วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำคมจากผู้ประสบความสำเร็จ - ริชาร์ด แบรนด์สัน ผู้บริหารคิดเก่ง ทำเป็น เจ้าของ VIRGIN

ชีวิตไร้ขีดจำกัด ของริชาร์ด แบรนด์สัน มหาเศรษฐีผู้ติดอับดับ 212 ของโลก และเป็นปรมาจารย์ในการสร้างและขยายธุรกิจในนาม "เวอร์จิ้น" กว่า 400 บริษัททั่วโลก


ริชาร์ด แบรนสันคือใคร?
          ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) เป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษในอดีตจากเด็กที่มีปัญหาเรื่องการอ่าน เรียนไม่จบ กลายมาเป็นคนที่มีลูกบ้าที่สุดในการทำธุรกิจ เป็นปรมาจารย์ในการสร้างและขยายธุรกิจ เขาใช้ชื่อการค้าว่า "เวอร์จิ้น"  เช่น Virgin Record,  Virgin Airlines และ Serial entrepreneur  กว่า 400 บริษัททั่วโลก รวมมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 4.9 พันล้านเหรียญ หรือ 171,000 ล้านบาท และในเมืองไทยก็คือ คลื่นวิทยุเวอร์จิ้นฮิต 95.5 นั่นเอง
          ซึ่งเขาได้กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐี และประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจได้ก็คือ 

  1. การคิดและทำในสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
  2. ทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการทำงาน
  3. จุดมุ่งหมายในชีวิตของเขาคือ การเอาชนะเป้าหมายที่ท้าทาย ในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำได้

เลิกเรียน
          ริชาร์ด แบรนสัน เริ่มทำธุรกิจส่วนตัวเมื่ออายุได้อายุ 15 ปี โดยเริ่มจากการปลูกต้นคริสต์มาส และก็เพาะเลี้ยงนกแก้วออสเตรเลียเพื่อขาย แม้ว่าเขาจะล้มเหลวกับสิ่งที่ทำแต่ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะเขาทำให้เขารักในการทำธุนกิร และสนุกในการค้าหาลู่ทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจอยู่เสมอ
          เมื่ออายุ 16 เขาได้ทำจากนิตยสารรายเดือนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย ชื่อว่า Student โดยมีแม่เป็นผู้ให้การสนับสนุน ด้วยเงิน 4 ปอนด์ ซึ่งทำให้เขาได้รู้จักับคำว่าประสบความสำเร็จครั้งแรกในชีวิต
          จากนั้นเมื่ออายุ 17 เขาก็ลาออกจากโรงเรียนเพื่อมุ่งมั่นกับการทธุรกิจเพียงอย่างเดียว

อาณาจักรเวอร์จิ้น
          เขาได้จัดจำหน่ายแผ่นเสียงทางไปรษณีย์ และเปิดเครือข่ายร้านจำหน่ายแผ่นเสียง ใช้ชื่อว่า Virgin Records ทั่วประเทศอังกฤษ พร้อมกับทำธุรกิจห้องบันทึกเสียง และเริ่มผลิตแผ่นเสียงในสังกัดของตัวเอง
          ในปี พ.ศ. 2527 ริชาร์ด แบรนสัน ได้ความคิดในการสร้างสายการบินราคาประหยัด Virgin Atlantic จากการที่เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ ที่ผู้โดยสารที่จะเดินจากเกาะเวอร์จินไปยังเปอร์โตริโกถูกลอยแพ เนื่องจากมียกเลิกเที่ยวบิน
          ด้วยการตัดสินใจอย่างฉับพลัน และการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เขาได้การเช่าเหมาลำเครื่องบินหนึ่งลำในราคา 2000 ดอลลาร์ (ราว 60,000 บาท) แล้วประกาศขายตั๋วเครื่องบินในนาม Virgin Airline เที่ยวเดียวในราคา 40 ดอลลาร์ (1,200 บาท) / หัว ผู้โดยสารซื้อตั๋วเครื่องบินอย่างรวดเร็ว
         ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกับ แรนดอล์ฟ ฟิลด์ส ทนายความชาวอเมริกัน ก่อตั้งสายการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในราคาพิเศษ เวอร์จิ้นแอตแลนติก แอร์เวย์ เพื่อแข่งกับสายการบินใหญ่อย่าง บริติสแอร์เวย์
         ริชาร์ด แบรนสัน ขยายบริการอย่างรวดเร็วไปยังท่าอากาศยานใหม่ๆ ขยายเครือข่ายเส้นทางบินจาก ลอนดอนไป อเมริกา แคริเบียน และเอเชีย จนกระทั่ง สร้างสายการบิน เวอร์จินออสเตรเลีย
        ผู้ชายคนนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง เขาลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวอร์จิ้นคอมมิวนิเคชั่น เวอร์จิ้นโคล่า เครืองสำอาง ไนต์คลับ เวอร์จิ้นไบรด์ และสินค้าเสื้อผ้า และเวอร์จิ้นกาแลกติก ที่จะพาคนไปท่องเที่ยวอวกาศ

ความสำเร็จในธุรกิจของเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน
1. มีความมุ่งมั่น
          หากจะบอกว่าดื้อก็คงไม่เชิง เพราะความมุ่งมั่นของแบรนสันนั้น เขามุ่งมั่นเพื่อธุรกิจ มุ่งมั่นเพื่อผลกำไร เพื่อการเติบโต เพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่มุ่งมั่นเพื่อความชนะ โดยเฉพาะคนอื่นๆ ยกเว้นคู่แข่งของเขาคือ บริติสแอร์เวย์
          ความมุ่งมั่นของแบรนสันดูได้จากการการคิดและตัดสินใจของเขาในหนังสือหลายเรื่อง มือเขาเห็นว่ามันน่าจะดีต่อธุรกิจ ต่ออนาคตของบริษัทเขาก็จะทำ ไม่มีเลยที่เขาจะมุ่งมั่นเพื่อตำแหน่ง แม้เพื่อนเขาจะมีเล่ห์กลเพื่อปลดเขาก็ตาม
          ความมุ่งมั่นของแบรนสันนั้นทำให้ก่อเกิดธุรกิจหลากหลายของเวอร์จิ้นขึ้น ซึ่งถ้าคิดตามทฎษฎีทางการตลาด หรือทางการจัดการแล้ว ไม่ใช่เลย แต่ด้วยสัญชาติญาณของนักปฏิบัติ มักจะมองแสงสว่างปลายถ้ำได้เสมอ
          ซึ่งคำว่า “ทำเลย” เป็นคำที่แบรนสันชอบใช้ และเขามักทำได้ เนื่องจากมีเหตุจากข้อ 1 และ 2 นั่นเอง
          เขากล้าลองผิดลองถูกเกือบทุกเรื่องที่เขาเห็นแล้วว่า ตนเองทำได้ แม้จะพลาดไปก็เยอะ แต่เมื่อบวกลบกันแล้ว เขาติดบวกมากกว่าลบ เพราะทำมากกว่าพูดนั่นเอง
2. ชอบการผจญภัย เสี่ยงตาย นักสู้
          อันนี้เป็นข้อที่ดีตรงนี้ หากไม่ผจญภัยหรือลุยด้วยตนเองแล้ว ก็จะไม่รู้และไม่เห็นความเป็นจริง การเสี่ยงตายในการท่องบัลลูนของเขา ทำให้เขาเห็นสัจธรรมหลายอย่าง ซึ่งนำมาถึงการตัดสินใจหลายๆ อย่างของเขา การตัดสินใจของแบรนสันเกิดจากการค้นพบโดยตัวเขาเอง มิใช่จากตำราหรือจากปริญญาโท หรือ MBA ที่คนไทยโดยทั่วไปใช้เป็นสูตรสำเร็จ
          นี่ถ้าหากว่า แบรนสันไม่มีข้อนี้ เขาก็คงเป็นพียงเจ้าของธุรกิจบันเทิงอย่างเดียว แต่เพราะชอบผจญภัยนี่เอง ธุรกิจของเขาจึงก่อเกิดขึ้นมากมาย ธุรกิจใหม่ๆ ของเขาก็คือการผจญภัยของเขาอย่างหนึ่งนั่นเอง
          และอีกอย่างการผจญภัยหรือการเสี่ยงตายอะไรนั้น แน่นอน คนคนนั้นย่อมต้องเกิดความศรัทธาในตนเองเกิดขึ้นด้วย ซึ่งถ้าความศรัทธาอยู่ในมุมของความมีเหตุมีผลและมีความมุ่งมั่น ก็น่าจะเป็นอย่างแบรนสันไม่ยาก 
3. มองหาโอกาสทุกวินาที
         ทุกครั้งที่ธุรกิจไปได้ระยะหนึ่ง แบรนสันจะหาโอกาสเพื่อต่อยอดธุรกิจหรือเพื่อประกันความเสี่ยงให้กับธุรกิจเสมอ แม้บางเรื่องอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทางการจัดการหรือการบริหาร แต่ด้วยสัญชาตญาณ เขาก็หาโอกาสและคว้ามันมาได้เกือบทุกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องการชี้ชวนให้คนมาลงทุน ซึ่งการปฏิบัติแต่ละครั้ง เขามักลงทุนด้วยตนเอง เข้าไปเจรจาเอง ซึ่งตรงนี้อาจจะมีจากที่เขาอยู่โรงเรียนประะจำในช่วงเด็ก ทำให้ต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก จนกระทั่งโต
4. เป็นนักเจรจา
          ข้อนี้แม้จะไม่เด่นนัก เนื่องจากทุกครั้งที่ลูกน้องมีปัญหา เขาจะหนีปัญหาให้ผู้อื่นตัดสินใจแทน ไม่เอาตนเองเข้าไปอยู่กับปัญหา ยกเว้นปัญหาของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของบริษัท เขาจะเดินหน้า ซึ่งด้วยความสามารในการจูงใจผู้อื่น ไม่ว่าจะตั้งแต่การขอสปอนเซอร์เพื่อมาลงโฆษณาในการทำนิตยสาร Student หรือการพูดคุยกับนักลงทุน นักการธนาคารต่าง ๆ ถือได้ว่า แบรนสันต้องใช้ทักษะการโน้มน้าวใจมาก ไม่เช่นกันคงไม่สามารถเบิกเงินเกินบัญชีได้มากมาย แม้บางครั้งจะมีปัญหากับธนาคารก็เถอะ แต่ก็ลงเอยด้วย Happy Ending เสมอ
5. การทำงานเป็นทีม
          นับแต่เรื่องนิตยสาร Student ของเขา ที่มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน แบรนสันไม่เคยก้าวก่ายงานคนอื่นเลย จนถึงงานในบ้าน ที่แม่ของเขาแบ่งหน้าที่กันระหว่างชายกับน้องสาว เขาก็ปฏิบัติมาด้วยดี ให้ความสำคัญกับงานบ้านก่อนเสมอ หรือแม้แต่ช่วงหลังๆ เขาเองก็ไม่เคยก้าวก่ายงานของทีมงานเลย และก็แสดงความมั่นใจในทีมงานทุกครั้ง 
6. การสนุกที่จะทำงาน
          แบรนสันจะเน้นเรื่องการจะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องสนุก แม้ความสนุกของแบรนสันจะไม่ตรงความรู้สึกของเพื่อนๆ ก็ตาม แต่ความสนุกของแบรนสันนั้น รวมไปถึงเล่นเป็นเวลา และทำงานเป็นเวลาด้วย ซึ่งจะสังเกตถึงงานอดิเรกหรือวันหยุดของเขา เขาจะเล่นหรือสนุกอย่างสุดเหวี่ยง และเวลาทำงานเขาก็จะทำงานอย่างสนุก โดยจะสังเกตว่า เวอร์จิ้นจะมีการจัดปาร์ตี้เพื่อให้พนักงานสามารถปลดปล่อยในช่วงสุดสัปดาห์เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พนักงานแต่ละคนปลดเปลื้องตนเองออกจากงานแล้วสนุกกับปาร์ตี้เหมือนชาร์ตแบตเตอรี่ยังไงยังงั้น
7. ความคิดเชิงธุรกิจ
          จากการที่ชอบสนุกกับงาน บวกกับความเป็นครอบครัวที่สรรหาวิธีการหาเงิน (ทุกวิถีทาง) เข้าบ้านเสมอ ตั้งแต่พ่อแม่ที่ทำกล่องจากกระดาษที่ใช้แล้ว แล้วนำไปขายส่ง รวมทั้งน้าของเขาที่สามารถสร้าง The Black Sheep Company บริษัทขายเครื่องปั้นดินเผาที่ประดับด้วยรูปแกะจนประสบความสำเร็จ เป็นแบรนด์ที่สามารถยืนหยัดได้ถึง 40 ปี ตรงนี้ทำให้แบรนสันซึมซับความคิดเชิงธุรกิจอยู่ทุกวินาที 
8. ยอมรับความผิดพลาดของตนเองและไม่กลัวความล้มเหลว
          เขายอมรับผิดในหลายๆ เรื่องและหาทางแก้ไขเสมอ ทำให้เขาเป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใน และไม่กลัวความผิดพลาด

แนวคิดประจำใจของ ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) ในการสร้างสรรค์ความสำเร็จในเครือเวอร์จิน
          ๐ ริชาร์ด แบรนสัน เชื่อว่า ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้
          ๐ ความกระตือรือร้น และความมีเสน่ห์ และคิดแต่เชิงบวก คือคุณสมบัติของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ
          ๐ ผมบอกคนของผมทุกคนว่า “จงเชื่อมั่นในตัวเองว่าคุณทำได้”
          ๐ “ทำงานให้สนุก ไม่คำนึงถึงเรื่องกำไรแต่อย่างเดียว” ไม่เอาเปรียบลูกค้า และต้องดูแลลูกน้องอย่างดี
          ๐ จงทำตามเสียงเรียกร้องจากภายในใจ เพราะนั่นคือ สิ่งที่คุณอยากทำ หรืออยากเป็น
          ๐ นักธุรกิจที่แท้จริงไม่มีการปิดเครื่องรับส่งสัญญาณ
          ๐ อย่าได้ทำในสิ่งใดก็ตาม ที่ไม่อาจจะทำให้คุณหลับตาลงได้ในยามค่ำคืน โดยเฉพาะสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือผิดจริยรรมโดยเด็ดขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น