วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ติวเข้มเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงิน | เดลินิวส์ „ติวเข้มเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงิน“ อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/economic/343939

ติวเข้มเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงิน | เดลินิวส์
„พาณิชย์จับมือสถาบันการเงิน ไฟเขียวนำสินค้าคงคลัง-สิทธิบัตร มาค้ำประกันขอสินเชื่อตามกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจได้ ชี้ช่วยธุรกิจไม่ต้องกู้เงินนอกระบบ วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558 เวลา 14:39 น. นายชัยณรงค์ โชไชย รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ มีแผนเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สถาบันการเงิน กลุ่มผู้บังคับหลักประกัน และกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน10,000 ราย เพื่อให้ความรู้การใช้ประโยชน์จากพ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาแล้ว และคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาช่วงต้นเดือนต.ค. 58 และมีผลบังคับใช้หลังจากนั้น 240 วัน “กรมฯ ได้เตรียมความพร้อมรองรับกฎหมายที่จะบังคับใช้แล้ว ทั้งการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อเข้ามาดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สถาบันการเงิน ผู้บังคับหลักประกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ประโยชน์จากกฎหมาย” ทั้งนี้ประโยชน์ของกฎหมายดังกล่าว จะช่วยให้เอสเอ็มอีไทย ที่มีอยู่กว่า 2.8 ล้านราย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ง่ายขึ้น เพราะนำหลักประกันธุรกิจ ซึ่งจะกำหนดขึ้นมาใหม่ นอกเหนือจากหลักประกันแบบเดิม ๆ ที่ต้องนำทรัพย์สินไปจำนอง จำนำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนำ หรือนำไปตราไว้เป็นหลักประกัน เป็นต้น โดยกฎหมายใหม่นี้ สามารถนำทรัพย์สินที่มีอยู่ในกิจการ อาท วัตถุดิบ สินค้าคงคลัง เครื่องบิน เรือเดินทะเล ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ไปใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ แต่ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน และยังใช้ทรัพย์สินนั้น ไปผลิตเป็นสินค้า หรือบริการเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ “พูดง่าย ๆ ก็คือ ทรัพย์ที่เป็นหลักประกันธุรกิจตามกฎหมายฉบับนี้ สามารถที่จะนำไปใช้เป็นหลักประกัน ในการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ทำให้เอสเอ็มอีคล่องตัว ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะเดิมต้องใช้ทรัพย์สิน เช่น บ้าน อาคาร ที่ดิน ไปจำนอง จำนำ ถึงจะได้เงินทุนมา แต่กฎหมายใหม่ไม่ต้อง แค่มีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามกฎหมายใหม่ ก็ไปคุยกับสถาบันการเงินได้ ไปขอกู้เงินได้ ซึ่งจะทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นเรื่องง่าย และช่วยไม่ให้เอสเอ็มอีต้องกู้เงินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยแพง ๆได้" ในส่วนของสถาบันการเงิน ยังได้รับประโยชน์ในแง่ของการขยายการให้สินเชื่อได้เพิ่มมากขึ้น เพราะการปล่อยกู้ จะมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และยังส่งผลดีต่อเนื่องถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย เพราะเมื่อเอสเอ็มอีขยายการผลิต พัฒนาสินค้า ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น สำหรับแนวทางในการให้ความรู้นั้น ในส่วนของเอสเอ็มอี กรมฯ จะร่วมมือกับสมาคมการค้า หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจว่าจะใช้หลักประกันธุรกิจในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างไร มีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร มีเป้าหมายรวม 6,500 ราย กลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นผู้รับหลักประกัน ตั้งเป้าหมายฝึกอบรม 1,300 ราย ได้แก่ธนาคารพาณิชย์ 22 แห่ง บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5 แห่ง บริษัทประกันชีวิต 23 แห่ง และบริษัทประกันวินาศภัย 44 แห่ง นอกจากนี้จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลหลักประกันธุรกิจ เช่น เจ้าหน้าที่ของกรมฯ เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินกรมธนารักษ์ กรมเจ้าท่า กรมการขนส่ง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย หอการค้า เป็นต้น เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันธุรกิจ มีเป้าหมาย 1,120 ราย รวมทั้งจะฝึกอบรมกลุ่มผู้บังคับหลักประกันให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ประเมินราคาทรัพย์สิน หรือบริหารธุรกิจ มีเป้าหมาย 1,150 ราย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ เป็นกฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงการคลังในการผลักดัน เพื่อแก้ไขปัญหาเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้ธุรกิจเติบโตได้ยาก และบางรายยังต้องหันไปพึ่งแหล่งเงินทุนนอกระบบ ทำให้ยิ่งเป็นปัญหา แต่เมื่อกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ จะเกิดประโยชน์ในแง่การนำทรัพย์สินที่มีอยู่จากการประกอบธุรกิจไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ และดอกเบี้ยจะต่ำกว่าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขณะที่สถาบันการเงินเอง ก็ปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น เพราะมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/economic/343939

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น