วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

[Startup CEO] ว่าด้วยบอร์ดของบริษัท Startup by อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ / Isriya

สรุปเนื้อหาจากหนังสือ Startup CEO ของ Matt Blumberg (ตอนเก่าอ่านได้จากแท็ก Startup CEOนะครับ)
Startup CEO: A Field Guide to Scaling Up Your Business
ตอนนี้ขอตัดตอนเข้าสู่ภาค 4 เรื่อง "บอร์ด" ของ Startup ก่อน ส่วนนี้น่าสนใจมากเพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะเคยนั่งประชุมบอร์ด คัดเลือกบอร์ด คุยกับบอร์ด ฯลฯ การอ่านประสบการณ์ของ Matt Blumberg อย่างน้อยก็ช่วยให้เห็นภาพว่าบอร์ดคืออะไร มีไปทำไม ควรมีอย่างไร ฯลฯ
บล็อกตอนนี้ยาวหน่อยเพราะสรุปเนื้อหาจากหลายบท เอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบอร์ดอย่างเดียว

ทำไมต้องมีบอร์ด

บริษัท startup ก็เล็กๆ ทำไมจึงสมควรต้องมีบอร์ดของบริษัทด้วย? เหตุผลมีดังนี้
  • ซีอีโอ (ตัวเรา) ควรมี "เจ้านาย" มากำกับดูแลอีกชั้น ทำให้เราระลึกอยู่เสมอว่าต้องทำอะไรตามกฎเกณฑ์ และมุ่งประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ (เทียบกับสมัยเรียน ต่อให้เราชอบวิชานั้นแค่ไหน ถ้าอาจารย์ไม่สั่งการบ้านเราก็คงไม่ลุกขึ้นมาเขียนบทความสรุปเนื้อหาแน่ๆ)
  • บอร์ดจะช่วยให้เรามี "เส้นตาย" ให้กับภารกิจหรือโครงการภายในองค์กร ไม่งั้นมันจะลอยชายเรื่อยไป ทำไม่เสร็จสักที (โดยเฉพาะงานที่ไม่มีลูกค้ามากำหนดหรือไม่มีคู่แข่งมาไฟต์)
  • ประสบการณ์ของบอร์ด จากการทำธุรกิจหรือบริหารงานมาก่อน รวมถึงการเป็นบอร์ดให้บริษัทอื่นๆ จะสามารถแนะนำเทคนิคหรือโซลูชันให้กับบริษัทได้
  • บอร์ดจะช่วยให้ซีอีโอมองเห็นภาพกว้างของธุรกิจ เพราะซีอีโอเป็นคนที่อยู่หน้างานจึงอาจจะพลาดการมองภาพรวมไป
  • การประชุมบอร์ดจะสร้างบรรยากาศของการถกเถียงอย่างซื่อตรง (honest discussion) ที่ช่วยท้าทายและทบทวนการตัดสินใจของทีมบริหาร เหมือนเป็นการกรองอีกชั้นหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ต้องพึงระลึกไว้ว่าบอร์ดที่ดีจะไม่ลงมายุ่งกับการบริหารงานโดยตรง (day-to-day operation) บางบริษัทใช้ระบบ advisory board คือเป็นแค่ "คณะที่ปรึกษา" บอร์ดไม่มีสิทธิไล่ซีอีโอออก ซึ่งมักมีความเป็นทางการน้อยกว่า และทำงานกันไม่จริงจังเท่ากับบอร์ดเต็มรูปแบบ

ใครควรจะมาเป็นบอร์ด

ขั้นแรกของการมีบอร์ดบริษัทคือหาคนที่จะมานั่งเป็นบอร์ด ซึ่งควรคัดเลือกคนที่มีคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับการหาคนมาอยู่ในทีมผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
Matt แนะนำคุณสมบัติ 5 ประการของบอร์ดที่ดี
  1. เตรียมตัวล่วงหน้าและให้เวลากับงานของบอร์ดเต็มที่ มาประชุมทุกครั้ง มาตรงเวลา ไม่หนีกลับก่อน ทำการบ้านล่วงหน้า อ่านเอกสารมาพร้อม ไม่อ่านอีเมลระหว่างประชุม
  2. กล้าพูดในสิ่งที่คิด แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ บอร์ดที่ดีจะกล้าหยิบยกประเด็นที่มีปัญหาขึ้นมาพูดในที่ประชุม ไม่ใช่แอบมาพูดเป็นส่วนตัวหลังเลิกประชุมแล้ว
  3. มีสายสัมพันธ์ระหว่างบอร์ดด้วยกัน บอร์ดที่ดีจะไม่ใช่แค่มาประชุมแล้วค่อยมีโอกาสคุยกับบอร์ดคนอื่น แต่บอร์ดจะหาโอกาสไปทำความรู้จักกันเอง สร้างความสนิทสนมกันในเวลาอื่น รวมถึงสร้างสายสัมพันธ์กับทีมบริหารโดยไม่ต้องผ่านตัวซีอีโอด้วย
  4. มีคลังความรู้และประสบการณ์ให้ใช้มาก บอร์ดที่ดีจะมีประสบการณ์สูง มีข้อแนะนำใหม่ๆ เสมอ ซึ่งบอร์ดบางคนที่มีพื้นเพมาจากการทำงานบางอย่างแล้วประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียว (one-trick) มาประชุมไปสักพักแล้วจะเกิดอากาศ "หมดมุข" ไม่มีอะไรใหม่มาแนะนำแล้ว ควรเลี่ยงบอร์ดกลุ่มนี้
  5. เน้นยุทธศาสตร์ ไม่เน้นบริหาร (strategically engaged but operationally distant) ต่อให้เป็นบอร์ดที่เก่งงานบริหาร/ปฏิบัติการ ก็จะเข้าใจดีว่าบริบทของแต่ละบริษัทต่างกัน และไม่เข้ามายุ่งกับการบริหารภายในมากนัก แต่จะให้ความร่วมมือหรือคำแนะนำในเชิงยุทธศาสตร์ภาพใหญ่อย่างเต็มที่

กระบวนการสรรหาบอร์ด

คำแนะนำในการสรรหาคนมาเป็นบอร์ด
  1. จริงจังกับการสรรหาบอร์ด ในระดับเดียวกับการหาคนมาร่วมทีมผู้บริหาร
  2. พยายามกระจายที่มาของบอร์ดให้หลากหลาย (source broadly) การขอให้คนมาเป็นบอร์ดถือเป็นการให้เกียรติอย่างสูงต่อบุคคลนั้น ดังนั้นต่อให้เราติดต่อคนไปแล้วเขาไม่ได้มาเป็นบอร์ดในบั้นปลาย (จะด้วยปัจจัยอะไรก็ตาม) แต่อย่างน้อยเขาก็ยินดีมาพบและนั่งคุยด้วย
  3. สัมภาษณ์คนให้เยอะเข้าไว้ ควรพบเจอต่อหน้า และสำหรับ "ว่าที่" คนที่เข้ารอบจะมาเป็นบอร์ด ก็ควรสัมภาษณ์หลายๆ ครั้ง และควรให้บอร์ดคนอื่นมาร่วมสัมภาษณ์ด้วย
  4. เช็คข้อมูลอ้างอิง (check references) ว่าบุคคลนี้เป็นอย่างไรจากหลายๆ มุมมอง ทั้งเจ้านายเก่า ลูกน้องเก่า เพื่อนเก่า ของบุคคลนั้นๆ
  5. ลองให้ผู้เข้ารอบมาร่วมประชุมบอร์ดด้วยจริงๆ ถือเป็นการลองงานก่อน โดยเราควรจัดประชุมนัดพิเศษกับว่าที่บอร์ดก่อนร่วมประชุม เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลพื้นฐานของบริษัท
  6. อย่ากลัวที่จะปฏิเสธไม่ให้เป็นบอร์ด เพราะสุดท้ายแล้วบอร์ดถือเป็น "วงในใกล้ชิด" (inner circle) ของซีอีโอ เลือกให้ดี ถ้ามัวแต่เกรงใจจะกลายเป็นผลเสียของบริษัท

ค่าตอบแทนของบอร์ด

บอร์ดเป็นหัวหน้าของซีอีโอ ดังนั้นการที่ซีอีโอจะไปกำหนดค่าตอบแทนให้บอร์ดอาจดูแปลกๆ แต่ยังไงก็ต้องทำ เทคนิคมีดังนี้
  • กรณีที่เป็นบอร์ดมาจากนักลงทุน (venture director) ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนใดๆ เพราะจ่ายเป็นหุ้นไปตั้งแต่แรกแล้ว ถ้า VC ที่เป็นบอร์ดมาเรียกขอเงินค่าประชุมบอร์ดเพิ่ม ให้ปฏิเสธ เพราะ VC ที่ดีจะถือว่านี่คือ "งานที่ต้องทำอยู่แล้ว" เมื่อเข้าไปลงทุนในบริษัทนั้นๆ
  • กรณีที่เป็นบอร์ดควบตำแหน่งผู้บริหารภายใน (managing director) ไม่ต้องจ่าย เพราะรับเงินเดือนผู้บริหารอยู่แล้ว
  • กรณีที่เป็นบอร์ดอิสระ (independent director) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัททั้งในแง่ตำแหน่งและหุ้น ต้องจ่ายค่าตอบแทน
สำหรับการจ่ายค่าตอบแทนให้บอร์ดอิสระ ในกรณีของ startup ธรรมเนียมปฏิบัติคือจ่ายเป็นหุ้นเท่านั้น โดยมีหลักการว่าจ่ายเป็นหุ้นจำนวนน้อยกว่าหุ้นที่แบ่งให้ผู้บริหารระดับสูง แต่น้อยกว่าไม่เยอะนัก และหุ้นที่จ่ายควรมีเงื่อนไขในการขาย (vest) หลังหมดวาระการเป็นบอร์ดแล้ว (ส่วนใหญ่คือ 4 ปี)
ถ้าบอร์ดอิสระเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินเพิ่มด้วย อย่าเลือกคนนั้นมาเป็นบอร์ด
กรณีบอร์ดทำงานห่วยก็ควรมีการเปลี่ยนตัวบอร์ด โดยกรณีที่เป็น venture director อาจให้บริษัทลงทุนนั้นๆ ส่งคนอื่นมาแทน (โควต้าบอร์ดยังอยู่แต่เปลี่ยนตัวคน)

ขนาดของบอร์ด

ขนาดของบอร์ดขึ้นกับขนาดของบริษัท
  • ถ้ายังไม่เคยระดมทุนจาก VC (pre-Series A) ควรมีบอร์ด 3 คน
  • ถ้ารับเงินลงทุน Series A แล้ว ควรมีบอร์ด 5 คน
  • ถ้าเริ่มคิดจะขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ค่อยมีบอร์ด 7 คน
ตำแหน่งของบอร์ด
  • ควรมีบอร์ดที่ควบตำแหน่งบริหารด้วย (managing director) เพียงคนเดียวคือซีอีโอเอง
  • ควรมีบอร์ดอิสระ (independent director) ให้เยอะที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จะให้ดีควรเป็นซีอีโอจากบริษัทใหญ่ หรือลูกค้า/พาร์ทเนอร์รายใหญ่
สิ่งสำคัญไม่ใช่ขนาดของบอร์ด แต่เป็นความหลากหลายและความสมดุลของสมาชิกบอร์ด
Fred Wilson นักลงทุนชื่อดัง เขียนร่วมในส่วนนี้โดยให้ความเห็นคล้ายๆ กัน
  • ช่วงเริ่มต้นบริษัท ใช้บอร์ด 3 คน โดยผู้ก่อตั้งเป็นเอง 1 ตำแหน่ง และเชิญคนที่เคารพและเชื่อใจ 2 ตำแหน่ง
  • เมื่อมีนักลงทุนเข้ามา ก็จะมีเรื่องที่นั่งในบอร์ดที่เป็นตัวแทนนักลงทุนด้วย (ตำแหน่งบอร์ดของเขาในบริษัทต่างๆ มักมาจากวิธีนี้) โดยนักลงทุนจะออกจดหมายที่เรียกว่า shareholders' agreement เป็นข้อตกลงกันระหว่างผู้ถือหุ้นทุกฝ่ายในบริษัทว่าจะโหวตให้ตัวแทนของนักลงทุนรายหนึ่งเข้ามาเป็นบอร์ด (เป็นมาตรฐานที่ปฏิบัติกันในวงการ)
  • บอร์ดหลังจากมีนักลงทุนเข้ามา อาจใช้ระบบ 3 คนเท่าเดิม (โควต้าผู้ก่อตั้ง 2, นักลงทุน 1) หรือจะเพิ่มเป็น 5 คนก็ได้ (โควต้านักลงทุน 1-2, ที่เหลือเป็นโควต้าผู้ก่อตั้ง)
  • พอบริษัทเริ่มใหญ่ เริ่มมีนักลงทุนรายอื่นๆ เข้ามา ก็จะมีตำแหน่งกรรมการอิสระเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นคนดูแลผลประโยชน์ของบริษัท ไม่ใช่ผลประโยชน์ของนักลงทุน
  • เมื่อบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ กฎเกณฑ์การเลือกบอร์ดจะต้องปฏิบัติตามกฎของบริษัทมหาชนทั่วไป มีคณะกรรมการสรรหาบอร์ดที่เรียกว่า nominating committee คอยเลือกบอร์ด และเปลี่ยนตัวสมาชิกในบอร์ดอยู่เรื่อยๆ (ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเปลี่ยนสลับปีกันเพื่อไม่ให้ต้องเปลี่ยนยกชุด)
ตัวอย่างโครงสร้างบอร์ดของ Twitter (Fred Wilson เป็นนักลงทุนและบอร์ด)
  • ปีแรก 4 คน (ผู้ก่อตั้ง 2, นักลงทุน 1 ซึ่งก็คือ Fred, ทีมงานช่วงก่อตั้ง 1 คน)
  • ปีสอง 5 คน (ผู้ก่อตั้ง 2, นักลงทุน 2 จากคนละบริษัทกัน, ทีมงานช่วงก่อตั้ง 1 คน)
  • ปีสาม 7 คน (ผู้ก่อตั้ง 2, นักลงทุน 3, ผู้บริหารระดับสูง 2)
  • ปีสี่ 9 คน (ผู้ก่อตั้ง 2, นักลงทุน 3, ซีอีโอ 1, กรรมการอิสระ 3)
  • ปัจจุบัน 7 คน (ผู้ก่อตั้ง 2, นักลงทุน 1, ซีอีโอ 1, กรรมการอิสระ 3)

คณะกรรมการย่อย

บริษัทส่วนใหญ่มักตั้งคณะกรรมการย่อย/อนุกรรมการภายใต้บอร์ดอีกที โดยคัดเลือกบอร์ดบางคนมาเป็นกรรมการเฉพาะทาง บริษัททั่วไปมักจะมีคณะกรรมการย่อย 2 ชุด
  • คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน (compensation committee) คอยกำหนดค่าตอบแทนให้ซีอีโอและผู้บริหารระดับสูง
  • คณะกรรมการสอบบัญชี (audit committee) คอยทำงานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอก (external auditor) ว่าบัญชีถูกต้องตามมาตรฐานและระเบียบ
คณะกรรมการย่อยเหล่านี้มาประชุมกันแค่ปีละ 1-2 ครั้งก็พอ เว้นแต่บริษัทมีขนาดใหญ่จริงๆ

ใครควรเป็นประธานบอร์ด

เดิมที ซีอีโอจะควบตำแหน่งประธานบอร์ดด้วย แต่ช่วงหลังก็มีความพยายามแบ่งแยกบทบาทของซีอีโอกับประธานบอร์ด (chairman) ออกจากกัน ซึ่งในกรณีของบริษัทขนาดเล็กหรือสตาร์ตอัพ ซีอีโอจะควบตำแหน่งด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่ประเด็นมากนัก (คือยังไงก็ได้)
การมีประธานบอร์ดแยกอีกตำแหน่งจะมีข้อดีเล็กๆ คือมีคนให้ปรึกษาว่ากำหนดการประชุมบอร์ดควรมีเรื่องอะไรบ้าง แต่ซีอีโอต้องเป็นคนรันการประชุมและเตรียมเอกสารอยู่วันยังค่ำ ไม่เกี่ยวว่ามีตำแหน่งประธานบอร์ดด้วยหรือไม่

การประเมินการทำงานของบอร์ด

บอร์ดก็ควรถูกประเมินผลการทำงานด้วยเพื่อสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบได้ (accountability) ถ้าบอร์ดมีคุณภาพก็ควรนานๆ ประเมินที (เช่น ทุก 6 ไตรมาส)
วิธีการที่ Return Path ใช้คือรันแบบสอบถามง่ายๆ ด้วย Survey Monkey แล้วให้บอร์ดตอบคำถามแบบไม่ต้องระบุตัวตน
ประเด็นที่ควรประเมินบอร์ดมีดังนี้
  • บอร์ดทำงานในประเด็น (issue) ที่ควรทำหรือเปล่า
  • วัฒนธรรมการทำงานของบอร์ดนั้นเปิดกว้างแค่ไหน
  • โครงสร้างของสมาชิกในบอร์ดเหมาะสมหรือไม่
  • กระบวนการทำงานของบอร์ด การแจกเอกสาร การประชุม มีประสิทธิภาพแค่ไหน
  • เอกสารการประชุมบอร์ดเหมาะสมหรือไม่ มีข้อมูลเพียงพอหรือเปล่า
  • ให้บอร์ดแต่ละคนประเมินผลบอร์ดคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ
  • ให้บอร์ดแต่ละคนประเมินผลของทีมผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุมบอร์ดบ่อยๆ ในมิติต่างๆ
เมื่อประเมินเสร็จแล้วก็รายงานแบบง่าย ๆ โดยแปะผลสรุปของ survey พร้อมคอมเมนต์ของซีอีโอ แนบไปในเอกสารการประชุมบอร์ดครั้งถัดไป

บอร์ดที่ปรึกษา (Advisory Board)

บอร์ดที่ปรึกษาไม่สามารถใช้งานแทนบอร์ดบริหาร (Board of Directors) เต็มรูปแบบได้ แต่ถ้าจะมีเพิ่มเพื่อช่วยให้คำปรึกษาก็โอเค
บอร์ดที่ปรึกษาแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ
  • ทำงานเป็นทีมจริงๆ เรียกประชุมเพื่อขอความเห็นในประเด็นสำคัญเพียงเรื่องเดียว (single agenda) เพื่อให้ทีมบอร์ดที่ปรึกษาช่วยให้ความเห็น
  • เป็นทีมในนาม มีชื่อเป็นคณะ แต่ในการทำงานจริงๆ ต่างคนต่างให้คำปรึกษาแยกของใครของมัน
การคัดเลือกบอร์ดที่ปรึกษา
  • ควรกำหนดบทบาท เป้าหมาย เวลาที่ต้องการจากบอร์ดแต่ละคนให้ชัดเจนตั้งแต่แรก
  • ควรกำหนดคุณสมบัติของคนที่อยากให้เป็นที่ปรึกษาก่อน เช่น ด้านการเงิน x1, ด้านเทคนิค x1, อดีตซีอีโอ x1 แล้วค่อยหาคนที่เหมาะสม
  • พยายามหาคนที่เจ๋งที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในแต่ละตำแหน่ง ถึงแม้ว่าคนที่เราอยากได้จะปฏิเสธ แต่เขาจะช่วยแนะนำคนอื่นให้
  • ต้องจ่ายเงินค่าเสียเวลาให้ที่ปรึกษาด้วย หรือบางครั้งอาจจ่ายเป็นหุ้น
  • ไม่ทอดทิ้งบอร์ดที่ปรึกษาจนห่างไกลกับบริษัทเกินไป ควรส่งเอกสารและสื่อสารราวกับว่าเขาเป็นบอร์ดเต็มรูปแบบ
Return Path ไม่เคยมี advisory board แต่มีที่ปรึกษาอิสระแยกจำนวนหนึ่ง ซึ่งให้ค่าตอบแทนเป็นหุ้นไม่เยอะนัก ที่ปรึกษาทุกคนยินดีจะรับโทรศัพท์จากซีอีโอเมื่อโทรไปปรึกษา และให้ความเห็นที่มีประโยชน์

เอกสารสำหรับประชุมบอร์ด

โดยทั่วไปแล้ว บอร์ดจะประชุมกันปีละ 2-3 ครั้ง บอร์ดจะตามไม่ค่อยทันบริบทในบริษัท ดังนั้นควรเตรียมเอกสารอย่างจริงจังเพื่อให้บอร์ดเข้าใจสภาวะปัจจุบันของบริษัทให้มากที่สุด
เอกสารประชุมบอร์ดเรียกว่า Board Book ประกอบด้วยวาระการประชุมบอร์ด (agenda) และเอกสารเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ควรทราบ เทคนิคการทำ Board Book มีดังนี้
  • ควรกำหนดฟอร์แมตของ Board Book ให้ชัดเจนและสม่ำเสมอสำหรับการประชุมบอร์ดทุกครั้ง บอร์ดจะได้คุ้นเคยและไม่งง รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน
  • ควรทำ Board Book เป็นไฟล์ PDF ไฟล์เดียว มีเลขหน้าชัดเจน อย่าแยกไฟล์แล้วรันเลขหน้าแยกเพราะจะงง
  • บางครั้งเราอาจส่งเอกสารแยกให้บอร์ดอ่านได้ เช่น รายงานผู้สอบบัญชี แต่เอกสารหลักต้องรวมเป็นไฟล์เดียว
  • อีกเทคนิคหนึ่งคืออัพโหลดเอกสารลง Google Docs เพื่อให้บอร์ดสามารถเขียนโน้ตและตั้งคำถามในบางจุดได้ล่วงหน้า (ก่อนถึงเวลาประชุมบอร์ด) เพื่อลดการเสียเวลากับประเด็นปลีกย่อยในช่วงการประชุมบอร์ดจริงๆ
เอกสารการประชุมบอร์ดควรส่งให้บอร์ดล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์ โดยเว้นให้บอร์ดมีเวลาอ่านช่วงสุดสัปดาห์ด้วย (เช่น ประชุมวันพุธ ควรส่งเอกสารให้ก่อนศุกร์บ่าย, กรณีถ้าประชุมจันทร์ ต้องส่งก่อนพฤหัสบ่าย) สูตรของ Return Path คือให้บอร์ดมีเวลาอ่าน 1 สุดสัปดาห์ + 1 วันทำงาน

ตัวอย่างโครงสร้างของ Board Book

เอกสารที่จะส่งให้บอร์ดก่อนประชุม ควรมีโครงสร้างคร่าวๆ ดังนี้
  1. Cover memo - บทนำสั้นๆ กำหนดกรอบประเด็นที่จะประชุม ข้อมูลสถานที่และเวลาประชุม วาระการประชุมบอร์ด
  2. เอกสารชุดมาตรฐาน (official business) เอกสารที่ต้องส่งให้บอร์ดเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น บันทึกการประชุมครั้งก่อน (ไว้ให้บอร์ดอนุมัติบันทึกเมื่อประชุม) บันทึกการลงมติอื่นๆ เอกสารการเงิน เอกสารหุ้น
  3. ย้อนรอยงานเก่า (retrospective) สรุปความคืบหน้าหลังการประชุมครั้งก่อน และประเด็นสำคัญที่อยากหารือในการประชุมครั้งนี้ โดยจัดระเบียบให้อ่านง่าย
  4. ประเด็นหารือ (on my mind) สรุปประเด็นที่อยากหารือ 3-5 ประเด็นในการประชุมครั้งนี้
  5. executive session เอกสารแยกสำหรับการประชุมเกี่ยวกับตัวซีอีโอ อาจทำเป็นเอกสารแยกได้ถ้ามีความลับ
โดยเฉลี่ยแล้ว Board Book ของ Return Path ยาวประมาณ 100 หน้า
การเตรียมเอกสารเพื่อประชุมบอร์ดมีความสำคัญเท่าๆ กับการประชุมบอร์ด เพราะช่วยให้ทีมผู้บริหารต้องรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อมานำเสนอต่อบอร์ด แน่นอนว่าเป็นกระบวนการที่เหนื่อย อาจต้องใช้เวลาหลายวัน แต่ก็คุ้มค่า

การประชุมบอร์ด

กำหนดเวลาของการประชุมบอร์ด
  • ควรกำหนดวันที่ประชุมบอร์ดล่วงหน้ายาวๆ และยึดกับวันที่นั้นๆ ไว้เพื่อให้บอร์ดทุกคนเข้าประชุมได้ครบ
  • ต้องรู้กำหนดการทั่วๆ ไปของบอร์ดแต่ละคน รู้ว่าบอร์ดคนนั้นจัดตารางเวลาเองหรือให้เลขาทำให้
  • กำหนดช่วงเวลาประชุมบอร์ดตลอดปีตอนปลายปี เพราะเป็นช่วงที่ผู้บริหารมักวางแผนนัดหมายประจำปีต่อไป
  • ถ้าบอร์ดอยู่คนละเมืองและต้องเดินทางมาประชุม และนั่งเก้าอี้บอร์ดมากกว่าหนึ่งบริษัท ก็ควรประสานงานกับบริษัทนั้นๆ เพื่อกำหนดช่วงเวลาประชุมให้เหมาะสมด้วย (เช่น ไม่ชนกัน จัดใกล้ๆ กันจะได้เดินทางทีเดียว)
  • ถ้ามีบอร์ดอยู่หลายเมือง ก็ควรวนสถานที่จัดการประชุมให้เฉลี่ยแล้วเท่าเทียมกัน
ความถี่ของการประชุมบอร์ด ขึ้นกับสภาพของบริษัท
  • ช่วง startup เริ่มต้นบริษัท ประชุมทุกเดือน, ครั้งละ 1 ชั่วโมง, ใช้วิธีโทรศัพท์
  • ช่วงบริษัทเริ่มมีรายได้ ประชุมปีละ 6-8 ครั้ง, ครั้งละ 2 ชั่วโมง, ผ่านโทรศัพท์ อาจมี 1-2 ครั้งที่เป็นการประชุมแบบเจอหน้าและยาวหน่อย
  • ช่วงบริษัทเริ่มเติบโต ประชุมไตรมาสละครั้ง, ครั้งละขั้นต่ำ 4 ชั่วโมง, ประชุมแบบเจอหน้า
บางปีอาจจัดการประชุมบอร์ดนอกสถานที่ โดยการประชุมจะเข้มข้นกว่าและยาวกว่า ทั้งตอนบ่าย ตอนค่ำ และตอนเช้า บอร์ดมีโอกาสคุยกันเองเยอะกว่าในช่วงเวลา social เช่น เวลาพักหรือกินข้าว

การกำหนดเวลาในการประชุมบอร์ด

ซีอีโอจะเป็นคนกำหนดวาระในการประชุมบอร์ดว่าแต่ละช่วงจะคุยกันเรื่องอะไรบ้าง (ล้อตาม Board Book) ควรกำหนดฟอร์แมตของวาระให้สม่ำเสมอ ตัวอย่างวาระการประชุมบอร์ดมีดังนี้
  1. เปิดงานและกำหนดกรอบการประชุม (5 นาที)
  2. คุยถึงประเด็นทางธุรกิจที่ต้องคุยทุกครั้ง (official business) (15 นาที)
  3. ย้อนงานเก่า (retrospect) โดยมีช่วง Q&A (45 นาที)
  4. วาระหารือ (on my mind) อาจแยกตามวาระ (2 ชั่วโมง)
  5. คุยกับผู้บริหาร (executive session) ช่วงนี้จะมีแค่ซีอีโอกับบอร์ด ห้ามผู้บริหารคนอื่นเข้า (แม้จะมีตำแหน่งในบอร์ดด้วยก็ตาม) (30 นาที)
  6. วาระปิด (closed session) ช่วงนี้มีแต่บอร์ดคุยกันเอง ซีอีโอต้องออกจากห้อง (30 นาที)
เนื้อหาการประชุมในบอร์ดควรมองไปถึงอนาคตเป็นหลัก ไม่ใช่ย้อนอดีตเพราะจะเป็นกลายเป็น "ซีอีโอรายงานบอร์ด" ไปแทน ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะบอร์ดสามารถอ่านข้อมูลพวกนี้ได้จากเอกสารอยู่แล้ว เอาเวลาไปคุยเรื่องแผนการในอนาคตดีกว่า

การแจกเอกสารระหว่างการประชุม

Return Path ลองมาหลายสูตร
  • ส่ง PowerPoint ที่จะนำเสนอในวันประชุมให้บอร์ดอ่านล่วงหน้า ปัญหาคือบอร์ดเบื่อเพราะเห็นสไลด์ก่อนแล้ว และต้องมาฟังข้อมูลซ้ำๆ เป็นเวลานาน
  • แยกสไลด์สองชุด และพยายามทำสไลด์ให้สนุกและน่าสนใจ บอร์ดสนใจมากขึ้น แต่การทำสไลด์ให้น่าสนใจต้องใช้พลังมาก และความสนใจของบอร์ดไม่ได้เพิ่มขึ้นในระดับเท่าเทียมกัน
  • ปัจจุบันมาลงตัวที่การส่งเอกสารและรายงานให้บอร์ดอ่านล่วงหน้า และไม่ใช่สไลด์ใดๆ เลยเวลาประชุม (completely PowerPoint-free meeting) เปลี่ยนจากการนำเสนอข้อมูลต่อบอร์ดมาเป็นการถกเถียงและสนทนาแทน ซึ่งผลออกมาดีมากเพราะบอร์ดให้ความสนใจ ไม่แอบงีบ ไม่แอบอ่านเมล

การคัดเลือกคนเข้าประชุมบอร์ด

  • ทีมผู้บริหารหลัก (core executives) ต้องเข้าประชุมบอร์ดทุกครั้ง เช่น CFO, หัวหน้าเซลส์, ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท, หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ คนกลุ่มนี้ต้องมีความคุ้นเคยกับบอร์ดและต้องนำเสนอข้อมูลต่อบอร์ดเสมอ
  • ผู้บริหารที่เหลือจะหมุนเวียนกันเข้าเสนอข้อมูลต่อบอร์ดปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้คุ้นเคยกับบอร์ด และเป็นการส่งสัญญาณบอกผู้บริหารกลุ่มนี้ว่ามีความสำคัญต่อบริษัทนะ แค่บางครั้งบอร์ดไม่ได้ประชุมในประเด็นที่เขารับผิดชอบดูแลอยู่เท่านั้นเอง
  • อาจอนุญาตให้พนักงานบางคนเข้ามานั่งประชุมบอร์ดในฐานะผู้สังเกตการณ์ (observer = ไม่มีสิทธิพูด) โดยมองว่าเป็นการให้รางวัลหรือให้โอกาสในการพัฒนา อาจเลือกพนักงานเก่งๆ หรือผลงานดี
  • บางครั้ง อาจมีคนนอกเข้ามาร่วมประชุมบอร์ดด้วย (เช่น นักลงทุนที่กำลังจะเข้ามาลงหุ้น) ซึ่งพยายามหลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้ เพราะมากคนมากความ

การกำหนดที่นั่งของการประชุมบอร์ด

กฎง่ายๆ ของ Return Path คือบอร์ดนั่งรวมกันที่ฝั่งหนึ่งของโต๊ะ เพื่อให้คุยกันเองได้ง่ายๆ ส่วนคนที่เหลือจะนั่งอีกฝั่งของโต๊ะ หรือจะนั่งเก้าอี้เสริมด้านหลังก็ได้
การประชุมบอร์ดควรใช้นโยบายห้ามนำอุปกรณ์ไอทีเข้าร่วมเพื่อไม่ให้เสียสมาธิ ให้จดโน้ตลงกระดาษแทนอุปกรณ์ไอที และกำหนดช่วงพักเบรกที่ให้โทรศัพท์หรือเช็คเมลได้

การประชุมช่วง Executive Session และ Closed Session

ช่วงท้ายของการประชุมบอร์ดจะมีช่วงที่เรียกว่า executive session (เฉพาะบอร์ด) และ closed session (เฉพาะบอร์ด ซีอีโอห้ามเข้า) ซึ่งควรให้มีช่วงเวลาเหล่านี้เป็นปกติมาตรฐาน เพื่อไม่ให้คนที่ต้องออกจากห้องรู้สึก "เสียหน้า" (เพราะต้องทำเป็นปกติอยู่แล้ว) และการให้คนออกจากห้องจะทำให้บรรยากาศการประชุม (group dynamics) เปลี่ยนไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสนทนาในประเด็นใหม่ๆ มากขึ้น
ช่วง executive session จะเป็นช่วงที่บอร์ดมีอิสระเต็มที่ในการพูดกับซีอีโอถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งอาจกระทบกับทีมผู้บริหารคนอื่นๆ
ส่วนช่วง closed session เป็นช่วงเวลาที่บอร์ดคนอื่นๆ จะคุยกันถึงประสิทธิภาพในการทำงานของซีอีโออย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องคำนึงถึงการรักษาหน้าของซีอีโอด้วย อย่างไรก็ตาม ควรกำหนดหน้าที่ให้บอร์ดสักคนสรุปประเด็นในช่วงนี้ (ในภาพรวม) มาให้ซีอีโอฟังเพื่อนำไปปรับปรุงตัวด้วย

สายสัมพันธ์กับบอร์ดนอกเวลาประชุม

ซีอีโอควรสร้างความสัมพันธ์และความสนิทสนมกับบอร์ด ในโอกาสอื่นๆ ที่ไม่ใช่การประชุมบอร์ดด้วย โดยแบ่งวิธีการได้เป็น 3 แบบ
  • Ad Hoc การประชุมแบบนานๆ เจอกันที ไม่ได้นัดล่วงหน้า บางครั้งไม่มีอะไรเป็นวาระพิเศษ นัดเจอหน้าคุยเล่นเฉยๆ ปกติแล้วจะมีเจอกันแบบนี้ประมาณ 2-3 ครั้งต่อปีต่อคน ในกรณีที่อยู่เมืองเดียวกันก็อาจแวะไปเยี่ยมที่ออฟฟิศหรือนัดกินข้าว ถ้าอยู่ต่างเมืองก็ใช้วิธีนัดเจอกันถ้าใครไปยังเมืองของอีกฝ่าย เป้าหมายคือเพื่อให้สนิทสนมกันมากขึ้น
  • Pre-meeting ในกรณีที่มีเรื่องใหญ่ต้องนำเข้าที่ประชุมบอร์ด เช่น อาจต้องไล่ผู้ร่วมก่อตั้งออก ไม่ควรไปแจ้งเรื่องนี้ตอนประชุม (การประชุมบอร์ดไม่ควรมีเซอร์ไพร์ส) แต่ควรแจ้งบอร์ดผ่านโทรศัพท์เป็นรายคน หรืออาจนัดคุยเป็นการส่วนตัวก่อนการประชุมบอร์ดใหญ่ การประชุมลักษณะนี้ไม่ควรทำให้เป็นประจำ และใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • Social Outing กิจกรรมโซเชียลเพื่อให้ได้ใกล้ชิดกัน เช่น นัดดินเนอร์รวมก่อนหรือหลังประชุมบอร์ด โดยมีบอร์ดเป็นหลัก และอาจให้ทีมบริหารเข้าร่วมด้วย หรือกิจกรรมอื่น เช่น โบว์ลิ่ง ปีนเขา ฯลฯ

บอร์ดกับการตัดสินใจของบริษัท

หน้าที่ของบอร์ดคือช่วยให้ทีมบริหารตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ได้อย่างรอบคอบ แต่ไม่ใช่มาตัดสินใจแทนให้ หน้าที่ในการตัดสินใจจริงๆ เป็นของทีมบริหาร
กรณีที่ความเห็นในบอร์ดไปคนละทาง Matt มองว่าถ้าตกลงกันไม่ได้ถึงขั้นบอร์ดต้องลงมติโหวต จะถือว่าบริษัทมีปัญหาที่ใหญ่กว่าเรื่องที่ต้องลงมติแล้ว (บอร์ดเสียงแตกเป็นปัญหาใหญ่กว่า) แต่ก็มีเทคนิคช่วยให้บอร์ดตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนี้
  1. แสดงข้อมูลจริงอย่างตรงไปตรงมา เฉพาะข้อมูล ไม่มีข้อคิดเห็นเจือปนเท่าที่จะทำได้ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทาง ต้นทุนและผลประโยชน์
  2. แสดงจุดยืนของตัวเราให้บอร์ดเห็นว่า เรามีความเห็นอย่างไรด้วยเหตุผลอะไร เพราะมีโอกาสน้อยที่บอร์ดจะสวนความเห็นของเราถ้าเรามีความเห็นชัดเจนและมีหลักฐานสนับสนุน
  3. ทำความเข้าใจบอร์ดแต่ละคนว่ามีความเห็นโน้มเอียงไปทางไหน และควรคุยกับบอร์ดแต่ละคนก่อน ถึงแม้เห็นไม่ตรงกันแต่ก็ช่วยให้บอร์ดเข้าใจกรอบวิธีคิดของเรา
  4. ปล่อยให้การสนทนาเป็นไปโดยธรรมชาติ ตั้งคำถามกระตุ้นแล้วฟังเงียบๆ แล้วค่อยๆ ตั้งถามชักจูงบอร์ดไปยังประเด็นที่ต้องการ
แนวทางที่เป็นไปได้ของผลลัพธ์มี 3 แบบ คือ
  1. บอร์ดเห็นด้วยกับซีอีโอ เดินหน้าตามแผน
  2. บอร์ดไม่เห็นด้วยกับซีอีโอ กลับไปทำการบ้านมาใหม่
  3. บอร์ดช่วยขัดเกลาความเห็นของเราซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท

ถ้ามีความขัดแย้งกับบอร์ด

กรณีที่บอร์ดไม่พอใจผลงานของซีอีโอ ในฐานะซีอีโอ เราควรรับฟังความเห็นจากบอร์ด ถามเพื่อขอขยายความ อย่าแก้ตัวแม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม จากนั้นควรนำประเด็นไปพัฒนาร่วมกับโค้ชผู้บริหาร และกลับมารายงานผลต่อบอร์ด (ควรให้บอร์ดได้คุยกับโค้ชโดยตรง)

การไล่ซีอีโอออก

Brad Feld นักลงทุนชื่อดังมาเขียนในส่วนนี้ เล่าประสบการณ์ว่าในฐานะบอร์ดของบริษัท startup หลายแห่ง ถ้าจำเป็นต้องปลดซีอีโอ เขาจะทำอย่างไรบ้าง
อย่างแรกคือการปรับวิธีคิด โดยค่า default เขาจะถือว่าตัวเองต้องสนับสนุนซีอีโอทุกทาง แต่เมื่อใดที่เขาเห็นว่าต้องเข้าโหมดตรงข้าม เขาจะเข้าไปแสดงความเห็นต่อซีอีโอว่าในฐานะบอร์ด เขาไม่พอใจผลงานและไม่อยากสนับสนุนบุคคลนั้นในฐานะซีอีโอแล้ว แต่ก็จะให้ข้อแนะนำบางอย่างที่ซีอีโอปฏิบัติตามได้ครบ เขาจะกลับมาสนับสนุนดังเดิม
ถ้าซีอีโอมีท่าทีอ่อนลงและยินดีให้ความร่วมมือ เขาจะนัดคุยกับซีอีโอคนนี้สัปดาห์ละครั้งจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
แต่ถ้าสถานการณ์แย่ลงก็ได้เวลาปลดซีอีโอออก เขาจะรับฟังความเห็นจากนักลงทุน ผู้ร่วมก่อตั้ง และทีมบริหารก่อน จากนั้นจะคุยกับบอร์ดคนอื่นๆ โดยพยายามมองหาทางออกทางอื่น และเปิดใจให้มากที่สุด (เขาบอกว่าการไล่ซีอีโอออกจะต้องไม่เป็นการตัดสินใจของเขาคนเดียว แต่ต้องเป็นการตัดสินใจร่วมกันของบอร์ด)
ถ้าต้องไล่ออกจริงๆ เขาจะใช้วิธีแบบ Men in Black คือเรียกซีอีโอมากินข้าวที่ร้านอาหาร ไม่แจ้งล่วงหน้าว่าจะไล่ออก พอมาถึงแล้วก็เข้าประเด็นทันทีว่า "บอร์ดตัดสินใจไล่คุณออก ผมยินดีตอบทุกคำถาม แต่การตัดสินใจนี้แน่นอนแล้วไม่มีเปลี่ยนแปลง ก่อนเรากินข้าวเสร็จ ผมอยากคุยเรื่องแผนการโอนถ่ายอำนาจ"

บอร์ดกับการกำหนดค่าตอบแทนของซีอีโอ

หน้าที่ของบอร์ดที่สำคัญคือ จ้าง ไล่ออก และกำหนดค่าตอบแทนให้ซีอีโอ
การกำหนดค่าตอบแทนของซีอีโอควรอิงจากผลงาน ดังนั้นควรมีการวัดผลงานของซีอีโอเป็นประจำ และเปิดเผยคะแนนให้รับทราบกันทั่วไป นอกจากนี้ซีอีโอเองก็ต้องเรียนรู้จาก feedback ที่ได้รับ มิฉะนั้นวัดผลไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
ค่าตอบแทนของซีอีโอแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ เงินเดือน โบนัส และหุ้น
  • กรณีของเงินเดือนตรงไปตรงมา ขึ้นเงินเดือนตามผลงานของซีอีโอและผลงานของบริษัท โดยคิดเทียบจากผลงานปีก่อน
  • กรณีของโบนัส (incentive pay) ต้องกำหนดนโยบายการจ่ายโบนัสต่อคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนก่อน และพยายามกำหนดตัวชี้วัดตามมิติที่สำคัญต่อทั้งบริษัท (ซึ่งแต่ละบริษัทต่างกัน) พยายามให้ตัวชี้วัดสามารถวัดผลได้ด้วยตัวเลขมากที่สุด เมื่อครบปีก็นำเป้าหมายต้นปีมาประเมินเป็น % และส่งให้คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนอนุมัติ
  • หุ้น (equity) บอร์ดต้องกำหนด option pool ของหุ้นของผู้บริหาร ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ของบริษัท จากนั้นซีอีโอค่อยนำหุ้นเหล่านี้มาแจกจ่ายให้พนักงานอีกทอดหนึ่ง
ค่าใช้จ่าย (expense) ของซีอีโอ ควรทำให้โปร่งใส โดยกำหนดให้ CFO เป็นคนอนุมัติค่าใช้จ่ายของซีอีโอ (เพื่อไม่ให้คนเดียวมีอำนาจเต็ม) วิธีการของ Return Path คือตอนปลายปี ซีอีโอและเลขาจะรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของซีอีโอมาแยกหมวดหมู่ คัดสิ่งที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่วนตัวออก (เช่น สั่งพิซซ่ามาเลี้ยงพนักงาน โดยซีอีโอควักเงินก่อน) แล้วส่งเป็นรายงานต่อบอร์ดและผู้สอบบัญชี

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ชื่อเพราะๆ ความหมายดีๆ

WYNN (วิณณ์)   เวลส์ (หล่อ/มีความสุข/ยุติธรรม) อังกฤษ (เพื่อน) 
Vanessa(วนิษศา,วนิศษา) กรีก,อเมริกา (ผีเสื้อ)
Valarie(วราลี,วัลลัลลี) ละติน(แข็.แรง/แข็งแกร่ง)
Tanisha,Tanesha (ธนิชา) อังกฤษ (ผู้ที่สมควรได้รับยกย่อง)
Salina,Sarina (สลินา,สรินา) อังกฤษ (ดวงจันทร์) ละติน (เกลือ) อเมริกา (เจ้าหญิง)
Sharisa (ชาริสา) ฝรั่งเศส (เชอรี่)
Rashida (รชิดา) อเมริกัน(ความชอบธรรม)
Rachad (รฉัตร,ลฉัตร) อราบิค (นักคิด)
Petra (เภตรา,เพตรา) กรีก(ก้อนหิน)
Parish (ภาริต,ภาริช) อังกฤษ(มาจากปารีส)
Pascal (พัสกาญ,ภัทร์กาญจน์)
Nisirine (นิจรินทร์,นิสรินทร์) ดอกไม้ป่า
Mira (มิรา) กรีก(อุดมสมบูรณ์) สันสกฤต(มหาสมุทร)
Latisha (ลาทิชา,รติชา) ละติน (ความสุข)
Kaelyn (เก-ลิน) ไอริช (บริสุทธิ์)
Ira(ไอรา,อิรา) กรีก (นักรบ) ฮิบรู(เฝ้าระวัง) ฮินดี(ผู้ดูแลโลก)
Emmaline (เอมมาริน) ฝรั่งเศส (อุตสาหะ)
Ezra (เอษรา,เอศรา) ฮิบรู (ผู้ช่วยเหลือ)
Dorathy (ดลธี,ดลลธี) ละติน (ของขวัญจากพระเจ้า)
Charissa (ชาลิสา,ชาลิสสา) กรีก(ความงาม)
Crystalyn,Kristalyn (กฤตรินทร์,กฤตลิน) กรีก(น้ำแข็ง) อังกฤษ (คริสตัล)
Candice,Candide (กัลยดิษฐ์,กัณณ์ดิษฐ์) ละติน(กระจ่าง) กรีก (แวววับ)
Alice (อลิส) ฝรั่งเศส (ชนชั้นสูง)
Alinda (อรินดา,อลินดา) อังกฤษ(สวย)
Anika (อนิกา,อณิกา) สันสกฤต(นิ่มนวล)

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

การจากไปของพ่อ.. มรดกหนี้ 40 ล้าน.. เเบงค์ฟ้องยึดที่ 4 แห่ง.. เเละการตัดสินใจของเเม่.. by นักเป่าขลุ่ย 18 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:29 น.

“เราเหลือกันเเค่นี้นะลูก”  คำพูดของเเม่ผมขณะขับรถกลับบ้านหลังงานศพพ่อ (3ปีก่อน)

“ก็จะให้ทำยังไง งานมันยังไม่เสร็จ” พ่อบ่นเเม่ขณะนั้งตรวจเอกสารบนเตียงผู้ป่วยห้อง ICU โรงพยาบาลกรุงเทพ (4ปีก่อน) 

“ยังไงเราก็ต้องปล่อยบ้านให้เขายึดไปนะลูก” เเม่พูดขนาดนั้งอยู่ในออฟฟิต กับเอกสารหนี้ทั้งหมด (2ปีก่อน)

“เอาวะ! ทนอีกซัก 10 ปี รอให้เอ็งโตก่อน ป๊าค่อยวางมือ” พ่อผมพูด ขณะขับรถเขาออฟฟิตก่อนเสียชีวิตประมาณครึ่งปี (4ปีก่อน)


ย้อยไปเมื่อ 3 ปีก่อน.....
ผมเคยมาตั้งกระทู้ครั้งนึงเพราะไม่รู้จะเเก้ไขเรื่องราวต่างๆได้อย่างไร  พ่อผมขยายธุรกิจ กู้เเบงค์กว่า 40 ล้าน ขณะที่ทรัพยากรบุคคลยังไม่พร้อม เศษรฐกิจที่ซบเซ้าลง เเละสุขภาพ 

พ่อผมเป็นคนชอบคิด ชอบทำงาน เราเคยมีเงินเก็บหลายล้านจากการขายของเก่าบ้าง กระดาษบ้าง พลาสติกบ้าง ก่อนเเบงค์จะเข้ามาเสนอการลงทุนเเละสร้างโรงงานผลิตเอง 

สมัยนั้นผมยังเรียนอยู่ เศษรฐกิจค่อยๆชลอตัวลงเรื่อยๆ  งานทางบ้านผมเป็นตัวดูฐานเศษรฐกิจได้เป็นอย่างดีเนื่องจากทำงานด้าน packaging เป็นหลัก

กิจการที่บ้านมาสะดุดตอนที่พ่อผมโดนโกงหลายล้าน เเละเป็นเวลาที่พ่อผมป่วยด้วย ใช้เงินรักษาไปหลายล้าน สุดท้ายท่านก็เสียชีวิตลงเมื่อ 3 ปีก่อนด้วยโรคตับ  

หลังจากพ่อเสีย ผมเพิ่มมารู้ว่าที่บ้านมีหนี้กว่า 40 ล้าน!! 

ตอนนั้นมึนไปหมด เพราะที่บ้านต้องเเบกรับหนี้กว่า 40 ล้านบาท กับการขาดทุนกว่า 400,000 บาทต่อเดือน ผมยังเรียนไม่จบ เเละเเม่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องงานที่ทำดีพอ 

ตอนนั้นเราเเย่กันมาก ผมกะจะ drop เรียนจากมหาลัยมาช่วยงานที่บ้าน เเต่เเม่ไม่ให้ เราทะเลาะกันบ้างตอนนั้น เเต่ผมพยายามจะสงบที่สุด เพราะไม่อยากให้เเม่เสียใจมากไปกว่านี้ เพราะตั้งเเต่พ่อเสีย เเม่ก็ต้องรับปัญหาทุกอย่างเองคนเดียวทั้งหมด..

        ผมขอเกรินไว้เท่านี้นะครับ กับงานที่ทำ คราวนี้ขอกล่าวเกี่ยวกับ เหตุการณ์หลังจากนี้ว่าที่บ้านผมผ่านวิกฤตมาอย่างไร 

เราคุยกัน 1 เรื่อง ว่าเราจะสู้ต่อหรือทิ้งทุกอย่าง เเม่เลือกลุยต่อ ผมก็เลือกทางนี้เช่นเดียวกัน (เเม้จะยังไม่เห็นหนทางออกใดๆเลย) เท่ากับว่าเราเลือกตรงกัน

ตอนนั้นผมขอบวชให้พ่อ หลังจากที่พ่อผมเสีย ผมบวช 1 เดือนเป็นนาค 1 เดือน เท่ากับ 2 เดือน 

เเม่ผมไปติดต่อกับเเบงค์ขอหยุดผ่อนก่อน เพราะยังไม่ไหวพร้อมกับเล่าปัญหาต่างๆให้เเบงค์ฟัง เเต่เเบงค์กับไม่ช่วยอะไรเลย เเถวยังขู่อีกว่าถ้าจ่ายไม่ได้ก็จะต้องยึดที่อีก ยังไงคือก็ต้องจ่าย เเถมเเบงค์หาคนเตรียมซื้อที่โรงงานเราเเล้ว ถ้ารู้ว่าเราผ่อนไม่ไหว  ตอนนั้นผมยังไม่รู้ เพราะบวชอยู่ มารู้ทีหลัง รู้สึกว่าเรื่องนี้เเบงค์เเย่มากเกินไป เพราะที่บ้านผมโดยปัญหาเยอะมาก เจอคนโกง พ่อเสียชีวิต ธุรกิจกำลังเเย่ เเถมเจอคนเเบงค์เเเบบนี้อีก จริงๆเเบงค์น่าจะหาทางช่วยได้ เพราะเเบงค์รู้เรื่องการเงินเราดีอยู่เเล้ว เเถวมีความรู้เรื้องเงินดีกว่าด้วย เเต่สุดท้ายกับจะเอาเเต่กำไรอย่างเดียวเลย 

สิ่งที่เเม่ผมทำคือ ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด งดจ่ายหนี้เเบงค์รายเดือนทุกอย่าง (ยอดรวม 4เเสน) เเถมไม่ออก ทำงานต่อไป ไม่มีเงินจ่าย ไม่ย้ายไปไหน ทำงานต่อไป เก็บเงินอย่างเดียว ในเมื่อคุยไม่รู้เรื่องก็ไม่คุย

จนเเบค์ต้องมาเคลียด้วย เเละนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปรดหนี้ของบ้านผม สิ่งที่เเม่คิดคือ เราไม่มีเงินเเเล้ว เราต้องดึงเงินในมือคือมา cash flow สำคัญมาก เเม่ผมงดจ่ายหนี้ทุกอย่างหมด เเละเตรียมพร้อมบางอย่างไว้ เเม้จะเรื่องที่เสี่ยง เเต่มันจำเป็น เราไม่เหลือเงินในมือกันเลย

ตอนนั้นเเบงค์มาคุย เเละขอเคลียหนี้ เเม่ผมไม่คุยด้วย เเละดึงเรื่องยาวถึงศาล (ประเด็นคือยืดเวลาให้มากที่สุด ไหนๆก็ไหนๆเเล้ว เพื่อดึงเงินเก็บให้มากที่สุด ไว้สำหรับการต่อรอง)  

เราดึงเวลามาครึ่งปี ก็จบลงด้วยที่ศาลตัดสินว่าเราต้องจ่ายเงินเเบงค์คืนประมาณ 40 กว่าล้าน เเม่ผมเลยตัดสินใจปล่อยโรงงานทิ้ง 3 โรง เวนคืนให้เเบงค์ เเละปล่อยบ้านด้วย T T เท่ากับเราเหลือหนี้ประมาณ 20 กว่าล้าน  

** อีกประเด็นนึงที่ผมเกลียดเเบงค์นะคือ
(ตอนซื้อที่โรงงาน บ้านผมก็ซื้อที่จากเเบงค์นี้ เเบงค์ประเมินให้สินทรัพย์โดยรวมกว่า 15 ล้านบาท ขาย 17 ล้าน เเต่ตอนเวนคือเเบงค์กลับให้เเค่ 6 ล้านเป็นยอดปรดหนี้ไป  จริงๆผมเข้าใจเเบงค์นะว่าธุรกิจมันต้องมีกำไร เเต่ในช่วงที่บ้านผมไม่เหลืออะไรเลย เเบงค์กับไม่ช่วยอะไรซักอย่าง เเถมยังเอาเเต่ได้กับได้)

สุดท้ายเราเหลือเเค่ตัวโรงงานเล็กๆ สมัยพ่อผมเก็บของเก่าขาย (จริงๆก็ไม่เหลือครับ เป็นของเเบงค์ไปเเล้ว เเต่เราทำสัญญาผ่อนจ่ายต่อไป)  เเม่โอนเครื่องจักรงานทุกอย่างมาที่นี้หมด พร้อมกับปรับโครงสร้างงานใหม่หมด สิ่งที่เราทำคือ 
-ลดรายจ่ายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สุดท้ายลดจากรายจ่าย 4 เเสนต่อเดือน เหลือ 160,000 บาท
-ปรับโครงสร้างงานใหม่ทั้งหมด ส่งของให้เร็วขึ้น เพราะไม่มีพื้นที่ เหลือเเต่โรงงานเล็กๆ 
-ทิ้งลูกค้าที่ไม่มีกำไร หรือกำไรน้อยออกไปกว่า 40 รายเพราะกำลังผลิตมีน้อยลง
-ประคองลูกค้าเก่าที่สำคัญๆไว้

เท่ากับว่าเรากลับมาเริ่มต้นใหม่จากเงินที่ติดลบกว่า 20 ล้าน

ตอนนี้ผ่านไป 3 ปีเเล้วตั้งเเต่พ่อผมเสีย เราสามารถประคองธุรกิจได้อยู่ ขณะที่หนี้ลดลงมาเหลือ 10 กว่าล้าน 

สิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือ เราโชคดีที่ตัดสินใจถูก เเละเราช่วยกันประคองกันตลอดเวลา ถึงเเม้ตอนนี้ยังคงมีหนี้อยู่กับ 10 ล้านเเละยังมีปัญหาอีกมากมาย เเต่ก็ถือว่าดีกว่าเเต่ก่อนมากเเล้ว

ช่วงหลังๆผมเห็นคนในพันทิปหลายรายที่ เครียดกับการขาดทุนในสภาวะเศษรฐกิจตอนนี้ และไม่รู้จะเเก้อย่างไร ผมเลยเขียนเรื่องราวของบ้านผมดู ไม่รู้จะมีประโยชน์หรือเปล่านะครับ 

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ
- สำหรับธุรกิจเเล้ว cash flow สำคัญมาก อย่างให้เงินขาดมือเด็ดขาด
- ถ้ารู้ว่าเดินเกมผิด ให้เปลี่ยนเเผนทันที เสียเบี้ยบางตัว ดีกว่าเสียหมากทั้งกระดาน 
- อย่าให้ credit ใครเกิน 3% จากยอดทุนจดทะเบียน  ผมเคยลองคำนวนดู พวกที่ดึง credit เกิน 5% สุดท้ายเป็นหนี้เสียกว่า 80% ครับ  (อย่ากลัวที่จะขอ statement มาดูลูกค้าก่อนจะให้ credit)
- การลดรายจ่าย (fixed cost) สำคัญกว่าการหารายได้ 
- พยายามลองเปิดตลาดใหม่ เราเป็นลูกค้าใคร ใช้สินค้าของใคร จำไว้ว่าเค้าก็เป็นลูกค้าเราได้เหมือนกัน 
- บุคคลากร คนมีฝีมือ กอดไว้ให้เเน่นๆ อย่าให้หนีไปไหน
- อย่าตัดราคาสินค้าตัวเองจนไม่มีกำไร ให้เสนอเงื่อนไขที่ลูกค้าจะได้ประโยชน์เพิ่ม ในขณะที่กำไรเราเท่าเดิม (ลองดูครับ ถ้าจับจุดได้ คุณจะเปิดตลาดใหม่ได้อีกเยอะเลย)
- ไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายใหญ่ ให้ตั้งเป้าหมายง่ายๆ ในเเต่ละวัน เเละทำมันให้สำเร็จ อย่ากลัวการเริ่มต้นใหม่ (ถ้าวันนี้คุณยังมีหนี้อยู่ เเสดงว่าคุณได้ผ่านประสบการณ์ความล้มเหลวมาอย่างโชคโชนเเล้ว)
- ข้อสุดท้ายที่จะชี้เเนะได้ คือ เที่ยวครับ ออกไปเที่ยวเลย ที่ไหนก็ได้ที่อยากไป การเที่ยวครั้งนึงเสียเงินไม่เยอะมากหรอก คุณขาดทุนมาเยอะเเล้ว ขาดทุนอีกนิดเพื่อตัวเองจะเป็นไรไป การออกไปเที่ยวมันจะทำให้เราได้ปลดปล่อยอะไรหลายๆอย่างออกไป ทางออกของปัญหามันจะมาตอนที่ใจเราผ่อนคลาย

แผ่นกระดาษพิมพ์ 3 มิติ เปล่งแสงได้ ใช้แทนหลอดไฟ

ไอดาโฮ: ทีมวิจัยของบริษัทโรฮินี (Rohini) ในสหรัฐ พัฒนาแผ่นกระดาษเคลือบหลอดไฟ LED ขนาดเล็กที่เปล่งแสงได้เมื่อกระแสไฟไหลผ่านไดโอด เรียกว่า “Lightpaper” ซึ่งผลิตจากระบบการพิมพ์ 3 มิติ สามารถนำไปใช้เป็นผนังห้องและดัดแปลงเป็นวัตถุรูปทรงใดก็ได้

นักวิจัยนำเอาเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่กำลังได้รับความสนใจมาประยุกต์ใช้พัฒนาหลอดไฟ LED รูปแบบใหม่ที่บางที่สุดในโลก สามารถพิมพ์ออกมาได้และมีความยืดหยุ่น

ไม่จำเป็นต้องติดหลอดไฟเข้ากับแผงวงจรไฟฟ้าอีกต่อไป เพียงแค่พิมพ์หลอดไฟออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ใช้งานแทนวอลเปเปอร์ โลโก้รถ หรือแม้แต่สเก๊ตบอร์ดโดยติดแผ่นกระดาษนี้เข้าไปสามารถแปล่งแสงไฟออกมาได้เช่นเดียวกัน
LED

7 วิธีการ trade หุ้นในตลาดหุ้นให้ได้กำไร และ โอกาสขาดทุนเป็น 0

8/10/2556 เวลา ตีหนึ่งกว่าๆ ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านนะคะ พอดีว่า ไปทำธุรกิจที่ ตจว. มาค่ะ เป็นเรื่องคอขาดบาดตายของญาติผู้ใหญ่ คลื่นก็ไม่ดี wifi ไม่มี มีแต่ E ค่ะ เล่นลำบากมากกก แต่สัญญาค่ะ ว่าจะไล่ตอบคำถามทุกคำถามเลยจ้าาาา ขอเวลาอ่านก่อนนะคะ รวมถึง inbox ด้วยนะคะ มีข้อความเยอะมากๆค่ะ  ......เดี๋ยวไม่ต้องกังวลนะคะ จะตอบกลับทุกฉบับเลยค่ะ สัญญาจ้าาา 

พยายามคิดย้อนกลับไปช่วงต่างๆนะคะ รายละเอียดตกหล่นอย่าว่ากันนะคะ 

หลายวันมานี้ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่ดิฉันตัดสินใจที่จะ โพสข้อความลง pantip อีกครั้ง .... คงเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ ท่านอยู่ไม่มากก็น้อยนะคะ  มีหลายท่าน inbox มาถามไถ่เยอะแยะเลยค่ะ มาปรึกษาก็เยอะ มาขอตามมาอยู่ด้วยก็มาก หลายคนคงคิดว่า เออ.... แม่นเนาะ เก่งเนาะ หรือ บังเอิญมากกว่า ....แต่ถึงแม้ท่านจะคิดเห็นอย่างไรไม่สำคัญไปกว่า สิ่งที่ดิฉันจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ค่ะ ....ไม่เลย ดิฉันไม่ได้เก่ง ดิฉันไม่ได้แม่นอะไรเลยค่ะ .... แต่สิ่งที่ดิฉันมีคือ เป็นคนยอมรับความจริง เป็นคนไม่ฝืน ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่อายที่จะพลาดแล้วกลับลำ ไม่คิดว่ามันคือการสียหน้า เพราะแค่คิดว่า พลาดแล้วคือเสียหน้า ....คุณได้เสียหายแบบกู่ไม่กลับ อันนั้น แย่กว่า ....เพราะดิฉันคิดเสมอว่า มนุษย์นั้นไม่ใช่โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาให้พลาดไม่เป็น แต่ความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์นี่หล่ะค่ะ คือ สิ่งมหัศจรรย์ เพราะมนุษย์ไม่ได้ถูกตั้งมาว่าต้องหันได้เพียงด้านเดียว แต่ ใน 1 นาที คุณสามารถหันซ้ายชำเลืองขวาได้ค่ะ ....

ในชีวิตการเป็นมาร์เก็ตติ้งของดิฉัน ตลอดจนมาถึงตำแหน่งที่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมาได้นั้น ดิฉันได้เรียนรู้อะไรมากมาย ผิดพลาดพลั้งเผลอ ล้มเจ็บมาเยอะค่ะ  แต่ท้ายที่สุด วันที่เราอดทนมันก็ออกผลให้เราได้ลิ้มรส ก็ต้องเรียกว่าครบรสหล่ะค่ะ  เอาเป็นว่า ตอนนี้ มีความสุขกับตรงนี้ก็พอเนาะ เดี๋ยวจะยาวไปมากกว่านี้ ทุกท่านจะเบื่อซะก่อน วันนี้ ดิฉันจะมาบอกเล่าเรื่องราว สนุกสนาน ขำ ๆ สบาย ๆ นะคะ ไม่เครียดค่ะ มาดูกันว่า 12 ปี กับการทำงานนั้นดิฉันเจอลุกค้าประเภทไหนบ้าง มีทั้ง success และ fail นะคะ มาดูกันว่า เป็นแบบไหนบ้าง  ช่วงแรกจะซีเรียสนิดนึงค่ะ ขอให้อดทนอ่านไปก่อน แล้วหลัง ๆ จะสนุก

Fail : ล้มเหลว ขาดทุน ด่าว่าตลาด โทษทุกสิ่งอย่างรอบตัว บางคนถึงขั้นลาขาดจากวงการเลยค่ะ

1. ไม่ขายไม่ขาดทุน เพราะเงินเย็น :  นานมาแล้ว ที่มีลุกค้าแบบนี้ ทุกวันนี้ บางคนเจ๊งจนเลิก บางคนเปลี่ยนพฤติกรรมได้  ..... ดิฉันมีลุกค้า 2 คน จริง ๆ แล้วมีมากกว่า 2 แต่ขอเล่าแค่นี้ แล้วคิดตามก็พอค่ะ ...ติด BANPU 800 บาท ช่วงน้ำท่วมดิฉันบอกลุกน้องว่า โทรหาลุกค้า แล้วบอกว่า 780 ให้ขายออกก่อน แล้วไปรอรับใหม่แถว 600 บาท อ่ะ ....โทรไปละปรากฏว่า เขาบอกว่า *** ไม่เป็นไรครับ เงินเย็นผมถือได้ ผมเชื่อมั่นในพื้นฐาน ..... พอลงมา 750 บอกให้ขายอีก ก็พูดคำเดิม ถือลงทุนครับ  680  บาท คราวนี้ ดิฉันโทรเองเลยค่ะหลังจากฟังเหตุผลจากเราแล้ว  เขาก็บอกว่า ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ค่าคอมหรอก คุณขอมาละกันจะให้เทรดเดือนเท่าไร ( ณ จุดนั้น อึ้งสิคะ ...ยอมรับอย่างเต็มศักดิ์ศรีค่ะ ว่า ค่าคอมน่ะก็อยากได้นะคะ แต่ อยากให้ลุกค้ารอดมากกว่า วันนั้น ด้วยความโมโห เลยวางสายหลังจากคุยกันไม่รู้เรื่อง ...เหนื่อย !!! ) ..... ส่วนอีกคน ติดที่ 804 บาท มั้งคะ จำไม่แม่น แต่ คนนี้ยอมทิ้งที่ 720 บาท  ต้องเรียกว่า พี่คนนี้เขา cut ทั้งน้ำตาค่ะ เพราะเข้าเนื้อเยอะ ถือตั้ง 5000 หุ้น เมื่อเทียบกับเงินลงทุนของเขา แกหงุดหงิดอยู่พักใหญ่ หยุดเล่นเลย ไม่คุยกันนานมากกก แกบอกขอรักษาแผลใจ เพิ่งมาคุยกัน 2-3  เดือนก่อน ประกอบกับ แกมารับคืนBanpu 226 บาท ได้หุ้นมา 15,500  หุ้น เทียบกันทางบัญชี ไม่สนมูลค่าจริงตามตลาดนะคะ เท่ากับว่า คนนี้ เขาไม่ขาดทุน แต่กำไรมา 10,500 หุ้น แถม ขาย 310 บาทออก เขากลายเป็นกำไรเลยค่ะ   ….. ย้อนกลับมาที่ คนแรกกันก่อน เขาบอกเงินเย็น แต่พอลงมาไม่หยุดเลย เริ่มร้อนสิคะ ยิ่งร้อนใหญ่เลยเมื่อเห็น 300 บาท จนทุกวันนี้ แกถึงกับเอ่ยปากเลยว่า จะไม่ถือหุ้นมาราธอนอีกแล้ว ยิ่งซึมเศร้าไปใหญ่เมื่อเพือน ๆ เขากำไรหมดทุกคน ช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่แก ไม่ทำไรเลย  เห็นไหมคะ แบบนี้เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่ายค่ะ


2. ตอนหุ้นแดง ๆ เน่า ๆ นิ่ง ๆ  ชวนแล้วก็ไม่ซื้อ พอเห็นเขียว ๆ คันไม้คันมือ  : บ่อยครั้งค่ะ ที่ พอหุ้นตกหนัก ๆ มาก ๆ คนมักกลัวกัน ซึ่งก็ไม่แปลก ไม่ผิดปกติ ค่ะ และ มักจะชอบตลาดเขียว ๆ ก็เพราะ แบบนี้ไงคะ คนแบบนี้ไม่แปลกเพราะเป็นคนส่วนใหญ่ของตลาดหุ้น ที่ไม่กล้ามองต่าง มองตรงกัน ....แบบนี้เข้าป่าไปเก็บเห็ด สายตาต่างจ้องมองไปทางเดียวกัน ไปเจอเห็นดอกเดียวกันแย่งกันจะเห็ดเละหล่ะค่ะ แต่อีกคน เขาคิดต่าง ฉีกเส้นทาง กล้าในจุดที่คนอื่นกลัวกัน มักจะเจอเห็ดกลุ่มใหญ่ นั่งเก็บจนล้นมือไปหมด เพราะไม่มีคนแย่ง กว่าคนจะมาเห็นเราหิ้วไปขายที่ตลาดได้เงินมาละ หรือ เอาไปทำกินก็อิ่มกันมาละ อ่ะ ....เข้าเรื่อง ค่ะ พอหุ้นที่ลงจนแช่ จน vol. แห้ง เหือด ก็ไม่ซื้อ เพราะผวา ตอนที่มันพากระโดดหน้าผา บางคนยังดามเฝือก ก็กลัว และท้ายที่สุดก็พลาดโอกาสดี ๆ ไป แล้ว มาพลาดที่สุดคือ มาซื้อตอนคนอื่นจะเป็นจังหวะขายสิคะ นั่นแหล่ะ ..... รับของค่ะ ก็เฝ้าดอยสูงไป  ระยะ นี้ ก็ปล่อยข่าวหล่ะคะ ออกข่าวดี ให้เชื่อ รายย่อยจึงเป็นกลุ่มที่น่าเห็นใจ

3.  ยึดมั่นถือมั่น : แต่หุ้นดันไม่มั่น กับเราค่ะ .... คือ เคสแบบนี้จะเจอคือ เขาบอกมา เพื่อนบอกมา เป้าเท่านี้ เสี่ยนี่จะลาก เป้าปลายปี แต่ เฮ้ย .... นี่เพิ่งต้นปีเองนะ อะไร ๆ ก็เปลี่ยนได้ แหม ....ไม่ได้บอกว่าห้ามมองระยะยาว การมองระยะยาวนั้น มันต้องมองผ่านงบค่ะ แล้วต่อจิ๊กซอว์เป็น ไม่ใช่ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ลอกการบ้านถ้าถูกก็รวย พอเขาพลาดก็เจ็บ พวกนี้หาปลากินเองไม่เป็นแต่อยากรวย !!! หรือ ประเภทเชื่อคนอื่นไม่เชื่อตัวเอง มากไปก็ไม่ดี หรือ เชื่อตัวเองมากไปก็แย่ ดังนั้น .....ตรงกลางเถอะค่ะ รับสารเขามาพิจารณาแล้วตัดสินใจทำไปเลย


ตั้งแต่ทำงานมา เฝ้ามองตลาดหุ้น เห็นลูกค้ามาทุกรูปแบบ ตั้งแต่เป็นเจ้ามือเอง ยันเป็นแมงเม่าให้เขาเอาไฟลนปีก เอาเป็นว่า จะยกตัวอย่างเป็นกรณีๆไปนะคะ เป็นวิธีที่คุณเองก็ทำได้ ตามมาเล้ยยย 

Successful :ประสบความสำเร็จ 

กระดานที่ 1 : เจ้าพ่อช่างเก็บ 
มีลูกค้ารายนึงค่ะ เป็นเจ้าธุรกิจ แกถือทนมากๆ ถือแล้วไม่ขาย ถือลงทุนจริงๆ คือเสียรอบออกจะบ่อยด้วยซ้ำ ดิฉันขี้เกียจคิดว่าถ้าแกทำรอบไปเนี่ย จะสามารถทำกำไรได้ขนาดนี้มะ ??? เพราะบางทีขายแล้วขายหมู แกบอกเองว่าแก ไม่มีเวลาดูดังนั้นจึงซื้อแล้วยาว ครั้งแรกที่แกเปิดพอร์ตคือช่วงปี 2549 มั้ง ราวๆนั้น จากนั้นแกซื้อหุ้นไป 3 ตัว มี banpu  ktb shin ตอนนี้เป็น intuch แกติด  banpu 167 ktb 12 บาท shin ราว ๆ 29 บาทมั้ง เหตุการณ์ อุ๋ย100 จุด ในปี 49 นั้น แกไม่ได้ซื้ออะไรเลยค่ะ เพราะอะไรก็ลืมละ แต่แกมาได้ถัว ktb 3.50 ตอน subprime จากนั้นก็เก็บมาเรื่ิอยนะคะ รวบรัดมาที่ แก happy มาก เพราะขาย banpu ราคาแถว 780 บาทค่ะ ขาย ktb 22 บาท ขาย shin หรือ intuch ที่ 75  บาท สรุป แกกำไรไป เกือบ 70 ล้านค่ะ ไม่คิดรวมปันผลนะคะ เอาแค่กำไรที่เห็นกับตาก็พอ --- ย้ำอีกทีนะคะ แกไม่มีเวลามานั่งเฝ้า แกหวงหุ้น แกดูกราฟไม่เป็น แกไม่อ่านบทวิเคราะห์ แต่แกมองจากความเป็นจริงใกล้ตัว แกบอกดิฉันอยู่ประโยคนึงว่า ขอบคุณนะที่ไม่เซ้าซี้ผม คือตอนนั้นบอกตรงๆว่า ดูแลลูกค้าก็หลายรายค่ะ เลย ไม่ได้โทรหาแกเลย จะนัดทานข้าวแค่ ปีละ 2 ครั้งเอง ก็รู้สึกผิดนะ ที่ส่งแค่ข่าว แต่ใส่ใจลูกค้าน้อยไป แต่พอมาคิดอีกที ถ้าไปกวนใจลูกค้ามากๆเข้า ไปคะยั้นคะยอเขาขายเขาอาจจะไม่ได้ 70 ล้านก็ได้ คิดบวก ++++ ... 

กระดานที่ 2 : รักเดียวใจเดียว + สายป่านยาว คนนี้เคยเล่าคร่าวๆละ กะบทความฉบับก่อนๆ คือ แกเล่นหุ้นเป็นอยู่ตัวเดียวทั้งพอร์ตมีตัวเดียว เคยเสนอแผนงานให้แกนะคะ ว่าลองผสมสัก 3 ตัวไหม ไว้ถ่วงดุลกัน จะได้ไม่เจ็บทีเดียว แต่แกยืนกรานว่า no ... เหตุมาจากการติดหุ้น คือ แกเล่าว่าสมัยก่อนฝากเพื่ิอนเล่น แล้วติดหุ้น เพื่อนก๋ไม่บอก หลังๆ มาแกเปิดพอร์ตเอง เลยโอนหุ้นออกมา ---- คนนี้แกพอมีเวลา ก็นั่งเฝ้า หุ้นตกๆแกก็ถัว ๆๆๆ แกถัวขนาดไหนนั้นหลายคนคงคิดไม่ออก เอาหล่ะเพื่อให้เห็นภาพ เช่นแกซื้อ bay ไม้แรกติด ถ้าลงมา 3 % ถัวอีก ว่าง่ายๆถัวตลอดเส้นทาง 5555 จากเริ่มติดแค่ 1 แสนหุ้น ลงถึงจุดดัชนีดีดกลับนี่ ถ้ารอบเล็กๆก็มี 500,000 หุ้นอ่ะ ถ้ารอบกลางๆ มี ราวๆ 1,500,000 หุ้น ถ้ารอบใหญ่ระดับ 200 จุดขึ้นนี่ราวๆ 3 ล้านหุ้น และเวลาดีดกลับทำกำไรนี่ ต่ำ ๆเลย 15% ค่ะ ทุกรอบ ย้ำนะคะทุกรอบ และหุ้นที่เล่นนั่น พื้นฐานระดับ AAA  แบบนี้ดิฉันจะเรียกแกว่า ...เฮียถัว ... ...^_^ คือถัวจนรวย ถัวแบบไม่กลัวเจ้งอ่ะ งานอดิเรกคือ บาคาล่า ที่ ปรอยเปรต !!! 

กระดานที่ 3 : เล่นแต่ของคุ้นเคย ค่ะตรงตัวเลย ไม่เล่นแตกแถว มีลูกค้าท่านนึง เล่นเป็นแต่ kbank advanc และ true ( ค่ะ คุณอ่านไม่ผิด เขาชอบเล่น true มาก และขอบอกไม่เคยพลาดเลย ) หลักการของแกง่ายมาก ไม่ไล่ ไม่คัน ไม่ง้อ ลงก็ซื้อ ไม่ลงก็ไม่เล่น และจังหวะเข้าซื้อคือ เมื่อหุ้นลดราคา 10% ต่อ cycle จะเข้าซื้อ รายนี้เงินแกมีจำกัดค่ะ เลยไม่ถัวกระจาย ก็จะเข้าจนเต็ม max แหละ จากนั้นถ้ามันลงอีกแกก็ถือรอไป รอจนได้ขายค่ะ ดวงดีจริงๆ คนนี้เป็นพนักงานการไฟฟ้า เริ่มจากเงินเก็บ 500,000 ผ่านไป 6 ปี เงินกำไรที่ไม่เคยถอนออกเลยงอกมาเป็น 3.7 ล้านละ 

กระดานที่ 4 : สะสมแบบเก็บเล็กผสมน้อย --- คนนี้มาเปิดพอร์ตตอนเรียนปี 4 สุดท้ายพอดี ก็มาเริ่มแคะกระปุกนะคะ มีเงินมา 80,000 บาท ก็มาแบบเงอะๆงะๆหล่ะค่ะ มี วอเรนต์ บัฟเฟต เป็น idol ก็ซื้อๆ ไป เกือบ 6 ตัว ปรากฎว่าติดทุกตัว เละทุกตัว ก็กลุ้มหนัก ไหนจะเงินค่าเรียน น้องคนนี้ก็รับงานเป็นติวเตอร์ และ งานอะไรหลายอย่างไม่รู้ค่ะ รู้แต่ว่าเขาจะมีเงินมาเก็บหุ้นทุกเดือน ๆละ 5000 -10000 บาท 1 ใน6 ตัวนั้น มีตัวนึงที่ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปค่ะ นั้นก็คือ cp-7 หรือ cpall นั่นเอง เขาเริ่มเข้าใจในการลงทุนมากขึ้น วันนั้นช่วงหวัดนก และตากใบ  ดิฉันเป็นมาร์เด็กเหมือนกัน เขาก็ขอคำปรึกษา เรื่องเก็บตัวไหน cut ตัวไหน ดิฉันบอกเขาว่าถ้าเก็บได้จะเก็บ vibha นอกนั้น ขายทิ้ง แต่ลูกค้าคนนี้ฉลาดและ เก่งกว่าดืฉันในตอนนั้น คือ เขาตัดสินใจถูกค่ะ ที่เก็บ cpall และ มีติด vibha มาด้วย ตอนนั้น รู้สึกพอร์ตเขาจะมูลค่าเหลือ ราวๆ 70,000 ค่ะ เป็น cpall ราว ๆ เท่าไรก็ลืม แต่เอาเป็นว่ามี cpall เยอะกว่า สมัยนั้น 7 บาท เขาเรียนจบก็เข้าทำงานก็เจียดเงินเดือนมาเก็บหุ้นทุกเดือน คราวนี้เก็บแต่ cpall โดด ๆเลย คือ จนทุนเฉลี่ยเป็น 9.50 มี 90,000 หุ้นค่ะ มาขายเอาตอน 30 บาท จากนั้น ดิฉันย้ายที่ทำงาน เขาตามมาเปิดพอร์ท และเทรดสไตส์เดิมๆคือ เก็บสะสม จนทุกวันนี้ ผ่านมา 10 ปี นับจากเปิดพอร์ทครั้งแรก เขามีเงิน 14 ล้านบาทแล้วค่ะ --- ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน ที่สำคัญบ้านลูกค้าคนนี้ก็พ่อแม่เป็นครูค่ะ พื้นฐานไม่ใช่ลูกเจ้าสัวนะคะ ยังสำเร็จเลย 

กระดานที่ 5 : ขาแช่งตลาด --- รายนี้ ไม่สนเดย์เทรด ไม่แคร์หุ้นพื้นฐานดี ไม่ศัทธาในปันผล ไม่มองอดีตไม่มองอนาคต มองแค่ว่า ปัจจุบันนี้ เมื่อไหร่ วันดีคืนดี หุ้นพรวดพราดลงแบบ panic หรือ เกิดวิกฤต นี่ แกซื้อทันตัวไหนแกซัดไม่เลี้ยง เน้นตัวเล็กๆที่ลงแรงๆและมี vol. คือ มีเท่าไรอัดเต็ม แล้วถือรอ อ่ะ จะว่าขำหรือ จะว่าเทคนิคแก ก็ไม่รู้ได้นะคะ ปี subprime นั้น แก ให้ซื้อ cig ราคา .22 ตังค์ คือมันทิ้งเร็วมากค่ะ ต้อง bid ถึงจะได้ของ กว่าจะครบ 10 ล้านหุ้นที่แกจะเอา ทุนก็โน่น 0.40 ค่ะ แล้วเอามาปล่อยขาย 2 บาท
Iec live bliss ด้วยแต่จำแม่นแค่ cig ค่ะ ช่วงนั้น เสี่ยมีเบอร์เขาดังค่ะ ก็สรุปคือ รอบนั้น แกกำไร 20 ล้านมั้ง ว่าง่ายๆ รอบที่พวกเราเล่นๆกันเนี่ยแก เล่นไม่เป็นนะคะ และไม่ยินดีที่จะศึกษาเลย เพราะกลัวติดแล้วจะเสีย !!! 

กระดานที่ 6:  รักษาต้นแต่ถอนกำไร คนนั้น แกไม่เน้นพอร์ตโตค่ะ แต่แกเน้นได้เรื่อยๆ ได้ทุกรอบทุกวันยิ่งดี คนนี้เล่น มาร์จิน แกวางเงิน 4 ล้านเทรดได้ 8 ล้าน แกบริหารแบบนี้ค่ะ เมื่อ equity เพิ่มขึ้น มากกว่าทุน แกจะขาย แล้วถอนเงินออก เช่น equity เริ่ม วาง 4 ล้าน ผ่านไปเพิ่มเป็น 4.5 ล้าน ช่อง debt เป็น 0 แกจะถอน เจ้า 500,000 นั่นแหล่ะ แกจะรักษาพอร์ตให้เงินต้นคงอยู่ ไม่หายพอร์ตไม่เคยโต แต่ไปเพิ่มทรัพย์สินข้างนอกโดยการ เอาเงินก้อนที่ได้แต่ละรอบไปจัดสรร ทำนั่นนี่ แบ่งซื้อทองซื้อที่เก็บ จนที่ดินบางแปลงขายได้กำไร2-3 เท่าก็มี เงินที่เจียดไปซื้อทาวเฮาส์ คอนโดปล่อยเช่าก็งอกเงยตามๆกันไป นึกภาพออกไหมคะ ว่าเขา success อย่างไร เจ๋งเนอะ !!! 


กระดานที่ 7 : เจ้าแม่แห่งงบการเงิน --- ลูกค้าท่านนี้ เป็นนักบช. เก่าค่ะ เก่ง เก่งมากๆ รายนี้ แทงงบ ล้วงงบ ยำงบอย่างเดียว อย่างอื่นไม่สน จะเทียบงบ และเลือกหุ้นเก็บราวๆ 7 ตัวค่ะ แรกๆก็งง ว่า ดูทันได้ไง แต่พอมาดูหุ้นแต่ละตัวแล้ว เวลามันขึ้นจะดาหน้าขึ้นพร้อมกันค่ะ แต่ไม่ยักกะลง เลือกเก่งมากๆค่ะ 


*** ข้อสังเกตุอยู่อย่างหนึ่งนะคะ ลูกค้าที่กำไรเสมอๆเนี่ย จะไม่เป็นกราฟเลยค่ะ ไม่สนใจใคร่รู้อะไรเลย บทวิเคราะห์ก็ไม่อ่าน แต่สิ่งที่เขาอ่านกันและทำเหมือนกันคือ อ่านข่าว ตามข่าวและหาข้อมูลจากนั้นประเมินสถานการ์เอง เคยถามค่ะว่า ทำไมไม่อ่านบทวิเคราะห์ที่ส่งให้คะ เขาตอบว่า " อ่านไปมากๆ แล้วเขว สู้อ่านเนื้อข่าวแล้วมาประเมินตาม ที่เรามองเราคิดจะดีกว่าเพราะไม่มีอคติในเนื้อข่าว แต่ ในบทวิเคราะห์นั้น คนวิเคราะห์เขาใส่ความเป็นเขาลงไปค่ะ ดังนั้น เขาประเมินกะเราประเมินเอง ผลลัพธุ์จริงออกมาต่างกันเพราะ ไม่มีใครจะรู้การเงินของเราได้ดีเท่าตัวเรา นวค. เขาไม่รู้หรอกว่าใครมีหน้าตักเท่าไร เขาก็พูดไปตามแนวโน้มตามหน้าที่ เท่านั้นเอง ***


**** และ พวกเขาเหล่านั้น ไม่ได้คิดหลายชั้นอะไรขนาดนั้นค่ะ แค่ ซื้อ และซื้อ ตามสไตล์ที่ตัวเองถนัด แค่นั้นเองค่ะ ****


    ชอบแบบไหนกันบ้างคะ ถ้าชอบก็เอาไปปรับใข้กะตัวเองได้ค่ะ ขอบคุณ pantip ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ให้ได้ ฝอย นะคะ ( อันนี้แซวค่ะ ) บทความนี้ ดิฉันไม่ได้นำข้อมูลลูกค้ามาเปิดเผยในที่สาธารณะนะคะ แต่เป็นแนวทางการ trade ที่ดิฉันสังเกตุเห็นค่ะ ดังนั้น ถ้าลูกค้าเจ้าของสไตล์การเล่นทราบเข้า ดิฉันเชื่อว่า พวกเขาเหล่านั้น จะยินดีมากๆ ถ้าจะได้เป็นแนวทางที่ หน่วยกล้าตายได้ลองจริงๆมาแล้วและทำได้จริง อย่างน้อยบุญกุศลครั้งนิก็ขอให้ ส่งถึงคนที่ยังมืด 8 ด้านหาทางออกไม่เจอ ได้ผ่านมาอ่านกระทู้นี้ด้วยเถิด และเกิดแสงสว่างในใจด้วย สาธุ .... สำหรับคืนนี้ ราตรีสวัสดิ์นะคะ

ปล. ปวดหลังมัก ๆๆๆ ไปนอนก่อนค่ะ 


9 โมงเช้า 4/10/2556  ...........รวมกระทู้บทความหุ้น ที่เขียนมาแล้วค่ะ ย้อนหลังอ่านได้ตามนี้ทั้งหมดเลยค่ะ เรียงลำดับ ตั้งแต่ วันแรกจนถึงวันนี้ค่ะ link ล่างสุด 

http://pantip.com/topic/30962598   -----ตอนนี้เชื่อว่านักลงทุนมีลังเลค่ะ หลายความรู้สึก แต่อยากให้ทุกท่านลองสังเกตุสิ่งต่อไปนี้ดูก่อนจะจัดการกับพอร์ทของตัวเอง

http://pantip.com/topic/31000616  ------ **** ดิฉันว่า SET peak ราคาหุ้น peak VOL. peak ข่าวออก จบรอบค่ะ ****

http://pantip.com/topic/31009633  ------ " เพลงยังไม่มา อย่าเพิ่งไปเต้นเหนื่อยเปล่า พอเพลงสนุกๆมา หมดแรงเหนื่อยเต้นไม่ไหว "

http://pantip.com/topic/31017609  ------ *** กระทู้ก่อน เคยบอกไปแล้วว่า ทุกอย่าง Peak คือ จบรอบ !!! ต่อจากนี้ จะ ซึมลง !!! ค่ะ ***

http://pantip.com/topic/31019508  ------ *** เมื่อ ดิฉันเห็นว่ามันมาถึงจุดซื้อ !!! ต้องซื้อค่ะ !!! ***

http://pantip.com/topic/31022415  ----- สรุปว่า ดิฉันคิดถูก นะคะ เด้งงงงงงค่ะ .....ขายทำกำไร ก่อนค่อยว่ากัน ว่าเป็นรอบ ๆ ไป ค่ะ 

http://pantip.com/topic/31023939 ----***** รอซื้ออีก รอบที่ 1385 จุด ค่ะ แล้วก็จะ เด้ง ให้ขาย *****

http://pantip.com/topic/31032085 **** สัญญาณ ความโหดร้ายกำลังมา ป่าช้าใกล้แตก นรกกำลังจะระเบิด จริงหรือมาดูกันค่ะ ****

http://pantip.com/topic/31046753  *** 1385 ซื้อกันบ้างก็ดีนะคะ เลือกตัวเด้งไว ๆ ค่ะ ***

http://pantip.com/topic/31050962 **** ใครซื้อเมื่อวานนี้ ก็รับทรัพย์ ไปแล้วนะคะ *****

http://pantip.com/topic/31052319 ***** รอบนี้ 1450 จุด จะหยุดได้ไหม * แบบนี้จะเรียกว่า ย่อขึ้นได้หรือไม่ *ฝึกมองข้าม shot *****กลัวๆกล้าๆใช่ไหมหล่ะ

http://pantip.com/topic/31055586 **** SET เลือกที่จะ ....Slide into 1500 .....****

http://pantip.com/topic/31060137 **** ดิฉันเชื่อว่า หลายคนตกรถ หลายคนนั่งนับคลื่นจนเมา หลายคนลังเล หลายคนได้เงิน หลายคนรอคอย 1200 จุด *****

และกระทู้ล่าสุดคือ อันนี้ค่ะ http://pantip.com/topic/31063547  ====== 7 วิธีการ trade หุ้นในตลาดหุ้นให้ได้กำไร และ โอกาสขาดทุนเป็น 0 ======