วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

สิ้นสุดปริศนาพันปี! ไขกระจ่าง วิธีน่าทึ่งที่ชนอียิปต์โบราณใช้สร้าง 'พีระมิด'


Meekhao หมีขาว มีข่าวมาเล่าให้ฟัง |
                                          
ภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณเป็นสิ่งที่น่าทึ่งเสมอ เพราะทั้งๆ ที่ยังไม่มีวิวัฒนาการอันแสนก้าวหน้า แต่กลับมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่น่าอัศจรรย์อย่างเช่นพีระมิดสูงเสียดฟ้าในอียิปต์
พีระมิดในประเทศอียิปต์นั้นตั้งอยู่กลางทะเลทรายอันร้อนระอุ ซึ่งเมื่อดูสภาพภูมิศาสตร์แล้วพบว่าตั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งของวัสดุหลักอย่างก้อนหินขนาดยักษ์หลายกิโลเมตร
แล้วชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีไหนในการขนส่งรวมถึงยกหินหนักเป็นตันๆ ขึ้นไปเรียงตัวกันจนใหญ่โตมโหฬารได้? นักทฤษฏีจากแชนแนล pyramidsreallybuilt บนยูทูปก็ได้ออกมาอธิบายการสันนิษฐานที่ตอบโจทย์ข้อสงสัยนั้น
การก่อสร้างสุดโหดย่อมก่อให้เกิดการสูญเสีย แรงงานหลายพันคนคงเหนื่อยจนสิ้นใจถ้าหากไม่มีการใช้เครื่องทุ่นแรง
เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีพาหนะแสนสะดวกอย่างรถยนต์ การขนส่งจึงต้องอาศัยคลองที่ขุดขึ้นมาใหม่
น้ำทำให้วัสดุที่หนักอย่างหินนั้นเบาขึ้นจนเคลื่อนย้ายได้ง่ายดายราวกับเวทย์มนตร์
ชาวอียิปต์สร้างแพหนังแพะขึ้นมาเพื่อใช้ในการยกหินก้อนใหญ่
ไกลออกไป คนงานแกะสลักก้อนหินในลำคลอง เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ
จากนั้นก็ส่งมันมาทางคลองที่ขุดไว้หลายสาย
นี่คือคลองเหล่านั้นที่ยังพบเห็นได้ในยุคปัจจุบัน
ส่วนการยกหินขึ้นไปประกอบเป็นพีระมิดก็ต้องอาศัยน้ำเช่นเดียวกัน
พีระมิดขนาดใหญ่เต็มไปด้วยบ่อน้ำตั้งแต่ภายในจนถึงภายนอก
คนงานมีหน้าที่แค่ควบคุมหินให้เคลื่อนไหวไปตามเส้นทางที่ต้องการ จากนั้นหินที่ถูกสร้างมาจนได้มุมพอดีแล้วก็จะทิ้งตัวลงไปยังจุดหมายโดยอาศัยกระแสน้ำ
สิ่งสำคัญก็คือหินแต่ละก้อนต้องทำมุมที่พอดีไม่มีพลาด คือ 51 องศา
ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าถ้าองศาเกิดผิดเพี้ยนน้ำก็จะไม่อยู่ในการควบคุม
หินแต่ละก้อนค่อยๆ ไหลไปตามคลองที่ขุดไว้ จากนั้นจึงก่อตัวกันเป็นพีระมิดขนาดใหญ่ตามการคำนวนที่แม่นยำของชาวอียิปต์
แนวคิดดังกล่าวถือเป็นเรื่องน่าทึ่งมาก อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นเพียงทฤษฏีที่คนส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้เท่านั้น และการถกเถียงถึงวิธีการสร้างก็จะยังคงดำเนินต่อไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพีระมิดคือสิ่งมหัศจรรย์ตลอดกาล ที่ช่างดูซับซ้อนล้ำหน้าเกินยุคสมัยนั้นเหลือเกิน
ถ้าหากใครอยากศึกษาแบบละเอียดก็สามารถชมวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย

ที่มา: panjury

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น