อัพเดทล่าสุด: 24 Nov 2015
เปิดพิมพ์เขียวมอเตอร์เวย์21สาย2ล้านล้านรื้อเส้นทางใหม่เชื่อม′หัวเมืองหลัก-ค้าชายแดน′ทั่วไทย6พันก.ม.
กรมทางหลวงรื้อแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ใหม่ สร้างเพิ่มอีกกว่า 2,000 กิโลเมตร เป็นกว่า 6,000 กิโลเมตร ใช้เงินเวนคืนที่ดินและก่อสร้างกว่า 2.11 ล้านล้าน ขีดแนวประชิดชายแดน รองรับการค้า เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเออีซี แบ่งพัฒนา 2 ระยะ เฟสแรก 16 เส้นทาง ปักหมุดปีླྀ เร่งเครื่องสายพัทยา-มาบตาพุดให้ได้ผู้รับเหมาธ.ค.นี้ ปีหน้าตีฆ้องประมูลสายบางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ"ว่า หลังกรมจัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์เมื่อปี 2540 ล่าสุดกำลังรีวิวแผนแม่บทใหม่ ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ปัจจุบัน สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ให้เข้าถึงแหล่งเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว การค้าชายแดน และเขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)ปลายปีนี้
โดยจะวางกรอบการพัฒนาไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2579 แบ่งการพัฒนา 2 ระยะ ช่วง 10 ปีแรก เริ่มปี 2560-2269 และระยะ 10 ปีถัดไปเริ่มปี 2570-2579 ส่วนแนวเส้นทางมีทั้งสิ้น 21 สายทาง รวม 6,278 กิโลเมตร เพิ่มเติมจากแผนแม่บทฉบับเดิมกว่า 2,100 กิโลเมตร ที่มีโครงข่ายจำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 4,150 กิโลเมตร
21 สายลงทุนกว่า 2 ล้านล้าน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้ง 21 สายทาง เมื่อแบ่งเป็นรายภาค อยู่ที่ภาคเหนือ 3 สายทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 สายทาง ภาคกลาง-ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวม 15 สายทาง และภาคใต้ 3 สายทาง ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด กรมอยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาจัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มจังหวัดของแต่ละภาค เพื่อประมวลข้อมูลสุดท้าย
สำหรับเงินลงทุนรวมทั้งค่าเวนคืนและค่าก่อสร้าง เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.11 ล้านล้านบาท ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 330 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และเป็นเม็ดเงินรวมกับ 3 เส้นทางที่ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
ได้แก่ 1.สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง196 กิโลเมตร เงินลงทุน 84,600 ล้านบาท 2.สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร เงินลงทุน 55,620 ล้านบาท และ 3.สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร เงินลงทุน 20,200 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างปี 2559-2562
"ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างประกาศทีโออาร์ประมูลก่อสร้างสายพัทยา-มาบตาพุด 11 สัญญา ได้ผู้รับเหมาไปแล้ว 3 สัญญา เหลืออีก 9 สัญญา อยู่ระหว่างชี้แจงรายละเอียด หลังมีคนท้วงติง ส่วนอีก 2 สัญญาอยู่ระหว่างปรับแบบร่วมกับการรถไฟฯเพราะขอใช้ที่ดินการรถไฟฯสร้าง คาดว่าภายใน ธ.ค.นี้จะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งหมด ส่วนสายบางปะอิน-โคราช จะเริ่มประกาศทีโออาร์ประมูลได้เดือนม.ค.ปีหน้า จากนั้นกลางปีจะเป็นช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรีเพราะต้องรอเคลียร์เรื่องสิ่งแวดล้อมก่อน"
เปิดโผเส้นทาง10ปีแรก
สำหรับโครงข่ายใหม่ตามแผนแม่บท ช่วงระยะ 10 ปี มี 16 สายทาง ระยะทางรวม 3,120 กิโลเมตร เงินลงทุน 1.24 ล้านล้านบาท ได้แก่ 1.สายบางปะอิน-เชียงราย (ด่านแม่สายและเชียงของ) 908 กิโลเมตร เร่งลงทุนช่วงรังสิต-บางปะอิน 18 กิโลเมตร ช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์-พิษณุโลก 315 กิโลเมตรและช่วงลำปาง-เชียงรายเชื่อมด่านเชียงของและแม่สาย 267 กิโลเมตร
2.บางปะอิน-หนองคาย 510 กิโลเมตร 3.กรุงเทพ-บ้านฉาง 153 กิโลเมตร เร่งดำเนินการช่วงพัทยา-มาบตาพุด 38 กิโลเมตรก่อน 4.นครปฐม-นราธิวาส 1,098 กิโลเมตร เร่งสร้างช่วงนครปฐม-ชะอำ-ชุมพร 409 กิโลเมตร 5.วงแหวนรอบนอกรอบที่ 2 ระยะทาง 165 กิโลเมตร เร่งช่วงด้านตะวันตกก่อนเป็นลำดับแรก 68 กิโลเมตร
6.เชียงใหม่-ลำปาง (แจ้ห่ม) 53 กิโลเมตร 7.ชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-นครราชสีมา 288 กิโลเมตร ก่อสร้างช่วงชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-ปราจีนบุรี 117 กิโลเมตรเป็นลำดับแรก 8.วงแหวนรอบนอกรอบที่ 2 ด้านตะวันออก-สระบุรี 78 กิโลเมตร 9.วงแหวนรอบนอกตะวันออก-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) 204 กิโลเมตร
ปัดฝุ่นวงแหวนรอบที่ 3
10.ชลบุรี-ตราด 216 กิโลเมตร 11.บางใหญ่-กาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน 164 กิโลเมตร 12.วงแหวนรอบนอกตะวันรอบที่ 2-ปากท่อ 74 กิโลเมตร 13.สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต 187 กิโลเมตร 14.สงขลา-ด่านสะเดา 95 กิโลเมตร 15.วงแหวนรอบที่ 3 ระยะทาง 254 กิโลเมตร และ 16.ชลบุรี-นครปฐม 96 กิโลเมตร
ส่วนระยะที่ 2 มี 5 สายทางหลัก ระยะทาง 3,152 กิโลเมตร เงินลงทุนกว่า 8.7 แสนล้านบาท ได้แก่ 1.สายตาก-มุกดาหาร 703 กิโลเมตร 2.สุรินทร์-บึงกาฬ 454 กิโลเมตร 3.นครสวรรค์-อุบลราชธานี 610 กิโลเมตร 4.สุพรรณบุรี-ชัยนาท 42 กิโลเมตรและ 5.วงแหวนรอบที่ 2 ตะวันตก-บางปะหัน 48 กิโลเมตร
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ แผนงานก่อสร้างเฟส 2 จะมีการก่อสร้างบางช่วงในเส้นทางที่บรรจุไว้ในแผน 10 ปีแรก ประกอบด้วย สายบางปะอิน-เชียงราย จะสร้างช่วงพิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง ระยะทาง 253 กิโลเมตร, สายนครปฐม-นราธิวาส ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี-สงขลา (หาดใหญ่)-นราธิวาส (ด่านสุไหงโก-ลก) 668 กิโลเมตร, สายชลบุรี-นครราชสีมา ช่วงปราจีนบุรี-นครราชสีมา 171 กิโลเมตร, สายวงแหวนรอบที่ 2 ด้านตะวันออก-สระแก้ว สร้างช่วงสระแก้ว-อรัญประเทศ 51 กิโลเมตร และสายชลบุรี-นครปฐม ช่วงสระบุรี-สุพรรณบุรี-นครปฐม 158 กิโลเมตร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ติดตามอัพเดทข่าวสารในวงการอสังหาฯ ทั้งหมดได้ที่
http://www.bkkcitismart.com/news?tcc=fb1
กรมทางหลวงรื้อแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ใหม่ สร้างเพิ่มอีกกว่า 2,000 กิโลเมตร เป็นกว่า 6,000 กิโลเมตร ใช้เงินเวนคืนที่ดินและก่อสร้างกว่า 2.11 ล้านล้าน ขีดแนวประชิดชายแดน รองรับการค้า เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเออีซี แบ่งพัฒนา 2 ระยะ เฟสแรก 16 เส้นทาง ปักหมุดปีླྀ เร่งเครื่องสายพัทยา-มาบตาพุดให้ได้ผู้รับเหมาธ.ค.นี้ ปีหน้าตีฆ้องประมูลสายบางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี
แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ"ว่า หลังกรมจัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์เมื่อปี 2540 ล่าสุดกำลังรีวิวแผนแม่บทใหม่ ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ปัจจุบัน สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ให้เข้าถึงแหล่งเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว การค้าชายแดน และเขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)ปลายปีนี้
โดยจะวางกรอบการพัฒนาไว้ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2579 แบ่งการพัฒนา 2 ระยะ ช่วง 10 ปีแรก เริ่มปี 2560-2269 และระยะ 10 ปีถัดไปเริ่มปี 2570-2579 ส่วนแนวเส้นทางมีทั้งสิ้น 21 สายทาง รวม 6,278 กิโลเมตร เพิ่มเติมจากแผนแม่บทฉบับเดิมกว่า 2,100 กิโลเมตร ที่มีโครงข่ายจำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 4,150 กิโลเมตร
21 สายลงทุนกว่า 2 ล้านล้าน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้ง 21 สายทาง เมื่อแบ่งเป็นรายภาค อยู่ที่ภาคเหนือ 3 สายทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 สายทาง ภาคกลาง-ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวม 15 สายทาง และภาคใต้ 3 สายทาง ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด กรมอยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาจัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มจังหวัดของแต่ละภาค เพื่อประมวลข้อมูลสุดท้าย
สำหรับเงินลงทุนรวมทั้งค่าเวนคืนและค่าก่อสร้าง เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.11 ล้านล้านบาท ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 330 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และเป็นเม็ดเงินรวมกับ 3 เส้นทางที่ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
ได้แก่ 1.สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง196 กิโลเมตร เงินลงทุน 84,600 ล้านบาท 2.สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร เงินลงทุน 55,620 ล้านบาท และ 3.สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร เงินลงทุน 20,200 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างปี 2559-2562
"ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างประกาศทีโออาร์ประมูลก่อสร้างสายพัทยา-มาบตาพุด 11 สัญญา ได้ผู้รับเหมาไปแล้ว 3 สัญญา เหลืออีก 9 สัญญา อยู่ระหว่างชี้แจงรายละเอียด หลังมีคนท้วงติง ส่วนอีก 2 สัญญาอยู่ระหว่างปรับแบบร่วมกับการรถไฟฯเพราะขอใช้ที่ดินการรถไฟฯสร้าง คาดว่าภายใน ธ.ค.นี้จะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งหมด ส่วนสายบางปะอิน-โคราช จะเริ่มประกาศทีโออาร์ประมูลได้เดือนม.ค.ปีหน้า จากนั้นกลางปีจะเป็นช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรีเพราะต้องรอเคลียร์เรื่องสิ่งแวดล้อมก่อน"
เปิดโผเส้นทาง10ปีแรก
สำหรับโครงข่ายใหม่ตามแผนแม่บท ช่วงระยะ 10 ปี มี 16 สายทาง ระยะทางรวม 3,120 กิโลเมตร เงินลงทุน 1.24 ล้านล้านบาท ได้แก่ 1.สายบางปะอิน-เชียงราย (ด่านแม่สายและเชียงของ) 908 กิโลเมตร เร่งลงทุนช่วงรังสิต-บางปะอิน 18 กิโลเมตร ช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์-พิษณุโลก 315 กิโลเมตรและช่วงลำปาง-เชียงรายเชื่อมด่านเชียงของและแม่สาย 267 กิโลเมตร
2.บางปะอิน-หนองคาย 510 กิโลเมตร 3.กรุงเทพ-บ้านฉาง 153 กิโลเมตร เร่งดำเนินการช่วงพัทยา-มาบตาพุด 38 กิโลเมตรก่อน 4.นครปฐม-นราธิวาส 1,098 กิโลเมตร เร่งสร้างช่วงนครปฐม-ชะอำ-ชุมพร 409 กิโลเมตร 5.วงแหวนรอบนอกรอบที่ 2 ระยะทาง 165 กิโลเมตร เร่งช่วงด้านตะวันตกก่อนเป็นลำดับแรก 68 กิโลเมตร
6.เชียงใหม่-ลำปาง (แจ้ห่ม) 53 กิโลเมตร 7.ชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-นครราชสีมา 288 กิโลเมตร ก่อสร้างช่วงชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-ปราจีนบุรี 117 กิโลเมตรเป็นลำดับแรก 8.วงแหวนรอบนอกรอบที่ 2 ด้านตะวันออก-สระบุรี 78 กิโลเมตร 9.วงแหวนรอบนอกตะวันออก-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) 204 กิโลเมตร
ปัดฝุ่นวงแหวนรอบที่ 3
10.ชลบุรี-ตราด 216 กิโลเมตร 11.บางใหญ่-กาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน 164 กิโลเมตร 12.วงแหวนรอบนอกตะวันรอบที่ 2-ปากท่อ 74 กิโลเมตร 13.สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต 187 กิโลเมตร 14.สงขลา-ด่านสะเดา 95 กิโลเมตร 15.วงแหวนรอบที่ 3 ระยะทาง 254 กิโลเมตร และ 16.ชลบุรี-นครปฐม 96 กิโลเมตร
ส่วนระยะที่ 2 มี 5 สายทางหลัก ระยะทาง 3,152 กิโลเมตร เงินลงทุนกว่า 8.7 แสนล้านบาท ได้แก่ 1.สายตาก-มุกดาหาร 703 กิโลเมตร 2.สุรินทร์-บึงกาฬ 454 กิโลเมตร 3.นครสวรรค์-อุบลราชธานี 610 กิโลเมตร 4.สุพรรณบุรี-ชัยนาท 42 กิโลเมตรและ 5.วงแหวนรอบที่ 2 ตะวันตก-บางปะหัน 48 กิโลเมตร
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ แผนงานก่อสร้างเฟส 2 จะมีการก่อสร้างบางช่วงในเส้นทางที่บรรจุไว้ในแผน 10 ปีแรก ประกอบด้วย สายบางปะอิน-เชียงราย จะสร้างช่วงพิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ลำปาง ระยะทาง 253 กิโลเมตร, สายนครปฐม-นราธิวาส ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี-สงขลา (หาดใหญ่)-นราธิวาส (ด่านสุไหงโก-ลก) 668 กิโลเมตร, สายชลบุรี-นครราชสีมา ช่วงปราจีนบุรี-นครราชสีมา 171 กิโลเมตร, สายวงแหวนรอบที่ 2 ด้านตะวันออก-สระแก้ว สร้างช่วงสระแก้ว-อรัญประเทศ 51 กิโลเมตร และสายชลบุรี-นครปฐม ช่วงสระบุรี-สุพรรณบุรี-นครปฐม 158 กิโลเมตร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ติดตามอัพเดทข่าวสารในวงการอสังหาฯ ทั้งหมดได้ที่
http://www.bkkcitismart.com/news?tcc=fb1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น