วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

4 ขั้นตอนสร้างธุรกิจออนไลน์ ให้เป็น Tim Ferriss เมืองไทย


4 ขั้นตอนสร้างธุรกิจออนไลน์ ให้เป็น Tim Ferriss เมืองไทย

รับบทความนี้ในเวอร์ชั่น E-book ฟรี! ในชื่อทางการว่า ‘Offline-to-Online’

ดาวน์โหลดฟรี

Cover_ebook_offline_to_onlie_for_retail_business_03 รับฟรี! อีบุ๊ก 'Offline to Online' และรับข่าวสารและสิทธิ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์ราคาพิเศษจาก CEOblog.com

ตั้งแต่ผมจำความได้จนเรียนจบ จนทำงาน จนลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ที่บ้านจะพูดเสมอให้ไปสมัครรับราชการ สวัสดิการดี มีบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณ ผมเข้าใจว่าผู้ใหญ่อยากให้เรามีความมั่นคงปลอดภัยไร้ความเสี่ยง แต่สิ่งที่ผมเข้าใจคือความเสี่ยงถูกจำกัดได้ด้วยเงิน เมื่อไรที่คุณสามารถทำเงินอัตโนมัติเดือนละหลักแสน หรือหลักล้านจากที่บ้าน เมื่อนั้นความเสี่ยงจะลดลงไปเยอะ!
ความต้องการผมชัดเจนตั้งแต่วัยรุ่น คือไม่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ต้องบุกฝ่าป่าคอนกรีตทุกเช้าและกลับเข้าบ้านทุกค่ำแลกกับรายได้เดือนหลักหมื่นบาทไปอีก 40 ปี ผมจึงมุ่งหน้าเข้าหางานในบริษัทเอกชนด้วย 3 สาเหตุ…
1. โอกาสเงินเดือนที่สูงกว่า
2. โอกาสโบนัสดีกว่า
3. โอกาสในการเรียนรู้ธุรกิจของนายจ้าง
และมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ผมก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในสายงานเอกชน ได้ทำงานติดเจ้าของธุรกิจและได้เรียนรู้หลักคิดของคนระดับ CEO และ Entrepreneur เป็นต้น ได้เรียนรู้ระบบขององค์กรใหญ่ การบริหารจัดการคน ฯลฯ ส่วนเงินเดือนนั้นอาจไม่มากและไม่น้อยเมื่อเทียบกับตำแหน่ง แต่ผมถือว่าตัวเองได้กำไรด้านประสบการณ์ธุรกิจที่ไม่ต้องไปลงเรียน MBA และ ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนเอง

กินเงินเดือน เงินเก็บไม่มี หนี้ล้น จะเริ่มธุรกิจได้อย่างไร

เริ่มทำงานใหม่ๆ เงินเดือน 4,500 บาท คิดในใจเงินเดือนแค่นี้คงยากจะเก็บเงินสร้างธุรกิจ จึงคิดว่าหากเงินเดือนขยับเป็น 15,000 บาทคงจะเหลือเพียบ ที่ไหนได้ พอได้เงินเดือน 15,000 ก็หมด ได้ 2 หมื่นก็หมด ได้ 3 หมื่นก็หมด!
ผมเคยแอบถามคนที่เงินเดือนหลักแสน ถามว่าหมดไหม เขาบอกว่า “หมด แถมมีหนี้ด้วย!
นี่มันคำสาปมนุษย์เงินเดือนหรืออย่างไร” ผมคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไรจึงมีธุรกิจส่วนตัวได้โดยที่ไม่มีเงินทุน แถมเป็นหนี้สินเกินตัวอีกต่างหาก เพราะเมื่อฐานเงินเดือน 15,000 ขึ้นไป ผมเริ่มโดนรุมจีบจากสินเชื่อ สลิปเงินเดือนช่วยให้ผมกู้สบายเป็นหนี้เกินตัวง่ายสุดๆ จนมีหนี้สินมากกว่าเงินเดือนตัวเองเกินสิบเท่าตัว!
ถามว่าเป็นหนี้เพื่ออะไร ส่วนหนึ่งก็เพราะอยากสำเร็จเร็วแต่ประสบการณ์น้อย คิดอะไรตื้นๆ เอาเงินในอนาคตมาลงทุนในธุรกิจที่คิดว่าจะทำให้รวยเร็ว เช่น เล่นหุ้นเก็งกำไร และขายของออนไลน์ (ที่แหล่งข่าวไม่ได้กรองบอกว่าแนวนี้กำลังมาแรง) สุดท้ายเจ๊งหมด
แต่ผมก็ยังไม่หยุดคิดที่จะเป็นนายตัวเอง คิดตลอดเวลาจะหาเงินทุนจากไหน จะทำธุรกิจคู่งานประจำโดยไม่เสี่ยงลาออกมาตายดาบหน้าอย่างไร ฯลฯ จนกระทั่งมาเจอกับหนังสือ The 4-Hour Work Week เขียนโดย Tim Ferriss

The 4-Hour Work Week ทำงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง –พ่อง!

ร้านหนังสือขาประจำคือ Kinokuniya สาขาดิเอ็มโพเรี่ยม (ตอนนี้ย้ายไปอยู่ เอ็มควอเธียร์)
ณ วันหนึ่งเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว (นับจากปี 2015 นี้ก็ราว ๆ ช่วง 2009-2010) ผมเจอหนังสือหน้าปกเป็นกราฟฟิกคนนอนเปลระหว่างต้นมะพร้าวชาวเกาะ ชื่อหนังสือ

The 4-Hour Work Week:
Escape the 9-5, Live Anywhere and Join the New Rich

ทันทีที่เห็นชื่อหนังสือ ผมถึงกับอุทานว่า “ทำงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง—พ่อง!
และเมื่อเปิดดูเนื้อหาข้างใน ด้วยภาษาของผู้เขียนที่อ่านยากแปลยาก (ผมเป็นนักแปลอิสระคู่ภาษาอังกฤษไทยยังรู้สึกมึน) ไม่เก็ตว่าตาคนนี้เขาทำอะไร ทำธุรกิจแนว Internet spam หรือเปล่า ฯลฯ จึงวางหนังสือไป
สาเหตุที่ผมไม่ยินดีกับหนังสือเล่มนี้เมื่อแรกเห็นเพราะพื้นฐานผมเป็นคนกลุ่ม GenX หรือพวก Corporate จ๋า ทำงานหนักๆ แข่งขันเยอะๆ เพื่อไต่ขึ้นสู่ตำแหน่ง CEO ใส่สูทผูกไทแล้วรับเงินเดือนหลักแสน จากนั้นก็แบ่งเงินไปลงทุนในหุ้น ฯลฯ ซึ่งการจะไต่สายงานแบบนี้ได้คือ คุณต้องทำงานหนักมาก และผมก็ทำงานวันละ 10 ชั่วโมงหรือสัปดาห์ละกว่า 50 ชั่วโมงเพื่อยกระดับตัวเองสู่งานบริหารดังกล่าว (เพียงแต่เงินเดือนไม่ถึงแสน)
เมื่อเจอกับชื่อหนังสือ The-4 Hour Work Week ผมจึงรู้สึกเหมือนโดนตบนั่นเอง แต่กระนั้น การตบนั้นเสมือนการตบโดยสาวสวยที่ผมอยากรู้จัก ทำให้ผมจำชื่อหนังสือนี้ขึ้นใจและอยากจะทำความเข้าใจกับมันสักครั้ง

หลักคิดรวยได้สบายด้วย ทำเงินทำงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง

หลังจากวันนั้นในชีวิตผมมีอีกหลายเหตุการณ์ผ่านเข้ามาทำให้ผมค่อยๆ ก้าวเข้าสู่เส้นทางที่คล้ายคอนเซปต์ The 4-Hour Work Week (โดยที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือนะครับ) เส้นทางคดเคี้ยวเล่าไปจะงง
เอาเป็นว่าผมมาตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเมื่อประมาณปี 2014 หลังจากที่เริ่มมี Passive income จากการขายของออนไลน์ แม้จะเพิ่งเริ่มต้นและรายได้ยังไม่มากกว่าเงินเดือน แต่เมื่อคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยต่อชั่วโมงแล้ว รายได้จากขายของออนไลน์ทำเงินต่อชั่วโมงสูงกว่า! – นี่คือคีย์คอนเซปต์ของการเป็น The 4-Hour Work Week ทำน้อยกว่า ได้มากกว่า มีเวลาไปพัฒนาช่องทางทำเงินต่อๆ ไป

คำเตือนก่อนไปต่อ

ประโยค The 4-Hour เป็น ‘Conceptual’ หรือ ‘แนวคิด’ เพื่อจำง่าย และไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องทำงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมงเพื่อผลลัพธ์นั้นๆ คุณอาจจะทำน้อยกว่าก็ได้ หรือมากกว่าก็ได้

เป้าหมายที่ใช่ 3 ข้อเพื่อชีวิต The 4-Hour

1. ทำเงินมากกว่า ด้วยเวลาเท่ากันหรือน้อยกว่าคนส่วนใหญ่
2. เอาเวลาที่ได้มา ไปพัฒนาระบบทำเงินใหม่ๆ
3. เอาเวลาและเงินที่ได้มา ไปสร้างคุณค่าแก่สังคมให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
หากคุณไม่มีเงินและเวลามันจะยากมากที่สร้างคุณค่าที่มีผลต่อชีวิตของตัวเองและผู้อื่นในระดับ ‘เปลี่ยนชีวิต’ หรือ ‘เปลี่ยนโลก’ กล่าวคือสมัยทำงานแบบ 9-to-5 เช้าไปเย็นกลับ ผมก็ได้แค่ตัวเองรอดแต่ไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนรอบข้างหรือแม้แต่คนในครอบครัวในแบบที่ใจอยากให้เป็น

ความเข้าใจผิด 3 ข้อของคนอยากมีชีวิต The 4-Hour

1. The 4-Hour ไม่ใช่ การหาวิธีสร้างความมั่งคั่งบนพื้นฐานของ ‘ความเกียจคร้าน’ แต่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง ‘คุณค่า’
2. Passive Income ไม่ใช่ ปุ่มวิเศษ หาซื้อไม่ได้ ต้องลงมือทำ การเริ่มต้นสร้างระบบทำงานหนักกว่าการทำงานประจำ คุณไม่มีวันหยุดจนกว่าระบบคุณจะทำงานนั่นแหละจึงจะมีโอกาสออกจากระบบได้
3. คนที่คอยหาวิธีรวยโดยไม่ทำงานจะต้องทำงานตลอดไป คนที่อยากเกษียณเร็วๆ จะไม่ได้เกษียณ – The 4-Hour เป็นอารมณ์ประมาณคนทำงานทำเงินจากสิ่งที่รัก อาทิ วอเรน บุฟเฟต อายุ 85 ปี ทรัพย์สินคิดเป็นเงินไทยกว่า 2 ล้านล้านบาทยังไม่หยุดทำงาน (ที่รัก) นั่นคือวิเคราะห์และลงทุนในหุ้น คนที่ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งที่รัก ไม่เคยคิดเรื่อง ‘เกษียณ’

Tim Ferriss แบบไทยๆ

Tim Ferriss เขียนหนังสือ The 4-Hour Work Week จากประสบการณ์การทำธุรกิจที่ทำไปทำมา ยิ่งทำยิ่งเครียด ยิ่งไม่มีเวลา และรายได้ต่อชั่วโมงยิ่งน้อยลง ถ้าทำธุรกิจแล้วชีวิตต้องกลายเป็น ‘ทาส’ แปลว่ากำลังมาผิดทาง เขาจึงหาวิธีสร้างธุรกิจที่ทำงานและทำเงินแทนเขาได้ มีรายได้ต่อชั่วโมงที่สูงกว่า (หรือต่อหน่วยการขายใดๆ ที่คุณจะใช้เป็น Factor วัดผล) และมีเวลาไปทำสิ่งที่อยากทำอย่างเต็มที่
ธุรกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้เขาคือธุรกิจอีคอมเมิร์ซขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ BrainQuicken ซึ่งมีการวางระบบให้ทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติและสร้างยอดขายจากระบบที่วางไว้ 50,000-70,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือคิดเป็นเงินไทยที่ราวๆ เกือบ 20 ล้านบาทต่อปี ก่อนที่เขาจะขายธุรกิจให้บริษัทเอกชนในอังกฤษในเวลาต่อมา
ตัวเลขไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่ผู้ที่ติดตามข่าว Tim Ferriss อย่างใกล้ชิดคาดการณ์ว่าธุรกิจถูกขายไปในราคาประมาณ 500,000-600,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 20 ล้านบาท +/- เช่นกัน
โมเดลธุรกิจและการทำเงินออนไลน์ลักษณะนี้มีคนทำมาก่อน กำลังทำอยู่ และทำตามกันทั่วโลก มีทั้งการขายสินค้าที่จับต้องได้ (Physical product) และ จับต้องไม่ได้ (Digital product)
ในประเทศไทยได้แก่ คุณเบนซ์ จิรายุ เจ้าของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ขายผลิตภัณฑ์สำหรับนักออกกำลังกาย มีการวางระบบทำงานอัตโนมัติ 100% ทั้งระบบไอทีและระบบคน โดยเจ้าของไม่ต้องลงมาบริหาร อาศัยดูรายงานยอดขาย ณ สิ้นวันเพื่อกระทบยอดเงินในบัญชี
อีกคนคือ คุณอั้ม วรัญญู เจ้าของเว็บไซต์ ขายดิจิตอลโปรดักท์ เป็นคอร์สออนไลน์ วางระบบทำงานเกือบอัตโนมัติ กล่าวคือด้านไอทีใช้ระบบ แต่ไม่ได้จ้างพนักงานประจำ เจ้าของเป็นผู้ตอบคำถามและพูดคุยกับลูกค้าด้วยตนเอง
ส่วนเจ้าของ (ผมเอง) โมเดลธุรกิจคล้ายกับ คุณอั้ม วรัญญู
ประสบการณ์แต่ละคนเกิดขึ้นต่างที่ต่างเวลา แต่มีแนวทางการทำงานและผลลัพธ์ที่คล้ายกันโดยมิได้นัดหมาย และวันนี้พวกเราชื่นชม Tim Ferriss เหมือนกัน

Step by Step 4 ขั้นตอนสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เป็น Tim Ferriss 

ขั้นที่ 1 เข้าใจคำว่า Passive Income ก่อนสร้าง Passive Income

Passive income เป็นคำหวาน ฟังแล้วหลงรักและความรักอาจทำให้ตาบอด เข้าใจผิดไปว่า Passive income คือรายได้ที่รวยง่ายๆ โดยไม่ต้องทำอะไรเลย
อย่าลืมว่ารายได้เกิดจากคุณค่าที่คุณสร้างขึ้นมาแล้วนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงิน หลักคิด Passive income ช่วยเรื่องการวางระบบให้คุณสามารถส่งมอบคุณค่าและรับผลตอบแทนแบบกึ่งอัตโนมัติ

Passive Income ตามความเข้าใจเดิม

Passive income มีหลายวิธี วิธีที่คนคิดถึงมากเป็นอันดับต้นๆ คือ ลงทุนในสินทรัพย์ และสินทรัพย์อันดับแรกคือ หุ้น รองลงมาคือ อสังหาริมทรัพย์ ตามมาติดๆ ด้วยค่าลิขสิทธิ์จากทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ งานเขียน งานเพลง และงานภาพยนตร์ เป็นต้น ส่วน
Passive income ที่คนนึกถึงน้อยกว่าคือการลงทุนใน Private equity ได้แก่การร่วมลงทุนในธุรกิจเอกชน ธุรกิจใหม่ ธุรกิจของเพื่อนและคนรู้จัก
ปัจจุบันคนที่มีเงินเยอะและไม่ได้ใช้ทำอะไรนิยมย้ายเงินจากตลาดหุ้นไปลงทุนในกลุ่ม Private equity มากขึ้น บริษัทเอกชนที่ได้รับการลงทุนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า Startup และนักลงทุนใน Startup เรียกตัวเองว่า Angel Investor หากทำเป็นกิจจะลักษณะเปิดเป็นกองทุนจริงจังก็เรียกตัวเองว่า Venture Capital

Passive Income ในแนวคิดใหม่

Passive income ในแนวคิดใหม่ของ Tim Ferriss เรียกว่า The new rich
เป้าหมายของ The new rich คือ มีความคล่องตัวสูง ขยายธุรกิจง่ายเร็ว และรวยเวลา
ดังนั้นการสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ สะสม Fixed asset อย่างอาคาร โรงงาน และเครื่องจักร ใช้พนักงานประจำเยอะ เจ้าของต้องอยู่เฝ้าระบบ ไม่ใช่เป้าหมายของ The new rich
การลงทุนในสินทรัพย์ที่ต้องใช้เงินเริ่มต้นสูง ให้ผลตอบแทนน้อย ต้องใช้เวลาสะสมและสร้างฐานนาน อาทิ หุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่ใช่คอนเซปต์ของ The new rich

3 แนวคิดทำเงินสไตล์ The new rich

1. ทำเงินจากธุรกิจที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ทันที
2. มีผลตอบแทน 100% ขึ้นไปต่อหนึ่งหน่วยการซื้อขายทันที
3. Duplicate ระบบ และ Scale-up ธุรกิจได้เร็วและถูก
แนวคิดแบบ The new rich เชื่อว่าความร่ำรวยในอัตราเร่งเกิดจากการค้าบวกกับระบบการขายที่มีประสิทธิภาพ และหนึ่งในระบบการขายที่ The new rich ชอบคือ ออนไลน์

4 จุดเด่นเริ่มต้นธุรกิจจากออนไลน์

1. ไม่มีหน้าร้าน (ประหยัดเงินลงทุนเฉพาะหน้า 5 แสน – 1 ล้านบาท)
2. ไม่จ้างพนักงานประจำพื้นที่ (ประหยัดปีละหลายล้านบาท)
3. ใช้การตลาดออนไลน์แทนสื่อออฟไลน์ (ประหยัดงบโฆษณาปีละหลายล้านบาท)
4. ใช้ระบบงาน Outsource เฉพาะส่วนที่จำเป็น (ประมาณการณ์งบประมาณตัวเองได้)

ขั้นที่ 2 ออกแบบธุรกิจออนไลน์

ITU เป็นหน่วยงานด้านฐานข้อมูลในเครือของสหประชาชาติรายงานว่าในปี 2015 มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตประมาณ 3,000 ล้านกว่าคน ในขณะที่คนหมุนเวียนอยู่บนเฟซบุ๊กเฉลี่ยวันละ 1,400 ล้านคน ทำให้เกิดอารมณ์แบบยุคตื่นทองว่าใครก็ตามเข้ามาทำธุรกิจออนไลน์ก็รวยง่ายรวยได้ทุกคน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่
โลกออนไลน์ช่วยให้คุณเข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้เร็วและประหยัดกว่าการรุกแบบออฟไลน์ แต่หนึ่งในกฎทองการทำธุรกิจยังคงเหมือนเดิมนั่นคือ ขายอะไร ขายใคร และขายอย่างไร

ขายใคร

จะขายอะไรคุณต้องไปศึกษาเอาเอง เพราะทุกอย่างบนโลกนี้ที่มีคนขายก็แปลว่ามันขายได้และรวยได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะถูกจริตกับสินค้าประเภทไหนมากที่สุด
แต่ไม่ว่าคุณจะขาย Physical หรือ Digital product และต่อให้เป็นสินค้าใน Category เดียวกับผู้ขายอื่นในท้องตลาด อาทิ ขนม น้ำหวาน น้ำหอม เครื่องสำอาง คอร์สออนไลน์ ฯลฯ คุณก็จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง ได้แก่
เพศ
อายุ
การศึกษา
รายได้
ไลฟ์สไตล์
และ แก้ปัญหาอะไรให้ชีวิตเขา

ธุรกิจต้องแก้ปัญหาให้ผู้อื่น

ข้อสุดท้ายสำคัญมากเพราะ ธุรกิจคือการแก้ปัญหา สินค้าต้องตอบโจทย์ปัญหาที่คนกำลังประสบอยู่เข้าจึงจะยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากคุณ และคำว่า ‘ปัญหา’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ยากเสมอไป
ยกตัวอย่าง เสื้อผ้า ราคา 100 บาทแก้ปัญหาคือกันอุจาดเท่านั้น นั่นคือการแก้ปัญหาความทุกข์ขั้นพื้นฐานสำหรับคนมีรายได้น้อย
แต่สำหรับคนที่มีรายได้มากไม่ได้ต้องการเสื้อผ้าเพื่อบำบัดความทุกข์จากความอุจาดอีกต่อไป เขาต้องการเพิ่มความสุขด้วยความดูดี จึงเกิดเสื้อผ้าแฟชั่นมีดีไซน์ราคาแพงที่สวมใส่แล้วทำให้ผู้สวมใสดูหล่อสวยมีระดับ
ธุรกิจของคุณแก้ปัญหาให้ใคร ขายใคร ใครคือลูกค้าของคุณ

กรณีศึกษาการสร้างธุรกิจของ Leader Wings

ร่วมกันก่อตั้งโดยพาร์ทเนอร์สามคนรวมทั้งผมด้วย โดยเงินทุนสนับสนุนของนายทุน Angel investor – Leader Wings จัดเป็นธุรกิจ Startup
ผมและคุณอั้ม วรัญญู หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเป็น Infopreneur อาชีพและสร้างรายได้สะสม 7 หลักจากอาชีพนี้มาก่อน จากประสบการณ์ทำงานทำให้พบว่าอาชีพ Infopreneur เป็นอาชีพที่รายได้ดีและมีกำไรสูง แต่การจะสร้างตัวตนให้สามารถขายดีมีกระบวนการที่ยาวนานและการทำงานที่หนักหนา
1. ฝั่ง Creator: คือคนมีเนื้อหาดีๆ น่านำมาเผยแพร่แต่ต้องถอดใจตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นเพราะเพียงกระบวนการผลิตอย่างเดียวก็กินเวลาและพลังงานจำนวนมากโดยไม่มีหลักประกันว่าจะขายได้
* ดั่งเช่น Ebook เล่มแรกที่ผมทำขาย ใช้เวลา 1 ปีในการทำงานแต่ขายได้เพียง 1 เล่ม (79 บาท) แล้วก็ขายไม่ออกอีกเลย
2. ฝั่ง Consumer: คนอยากเสพเนื้อหาดีๆ ขาดโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้นเพราะไม่มี Creator ในขณะที่ตลาดหนังสือเล่มบ้านเราก็อิ่มตัว แนวหนังสือที่ออกใหม่เริ่มซ้ำกันและเนื้อหาคล้ายกัน
เราจึงก่อตั้งบริษัท Leader Wings เพื่อเชื่อมสองฝั่งนี้เข้าด้วยกัน เป้าหมายคือเป็นผู้ผลิต Information products ให้กับคนที่มีเนื้อหาแต่ขาดทรัพยากร 3 ส่วน ได้แก่ 1. เครื่องมือการผลิต, 2. ช่องทางการจัดจำหน่าย, และ 3 ระบบการจัดจำหน่าย Leader Wings จัดการ 3 ส่วนนี้แบบ One stop
Leader Wings ไม่ใช่ Information business solution คนแรกในตลาดเพราะมีเพื่อนรักร่วมอุตสาหกรรมเดียวกันอย่าง Stock2Morrow, OokBee, SkillLane, Talad Punya ฯลฯ ดังนั้นเราจึงต้องมีการกำหนดแนวทางของธุรกิจว่า ขายอะไร ขายใคร และ ขายอย่างไร….
ขายอะไร: CD Audio และ DVD Video เนื้อหาแนว How-to ระดับลึก
ขายใคร: เจาะกลุ่มคนทำงานระดับ Middle และ Senior ไปจนถึงเจ้าของธุรกิจ SME/ Ecommerce เพศชายและหญิงอายุเฉลี่ย 27-40 ปี
ขายอย่างไร: ออนไลน์ 90% และ ออฟไลน์ 10% ผ่านทางงานอีเวนต์ของ CEOblog และพันธมิตร

ขั้นที่ 3 เตรียมทรัพยากรและลงมือสร้างธุรกิจออนไลน์

กรณีนี้หมายถึงการเริ่มต้นด้วยตัวคนเดียว
3 ทรัพยากรเริ่มต้นที่ต้องการ ได้แก่ Money, Platform, Delivery System

1. Money

ธุรกิจออนไลน์ใช้เงินลงทุนไม่เยอะ อย่างที่บอกคือคุณไม่ต้องลงทุนกับอาคารหน้าร้านเป็นหลักล้านบาท การสร้างหน้าร้านออนไลน์ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่เกินหมื่นบาทแบ่งเป็น
ค่าเช่าโฮสต์และจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ ค่าซื้อ Theme เว็บไซต์ และซื้อเครื่องมือและระบบการทำธุรกรรมออนไลน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซบางชนิด เป็นต้น (แล้วแต่)
เงินลงทุนกับตัวสินค้า – ถ้าคุณผลิตแบรนด์สินค้าที่เป็น Physical ของตัวเองเลย อันนั้นใช้เงินหลายแสน ไม่แนะนำในช่วงเริ่มต้น ยกเว้นการทำ Information products
ถ้าคุณขายสินค้า Physical คุณอาจต้องลงทุนกับสต็อกสินค้าบ้าง อาจจะเป็นหลักหมื่น และกรณีสุดท้ายหากคุณขายสินค้า Digital อย่าง Information product คุณก็จะไม่มีค่าสต็อกใดๆ เพียงแต่แพลทฟอร์มที่คุณเอาไปฝากขายจะมีรอบการจ่ายเงินให้คุณประมาณ 30-60 วัน
เงินลงทุนกับค่าโฆษณา – โฆษณาเป็นสิ่งจำเป็นครับ โฆษณาออนไลน์หลักๆ ได้แก่ Google AdWord และ Facebook Ads สองอันนี้มีวิธีการทำงานคนละแบบ
Google AdWord ทำงานด้วยการ Search คนต้องมีปัญหาแล้วเข้ามาค้นหาวิธีแก้ปัญหาจึงมีโอกาสเจอโฆษณาของคุณหากคำค้นหานั้นตรงกันกับค่าที่กำหนดไว้ ส่วน Facebook Ads ทำงานด้วยการ Show คือโชว์โฆษณาต่อหน้าคนที่เล่นเฟซบุ๊กเลยหากคนๆ นั้นมีความสนใจเดียวกับที่คุณตั้งค่ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้โฆษณาไปแสดงผล ค่าโฆษณาออนไลน์ไม่ได้สูงจนเกินไปเมื่อเทียบกับโฆษณาออฟไลน์ เดือนละหลักพันกลางๆ หรือหลักหมื่นต้นๆ ก็พอเริ่มต้นได้ครับ
แต่ละประเภทธุรกิจมีเงื่อนไขที่ต่างกันไป ขอสรุปแบบคร่าวๆ ว่าคุณควรมีเงินเย็นๆ ไว้สัก 50,000 บาทในการเริ่มต้น และควรมีรายได้หลักจากงานประจำไว้เป็น ‘กระแสเงินสด
เพราะในช่วง 2-3 เดือนแรกรายได้จากธุรกิจออนไลน์นั้นยังไม่ให้ผลลัพธ์อะไรมากนัก และอาจใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไปกว่าที่จะแตะจุดที่กำไรมากกว่าค่าใช้จ่ายของครอบครัวและเหลือเก็บเพื่อนำไปลงทุนเพิ่ม อันนี้เป็นการประมาณการณ์แบบ เซฟๆ นะครับ อย่างที่บอก Factor ธุรกิจมีเยอะมาก

2. Platform

แพลทฟอร์ม คือ รากฐานที่คุณจะใช้วางธุรกิจของคุณลงบนโลกออนไลน์ แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักได้แก่ Website, Social Network, และ Shopping cart software
เว็บไซต์เปรียบเสมือนสำนักงานใหญ่บนโลกออนไลน์ของคุณ เป็นสินทรัพย์ที่คุณมีความเป็นเจ้าของในขณะที่การไปใช้บริการบนโซเชียลมีเดียอย่าง ยูทูป (Youtube) หรือ เฟซบุ๊ก Facebook ยังไม่ถือว่าคุณเป็นเจ้าของ 100%
ในระยะยาวเว็บไซต์ของคุณสามารถเพิ่มมูลค่าในตัวมันเองได้ มูลค่าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการขายเว็บไซต์ แต่หมายถึงการนำ Passive income และ Passive opportunity เข้ามา อย่างเช่น CEOblog ที่สร้างรายได้ Passive income แล้วยังนำโอกาสทางการงาน เช่นการไปเป็นผู้บรรยาย ออกรายการโทรทัศน์ และลงนิตยสารต่างๆ เพราะเขาเห็นเรื่องราวที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์นั่นเอง
มีคนถามผมเสมอว่า “ปัจจุบันจำเป็นต้องมีเว็บไซต์ไหม
คำตอบของผมก็คงไม่พ้นคำว่า “จำเป็น
มีเว็บไซต์ของตัวเอง ก็เสมือนเป็นเจ้าของร้าน
มีแต่หน้าร้านในโซเชียล ก็เสมือนเช่าพื้นที่คนอื่น
ไม่ได้ตัดสินว่า ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด แล้วแต่เป้าหมายชีวิตครับ
เป้าหมายของผมคือ เป็นเจ้าของแพลทฟอร์ม ผมจึงสร้างเว็บไซต์

สร้างเว็บไซต์ง่ายกว่าที่คิด

ทุกอย่างเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปครับ
ซอฟต์แวร์เว็บไซต์ที่ผมใช้อยู่คือ WordPress.org
ผู้ให้บริการโฮสต์และจดโดเมนกับ
เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นที่ที่เหมาะกับการสร้าง Awareness หรือการรับรู้การมีตัวตนของคุณ เป็นที่ที่แบรนด์ใช้สื่อสารกับลูกค้าแบบรายวันและเรียลไทม์
ในประเทศไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก และ อินสตาแกรม (ขอเน้นเฟซบุ๊ก) ในการเก็บเนื้อหาและทราฟฟิกไว้บนแพลทฟอร์มทั้งหมด เนื้อหาจะอยู่ในรูปของ Text post และ Image post ในขณะที่ต่างประเทศนิยมทำเป็น Link post เพื่อส่งทราฟฟิกออกจากแพลทฟอร์มของคนอื่นไปยังเว็บไซต์ที่พวกเขาเป็นเจ้าของ 100%
นี่คือสาเหตุที่ต่างประเทศนิยมทำเว็บไซต์ เพราะเครื่องมือในการวางระบบ Ecommerce หรือที่นิยมเรียกว่า Shopping cart หรือ ระบบตะกร้า นั้นสามารถทำให้สมบูรณ์และเป็นอัตโนมัติได้บนเว็บไซต์
หากคุณขายของผ่านเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม หรือไลน์ คุณควบคุม Flow งานไม่ได้ คนติดต่อสอบถามมาทุกทิศทาง โอนเงินบ้าง สั่งสินค้าไม่ชัดเจน ไม่โอนเงินบ้าง ฯลฯ ต้องถามกลับไปกลับมาเสียเวลา เสียโอกาส ไปจนถึงเสียหาย แนวคิด The 4-Hour จะสร้างระบบแล้วตบกระบวนการให้เข้ามาอยู่ในระบบให้ลื่นไหลเป็น Flow เดียวและเป็นอัตโนมัติครับ
ระบบตะกร้าอาจมีขั้นตอนการติดตั้งที่ซับซ้อนขึ้นมาเล็กน้อยและมีค่าใช้จ่าย แต่โชคดีมากที่วันนี้มี Startup รายหนึ่งพัฒนาระบบตะกร้าที่ใช้งานง่าย ควบคุม Flow การทำงานออนไลน์ การรายงานสถานะการสั่งซื้อแก่ร้านค้า การรับชำระเงิน (เงินสดและบัตรเครดิต) และการแจ้งสถานะกลับลูกค้าของคุณแบบ One stop ระบบนั้นคือ – ลองไปใช้กันดูครับ
แต่หากคุณขายสินค้าดิจิตอล อาทิ อีบุ๊ก คุณสามารถนำไปขายที่ และหากคุณทำคอร์สออนไลน์ คุณสามารถนำไปขายที่ และ
แต่หากต้องการขายสินค้าดิจิตอลโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง คุณสามารถใช้ระบบชำระเงินของ โดยลูกค้าของคุณต้องจ่ายผ่านบัตรเครดิต (ซึ่งคนส่วนมากชอบจ่ายผ่านบัตรเครดิต) เพียงแต่คุณต้องมีบัญชีฝากเงินออนไลน์ เพราะเงินที่โอนเข้า Gumroad จะส่งไปที่ Paypal ของคุณจากนั้นคุณจึงจะเบิกเงินมาบัญชีธนาคารในไทยได้ครับ (ข้อเสียคือราคาสินค้าต้องแสดงเป็น Dollar)
ผมใช้แทบทุกรายการที่หยิบยกมาในการขายของออนไลน์ครับ

3. Delivery System

ระบบการจัดส่งมีให้ทั้งแบบ Physical และ Digital
ถ้าเป็นสินค้า Digital อาทิ อีบุ๊ก คอร์สออนไลน์ ไฟล์เสียง วิดีโอ ซอฟต์แวร์ ฯลฯ สามารถส่งมอบออนไลน์โดยการเชื่อมระบบ Online payment gateway. รายละเอียดการทำงานของระบบและเครื่องมือใช้งานต่างๆ อยู่ในบทความ   หัว
ข้อใหญ่ 4 Selling System หัวข้อย่อย 4.1, 4.2, และ 4.3 ครับ
ถ้าสินค้าเป็น Physical หลายคนคิดว่าต้องแพ็กเองส่งเองตอบลูกค้าเอง เกิดวันหนึ่งออเดอร์มาเป็นร้อยเป็นพันต่อวันจะทำอย่างไร? ปัจจุบันมีผู้ให้บริการคลังสินค้าและจัดส่ง มีทีมบริหาร จัดส่ง และการบันทึกและรายงานผลผ่านระบบออนไลน์ครับ
ระบบนี้เรียกว่า 3PL ย่อมาจาก 3rd Party Logistics หรืออาจเรียกว่า Fulfillment center เป็นผู้ให้บริการ คลังสินค้าและการจัดส่ง คุณนำสินค้าไปฝากไว้เมื่อมีออเดอร์คุณเพียงส่งรายละเอียดไปแล้วทาง 3PL จะหยิบสินค้า แพ็ก และส่งไปให้ปลายทางเสมือนคุณส่งเอง ช่วยให้การขายสินค้า Physical product ออนไลน์กลายเป็น Passive income

ขั้นที่ 4 ทำการตลาดให้ธุรกิจออนไลน์

สมัยก่อนฝรั่งมีวลี “If you build it, they will come” ประมาณว่า “สร้างมาเถอะ สร้างอะไรมา (หรือมีอะไรมาขาย) เดี๋ยวคนก็มาเอง
ที่มาที่เป็นอย่างไรผมไม่แน่ใจ แต่วันนี้ไม่ใช่แน่ๆ เพราะทุกวันนี้โลกเต็มไปด้วยธุรกิจ สินค้า บริการ และข้อมูล จนผู้บริโภคเลือกไม่ถูก ธุรกิจใหม่จะเป็นที่รู้จักต้องทำการตลาด และการตลาดในที่นี้คือ การตลาดออนไลน์ หรือ Online/ Digital marketing

การตลาดออนไลน์ต้องอาศัย…

a) Official Website
  • ใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงข้อมูลธุรกิจ สินค้า และบริการ
  • ใช้วางระบบตะกร้าเพื่อเปิดและปิดการขายครบวงจร
  • ใช้วางระบบ Email marketing
  • ใช้ทำ Content marketing
  • ใช้สนับสนุนการทำอันดับใน Search เรียกว่า Search Engine Optimization (SEO)
b) Content Marketing
ปัจจุบันผู้บริโภคมีการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลำพังหน้าขายสินค้าที่ไม่มีข้อมูลใดๆ อาทิ ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวตนของร้านค้า ไม่มีรีวิวจากลูกค้า ไม่มีเนื้อหาที่แสดงถึงวิธีใช้งานสินค้า ไม่มีบทความที่มีประโยชน์เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค (Blog) ก็อาจทำให้ผู้สนใจตัดสินใจซื้อช้าลง หรือลองกลับไปหาข้อมูลกับเว็บไซต์อื่น
แต่หากผู้สนใจโชคดีไปเจอเว็บไซต์คู่แข่งที่อุดมไปด้วยข้อมูลที่มีประโยชน์และบทความที่แสดงถึงความเป็นผู้ขายผู้รู้จริงในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผู้สนใจของคุณจะกลายเป็นผู้ซื้อให้กับเว็บไซต์คู่แข่งโดยปริยาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตลอดเวลาเพราะเว็บไซต์เหล่านั้นมีการทำ Content marketing ซึ่ง Content marketing ทำให้เนื้อหาติด Search engine และทำให้ผู้สนใจเกิดความเชื่อถือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่มีประโยชน์
ความหมายและหลักคิดการทำ Content Marketing
Content marketing แปลว่า การผลิตเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย และใช้พาหนะในการส่งมอบเนื้อหา (กรณีนี้คือเว็บไซต์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ค) ไปให้พวกเขาฟรีๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมายังเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการปิดการขายตามลำดับ
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ Content marketing หลักคิด กรณีศึกษา ผลลัพธ์จากสถิติ และวิธีทำเบื้องต้น ผมเขียนไว้อย่างละเอียดที่นี่ครับ
c) Facebook Marketing
โซเชียลเน็ตเวิร์คค่ายนี้มีคนหมุนเวียนใช้งานทั่วโลกประมาณวันละ 1.4 พันล้านคน จนใครๆ ก็เคลมว่าขายของผ่านเฟซบุ๊กมีแต่รวย แต่ในชีวิตจริงข้อความบนเฟซบุ๊กนั้นมหาศาลจนเกินที่คนจะรับไหว และหนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้งานไม่ชอบคือ ‘โฆษณา
เฟซบุ๊กต้องมีการปรับระบบการแสดงผลให้มีความเป็น Personalize มากขึ้น แต่ละคนเห็นเนื้อหาตามความชอบและพฤติกรรมการ Engage ข่าวสาร และลดการเข้าถึงของโพสต์เชิงขายสินค้า (อยากเข้าถึงคนเยอะต้องจ่ายเงินซื้อโฆษณา Facebook ads เป็นต้น)
หลักคิดจึงกลับไปที่ ขั้นที่ 2 ของบทความนี้ นั่นคือการออกแบบธุรกิจที่ต้องชัดเจนว่า ขายใคร เพื่อเลือกวิธีสื่อสารที่ตรงกลุ่ม
จากนั้น หลัก Content marketing นำมาใช้ได้ดีกับการตลาดเฟซบุ๊ก โดยการนำเสนอเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะของคุณอย่างสม่ำเสมอแทนการโพสต์รูปสินค้าท่วมเพจ ผู้สนใจได้รับคุณค่าจากเนื้อหาที่ตรงใจเขา เกิดการติดตาม พัฒนาเป็นแฟนคลับที่ชื่นชอบในแบรนด์ของคุณ ความชอบเหล่านี้นำไปสู่ความยินดีที่จะซื้อสินค้าเมื่อถูกประชาสัมพันธ์ออกมาทาง Facebook ads ทีหนึ่ง
งานเหล่านี้เป็นหน้าที่ของคุณในช่วงแรก จนกว่าฐานผู้สนใจ ผู้ติดตาม และผู้ซื้อจะเติบโตถึงจุดที่มีรายได้ต่อเนื่องมากแล้วค่อยเริ่มป้อนงานผลิตเนื้อหาไปยังเอเจนซี่ทำแทน
นี่คือบทความที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ที่สามารถประยุกต์กับการตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คและเฟซบุ๊กครับ


d) Email Marketing
นักการตลาดออนไลน์ในอเมริกา ไม่ขายของผ่านเฟซบุ๊กหรือไลน์ พวกเขาขายผ่านเว็บไซต์และผ่านรายชื่อในอีเมล์ อย่างหลังเรียกว่า Email marketing และการสะสมรายชื่อเรียกว่า List building โดยใช้วิธีทำอย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย ไม่ใช่ Spam
ความสำคัญของการทำ List building เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่มาจาก Search engine และจากโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้น “มาแล้วก็จากไป
ด้วยปริมาณเว็บไซต์และข้อมูลที่มากมายมหาศาลบนโลกออนไลน์ ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์มีอาจลืมคุณภายในวันเดียวและอาจไม่มีโอกาสกลับมาอีกเลย ดังนั้นต่างประเทศจึงต้องการเก็บอีเมล์ของผู้เยี่ยมชมที่มาเพื่อที่จะสามารถส่งอีเมล์ไปอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ รวมถึงเสนอขายสินค้าและบริการโดยไม่ต้องรอให้เขาบังเอิญหาเจอบน Search engine ในอีก 6-12 เดือนข้างหน้าและโดยไม่ต้องซื้อโฆษณา Google AdWord และ Facebook Ads แต่เพียงอย่างเดียว
เครื่องมือทำ Email marketing และวิธีทำให้คนสมัครอีเมล์ด้วยความเต็มใจผมมีเขียนไว้ใน หัวข้อใหญ่ที่ 5. Digital Marketing หัวข้อย่อย เครื่องมือ 5: Email marketing

สรุป 

ต้องการบทความนี้ในรูปแบบอีบุ๊ก โปรดกรอกแบบฟอร์มด้านบนสุดของบทความนี้เพื่อรับอีบุ๊กฟรีครับ
ผมจะมีการรวบรวมบทความ How-to ยาวๆ แบบนี้ทำเป็นอีบุ๊ก เป็นระยะๆ เพื่อไม่พลาดอัพเดทต่างๆ โปรดเลื่อนไปด้านบนสุดเพื่อลงชื่อในแบบฟอร์มครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น