วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ฟาร์มอาหารลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหารในโลก


บริษัทจากบาเซโลน่าได้พัฒนาหนทางเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมวลมนุษย์ชาติ ด้วย "Floating Farm Fystem - SFF"  หรือระบบฟาร์มอาหารลอยน้ำ รับมือกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชารวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่กำลังกลืนกินแผ่นดินประเทศ

ประชากรกว่า 7 พันล้านคนในปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนภายในปี 2050 ทำให้ความต้องการอาหารนั้นจะพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 ในกรอบเวลาเดียวกัน ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาตินั้นมีจำกัดและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเป็ยภัยคุกคามโลก

จากความกังวลถึงความมั่งคงทางอาหารดังกล่าว การออกแบบระบบฟาร์มลอยน้ำจึงเกิดขึ้นเพื่อการลอยลำผลิตอาหารใกล้ชยายฝั่ง รองรับกับปริมาณน้ำที่ปกคลุมแผ่ขยายกว่าร้อยละ70 บนพื้นที่โลก และอาจเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวจากภาวะโลกร้อนจนน้ำแข็งละลาย โดยฟาร์มลอยน้ำที่ออกแบบนั้นจะให้การพึ่งพาตนเองด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานคลื่น ที่ไม่เพียงเป็นทางออกของปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่เกษตร แต่ยังเป็นการลดการนำเข้าอาหารได้อีกด้วย 

ทั้งนี้ระบบฟาร์มลอยน้ำ จะรองรับการปลูกผักแบบไฮโดรโปรนิกรวมไปถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บนพื้นที่โมดูล 3 ชั้น ขนาด 209.610 ตารางเมตร โดยชั้นล่างสุดจะเป็นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  จุดเชื่อมต่อน้ำ โรงกลั่นน้ำทะเล เป็นต้น ส่วนชั้นต่อมาจะเป็นฟาร์มเรือนกระจกไฮโดรโปนิก ระบบชลประทาน ระบบควบคุมอุณหภูมิสำหรับการเพาะปลูก  ชั้นสุดท้ายจะเป็นที่ติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ สกายไลท์และที่สำหรับกักเก็บน้ำฝนฯลฯ  ตามคาดการณ์ฟาร์มโมดูลขนาด 200X 350 เมตร จะให้ผลผลิตสูงสุดจะอยู่ที่ประมาณ 8.152 ตันต่อปี และ 1.703 ตันต่อปีสำหรับผลผลิตจากปลา

โดยนักออกแบบตั้งใจให้ฟาร์มลอยน้ำขับเคื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ ในการดำเนินการผลิตอาหารต่างๆผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถทำการเปรียบเทียบความต้องการอาหารและการบริโภคอาหารสำหรับเมืองที่ตั้ง โดยต้นแบบจะได้รับการทดสอบโดยใช้แรงงานมนุษย์ แลวิธีการเลี้ยงปลาปลูกผักที่ใช้กันอยู่ในปัจุบัน 

สำหรับมูลค่าของฟาร์มอาหารลอยน้ำนี้จะขึ้นอยู่การพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการดำเนินงานโลจิสติกทั้งขาเข้าและขาออก การทำการตลาดของตามแต่ละสถานที่ตั้ง รวมไปถึงการจัดตั้งกฎระเบียบของรัฐและโครงสร้างเชิงพาณิชย์ โดยในเบื้องต้นจากการศึกษาโครงการฟาร์มลอยน้ำแห่งนี้จะมีจุดคืนทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 10 ปีด้วยกัน 

ส่วนผลประโยชน์ทางด้านเศษฐกิจและสังคมนั้น ระบบฟาร์มลอยน้ำจะเป็นระบบผลิตอาหารในศูนย์กลางย่านผู้บริโภค ช่วยลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายทางด้านโลจิสติก นำมาซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบกักเก็บอาหาร เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น  ลดการนำเข้าให้การพึ่งพาตนเองด้วยการผลิตในท้องถิ่น เพิ่มความมั่งคงทางด้านอาหารและเกิดการสร้างแหล่งอาหารอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง

ภาพประกอบ www.greenprophet.com
แปลและเรียบเรียงบทความโดย Copyright  : www.energysavingmedia.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น