงไม่สมควรขยายต่อ ผลคือเราตัดรายการสินค้าที่ขายออกไป 30%
.
โดยการทำแค่นี้ และไม่ต้องทำอย่างอื่นเพิ่มเลย กำไรบรรทัดสุดท้ายของเราเพิ่มขึ้นทันที
.
งานน้อยลง กำไรมากขึ้น นี่คือชุดความคิดที่ถูกต้องครับ ดีกว่าดันทุรังพยายามขายมันไปซะทุกตัว
.
นอกจากนี้ยังเอาไปต่อยอดได้อีก
.
สินค้าที่มีแนวโน้มขายดีมากๆอยู่
.
เราต่อยอดด้วยการแตกไลน์เพิ่ม
.
ผ่านไปหนึ่งปีเราลดรายการสินค้าที่ขายลงไปอีกครึ่งหนึ่ง ทุกคนเหนื่อยน้อยลง งานก็น้อยลง แต่กำไรเพิ่มขึ้น
.
นี่คือผลจากการคิดและไม่ดันทุรังทำงานหนักแบบเดิมไปเรื่อยๆ
.
แล้ว dynamic thinking system เกิดจากอะไร ?
.
ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านคือมันเกิดจากการใช้เวลาในการ “คิด” ให้เยอะๆก่อนที่จะลงมือ “ทำ” เพราะเราเข้าใจแล้วว่าการสักแต่ว่าทำงานไปเรื่อยๆนั้นไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเลย

แนวคิดในเรื่องนี้คือการทำงานที่มีระบบการตั้งเป้าหมาย ดำเนินการติดตาม วัดผล และวิเคาระห์แก้ไขระหว่างทางอยู่ตลอดเวลา
.
สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้คือทุกคนในมีมีหน้าที่ที่จะต้องทำตัวเองให้เป็นเครื่องสร้างสรรค์ไอเดีย โดยที่ต้องหมั่นพัฒนาตัวเองหาความรู้ใหม่ๆเพื่อมีส่วนในการ contribute ให้กับทีมอยู่เสมอ โดยตัวองค์กรเองมีหน้าที่ที่จะสร้างสภาพแล้วล้อมให้เหมาะแก่การบ่มเพาะให้เกิดไอเดียนั้นด้วย
.
เรื่องต่อไปที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของ timing
.
ไอเดียที่ดี ถ้ามาผิดเวลาส่วนใหญ่ก็ไปไม่รอดเหมือนกัน
.
เพราะฉะนั้นการรู้ว่าเมื่อควรเดินหน้าเมื่อไร เมื่อไรควรอยู่หยุดอยู่เฉยๆ จึงสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรมาก
.
ปัญหาคือคนส่วนใหญ่มักทนอยู่เฉยๆไม่ได้
.
เราต้องขยาย เราต้องโต เราต้องเพิ่มสินค้า ฯลฯ
.
นี่คือสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาอยู่ในหัวของคนทำงานส่วนใหญ่ ยิ่งถ้าโดนกดดันจากปัจจัยอื่น เช่น ตัวเลขที่ผู้ถือหุ้นต้องการจะเห็นด้วยแล้วละก็ ความกดดันนี้จะทำให้การอยู่เฉยๆกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
.
เราจะอยู่เฉยๆได้อย่างไร การอยู่เฉยๆคือการขี้เกียจ คือการไร้ประสิทธิภาพ
.
แต่ในบางสถานการณ์ การไม่ทำอะไรเลยคือการเดินเกมส์ที่ฉลาดที่สุด แม้มันจะฝืนใจแค่ไหนก็ตาม
.
การหยุดอยู่เฉยๆเพราะเข้าใจเรื่อง timing ไม่ได้เป็นการแสดงถึงความขี้เกียจ แต่เป็นการแสดงถึงความอดทน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งในการเอาตัวรอดในยุคนี้
.
ทั้งหมดที่เล่ามานี้แหละครับ เป็นที่มาของคำว่า ขยันผิดที่สิบปีก็ไม่ไปไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น