นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการพิสูจน์ Li-Fi หรือระบบ Wi-Fi ที่รับส่งข้อมูลผ่านทางหลอดไฟ LED ในการทดลองใช้งานจริงแล้ว พบว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเทคโนโลยี Wi-Fi ในปัจจุบันกว่า 100 เท่า โดยสามารถรับส่งข้อมูลขนาด 1 GB ได้ภายในเวลาเพียงแค่วินาทีเดียว
นอกจากนี้ จากการที่ Li-Fi ส่งสัญญาณผ่านแสงซึ่งไม่สามารถทะลุกำแพงได้ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากการถูกดักฟังสัญญาณมากกว่าการใช้ Wi-Fi ที่ส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุ รวมทั้งยังเกิดการกวนกันของสัญญาณต่ำ แต่ก็ต้องแลกกับระยะทางที่สั้นลง และแหล่งกำเนิดสัญญาณ (หลอด LED) ที่ต้องมีจำนวนมากขึ้นนั่นเอง
ที่มา: http://thehackernews.com/2015/11/li-fi-wireless-internet-technology.html
Li-Fi คืออะไร
Li-Fi เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบใหม่ ที่รับส่งข้อมูลผ่านการเปลี่ยนแปลงค่าความสว่างหรือ Amplitude ของแสง แทนที่จะใช้คลื่นสัญญาณวิทยุดังเช่นเทคโนโลยี 802.11ac หรือ 4G ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีการทดสอบความเร็วของการใช้ Li-Fi ในห้องแล็บ พบว่าสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 224 Gbps และเมื่อไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์ Harald Haas ผู้นำเสนอเทคโนโลยี Li-Fi ก็ได้จัดแสดงระบบต้นแบบขนาดเล็กที่สามารถใช้งานได้จริงผ่านหลอดไฟ LED และแผงเซลล์พลังงานแสดงอาทิตย์ จึงคาดว่าเทคโนโลยี Li-Fi นี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนโฉมหน้าของการใช้งานเทคโนโลยีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ตามบ้าน Gadget ที่ใช้งานกันทั่วไป และอุปกรณ์ Internet of Thingsผลการใช้งานจริงชี้ Li-Fi เร็วกว่า Wi-Fi ถึง 100 เท่า
Velmenni บริษัท Startup ชาวเอสโตเนีย ได้นำเทคโนโลยี Li-Fi มาทดลองติดตั้ง ใช้งานจริงเป็นครั้งแรกในออฟฟิสที่เมืองทาลลินน์ (เมืองหลวงของเอสโตเนีย) โดยทำการติดตั้งระบบไฟ LED อัจฉริยะที่เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับส่งข้อมูลผ่านแสง ผลลัพธ์ที่ได้ คือ พนักกงานในออฟฟิสสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1 GB ต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าการใช้งาน Wi-Fi ในปัจจุบันถึง 100 เท่านอกจากนี้ จากการที่ Li-Fi ส่งสัญญาณผ่านแสงซึ่งไม่สามารถทะลุกำแพงได้ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากการถูกดักฟังสัญญาณมากกว่าการใช้ Wi-Fi ที่ส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุ รวมทั้งยังเกิดการกวนกันของสัญญาณต่ำ แต่ก็ต้องแลกกับระยะทางที่สั้นลง และแหล่งกำเนิดสัญญาณ (หลอด LED) ที่ต้องมีจำนวนมากขึ้นนั่นเอง
ที่มา: http://thehackernews.com/2015/11/li-fi-wireless-internet-technology.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น