วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบรรยายพิเศษ "นโยบายเศรษฐกิจและทิศทางประเทศไทย" ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 27082015 by sinkiid

วันนนี้มีโอกาสดีๆ ที่ได้รับเกียรติเป็น1ใน200คนที่ได้ฟังสัมมนาในครั้งนี้
ก็เลยอยากแชร์นโยบายของรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล 7 กระทรวง
ให้ทุกท่านได้อ่าน จากการสรุปของผมครับ

-รัฐบาลชุดนี้มีความเป็น business friendly สูงมาก เนื่องจากท่านนายกรัฐมนตรี กังวลมากสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝั่งเอกชน จึงอยากให้เอกชนเข้าร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศด้วย ผ่าน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร) และ คณะกรรมการร่วมภาครัฐ (กรอ)
-สถานการณ์ในครั้งนี้ไม่เหมือนปี40 เพราะตอนปี 40 เริ่มจากธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้สถาบันการเงินทั้งธนาคารและไฟแนนซ์ล้ม แต่ตอนนี้เริ่มที่กลุ่มเกษตรกร สังเกตุได้จากบริษัทใหญ่ๆ ผลประกอบการก็ยังดีอยู่ แต่นักธุรกิจรู้ดีว่าถ้าหากกลุ่มเกษตรกรกำลังซื้อหด ในอนาคตจะกระทบธุรกิจอย่างแน่นอน
-ปัญหาความกังวลในเศรษฐกิจปัจจุบัน ต้นตอเกิดจากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำทำให้ประชากรผู้มีรายได้น้อย เช่น เกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา เป็นต้น   ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 18 ล้านคน มีรายได้ต่ำ ส่งผลให้อำนาจการซื้อหดหายไป
-ความมั่นใจสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางน้อยลง เนื่องจากรับข่าวสารเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำมาโดยตลอดทั้งสื่อไทยและสื่อต่างชาติ และทั้งเศรษฐกิจไทยรวมถึงเศรษฐกิจโลก
-เอกชนเริ่มไม่กล้าลงทุน เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว
-ประเทศที่อิงปัจจัยภายนอกอย่างเดียว ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามกระแสเศรษฐกิจโลก
-ไม่ใช่วิกฤตการณ์แต่เป็นช่วงเศรษฐกิจขาดพลัง ขาดความมั่นใจ
-ตอนนี้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในอดีต กำลังเริ่มตอบแทนมูลค่าแล้ว จึงต้องวางแผนใหม่ให้เกิดการลงทุนเพิ่มเติมเพื่ออนาคต

ภารกิจเร่งด่วน 2 ด้าน
1.กอบกู้/ช่วยเหลือ เกษตรกร/SME/กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถประคองตนเองผ่านช่วงระยะเวลานี้ไปได้
-กระจายเงินทุนหมุนเวียนของรัฐ ให้เร็วที่สุด
-สร้างท้องถิ่นให้มีความแข็งแรงด้วยตัวเอง
-มีการลงทุนโดยภาครัฐ ภายใน 2-3เดือนนี้
-ช่วยเหลือ SME ในระยะสั้น ให้อยู่รอด แล้วจึงเริ่มสร้างความเข้มแข็งให้ SME ในอนาคต
2.วางรากฐาน  ผลักดัน 5 เรื่องหลัก
-ทำคู่ขนานไปกับ สปช.และ สนช. เพื่อกระชับเวลา
-ยกระดับความสามารถของ ผปก.และสร้างธุรกิจใหม่ขึ้น
2.1. การสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ
-ในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะมีประเทศไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มี GDP สูงขึ้นมากกว่า 5-6 %
-ในอดีตประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป
-ประเทศไทยมีการกระจุกตัวของเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่นมีกี่จังหวัดในประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจระดับจังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพ
-ศก.ไทย จะต้องเติบโตอย่างสมดุล โดยไม่อิงจากภายนอกแต่จะต้องเติบโต เข้มแข็ง จากภายในประเทศเอง
-Focus ท้องถิ่น ผลักดันให้เป็น Local Economic
-ต้องเริ่ม ศก.จาก ระดับหมู่บ้าน จนถึงจังหวัด โดยให้ชาวบ้าน /อบต. /อบจ. /ผวจ./รัฐวิสาหกิจชุมชน /กลุ่มOtop /กลุ่มท่องเที่ยว คิดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเป็นรายพื้นที่ไป แล้วค่อยสนับสนุนงบประมาณนั้นๆ
-Social enterprise จะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจระดับ local และเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการเติบโตในท้องถิ่น
-ผวจ. จะต้องมีนโยบายเชิงการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วย ไม่ใช่รองบประมาณอย่างเดียวเหมือนในอดีต
-ผวจ.เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจมากกว่า สภาพัฒน์ฯ
-ทำให้จังหวัดอื่นๆสามารถมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากขึ้น
2.2 วางรากฐานเศรษฐกิจ
-ลงทุนให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์และbrand ที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ
-เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์
-สร้างคลัสเตอร์ แปรรูปเกษตร , ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ , ปิโตรเคมีที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม , IT Digital , อุตสาหกรรมการถ่ายทำภาพยนตร์ ฯลฯ เพื่อให้สามารถสู้และแข่งขันกับประเทศอื่นได้
-สนับสนุนให้เกิด technology transfer รวมถึงข้อมูลวิชาการ จากสถาบันการศึกษาไปยังภาคธุรกิจ
-จูงใจให้สถาบันศึกษาต่างประเทศเข้ามาในประเทศ เพื่อเป็นการผลักดันให้ประเทศเกิด know how ใหม่ๆ และผลักดันงานวิจัยของสถาบันในไทย
-พัฒนาบุคลากรให้เป็น Advance human resources
-เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะสินค้า เช่น rubber city, Halal city เป็นต้น
-จูงใจให้ต่างชาติมาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยให้มากกว่ามาตรการทางภาษี เช่นเวียดนามทุ่มให้ทุกอย่างทั้งที่พัก โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น เพื่อดึงซัมซุงไปผลิตที่นั่น
-Super cluster เป็นการใช้เขตเดิมๆมาทำให้เกิดการลงทุนใหม่ เช่น เช่น มาบตาพุด ลาดกระบัง เป็นต้น
2.3 พัฒนานักรบทางเศรษฐกิจ
-สร้าง start up ที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศเป็นหลัก
-สนับสนุน Technology base start up และ Design base start up
-ร่วมมือกับมหาลัย ผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่
- matching เอกชนรายใหญ่กับรายเล็ก เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกัน
-ดึงเอกชน มาร่วมกับมหาลัยฯ เพื่อวิจัยและพัฒนา จากนั้นร่วมกับธนาคาร/ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุน
2.4 การลงทุนขนาดใหญ่
-ให้ดู Economic return ด้วย ไม่ใช่ดูแต่ financial return
-ต้องลงทุนแบบไม่เกินฐานะทางการเงินของประเทศ
-สนับสนุนให้เกิดการลงทุนรอบด้านเหมือนสิงคโปร์ที่กำหนดให้ตัวเองเป็น IT nation

เพิ่มเติม
-ตัวเลข GDP เป็นผล ควรมาใส่ใจกับการกระทำมากกว่าค่า GDP
-มีการปฏิรูปในหลายๆเรื่อง เพื่อให้ภาครัฐ มีประสิทธิภาพในด้านเศรษฐกิจ สูงขึ้น
-การเพิ่มค่าแรง จะต้องทำควบคู่กับการเพิ่มทักษะของแรงงาน ด้วย เพราะ ถ้าหากเพิ่มค่าแรง SME ก็จำเป็นต้องเพิ่ม productivity ด้วยไม่งั้นอยู่ไม่รอด
-ดุลการค้าอย่าคิดแค่ตัวเลข นำเข้า ส่งออก เท่านั้น ให้นำตัวเลขเกี่ยวกับการบริการมาคิดด้วย

และสุดท้าย  OUR HOME. OUR COUNTRY. STRONGER TOGETHER.

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ ขออนุญาต นำไปเผยแพร่ต่อนะครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ ขออนุญาต นำไปเผยแพร่ต่อนะครับ

    ตอบลบ