วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เหลือเชื่อ!! แค่ 1% ของพลังงานความร้อนใต้พิภพในออสเตรเลีย มีศักยภาพยาวนานถึง 26,000 ปี


นักวิทยาศาสตร์ของทางการออสเตรเลียได้ให้ข้อมูลต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ร้อยละ1 ของพลังงานใต้พิภพที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานได้เพียงพอและยาวนานไปถึง 26,000 ปี 

รายงานจากสมาคมพลังงานความร้อนใต้พิภพของออสเตรเลียระบุว่า ภายใต้นโยบายพัฒนาพลังงานความร้อนใต้ภิพย 2,200 เมกะวัตต์ภายในปี 2020 ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนกว่า10.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นการเติมเต็มเป้าหมายพลังงานทดแทนของรัฐบาลให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 จากในปัจจุบันที่มี 45,000 กิกะวัตต์ชั่วโมงหรือร้อยละ 20 ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด 

ทางสมาคมพลังงานความร้อนใต้พิภพของออสเตรเลียยังประมาณค่าใช้จ่ายไฟฟ้า สำหรับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในขั้นตอนต่างๆ พบว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นหนึ่งในพลังงานที่มีราคาต่ำสุดของพลังงานทดแทน ดังตัวอย่างที่ว่า ขนาดโรงไฟฟ้า 10-50 เมกะวัตต์ ค่าใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะอยู่ 90-135 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มากกว่า 300 เมกะวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 80-110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง 

อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าเพื่อพัฒนาไปสู่พลังงานทดแทนนี้ อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศออสเตรเลียในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตพลังงานร้อยละ 77 นั้นมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน ซึ่งกลายเป็นที่มาของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวมากที่สุดในโลก คิดเป็น 5 เท่าของประเทศจีนเลยก็ว่าได้ 

ที่มาและภาพประกอบ www.treehugger.com
แปลและเรียบเรียงบทความโดย Copyright :  www.energysavingmedia.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น