(ถ้าเครื่องใครโหลด Sub Thai ไม่ขึ้น กดเข้าไปดูได้ที่ TED ครับ)
นิค ฮานาวเออร์ (Nick Hanauer) เป็นนักลงทุนอภิมหาเศรษฐีของสหรัฐฯ เขาเป็นนักลงทุนนอกครอบครัวคนแรกใน Amazon.com เขาร่วมก่อตั้งบริษัทเอควอนทีฟ ซึ่งขายให้ไมโครซอพท์ ไปในราคา 6.4 พันล้านเหรียญ และเขาเป็นเจ้าของธนาคาร และนิคกำลังเตือนเพื่อนอภิมหาเศรษฐีของเขาให้ฉุกคิดถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น จนสุดท้ายอาจจะทำให้พวกอภิมหาเศรษฐีอย่างเขาเองไม่มีที่ยืน และนี่คือส่วนหนึ่งจาก Clip
“ผมมีชีวิตที่ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ ไม่สามารถแม้แต่จะจิตนาการได้ บ้านหลายหลัง เรือยอร์ช เครื่องบินส่วนตัว และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่พูดกันตรง ๆ ผมไม่ได้เป็นคนฉลาดที่สุด ที่คุณเคยพบที่แน่ ๆ … แต่จริง ๆ แล้ว ผมก็เก่งมากในสองเรื่อง หนึ่ง ผมรับความเสี่ยงได้สูงเป็นพิเศษ และอีกอย่างหนึ่ง คือผมรู้สึกได้ไว มีลางสังหรณ์ดี ต่อเรื่องที่จะเกิดในอนาคต และผมคิดว่าลางสังหรณ์เกี่ยวกับ เรื่องในอนาคตนั้น เป็นปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการที่ดี …
แล้วผมเห็นอะไรในอนาคตของเราในวันนี้หรือ คุณจะถามใช่ไหมครับ ผมเห็นคราดของชาวไร่ชาวนา (Pitchfork) อย่างเช่นที่ฝูงชนคนซึ่งกำลังโกรธเกรี้ยวเขาถือกัน
เพราะในขณะที่อภิมหาเศรษฐีอย่างพวกเรากำลังใช้ชีวิตเกินกว่าความฝันของผู้คน เพื่อนประชากรของเราอีก 99 เปอร์เซ็นต์กำลังถอยห่างไปอยู่ข้างหลัง และห่างไกลไปเรื่อย ๆ
ปัญหานั้นไม่ใด้เกี่ยวกับว่า เรามีความไม่เท่าเทียมกันอยู่บ้างเล็กน้อย ความไม่เท่าเทียมกันบ้างเล็กน้อยนั้น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุนนิยมประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ปัญหาคือ ความไม่เท่าเทียมกันนั้น กำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมันก็แย่ลงทุกวัน
ผมจึงมีข้อความส่งถึงเพื่อนอภิมหาเศรษฐี และอภิมหึมามหาเศรษฐีทั้งหลาย และสำหรับใครก็ตามที่ใช้ชีวิต ในโลกฟองสบู่ที่มีรั้วล้อมรอบอยู่นั้น จงตื่นขึ้น ตื่นขึ้นเถิด สภาวะเช่นนี้มันอยู่ได้ไม่นาน เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรบางอย่าง เพื่อแก้ไข ความไม่เท่าเทียมที่เห็นชัดเจนในสังคมของเราคราดนั้นก็จะหันมาหาเรา เพราะไม่มีสังคมเปิดแบบเสรีใด ๆ จะทนอยู่ได้นานกับ ความไม่สมดุลย์ทางเศรษฐกิจ ที่พุ่งสูงแบบนี้ได้
ต้นแบบสำหรับเรา คนรวย ควรเป็นเฮนรี ฟอร์ด เรารู้กันว่าฟอร์ดให้ค่าแรง 5 ดอลลาร์ ต่อวัน ซึ่งเป็นสองเท่าของค่าแรงทั่วไปในเวลานั้น เขาไม่ได้เพียงเพิ่มผลผลิต ของโรงงานของเขา แต่เขาได้เปลี่ยน คนงานผลิตรถยนต์ที่ถูกเอาเปรียบ ที่ยากจน ให้กลายเป็นคนชั้นกลางที่มีกินมีใช้ มีปัญญาซื้อผลิตภัณฑ์ ที่พวกเขาผลิตขึ้นเองได้ ฟอร์ดหยั่งรู้สิ่งที่เราเพิ่งจะตระหนักว่ามันเป็นจริง ที่จะต้องมองเศรษฐกิจให้เป็นระบบนิเวศน์
พวกเรา อภิมหาเศรษฐี จำเป็นต้องเอาวิถีเศรษฐกิจ ที่ผลประโยชน์หลั่งไหลสู่คนหยิบมือนี้ ไปไว้ข้างหลัง ความคิดที่ว่า ยิ่งเราดีขึ้นมากเท่าใดคนอื่นก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกันนั้น มันไม่เป็นความจริง มันจะเป็นไปได้อย่างไร [นิคหมายถึงว่า ระบบเศรษฐกิจที่เชื่อว่าถ้าเจ้าของกิจการรวยสุด ๆ เงินทองก็จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาสู่ผู้บริหาร สู่ลูกจ้าง สู่คนใช้แรงงาน นั้นมันไม่จริง] ผมหาเงินได้เป็นพันเท่าของค่าแรงโดยเฉลี่ย แต่ผมก็ไม่ได้ซื้อของ มากถึงพันเท่า ใช่ไหมครับ จริง ๆ ผมซื้อกางเกงพวกนี้สองตัว ซึ่ง ไมค์ หุ้นส่วนของผม เรียกมันว่ากางเกงผู้จัดการ ผมอาจจะซื้อกางเกง 2,000 ตัวก็ได้ แต่ผมจะเอามันไปทำอะไรครับ (เสียงหัวเราะ) ผมจะตัดผมได้สักกี่ครั้งกัน ผมจะไปทานอาหารเย็นนอกบ้าน ได้บ่อยแค่ไหนกัน ไม่ว่าอภิมหาเศรษฐีซึ่งมีจำนวนน้อยจะรวยขนาดไหน ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติไปได้มากกว่านี้ คนชั้นกลางที่มีกินมีใช้เท่านั้นที่จะทำได้
วันที่ 19 มิถุนายน 2013 บลูมเบิร์ก เผยแพร่บทความที่ผมเขียน เรื่อง “กรณีนักทุนนิยมกับค่าแรงขั้นตํ่า 15 ดอลลาร์” หลาย ๆ คนที่นิตยสารฟอร์บในหมู่ผู้ที่นิยมชมชอบผมมากที่สุด เรียกมันว่า “ข้อเสนอที่ใกล้จะเพี้ยนของ นิก เฮนัวเออร์” แต่แล้ว แค่เพียง 350 วัน หลังจากที่บทความถูกตีพิมพ์ ผู้ว่าการเมืองซีแอทเทิล เอ็ด เมอร์เรย์ ก็ได้ลงนามเพิ่มค่าแรงขั้นตํ่าในซีแอทเทิล เป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าสองเท่าของอัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศที่ 7.25 ดอลลาร์ สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร คนที่มีเหตุผลอาจสงสัย มันเกิดขึ้นได้เพราะ กลุ่มคนของเรา ได้เตือนคนชั้นกลางว่า พวกเขาเป็นต้นกำเนิดของการเติบโตและความมั่งคั่งในเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เราเตือนพวกเขาว่า เมื่อคนงานมีเงินมากขึ้น ธุรกิจก็จะมีลูกค้ามากขึ้น และจำเป็นต้องจ้างงานมากขึ้น เราได้เตือนพวกเขาว่า เมื่อธุรกิจจ่ายค่าจ้างให้คนงานดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ ผู้เสียภาษีก็ไม่ต้องรับภาระในการอุดหนุนโครงการแก้ปัญหาความยากจน เช่น การแจกอาหาร การช่วยเหลือทางการแพทย์ และการสนับสนุนค่าเช่าบ้าน ซึ่งคนงานเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับ เราได้เตือนพวกเขาว่า คนงานที่ได้ค่าแรงตํ่า ก็จะจ่ายภาษีน้อย และเตือนว่า เมื่อคุณยกค่าแรงขั้นตํ่าขึ้นมาทั่วทั้งองค์กรธุรกิจทั้งหมด สุดท้ายธุรกิจเองก็จะได้กำไรและยังสามารถแข่งขันได้ … “
คลิปนี้เริ่มแปลโดย yamela areesamarn และแก้ไขตรวจทานโดย Sakunphat Jirawuthitanant … ชวนดูฉบับเต็มครับ
นิค ฮานาวเออร์ (Nick Hanauer) เป็นนักลงทุนอภิมหาเศรษฐีของสหรัฐฯ เขาเป็นนักลงทุนนอกครอบครัวคนแรกใน Amazon.com เขาร่วมก่อตั้งบริษัทเอควอนทีฟ ซึ่งขายให้ไมโครซอพท์ ไปในราคา 6.4 พันล้านเหรียญ และเขาเป็นเจ้าของธนาคาร และนิคกำลังเตือนเพื่อนอภิมหาเศรษฐีของเขาให้ฉุกคิดถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น จนสุดท้ายอาจจะทำให้พวกอภิมหาเศรษฐีอย่างเขาเองไม่มีที่ยืน และนี่คือส่วนหนึ่งจาก Clip
“ผมมีชีวิตที่ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ ไม่สามารถแม้แต่จะจิตนาการได้ บ้านหลายหลัง เรือยอร์ช เครื่องบินส่วนตัว และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่พูดกันตรง ๆ ผมไม่ได้เป็นคนฉลาดที่สุด ที่คุณเคยพบที่แน่ ๆ … แต่จริง ๆ แล้ว ผมก็เก่งมากในสองเรื่อง หนึ่ง ผมรับความเสี่ยงได้สูงเป็นพิเศษ และอีกอย่างหนึ่ง คือผมรู้สึกได้ไว มีลางสังหรณ์ดี ต่อเรื่องที่จะเกิดในอนาคต และผมคิดว่าลางสังหรณ์เกี่ยวกับ เรื่องในอนาคตนั้น เป็นปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการที่ดี …
แล้วผมเห็นอะไรในอนาคตของเราในวันนี้หรือ คุณจะถามใช่ไหมครับ ผมเห็นคราดของชาวไร่ชาวนา (Pitchfork) อย่างเช่นที่ฝูงชนคนซึ่งกำลังโกรธเกรี้ยวเขาถือกัน
เพราะในขณะที่อภิมหาเศรษฐีอย่างพวกเรากำลังใช้ชีวิตเกินกว่าความฝันของผู้คน เพื่อนประชากรของเราอีก 99 เปอร์เซ็นต์กำลังถอยห่างไปอยู่ข้างหลัง และห่างไกลไปเรื่อย ๆ
ปัญหานั้นไม่ใด้เกี่ยวกับว่า เรามีความไม่เท่าเทียมกันอยู่บ้างเล็กน้อย ความไม่เท่าเทียมกันบ้างเล็กน้อยนั้น เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุนนิยมประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ปัญหาคือ ความไม่เท่าเทียมกันนั้น กำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมันก็แย่ลงทุกวัน
ผมจึงมีข้อความส่งถึงเพื่อนอภิมหาเศรษฐี และอภิมหึมามหาเศรษฐีทั้งหลาย และสำหรับใครก็ตามที่ใช้ชีวิต ในโลกฟองสบู่ที่มีรั้วล้อมรอบอยู่นั้น จงตื่นขึ้น ตื่นขึ้นเถิด สภาวะเช่นนี้มันอยู่ได้ไม่นาน เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรบางอย่าง เพื่อแก้ไข ความไม่เท่าเทียมที่เห็นชัดเจนในสังคมของเราคราดนั้นก็จะหันมาหาเรา เพราะไม่มีสังคมเปิดแบบเสรีใด ๆ จะทนอยู่ได้นานกับ ความไม่สมดุลย์ทางเศรษฐกิจ ที่พุ่งสูงแบบนี้ได้
ต้นแบบสำหรับเรา คนรวย ควรเป็นเฮนรี ฟอร์ด เรารู้กันว่าฟอร์ดให้ค่าแรง 5 ดอลลาร์ ต่อวัน ซึ่งเป็นสองเท่าของค่าแรงทั่วไปในเวลานั้น เขาไม่ได้เพียงเพิ่มผลผลิต ของโรงงานของเขา แต่เขาได้เปลี่ยน คนงานผลิตรถยนต์ที่ถูกเอาเปรียบ ที่ยากจน ให้กลายเป็นคนชั้นกลางที่มีกินมีใช้ มีปัญญาซื้อผลิตภัณฑ์ ที่พวกเขาผลิตขึ้นเองได้ ฟอร์ดหยั่งรู้สิ่งที่เราเพิ่งจะตระหนักว่ามันเป็นจริง ที่จะต้องมองเศรษฐกิจให้เป็นระบบนิเวศน์
พวกเรา อภิมหาเศรษฐี จำเป็นต้องเอาวิถีเศรษฐกิจ ที่ผลประโยชน์หลั่งไหลสู่คนหยิบมือนี้ ไปไว้ข้างหลัง ความคิดที่ว่า ยิ่งเราดีขึ้นมากเท่าใดคนอื่นก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกันนั้น มันไม่เป็นความจริง มันจะเป็นไปได้อย่างไร [นิคหมายถึงว่า ระบบเศรษฐกิจที่เชื่อว่าถ้าเจ้าของกิจการรวยสุด ๆ เงินทองก็จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาสู่ผู้บริหาร สู่ลูกจ้าง สู่คนใช้แรงงาน นั้นมันไม่จริง] ผมหาเงินได้เป็นพันเท่าของค่าแรงโดยเฉลี่ย แต่ผมก็ไม่ได้ซื้อของ มากถึงพันเท่า ใช่ไหมครับ จริง ๆ ผมซื้อกางเกงพวกนี้สองตัว ซึ่ง ไมค์ หุ้นส่วนของผม เรียกมันว่ากางเกงผู้จัดการ ผมอาจจะซื้อกางเกง 2,000 ตัวก็ได้ แต่ผมจะเอามันไปทำอะไรครับ (เสียงหัวเราะ) ผมจะตัดผมได้สักกี่ครั้งกัน ผมจะไปทานอาหารเย็นนอกบ้าน ได้บ่อยแค่ไหนกัน ไม่ว่าอภิมหาเศรษฐีซึ่งมีจำนวนน้อยจะรวยขนาดไหน ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติไปได้มากกว่านี้ คนชั้นกลางที่มีกินมีใช้เท่านั้นที่จะทำได้
วันที่ 19 มิถุนายน 2013 บลูมเบิร์ก เผยแพร่บทความที่ผมเขียน เรื่อง “กรณีนักทุนนิยมกับค่าแรงขั้นตํ่า 15 ดอลลาร์” หลาย ๆ คนที่นิตยสารฟอร์บในหมู่ผู้ที่นิยมชมชอบผมมากที่สุด เรียกมันว่า “ข้อเสนอที่ใกล้จะเพี้ยนของ นิก เฮนัวเออร์” แต่แล้ว แค่เพียง 350 วัน หลังจากที่บทความถูกตีพิมพ์ ผู้ว่าการเมืองซีแอทเทิล เอ็ด เมอร์เรย์ ก็ได้ลงนามเพิ่มค่าแรงขั้นตํ่าในซีแอทเทิล เป็น 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าสองเท่าของอัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศที่ 7.25 ดอลลาร์ สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร คนที่มีเหตุผลอาจสงสัย มันเกิดขึ้นได้เพราะ กลุ่มคนของเรา ได้เตือนคนชั้นกลางว่า พวกเขาเป็นต้นกำเนิดของการเติบโตและความมั่งคั่งในเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เราเตือนพวกเขาว่า เมื่อคนงานมีเงินมากขึ้น ธุรกิจก็จะมีลูกค้ามากขึ้น และจำเป็นต้องจ้างงานมากขึ้น เราได้เตือนพวกเขาว่า เมื่อธุรกิจจ่ายค่าจ้างให้คนงานดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ ผู้เสียภาษีก็ไม่ต้องรับภาระในการอุดหนุนโครงการแก้ปัญหาความยากจน เช่น การแจกอาหาร การช่วยเหลือทางการแพทย์ และการสนับสนุนค่าเช่าบ้าน ซึ่งคนงานเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับ เราได้เตือนพวกเขาว่า คนงานที่ได้ค่าแรงตํ่า ก็จะจ่ายภาษีน้อย และเตือนว่า เมื่อคุณยกค่าแรงขั้นตํ่าขึ้นมาทั่วทั้งองค์กรธุรกิจทั้งหมด สุดท้ายธุรกิจเองก็จะได้กำไรและยังสามารถแข่งขันได้ … “
คลิปนี้เริ่มแปลโดย yamela areesamarn และแก้ไขตรวจทานโดย Sakunphat Jirawuthitanant … ชวนดูฉบับเต็มครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น