วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเขียนเรื่องไม่ให้ความคิดอุดตันและประสบความสำเร็จ 22 ข้อสไตล์ PIXAR

การเขียนเรื่องไม่ให้ความคิดอุดตันและประสบความสำเร็จ 22 ข้อสไตล์ Pixar

154


Emma Coats อดีตนักเขียนบทของ Pixar Animation Studios ได้เคยทวิตเกี่ยวกับ ข้อแนะนำ 22 ข้อ ในการเขียนบทให้กับภาพยนตร์อนิเมชั่นของ Pixar ที่เธอใช้และสามารถทำให้Pixar เติบโตขึ้นมาถึงทุกวันนี้
1
ข้อเสนอแนะทั้ง 22 ข้อนั้นมีอยู่ว่า
1.คุณต้อง เชิดชู ตัวละครที่คุณสร้างในเรื่อง ความพยายาม มากกว่า ความสำเร็จ ของตัวละครเหล่านั้น
2.คุณต้องลองคิดว่าอะไรน่าสนใจสำหรับผู้ชมเสมอ ไม่ใช่มุมมองที่อยู่ในในฐานะนักเขียนบท แต่อยู่ในฐานะผู้ชม เพราะงานที่สร้างออกมาจะแตกต่างกันทีเดียว
3.การมีตีมของเรื่องเป็น เรื่องสำคัญ ถ้าคุณเขียนเรื่องจนจบแล้วยังไม่เห็นตีมของเรื่อง จงเขียนมันใหม่ซะ
4.กาลครั้งหนึ่งยังมี………., ในทุกๆวัน……….., วันหนึ่ง…………., เพราะการที่…………, เพราะการที่………, และในท้ายที่สุด………..,
นี่คือรูปแบบที่ทำให้คุณมองเห็นเรื่องที่จะเขียนแบบ คร่าวๆ
5.ลดความซับซ้อน, พุ่งประเด็น, ผสานคาแร็กเตอร์ คุณอาจจะรู้สึกว่าเรื่องมันอาจจะหลุดจากที่คุณคิดไว้ แต่นั่นมันทำให้เรื่องมันมี อิสระ ในทิศทางที่มันจะไปได้ต่างหาก
6.สถานการณ์อะไรที่ตัวละครของคุณจะรู้สึกสบายและปลอดภัยที่สุด จับตัวละครของคุณโยนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ตรงข้ามเลย ให้ตัวละครของคุณได้พิสูจน์ ฝ่าฟัน แล้วลองเขียนดูว่าตัวละครของคุณจะรับมืออย่างไร
7.เขียนถึงตอนจบ ก่อนที่คุณจะเขียนช่วงกลางเรื่อง เพราะการเขียนตอนจบมันยากเสมอ แล้วค่อยต่อจุดจากต้นเรื่อง สู่ตอนจบทีหลัง
8.เขียนเรื่องให้จบ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่ามันยังไม่สมบูรณ์นัก แต่ไม่เป็นไร ครั้งหน้าคุณทำมันได้ดีขึ้นอีกแน่
4
9.เมื่อความคิดเกิดตีบตัน ลองเขียนลิสต์เรื่องที่จะ ไม่เกิดขึ้น ในเรื่องของคุณ บ่อยครั้งของพวกนี้แหละที่จะช่วยทะลวงความคิดอันตีบตันของคุณ
10. ลองดึงส่วนของเรื่องที่คุณชอบออกมา พิจารณาสิ่งที่คุณชอบในส่วนนั้น แล้วคุณจะพบว่า มันมาจากเรื่องราวในชีวิตคุณเอง คุณต้องตระหนักถึงสิ่งนั้นก่อนที่คุณจะนำมันไปใช้ต่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในงานเขียนของคุณ
11.ลองเขียนเรื่องลงบนกระดาษแล้ว แก้มัน แต่ถ้ามันยังอยู่ในหัว พวกความคิดแจ๋วๆน่ะ คุณจะไม่มีทางแชร์มันให้ใครรู้
12.จัดลำดับ สิ่งที่ออกมาจากความคิดของคุณ อันไหนมาก่อน อันดับหนึ่ง อันดับสอง อันดับสาม……
แล้วเคลียร์มันไปทีละอันตามลำดับ
13.เขียนให้ตัวละครของคุณ ออกความคิดเห็นบ้าง การให้ตัวละครของคุณไม่มีความเห็น เป็นตัวละครที่ว่านอนสอนง่าย อาจจะเป็นเรื่องที่คุณคิดว่าน่าจะดีในฐานะนักแต่งเรื่อง แต่ในมุมมองของคนดูมันดูไม่น่าติดตามเลย
14.ทำไมถึงต้องเขียนเรื่องนี้ คุณมีความเชื่ออะไรที่ทำให้ต้องการเขียนเรื่องนี้ออกมาให้ได้ จงระลึกกับมันเสมอ
15.ลองแทนตัวเองในตัวละครที่คุณเขียน ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์นั้น คุณจะรู้สึกอย่างไร? จงซื่อตรงกับความรู้สึกนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้หรือเรื่องที่ยากจะเชื่อก็ตาม
16.อะไรคือ ความคิดตั้งต้น ของของตัวละคร มีพื้นเพที่มาจากไหน อยู่ในสังคมแบบไหน แล้วถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ตัวละครจะคิดอย่างไร และอะไรเป็นตัวที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ
2

17.ไม่มีงานไหนที่เสียเวลาเปล่า ถ้ามันไม่สำเร็จก็เก็บมันไว้แล้วทำอย่างอื่นต่อ มันจะกลับมามีประโยชน์ในวันข้างหน้าแน่นอน
18.คุณต้องแยกให้ออกระหว่างการเขียนอย่าง ทุ่มเทเต็มที่ กับการทำให้มัน ยุ่งเหยิง
19.เขียนให้มีเหตุบังเอิญพาตัวละครเข้าไปสู่ปัญหาเป็นเรื่องที่ ดีเยี่ยม แต่เขียนให้มีเหตุบังเอิญพาตัวละครเข้าออกจากปัญหาเป็นเรื่องที่ ขี้โกง
3

20.แบบทดสอบ : จงเลือกหนังที่คุณ ไม่ชอบ มาซัก 1 เรื่อง แล้วลองนั่งเขียนใหม่ให้เรื่องมัน ออกมาเป็นแบบที่คุณชอบ
21.คุณต้องหา เอกลักษณ์ ให้กับสถานการณ์และตัวละครของคุณ แค่คุณคิดว่าเจ๋งแล้วน่ะยังไม่พอหรอกนะ
22.อะไรคือ สาระสำคัญ ในเรื่องที่คุณเขียน สรุปใจความออกมาให้กระชับที่สุด ถ้าคุณรู้แล้วล่ะก็ คุณก็สามารถเขียนออกมาจากจุดนั้นได้

………………………………………
แปลและเรียบเรียงโดย
รณกร จงรักษ์
กูไม่รู เรื่องเพลงและดนตรี
อดีต : มือเบสวงปลื้มแห่งค่าย R.S.
ปัจจุบัน : นักแต่งเพลงอิสระ
ศิลปินอิสระ และนักเขียนบทความดนตรีเรื่อยเปื่อยแห่ง
www.facebook.com/CoreSongTV
www.facebook.com/WeWritetheSongs
www.upskills.in.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น